ขอแสดงความคิดเห็นในฐานะของนิสิตเภสัชฯ ปี 6 ฝึกงาน clerkship สุดท้าย และกำลังจะจบ
พี่ที่แหล่งฝึกถามว่า "น้องรู้มั้ยว่า ขณะที่น้องเรียนปี 6 อยู่ เพื่อนที่เรียน 5 ปี เค้าทำเงินไปแล้วเท่าไหร่"
แล้วก็พูดต่ออีกว่า "เรียน 6 ปีก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น"
แล้วก็มีประโยคหนึ่งที่หลุดออกมาว่า
"เพื่อนพี่บางคนเปลี่ยนงานทุกปี จนตอนนี้ยังหาตัวเองไม่เจอ"นี่คือประเด็น...
บางแง่บางมุม ในบทความที่ได้อ่าน ก็เห็นจะจริงดังที่ จขกท ว่าไว้
แต่อยากให้มองอีกมุมหนึ่งบ้าง...
งานของเภสัชกรมีมากมายหลายด้านแต่การศึกษาเภสัชศาสตร์จะเน้นที่การบริบาลเภสัชกรรมด้านเดียว อีกไม่นาน งานที่เคยเป็นของเภสัชกรก็จะถูกแทนที่ด้วยนักศึกษาจากสาขาอื่น ถ้าตำแหน่งงานในโรงพยาบาลเต็ม เภสัชกรจบใหม่จะไปทำงานที่ไหน
การเรียน 6 ปี ไม่ได้หมายความว่า จะลดความเชี่ยวชาญในสาขาอื่นๆลง เทคโนเรียน 4 ตัวเหมือนกัน ตั้งตำรับยาน้ำ ยาครีม ยาผง ยาฉีด ยาเม็ด หรือควบคุมคุณภาพการผลิตยาในโรงงาน QC/QA เด็ก 6 ปีก็ทำได้ เภสัชเคมี 3 ตัว เภสัชเวท 3 ตัว ก็เรียนเหมือนกัน เภสัชเศรษฐศาสตร์ เภสัชสนเทศ 2 ตัว
กฏหมาย 2 ตัว ก็เรียนเหมือนกัน วิจัยอีก 3 ตัว และ senior project ก็ต้องทำ
หากมีใครที่ติดตามรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย 2551 รางวัลที่ 3 เป็นของคณะเภสัชฯ การพัฒนาสูตรโครงสร้างของยาอัลไซเมอร์
เภสัชเคมีเพียวๆ และไม่ได้เกี่ยวข้องกับคลินิก ทั้งๆที่เป็นเด็กบริบาลเภสัชกรรม ดังนั้น - ไม่จริงเลยที่งานของเภสัชกรจะถูกแทนที่ด้วยสาขาอื่น - ตอนนี้ฝึกงานอยู่บริษัทยางานขึ้นทะเบียนยา การเรียนสานคลินิกมา ทำให้มองภาพงานได้กว้างกว่ามาก
เข้าใจและเรียนรู้งานได้เร็ว และนึกภาพตามงานวิจัยทางคลินิกที่อ่านได้เร็ว เพราะเคยพบเคยเห็นมาหมดช่วงที่ฝึกงาน
ที่บริษัทยาเองก็ยังชอบนิสิตฝึกงาน CRA ที่เป็นเด็ก 6 ปี และเคยฝึกงานโรงพยาบาล แถมยังเรียน pharmacovigilance มาก่อน
ซึ่งก็รวมอยู่ในหลักสูตร 6 ปี ฝึกงานแค่เดือนกว่า ก็รีบเรียกให้กลับมาทำงานเลย
