หลักการและเหตุผล
ข้อพิจารณา
1.การบังคับใช้กฎหมายต้องเป็นไปอย่างทั่วถึง
2.ปลดล็อกกฎหมายว่าด้วยการ ปฏิบัติการได้ที่เดียวของเภสัช อาจมีบางคนทำหลายที่คนละเวลาเหมือนแพทย์ เนื่องจาก ถ้ามองตามสภาพการณ์จริง จำนวนเภสัชกรอาจจะยังไม่พอกับการอยู่ประจำร้านยา 100% ซึ่งการปลดล็อกเรื่อง 1ใบประกอบต่อ หนึ่งร้านจะทำให้ปัญหาคลี่คลายได้
3.ลดแรงเสียดสีใน สสจ. อาจถูกว่าเลือกปฏิบัติได้ ถ้าดำเนินการใน ขย1 ละเลย ขย2 และอื่นๆ เนื่องจากการปฏิบัติงานจริง มีความใกล้ชิดกับผู้ประกอบการจริง และอาจเกิดความลำบากใจ
4.บริษัทบางแห่งมีช่องทางการจำหน่ายที่ไม่เป็นไปตามกรอบ เช่นการขายตรงถึงมือผู้บริโภคหรือร้านชำ
5.สภาเภสัชกรรม นำเรื่องนี้ต่อรองเพื่อสิทธิประโยชน์ที่ได้เพิ่มขึ้น และการตรวจสอบติดตามในทางปฏิบัติเป็นไปได้จริง
6.เป็นปัญหาที่สะสมมานาน ร้านยาเครือข่ายที่ไม่ถูก จะมีเวลาในการปรับตัว อย่างที่ อย.เคยประกาศ GMP อาหารเพื่อให้โอกาสผู้ประกอบการ กี่ปีก็ว่ากัน แต่ไม่ควรเกิน 2ปี
7.ร้านใหม่ต้องร้านยาคุณภาพเท่านั้น
8.แยกประเภทใบอนุญาตขายยา ระหว่าร้านขายส่งกัลป์ร้านขายปลีก มีข้อกำหนดชัดเจน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาและเพิ่มจำนวนร้านยาคุณภาพ
2.เพื่อแก้ไขปัญหาเภสัชกรแขวนป้าย
3เพื่อพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมชุมชน
กลวิธีดำเนินการ
สภาเภสัชกรรม
1.การจัดการภายใน มีคณะกรรมการพัฒนาระบบร้านยาคุณภาพ สภาเภสัชกรรม
จ้างเภสัชกรมาทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพร้านยาคุณภาพ เป็นองค์กรย่อยสังกัด สภาเภสัชกรรม โดยแบ่งเป็นสองทีม มีหน้าที่ ตรวจเพื่อขึ้นทะเบียนร่วมกับ สสจ. และอีกหน่วยมีหน้าที่ สุ่มตรวจคุณภาพร้านยาที่ผ่านเกณฑ์แล้ว
ต้นทุนในการดำเนินการ 3000บาท/แห่ง/2 ปี ขย.1 มี 10000 ร้าน ขอใหม่และหมดอายุ ปีละ 5000 ร้าน ปีละ 15บาทเป็นต้นทุนในการดำเนินการ ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อการจ้างเจ้าหน้าที่ดำเนินการได้
2.ทำหนังสือขอความร่วมมือจาก อย.เพื่อบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัดโดย
ร้านยาเปิดใหม่ จะออกใบอนุญาต ต่อเมื่อขอประเมินผ่านร้านยาคุณภาพ
จัดทำรายการที่ชัดเจนระหว่าง ยาที่อนุญาตให้จำหน่าย ตามประเภทใบอนุญาต เช่น รายการใดบ้างที่จำหน่ายให้กับ ขย1 ได้ แต่จำหน่าย ขย2 ไม่ได้
การตรวจสอบให้เป็นไปโดยเคร่งครัด โดยอนุโลมให้ทำให้ถูกต้องภายใน ระยะเวลา 1 ปี
แก้ไขกฎที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเภสัชกร ให้ทำได้เหมือนแพทย์ เรื่องเงื่อนเวลาในการปฏิบัติงานในร้านต่างๆ เช่น เช้า อยู่ที่ร้าน ก. บ่าย ก ปิด ไปอยู่ที่ ข.ได้ แต่ละร้านเปิดเฉพาะเวลาที่เภสัชกรอยู่ ถ้าไม่อยู่ให้ขายได้เฉพาะที่เป็นรายการบรรจุเสร็จ
3.ดำเนินการเรื่องสิทธิประโยชน์ และสิ่งที่จะได้รับเมื่อการปรับเปลี่ยนเป็นร้านยาคุณภาพ (เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการระยะแรก) เช่น การเข้าร่วมเป็นสถานบริการดูแลโรคเรื่อรังเบาหวาน ความดัน ร่วมกับ สปสช.,หรืออื่นๆ
4.พัฒนาโปรแกรมเพื่อบันทึกข้อมูลการบริบาลผู้ป่วย เพื่อมาตรฐานการปฏิบัติงานในแนวเดียวกัน
อย.
