eternity เขียน:ปล.2 ลองไปมองอเมริกานะครับว่าเขาใช้ใครคุมโรงงาน ใช้ใครพัฒนาสูตรตำรับ ใช้ใครเดินยา ใช้ใครคุ้มครองผู้บริโภค แล้วท่านจะเข้าใจว่าทำไมเขาถึงมี Pharm. D. เท่านั้น แต่ที่นี่นั้นไม่ใช่อเมริกาครับ ที่นี่ประเทศไทย ต้องดูบริบท ต้องรับฟัง ไม่ใช่ปิดหู ขอพูดอยู่คนเดียวแบบเบื้องบนน่ะนะ (จะโดนกลั่นแกล้งมั๊ยเนี่ย)
ขอบคุณคุณ eternity ที่แสดงเหตุผลให้เข้าใจ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ผมเองก็ติดใจมาเหมือนกัน แต่ทุกครั้งมักจะลืมด้วยหน้าที่อื่นบังวิสัยมิให้เห็น ส่วนสำคัญคือ กฎหมาย พ.ร.บ.ยา กำหนดบทบาทของเภสัชกรให้เป็นผู้ควบคุมโรงงานผลิตยาด้วย และกฎหมายยังกำหนดให้เภสัชกรมีหน้าที่อื่นๆ ซึ่งบางอย่างอาจไม่ทันต่อการพัฒนาของโลก แต่ผมเองยังไม่อาจทราบได้ว่ากฎหมายของอเมริกา (CFR) กำหนดบทบาทของเภสัชกรในแง่ใดบ้าง
ที่จริงผมเชื่อมั่นว่า ในการประชุมจนออกมาเป็นมติว่าจะบังคับให้เรียนเป็นหลักสูตร 6 ปีทั้งหมด ต้องมีที่มาที่ไปอย่างแน่นอน เพราะการทำงานของผมก็ต้องเข้าประชุมตามสถานการณ์อยู่แล้ว และพบว่าบ่อยครั้งที่เปลี่ยนผู้เข้าประชุมเป็นผู้เข้าประชุมรายใหม่ มักคัดค้านมติเดิม แต่ผู้เข้าประชุมรายใหม่จะเห็นด้วยก็ต่อเมื่อได้รับฟังการอธิบายอย่างแจ่มชัดแล้ว ดังนี้ ผมอยากให้ทุกคนทำความเข้าใจว่า ผู้ที่ยังติดสงสัยว่าเหตุใดจึงต้องบังคับให้เปลี่ยนหลักสูตรโดยเพิ่มเวลาเข้าไปอีก 1 ปี ให้ผู้ที่สงสัยได้เข้าไปค้นหาข้อมูล เข้าไปทำความคิดความเข้าใจกับกลุ่มคนที่ออกมติ เข้าไปเรียนรู้ที่มาที่ไปของเหตุและผล คงจะเป็นประโยชน์มากกว่าจะบ่นและทุ่มเถียง รวมทั้งดูถูกดูแคลนคนที่เรียนต่างหลักสูตร เพราะเป็นมุมมองด้วยวิสัยอันแคบของตนเท่านั้น มะกอกงามควรงามด้วยเสมอกันมิใช่ทะเลาะแลแบ่งแยกกัน
อนึ่งผมเองมิได้ศึกษาหลักสูตรของเภสัชศาสตร์อย่างลึกซึ้งในทุกแง่มุม แต่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณ eternity ที่วิเคราะห์ความจำเป็นของเภสัชกรแต่ละสายงานกับความเพียงพอของการฝึกฝน อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ผมทำงานอิงอยู่กับ evidence base บางครั้งก็ใช้มันมากเกินความจำเป็นอยู่ แต่กรณีเช่นนี้ หากผู้ใดมี substantial evidence ที่จะแสดงได้ว่า การเรียน 6 ปีช่วยให้พัฒนาได้ดีขี้น หรือการเรียน 5 ปีนั้นเพียงพอในการตอบรับทุกภาคส่วนอย่างมีคุณภาพ ก็สนับสนุนให้แจกแจงแก่สาธารณะด้วยครับ
เรื่องของมติระดับชาติ ต้องใช้ความมีเหตุผลเป็นอย่างยิ่งที่จะตัดสินใจและดำเนินการ อยากให้คิดด้วยนะครับว่า การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงใดๆ อย่ามองเพียงแต่วันนี้ สถานการณ์เพียงเท่านี้ ลองปรับวิสัยทัศน์ว่าประเทศไทยเราจะก้าวหน้าแล้วเภสัชกรจะก้าวไกล (ออกนอกประเทศ? หรือนโยบายระหว่างประเทศ?) สักเพียงใด ตัวอย่างสั้นๆ คือ ASEAN Harmonization หากคุณวางแผนรอบคอบแลเตรียมการสำหรับอนาคตแล้ว ย่อมมีประโยชน์มากกว่ามุ่งจะแก้ปัญหาเฉพาะกาล