9 เดือนกับ 6 clerkship ที่แตกต่างกัน เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ค้นหาตัวเอง และอย่างน้อยรู้ว่าอยากจะทำอะไรหลังจากจบมา โดยไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนงานไปทุกปีๆ โดยเฉพาะคนที่ยังมีจุดมุ่งหมายไม่แน่นอนว่าอนาคตอยากทำอะไร ก็ได้มาสัมผัสอย่างใกล้ชิดสืบเนื่องจากข้อที่ 2 ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง คนอายุ 23 ปี 2 คน คนหนึ่งเป็นเภสัชกรจบใหม่ 5 ปี รายได้เดือนละประมาณ 17,000 บาท อีกคนเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ปี 6 ฝึกงาน ค่าใช้จ่าย ส่วนตัว เดือนละ 5,000 บาทค่าลงทะเบียนเรียน ปีละ 30,000 บาท สมมติที่พักฟรีในโรงพยาบาล ไม่เสียตังค์ คิดว่า 2 คนนี้ใครมีความสุขกว่ากัน
อันนี้เห็นจริงอย่างว่า ค่าใช้จ่ายในการฝึกงานปีสุดท้ายค่อนข้างสูง แต่ค่าเดินทางและเบี้ยเลี้ยงก็เบิกได้ส่วนหนึ่ง
แต่ประสบการณ์ที่ได้นั้นมันมากกว่าเดือนละ 17,000 บาทมากนั้น
จะมีซักกี่คนที่ได้เห็นข้อมูลเอกสารขึ้นทะเบียนยาใหม่ นอกจากเภสัชกรขึ้นทะเบียนยา และเด็กฝึกงานขึ้นทะเบียนยา
จะมีซักกี่คนที่ได้ไปสัมผัสงานเตรียม TPN เต็มรูปแบบและติดตามการใช้ TPN บนหอผู้ป่วย ได้ออกความคิดเห็นร่วมกับทีมแพทย์ในการปรับเปลี่ยนสูตร TPN หากคนไข้ Electrolyte ไม่ดี (แพทย์ทั่วไป ไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่อง nutrition และ TPN เท่าเภสัชกร)
จะมีซักกี่คนที่ได้ไปสัมผัสงานติดตามตรวจวัดระดับยาในเลือด ดูแลเรื่อง compliance ของผู้ป่วยที่ได้รับยา Therapeutics index แคบ
ไม่ใช่หมอสั่งจ่าย Dilantin, valproate ก็จ่ายไป ไม่ได้แนะนำให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญของการกินยาให้ตรงเวลา และผลเสียที่เกิดขึ้นหากผู้ป่วย noncompliance
ได้ไปเตรียมยาเคมีบำบัด ติดตามการใช้ยาเคมีบำบัด และออกความคิดเห็นร่วมกับแพทย์ถึงเรื่องของ premedication ที่แพทย์ลืมไป
จะมีสักกี่คนที่สามารถเริ่มงานคลินิกพิเศษ warfarin, COPD, HIV ได้เลยโดยไม่ต้อง Train งานใหม่
จะมีสักกี่คนที่ได้ขึ้นไปทำ medical reconcilation บนหอผู้ป่วย และดีใจที่ได้รู้ว่าคนไข้กลับบ้าน ได้ยาเดิมกลับครบถ้วนโดยหมอไม่ลืมตัวไหนไป
จะมีสักกี่คนที่ได้ขึ้นไปรับรู้ว่าพยาบาลบนหอผู้ป่วยใช้ยาฉีด insulin, enoxaparin, G-CSF แบบ SC ยังไม่ถูกเลย และได้เข้าไปช่วยเขาแก้ไขปัญหา
จะมีสักกี่คนที่ได้ขึ้นไปตาม DUE ของยาปฏิชีวนะแสนแพงบนหอผู้ป่วยและพบว่าจากการสั่งใชยานั้น หมอยังไม่เคยสั่งเพาะเชื้อเลย...
