New Document









เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 02 มี.ค. 2008, 23:59

นับเป็นยุคที่สภาฯใหญ่คับฟ้าจริงๆ
แก้ไขล่าสุดโดย wannee เมื่อ 04 มี.ค. 2008, 21:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08







Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 04 มี.ค. 2008, 20:59

มีคนบอกให้เอาไฟล์มาแปะไว้ที่นี่เลย :D :D

ขออนุญาตนะคะ  :wink: :wink:

ทำเป็นตารางใส่เนื้อหาที่อยู่ในฉบับร่าง และ ใส่เนื้อหาในฉบับที่เสร้จเรียบร้อยแล้วซึ่งเป็นฉบับที่อยู่ในเว็บสภาฯ จะได้ดูเปรียบเทียบได้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าดูเทียบแล้วจะเห็นอะไร ลองดูละกันนะคะ :P :P
แนบไฟล์
Comparison.doc
(86 KiB) ดาวน์โหลด 651 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย นิวัช เมื่อ 27 พ.ค. 2008, 18:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 06 มี.ค. 2008, 20:41

มีอะไรหลายๆอย่างในสังคมขณะนี้ที่น่าเป็นห่วง

สำหรับเรื่องใกล้ตัวตอนนี้ หมายถึงเรื่องการออกข้อบังคับของสภาฯ มีหลายๆคนพูดว่า ทำไมคนแค่ไม่กี่คน เค้าถึงคิดว่าเค้ามีความชอบธรรมที่จะทำอะไรได้ขนาดนี้ ถ้ามีเวทีรับฟังความคิดเห็นเยอะๆ น่าจะได้เห็นอะไรดีๆบ้างเหมือนกัน

คิดๆแล้วก็ต้องของคุณเว็บนี้ที่เป็นเวทีให้เข้ามาแสดงความคิดเห็น  :wink: :wink:
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 10 มี.ค. 2008, 20:26

"เสกสรรค์ ประเสริฐกุล" ระบุประเทศไทยเผชิญวิกฤติฉันทานุมัติ ขาดผู้มีอำนาจที่ทุกฝ่ายในสังคมยอมรับร่วมกันโดยต่อเนื่อง ชี้อำนาจชอบธรรมต้องได้มา มีจุดหมาย และวิธีการที่ชอบธรรม

http://www.bangkokbiznews.com/2008/03/1 ... oid=237341

นอกจากช่วยให้เห็นความจริงของสังคมแล้ว ยังช่วยให้ย้อนกลับมาพิจารณาสังคมเล็กๆของเราชาวเภสัชกรกับข้อขัดแย้งในตอนนี้ได้ลึกซึ้งขึ้น   :D :D
แก้ไขล่าสุดโดย wannee เมื่อ 10 มี.ค. 2008, 20:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 15 มี.ค. 2008, 15:12

ข้อเขียนของนักศึกษาค่ะ มีการสะท้อนความรู้สึกในหลายๆเรื่อง

เรื่อง ว่าด้วยกำแพงที่คอยปกป้องวิชาชีพเภสัชกรรมกับการบังคับเรียนเภสัช 6 ปีทั่วประเทศ อ่านเล่นๆไม่ต้องคิดมาก?

ในสมัยโบราณอาณาจักรต่างๆจะสร้างเมืองและป้อมปราการที่แข็งแรงในเมืองสำคัญต่างๆเพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก
กำแพงและป้อมปราการเหล่านั้นจะเป็นสิ่งที่คอยปกป้องพลเมืองให้สามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องกังวลว่า
วันดีคืนดีสิ่งที่ตนเองสละแรงกายแรงใจทำงานทั้งหมดจะสูญสลายไปในพริบตาเพราะโดนข้าศึกบุกมาปล้นชิง ทำลาย หรือจับตัวไปเป็นเชลย

ยิ่งในยุคโบราณ กำแพงที่แข็งแรง คือส่วนสำคัญของรากฐานอารยธรรมที่รุ่งเรือง เช่นกำแพงเมืองจีนที่จิ๋นซีฮ่องเต้สร้างเพื่อป้องกันคนเถื่อนทางตอนเหนือ
หรือแม้แต่ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรสยามในสมัยอยุธยา นอกจากพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ และการเป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาคแล้ว
การที่สยาม มีกองทัพที่เข้มแข็ง และกำแพงเมืองที่น่าเกรงขาม เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ในยุคที่ไร้องค์การสหประชาชาติ
นั่นคือส่วนสำคัญที่ทำให้อยุธยาเจริญรุ่งเรืองมายาวนานกว่า สี่ร้อยปี