1.ดำเนินการตามสภาเภสัชกรรมร้องขอ โดยการเขียนแผนงานโครงการรองรับ
2.กำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินการตามแผน เพื่อให้สถานประกอบการทุกแห่งปฏิบัติการตามกฎหมาย เมื่อถึงวันที่กำหนด ให้มีการตรวจสอบเพื่อบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด ทั้ง ร้านยาทุกประเภท ร้านชำ รถเร่ หรืออื่นๆ
3.ออกฎกระทรวงแยกประเภทร้านยาให้ชัดเจน เป็นร้านขายส่ง ขายให้กับผู้ประกอบวิชาชีพ หรือร้านปลีก มีหน้าที่จำหน่ายให้ผู้บริโภคโดยตรง
4.แก้กฎหมายเรื่องสถานที่ปฏิบัติการของเภสัชกร ให้สามารถปฏิบัติการหลายที่ตามช่วงเวลาที่ควรเป็นได้ เช่น
จันทร์-ศุกร์ โรงงาน....... เวลา 9.00-17.00 18.00-20.00 ร้าน......
เสาร์ เวลา.... ร้าน........ เวลา ร้าน.....
อาทิตย์ หยุดพักผ่อน
สสจ. พนักงานเจ้าหน้าที่ทุกระดับ
ดำเนินการตามที่อย.ระบุโดยการจัดทำแผนงานโครงการรองรับ
จัดประชุมวิชาการผู้ประกอบการร้านยาในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรืออื่นๆ ตามความร่วมมือที่ได้รับ
ควบคุมกำกับ ยาที่ขายในรูปแบบการขายตรง และการโฆษณาในสื่อต่างๆให้มีความถูกต้องเหมาะสม
พัฒนาสถานีอนามัยให้เป็นที่พึงด้านสุขภาพของประชาชนที่อยู่ห่างไกล
ผู้ประกอบการ
ปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น การเปิดทำการเฉพาะช่วงเวลาที่เภสัชกรอยู่ หรือจัดหาเภสัชกรมาประจำที่ร้านตามเวลาเปิดทำการ การแยกประเภทร้าน ขายส่ง ขายปลีก
การเปิดโอกาสให้ น้องเภสัชกรเข้ามาถือหุ้นในกิจการ เพื่อแก้ไขปัญหา การขาดบุคลากร เหมือน สำนักงานทนายความ หรืออื่นๆ
มหาวิทยาลัย
จัดหลักสูตรการอบรมระยะสั้นเพื่อพัฒนาคุณภาพเภสัชกรชุมชน เพื่อการบริบาลผู้ป่วยให้สอดคล้องกับสภาพการดำเนินการ เช่น ประชุมระยะสั้น ในกลุ่มจังหวัด ประชุมวันเสาร์
บริษัทยา จำหน่ายยาให้กับผู้เกี่ยวข้องตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ส่งรายงานรายชื่อลูกค้าให้กับ สสจ.หรือ อย.ได้ทราบ
ระยะเวลาดำเนินการ
2554-2556(สมมติครับ)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ขย.1 ทุกแห่งเป็นร้านยาคุณภาพ
การแขวนป้าย ไม่เกิดขึ้นในวิชาชีพเภสัชกรรม อีกต่อไป
แก้ไขปัญหาการขาดแคลนที่เกิดขึ้นถ้าใช้นโยบายที่ตึงตัวเกินไปได้(แก้ไขเวลาปฏิบัติการ)
ทุกคนทุกองค์กร มีความสุขในการปฏิบัติหน้าที่
กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์ ถูกบังคับใช้อย่างเสมอภาค
แนวทางที่เสนอ ผมคิดว่าเป็นทางออกที่ละมุนละม่อมที่สุด ทั้งสภา ผู้บังคับใช้กฎหมาย ผู้ประกอบการ ประชาชน ครับ
PHARMAKOP