- - ยังมีอีกมากที่ขุดมาเล่าไม่หมด - -
และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในเวลาฝึกงานเพียงปีเดียว... ที่บางคน 17,000 บาทไม่อาจหาซื้อได้การบริบาลเภสัชกรรมในร้านยาโดยเภสัชกร 6 ปี ให้ประโยชน์แก่ประชาชนมากกว่าเมื่อเทียบกับเภสัชกร 5 ปีจริงหรือไม่
อันนี้แล้วแต่มุมมองของแต่ละคนค่ะ
ร้านยาที่มีการบริบาลเภสัชกรรมเต็มรูปแบบ เภสัชกรที่จบ 5 ปีก็ทำได้ และอาจทำได้ดีกว่า หากมีใจรักงานเภสัชชุมชนจริงๆ
ตรงที่ มีลูกค้ามาซื้อยา เราซักประวัติอย่างละเอียด จ่ายยาเท่าที่จำเป็น บอกให้เค้าทราบว่ายาแต่ละตัวคือยาอะไร
และจะช่วยรักษาหรือป้องกันอะไรที่เค้าเป็น บอกเค้าได้จะใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะหาย บอกเค้าได้ว่าหากมีอาการสัญญาณอันตรายอะไรบ้าง
ให้ไปหาหมอทันที และบอกเค้าได้ว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้ไม่กลับมาเป็นซ้ำ หรือเพื่อให้ที่เป็นอยู่หายไวขึ้น
..คนไข้มาด้วยปวดหัวตรงท้ายทอยมาก จะมีซักกี่ร้านที่นอกจะจ่ายยาแก้ปวดแล้ววัด BP ให้เค้าด้วย
มีซักกี่ร้านที่มีระบบส่งต่อคนไข้รพ. เพื่อรับการรักษาต่อ มีการส่งต่อระบบคนไข้แพ้ยาที่พบที่ร้าน เพื่อลงบันทึกประวัติใน รพ.ด้วย
หากผ่านการฝึกปฏิบัติการเภสัชฯชุมชนมาแล้ว เรื่องเหล่านี้สามารถทำได้ง่ายมาก
และไม่ยากเลยที่ลูกค้าจะติดใจในบริการ และกลับมาบ่อยๆ...ว่ากันว่า การเรียน 6 ปีจะทำให้เกียรติศักดิ์ของวิชาชีพเทียบเท่าแพทย์ ทันตแพทย์ แล้วถ้ามองในสายตาเป็นธรรม มันเป็นเรื่องจริงแน่เหรอ ในเมื่อความรู้สึกภาคภูมิในในตัวเอง ในงานที่ตัวเองทำ หรือคุณค่าของวิชาชีพ เป็นเรื่องของความรู้สึกส่วนบุคคล คนเราจะไม่มีวันรู้สึกต่ำต้อย ถ้าไม่คิดว่าตัวเองต่ำต้อย ถ้าตรรกะที่ว่า ระยะเวลาการเรียนเท่าแพทย์ หรือทันตแพทย์จะทำให้การยอมรับ เกียรติศักดิ์ของวิชาชีพ หรือแม้กระทั่งรายได้เทียบเท่าวิชาชีพดังกล่าว ถ้าเช่นนั้น การเรียน เภสัชศาสตร์ 7 ปีจะทำให้เภสัชกรได้รับการยอมรับมากกว่าแพทย์ ทันตแพทย์จริงเหรอ
อันนี้เป็นมุมมองส่วนบุคคล แต่ส่วนตัวแล้ว ไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อยกว่าหมอ และไม่เคยรู้สึกว่าหมอสูงส่งกว่าเรา
ช่วงที่ฝึกงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน อาจารย์หมอดีใจนักหนาที่มีนิสิตเภสัชมา round ด้วย และให้ความรู้เรา เหมือนที่เค้าสอนนิสิตแพทย์ หมอไม่ได้รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับยา หมอถามเรื่องยาที่เค้าสงสัยตลอดเวลาว่าเค้าจะให้ยากับเคสนี้มีข้อจำกัดอะไร