วิชาชีพเภสัชกรรมกำลังอยู่ในยุคจราจล ไม่น่าเชื่อว่าระยะเวลา 4-5 ปีที่ผมมาเรียนเภสัชศาสตร์ ต้องรับรู้เรื่องราววุ่นวายมากมายที่บั่นทอนกำลังใจและความเชื่อมั่นในวิชาชีพ
ในฐานะของนักศึกษาตัวเล็กๆที่ได้แต่ยืนมองเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมาและผ่านไปโดยที่ทำอะไรไม่ได้มันรู้สึกอึดอัด ซึ่งเชื่อว่าหลายคนเองก็คงรู้สึกแบบเดียวกัน


เราเจอเรื่องสงครามระหว่างอาณาจักรวิชาชีพในสมรภูมิ พ.ร.บ. ยา ที่ต่างฝ่ายต่างปกป้องผลประโยชน์ของวิชาชีพตนเอง โดยอ้างถึงผลประโยชน์ของประชาชนแต่จนแล้วจนรอดก็ยังตกลงกันไม่ได้ ในเรื่องเส้นแบ่งเขตแดนของอาณาจักร เป็นสงครามที่กระทบกระทั่งกันเป็นระลอกๆ ที่คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะจนกว่าเมื่อไหร่ที่ผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายและความเหมาะสมต่อสภาพสังคมจะเข้าสู่จุดดุลยภาพ

เราเจอสถาณการณ์อึดอัด ระหว่างความชอบธรรมในการจัดหายาให้แก่ผู้ป่วยซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของเภสัชกร กับ การที่ถูกบีบจากหลายๆฝ่ายในกรณี CL ที่ยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้วิชาชีพเกิดความปั่นป่วนภายในเพราะในวิชาชีพเองมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เกิดเป็นก๊กเหล่าเล็กๆ ที่ปะทะกำลังกันประปราย บั่นทอนความสามัคคีลง

และเรื่องใหญ่อีกเรื่อง คือการบังคับให้เรียนเภสัชศาสตร์ 6 ปีทั่วประเทศ ที่ยังคงมีการถกเถียงกันอยู่ เป็นโชคร้ายของคนรุ่นนี้จริงๆ ที่ต้องมาเจอเรื่องราววุ่นวายเช่นนี้ ทั้งที่การเรียนเภสัชศาสตร์เองมันก็ยากอยู่แล้ว ยังต้องมาเจอเรื่องวุ่นวายมากมายที่ยังไม่มีความชัดเจนทำให้ท้อจริงๆกับวิชาชีพนี้ เพราะเรื่องนี้เองก็บั่นทอนความสามัคคีของวิชาชีพไม่น้อย

พ.ร.บ.ยา เป็นเสมือนเขตแดนของการประกอบวิชาชีพ เป็นกำแพงที่คอยปกป้องให้เภสัชกรไทยสามารถทำงานได้เต็มที่โดยที่มีกฎหมายรองรับ ในขณะที่เรามองว่า พ.ร.บ.ยาฉบับเก่า ทรุดโทรม ล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน ไม่สามารถดูแลความปลอดภัยในเรื่องการใช้ยาของประชาชน ไม่เอื้อต่อการทำงานของเภสัชกร และกำลังเร่งก่อสร้างกำแพงและป้อมปราการขึ้นใหม่เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชน และประกันความมั่นคงของเภสัชกร

ผมเลยยังรู้สึกลังเลที่จะเชื่อว่า การเปลี่ยนให้การผลิตเภสัชกรทั่วประเทศให้เป็นหลักสูตร 6 ปี จะพาอาณาจักรเภสัชกรรม ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

เพราะในหัวมีแต่คำถาม

พ.ร.บ.ยาใหม่ จะมีหน้าตาเป็นแบบไหน ให้อำนาจหน้าที่เภสัชกรไว้เท่าใด?

ถ้า พ.ร.บ.ใหม่ ไม่เอื้อต่อการทำงานของเภสัชกร 6 ปี เภสัชกรรุ่นหลังจะทำอย่างไร แล้วความเสียหายที่เกิดจากการลงทุน เวลา และค่าใช้จ่ายจะมากมายแค่ไหน?