ยาตัวนี้ต้องปรับขนาดตาม ClCr มั้ย
ทีม round ที่มีทั้งหมอ เภสัช และพยาบาล เป็นหลักประกันได้ว่าคนไข้จะได้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัย
หมอบางคนบอกว่า "น่าจะมีเภสัชมา round ตั้งนานแล้ว เมื่อก่อนไม่รู้เรื่องยาไม่รู้จะถามใคร กว่าจะเปิดตำราก็เป็นวันๆ"
บางทีคนไข้ได้ยา dose ไม่ถึงก็สะกิดคุยกับหมอได้ทันที หรือยาที่มี interaction กัน มีหมอไม่กี่คนที่ใส่ใจเรื่องนี้
รู้ตัวอีกทีคนไข้ก็ bleed จาก warfarin บางทีก็ลืม OFF ยา
บางจุดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับยาที่หมออาจจะลืมไป เมื่อมีเภสัชขึ้นไปช่วย screen ทำให้หมอทำงานได้มั่นใจขึ้นมาก และไวขึ้นด้วย
และเมื่อมี เภสัชขึ้นไปทำ bedside ถามประวัติการใช้ยาของคนไข้ ยังได้ข้อมูลเพิ่มเติมให้หมอในการหาสาเหตุของโรคได้อีก
เพราะบางโรคก็มีสาเหตุมาจากยานั่นเอง ส่วนตัวแล้วที่ตอบกระทู้นี้ ก็เพราะได้อ่านบทความแล้วไม่อยากให้รุ่นน้องที่กำลังเรียน pharm.d อยู่เป็นกังวล
ปีฝึกงานที่เพิ่มขึ้น 1 ปี ไม่ได้ทำให้ชีวิตหมดความหมายขนาดนั้น
แต่การจะปรับหลักสูตรให้เป็น 6 ปีทั้งหมดก็เห็นจะไม่ถูกต้องนัก เพราะก็สงสารคนที่ตั้งใจจะเป็นเภสัชฯเทคโน แต่ไม่ชอบสายคลินิก
จะต้องมาเสียเวลาฝึกงานในส่วนที่ตัวเองไม่ชอบอีกปีไปเปล่าๆ
การแก้ปัญหาไม่น่าจะมาแก้ที่ปลายเหตุ มาเปลี่ยนหลักสูตร หรือมาแก้กฏหมายให้รองรับ
ควรจะทำความเข้าใจกันตั้งแต่ทีแรกมากกว่า คณะควรไปแนะแนวให้เด็ก ม6 ที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้เข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่เขาจะเรียนน่าจะดีกว่า การมารับรู้กันในวงแคบๆ ก็ไม่รู้ว่าจะมีนักเรียนที่หลงเข้ามาอีกซักเท่าไหร่
เด็กที่เรียน pharm.D. ก็เพียงปีฝึกงานที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ทำให้เมื่อจบมา การไปทำงานในสายคลินิกร่วมกับวิชาชีพแพทย์สามารถทำได้เลย
เป็นเพียงการปลูกฝังว่าหมอกะเภสัชจะต้องช่วยกันดูแลคนไข้นะ
ก็มีไม่น้อยที่จบไปเป็นผู้แทนยา แถมเข้าหาหมอได้ง่ายกว่า และคุยกันเข้าใจ เพราะเรียนรู้งานในระบบโรงพยาบาลมาเป็นอย่างดี
จบมาไปอยู่โรงงาน หรือบริษัทยาก็มีมาก ไม่ได้หมายความว่าเรียนคลินิกจบไปจะทำอย่างอื่นไม่ได้
"เพียงแค่มีประสบการณ์ทางคลินิกมากขึ้น ไม่ได้หมายความว่าความรู้สาขาอื่นจะถูกลดบทบาทลง"ด้วยความเคารพในบทบาทวิชาชีพทางการแพทย์ทุกวิชาชีพ
นิสิตเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 6 มหาวิทยาลัยนเรศวร