เภสัชกร จะทำอย่างไรกับภาคการผลิต เราจะต้องสูญเสียอำนาจในการควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพหรือไม่ เราจะมีทางออกอย่างไร?

เราจะทำอย่างไรกับการศึกษาทางเภสัชศาสตร์ในเรื่อง สมุนไพร ยาจากธรรมชาติ การวิจัย การผลิต งานด้านเภสัชศาสตร์สังคม..............?

เราจะทำอย่างไร กับ การจัดหาแหล่งฝึกที่ดี มีคุณภาพเท่าเทียมกันให้ทุกคนได้ฝึกงาน เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกัน?

การเรียนนานขึ้น ทำให้คนเก่งขึ้นจริงหรือไม่?

เราจะแน่ใจมั้ยว่าการเปิดบทบาทใหม่นั้นจะทำให้เภสัชกรมีงานทำมากขึ้น โดยที่ไม่สูญเสียงานเดิมที่เราเคยทำและทำได้ดีอยู่แล้ว?

มาตรฐานวิชาชีพที่บอกว่าจะรับรองเภสัชกรเฉพาะที่เรียนตามมาตรฐานเภสัชศาสตร์ 6 ปีนั้น ต่างจากมาตรฐานของ เภสัชกรที่เรียน 5 ปีตรงไหน?

อะไรที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ผลประโยชน์ของประชาชน หรือของคนบางจำพวก?

.........................

ยิ่งเขียนยิ่งมั่วไปใหญ่ครับ  แต่เชื่อว่าทุกคนที่อ่านแล้วคงมีมุมมองของตัวเอง มุมมองที่เกิดจากการคิดและพิจารณาของตัวเอง  โชคดีครับ
แก้ไขล่าสุดโดย wannee เมื่อ 15 มี.ค. 2008, 15:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 17 มี.ค. 2008, 17:30

หลักสูตรเภสัชฯ 6 ปี ผลกระทบมากกว่าแวดวงวิชาชีพ

จาก
กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 มีนาคม 2551

เป็นไฟล์รูปภาพ
เข้าไปดูได้ที่

http://pharmcom.multiply.com/photos/album/1
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 17 มี.ค. 2008, 18:12

ขอบคุณมากๆค่า

:lol: :lol: :lol:
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย zartingtong » 17 มี.ค. 2008, 19:47

ลอกเค้ามาให้อีกที

บทความในกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 มีนาคม 2551 หน้า 8 โดย ช่อมะกอกมัดใหญ่

ข่าว
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย med_pharm » 17 มี.ค. 2008, 21:37

ในรายละเอียดของหลักสูตร 6 ปี ก็ยังมีปัญหา  เนื่องจากการเน้นความเป็น Doctor of Pharmacy โดยเน้นให้บัณฑิตที่จบออกมาทำงานเฉพาะโรงพยาบาล  และทำงานเฉพาะด้านคลินิก  ดูแลเฉพาะผู้ป่วยโรคเฉพาะเท่านั้น

โดยทราบมาว่ามีการสำรวจพบว่า เภสัชกรที่จบ 6 ปี บางพื้นที่  ให้บริการด้านเภสัชกรรมโรคพื้นฐาน  อ่อนด้อยกว่าผู้จบหลักสูตร 5 ปี  ด้วยความที่เน้นความเป็นผู้เชี่ยวชาญมากเกินไป  จึงขาดความรู้ในลักษณะองค์รวม  ขาดความใส่ใจในระบบสาธารณสุขของประเทศ

ปัญหาในเชิงการศึกษา  ผมว่าต้องมองจาก outside in  ไม่ใช่มองจาก inside out  คือถ้ามองแต่ว่าฉันอยากจะทำ  แต่ขาดการศึกษาปัญหาด้านสาธารณสุข  และปัญหาในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมอย่างรอบด้าน  ย่อมไม่เกิดประโยชน์  ซึ่งเท่าที่ผมอยู่ในวิชาชีพเภสัชกรรมมาพอสมควร  รับรู้ได้ว่า  เรามักจะแก้ปัญหา  โดยดูเพียงปัญหาของตัวเรา  แต่ไม่ได้ดูว่าสังคมได้อะไร

เสียงสะท้อนที่ดังขนาดนี้  ผมว่าสภาเภสัชกรรมควรจะทบทวนดูว่าการตัดสินใจนั้นทำอยู่บนข้อมูลที่ดีพร้อมหรือยัง  ต่อวิชาชีพฯ  ต่อสังคมและประเทศชาติ

และผมไม่เห็นด้วย  หากทำเพราะต้องการปรับให้เป็นหลักสูตร 6 ปี  แล้วรายละเอียดปลีกย่อยที่เป็นปัญหาทางการศึกษา ค่อยมาแก้ไขต่อไป

เรื่อง  พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม  เป็นตัวอย่างหนึ่ง  ที่ผู้ร่างฯเคยทำอย่างนั้นมาก่อน

ปัจจุบันเลยต้องตามแก้ปัญหากันอยู่ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
med_pharm
 
โพสต์: 96
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ธ.ค. 2006, 19:34

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 18 มี.ค. 2008, 23:35

ข้อเขียนของนักศึกษาค่ะ

เหตุผลทางการลงทุนส่วนบุคคลที่ทำให้ต้องทบทวนหลักสูตรเภสัช 6 ปี?

นศภ. สุจินต์ พาลุกา

วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนมือหนึ่งของโลกที่ผลัดกันขึ้นทำเนียบเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกกับบิลเกตต์ เจ้าพ่อไมโครซอฟต์ เขาเป็นนักลงทุนมาตั้งแต่อายุ 6 ขวบ โดยธุรกิจแรกของเขาคือการขายโค้กกระป่องที่ทำให้เขาได้กำไร ถึง ร้อยละ 20

ในปี 2008 (พ.ศ.2551) บัฟเฟตต์เป็นคนที่รวยที่สุดในโลก โดยมีทรัพย์สินถึง 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐ  ว่ากันว่า ถ้าใครได้นำเงินไปลงทุนกับบัฟเฟตต์ ( ซื้อหุ้นบริษัท Berkshire Hathaway ) ในปี  1956 (พ.ศ. 2499)ด้วยเงิน 10,000 เหรียญ เงินนั้น จะกลายเป็น 80 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 1994 (พ.ศ.2537)  ทั้งนี้เพราะบัฟเฟตต์เป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาด ด้วย กฎเพียงข้อเดียวของเขา คือ อย่ายอมเสียเงิน

บัฟเฟตต์กล่าวว่า สิ่งมหัศจรรย์ที่สุดที่เขาค้นพบคือ ดอกเบี้ยทบต้น
เขาเพียงแค่นำเงินไปลงทุนเมื่อเกิดกำไรแล้วก็นำเงินเหล่านั้นไปลงทุนอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเงินงอกเงินขึ้นมามากมายมหาศาล

หากต้องเปลี่ยนการศึกษาทางเภสัชศาสตร์จาก 5 ปีเป็น 6 ปี ผลกระทบอย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้นต่อเภสัชกรโดยตรง คือ เภสัชกร ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเป็นค่าเล่าเรียน และ สูญเสียรายได้ ที่ควรจะได้รับ 1 ปี

หากคิดกันเล่นๆ สมมติว่า เภสัชกร ต้องเสียค่าใช้จ่ายระหว่างศึกษาเล่าเรียน ปีละ 60,000 บาท  รายได้ที่ควรจะได้รับ เดือนละ 15,000 บาท ทั้งปี คิดเป็น 180,000 บาท
รวมมูลค่า 240,000 บาท และ สมมุติว่า เภสัชกรเรียนจบ ที่อายุ 24 ปี

หากเภสัชกร นำเงินไปลงทุน (เช่น ฝากประจำกับธนาคาร หรือการนำเงินไปลงทุนในกองทุน ) โดยคิดผลกำไร ปีละ 5%  และเมื่อได้ผลกำไร ก็นำกลับไปลงทุนใหม่อีกครั้ง โดยไม่มีการนำเงินนั้นมาใช้  เชื่อไหมครับว่า

เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี เงินจะเพิ่มเป็น 252,000 บาท เงินงอกเงยขึ้นมาโดยไม่ต้องทำอะไร 12,000 บาท
เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี จะกลายเป็นเงิน 306,307.6 บาท
เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี จะกลายเป็นเงิน 390,934.7 บาท
เมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี จะกลายเป็นเงิน 636,791.4 บาท
เมื่อเวลาผ่านไป 30 ปี จะกลายเป็นเงิน 1,037,266 บาท

และถ้าใครอดทนต่อกิเลส ไม่แตะต้องเงินส่วนนี้เลย เมื่อเกษียณ ที่อายุ 60 ปี
จะมีเงินใช้จ่ายในวัยเกษียณ 1,390,0036 บาท  :lol: :lol:

ไม่เลวเลยใช่มั้ยครับสำหรับ กองทุนเกษียณ ส่วนตัวที่เกิดจากเงินเพียง 240,000 บาท
และถ้าใครที่มีความสามารถในการลงทุนทำได้ถึงปีละ 10 15 20 25 30 35 ...%
ก็ลองเอาตัวเลข 2 3 4 5 6 7 ..... ไปคูณผลลัพธ์ดูเอง แล้วจะรู้ซึ้งถึงความมหัศจรรย์ของการลงทุน

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อต้องการให้น้องๆรุ่นหลัง หรือผู้ปกครอง ที่กำลังวางแผนส่งลูกเรียนเภสัชศาสตร์  ที่ไม่ได้สนใจว่าทำไมถึงมีคนกลุ่มหนึ่งออกมาคัดค้านการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาเภสัชศาสตร์ เป็น 6 ปีทั่วประเทศ  ให้กลับมาสนใจความเคลื่อนไหวนี้ โดยเริ่มจากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตัวผู้เรียนเองซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวที่สุด  แล้วค่อยไปศึกษาถึงข้อดีข้อเสียว่า การบังคับให้เรียนเภสัชศาสตร์ 6 ปีทั่วประเทศนั้น มีเหตุผลหรือไม่ในประเด็นอื่นๆ หรือเพียงแต่อ้างมาลอยๆ โดยไม่มีเหตุมีผล

ซึ่งจากตัวอย่างที่ผมได้แสดงให้เห็นนั้น คงจะทำให้มองเห็นแล้วว่า การเรียนเพิ่มอีกหนึ่งปีนั้น เราต้อง จ่ายไปเท่าไหร่  แล้วการเรียนเพิ่มขึ้นนั้นจำเป็นหรือไม่ คุ้มค่าหรือเปล่าที่เราจะต้องสูญเสียผลประโยชน์ตรงนั้นไป

แม้ว่าในโลกของความเป็นจริงยังมีปัจจัยอีกมากที่จะมากระทบต่อการใช้จ่าย ลงทุนของเภสัชกร ที่อาจทำให้ไม่เป็นไปตามที่ผมคำนวณ แต่สิ่งที่ต้องเสียไปแน่นอน คือเงินในส่วนที่เพิ่มขึ้นเมื่อต้องเรียนเพิ่มซึ่งต้องใช้เวลาในระยะหนึ่งจึงจะสามารถทำงานหาเงินมาคืนได้

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของผู้ที่จะเข้ามาเรียนเภสัชศาสตร์โดยตรง และผู้ปกครอง แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไปเสียทีเดียว เพราะ เงินที่ต้องนำมาจัดการเรียนการสอนนั้นส่วนหนึ่งย่อมมาจากภาษีของประชาชน แค่นั้นยังไม่พอ เงิน ประมาณ 1,400,000 บาทนี้ หากคูณจำนวน เภสัชกร 1,000 คน ก็จะกลายเป็น 1,400 ล้านบาท เป็นเงินจำนวนไม่น้อยที่จะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้

ดังนั้นผมจึงอยากเชิญชวนทุกคนที่ได้อ่านบทความที่เขียนเล่นๆของผมนี้ช่วยกันเรียกร้องให้สภาเภสัชกรรมระงับนโยบายการบังคับให้การศึกษาเภสัชศาสตร์ต้องเรียน 6 ปีทั่วประเทศ จนกว่าจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าการเรียนเภสัชศาสตร์ 6 ปีทั่วประเทศนั้น ส่งผลดี ต่อผู้ป่วย และสังคมโดยรวม อย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่มีทั้ง หลักสูตรที่เรียน 5 ปี และ 6 ปี 

แต่หากยังไม่แน่ใจก็ขอให้ศึกษาข้อมูลต่อไป แล้วใช้วิจารณญาณพิจารณาว่า หากคุณต้องเป็นคนตัดสินใจ โดยไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง

คุณคิดว่า หลักสูตรเภสัชศาสตรืบัณฑิตปริญญาตรี ควรมีระยะเวลาการศึกษายาวนานเท่าใดจึงจะเหมาะสมกับบ้านเรา
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย Mooma » 20 มี.ค. 2008, 20:16

ชื่นชมน้องๆ ทุกคนที่ช่วยกันแสดงความคิดเห็นนะครับ 8)
กำลังมองว่า ในภาคอุตสาหกรรมกำลังยุบตัว  น่าจะเป็นจริงเฉพาะส่วนเท่านั้น
เพราะโรงงานมาตรฐานGMPในประเทศ ยังยืนหยัดสู้ๆ ต่อไป  แม้จะมีจำนวนไม่มากก็ตาม
ยอดขายของ local ที่ติดสามอันดับแรกคือ สยามฟาร์มาซูติคอล ไบโอแลบ และเบอร์ลิน น่าจะอยู่ที่ สีพันล้าน สามพันล้าน ละสองพันล้านตามลำดับในปีนี้
แน่นอนของบรรษัทข้ามชาติต่างหากที่ย้ายฐานผลิต ไปอินโดนีเซีย หรือแม้แต่เวียตนาม หรือปากีสถาน หรือจีนแดง  ก็คงรู้สาเหตุว่าเป็นเรื่องค่าแรง

ผมอยากให้การผลิตเภสัชภัณฑ์ในบ้านเราบูมแบบจีนแดงครับ คือเน้นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก
นั่นก็หมายถึงเน้นสมุนไพรที่ผลิตได้ในบ้านเรา  อาจขยายผลด้วยการวิจัย

การประกาศไมรับรองหลักสูตร 5 ปี  การรับรองหลักสูตร 6 ปี โดยเน้นรับรองหลักสูตรเภสัชบริบาล หรือบริบาลเภสัชกรรม หรือฟาร์มแคร์
ก็เป็นการเมินบทบาททางด้านสายการผลิต  ซึ่งแปลกมาก  เพราะใน พรบ. ยา และโดยความเป็นจริงแล้วบทบาทเภสัชกรตรงนี้เด่นชัดทั้งสายการผลิตและควบคุมคุณภาพซึ่งแน่นอน ยังยากที่จะหาคนที่ไม่ใช่เภสัชกรมาทดแทนได้
ของดีๆ กลับทอดทิ้ง  ดูแล้วน่าเศร้าใจแทนนายกสภาเภสัชกรรมและกรรมการสภาอีกหลายๆ คนที่ก็จบหลักสูตร 5ปี มาเช่นกัน
งงๆ ว่าพูดไปทำไมมี :?:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mooma
 
โพสต์: 27
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2008, 19:28

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 20 มี.ค. 2008, 20:45

สวัสดีค่ะ

สภาฯโดยนายกสภาฯ เคยให้ข้อมูลว่า 6 ปีจะเน้นไปทางอื่นก็ได้ แต่ขอให้เป็น 6 ปี แต่ถ้าประเมินกันลึกๆแล้วก็รู้ๆกันอยู่ว่า จะนำไปเฉพาะทางสายบริบาลเท่านั้น

ตอนนี้เท่าที่ทราบบางแห่งทำ 6 ปีมีหลายสาขา

ประเด็นที่ต้องคิดคือ จำเป็นต้องเป็น 6 ปีทั้งหมดหรือไม่ ถ้า 5 ปีทำได้ การเพิ่มอีก 1 ปีต้องคิดให้รอบคอบ

ตอนนี้ผู้ใหญ่บางคนพูดว่างานของเราคือ ยา แต่ดูเหมือนจะไม่ได้มองว่า ในเมืองไทย บทบาทเกี่ยวกับยานั้นยังมีอย่างอื่น ตอนนี้การฝึกงานของนักศึกษาปี 4 ช่วง summer มีแต่ฝึกโรงพยาบาลกับร้านยา แล้วก็เริ่มเกิดประเด็นแย่งแหล่งฝึกกันพองาม

งานนี้ได้เห็นอะไรดีๆเยอะอยู่ เป็นประสบการณ์ที่ดีทีเดียว
(หรือจะบอกว่าดีหลายๆทีก็ล่ายอะ) :lol: :wink:

[b]คอยดูว่าเมื่อทุกคณะฯทำหลักสูตร 6 ปีเสร็จแล้วจะมีกี่หน่วยกิต แล้วลองเอาเหตุผลข้อที่ 1 ที่ต้องบังคับใช้หลักสูตร 6 ปี ของสภาฯมาดูทบทวนกันอีกที ดูซินายกสภาฯจะบอกว่ายังไง ไม่ต้องเดา คนที่ตามเรื่อง ONET ANET มาก็คงรู้ว่าจะเป็นอย่างไร[/b]

งานนี้อาจต้องไปถือศีลเพื่อแผ่เมตตา
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง สายตรงถึงสภาเภสัชกรรม

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document