|
ห้องเภสัชกร
โดย เภสัชทุง » 02 ต.ค. 2010, 13:14
มีข้อมูลใหม่ว่า การที่สภาเภสัชกรรมถอนเรื่องจากเลขา รมว.ออกไปนี้ ชอบหรือไม่ ผ่านมติกรรมการสภาไหม ทั้งที่หลักฐานของเอกสารสมบูรณ์ทุกอย่าง ผมเพิ่งได้เอกสาร เห็นแล้วอึ้ง
หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ว่า คือ หนังสือจากสภาเภสัชกรรมลงวันที่ 29 กค. 52 เสนอให้สภานายกพิเศษ (รมว.สธ.) เห็นชอบข้อบังคับฯ ว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ และ สำนักงานรัฐมนตรี สธ. รับเรื่องตั้งแต่ 30 กค. 52 นั้น มันชัดเจนมาก ว่า เกินกำหนดระยะเวลา 15 วัน ตามที่กำหนดใน ม.27 ของ พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 ซึ่งบอกว่า หากสภานายกพิเศษไม่ได้ยับยั้งเรื่องภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสภาเภสัชกรรม ถือว่า สภานายกพิเศษให้ความเห็นชอบ
หากนับเวลาตามกำหนด คือ วันที่ 13 สค. 52 ครับ
ดังนั้น หากสภาเภสัชกรรมนำข้อบังคับฯ ไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ จึงไม่เข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายครับ หากมีกระบวนการฟ้องร้องถึงศาลครับ
-

เภสัชทุง
-
- โพสต์: 417
- ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57
-
โดย kohboy » 02 ต.ค. 2010, 19:06
ผมว่า.. .." งานนี้ สภาฯชุดปัจจุบันชนะได้ ถ้า... "วงเล็บ ๑. ( ผมทิ้งคำว่า จุด จุด จุด ไว้ เพราะผมไม่เชียร์ข้างใดข้างหนึ่งเป็นการเฉพาะ, และ เพราะผมอยู่ห่างจากเรื่องนี้เกินไป (เพราะผมอยู่กลางทะเล) ) วงเล็บ ๒. ( ถ้าฝั่งของสภาไม่จุด จุด จุด . ฝ่ายผู้เรียกร้องก็จะกลับเป็นฝ่ายชนะ (เมื่อมีการร้องขอให้ศาลตัดสิน) ) 
-

kohboy
-
- โพสต์: 1437
- ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51
โดย Puttipu3 » 02 ต.ค. 2010, 20:13
พี่ทุงครับ
"หากนับเวลาตามกำหนด คือ วันที่ 13 สค. 52 ครับ"
มันตั้งปีกว่าแล้วนะ.. ทำไม..ไม่ตามตั้งแต่ปีก่อนนะครับ.. ป่านนี้..ก็รู้ดำ..รู้แดง..กันแล้วครับ
-
Puttipu3
-
- โพสต์: 72
- ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 22:57
โดย เภสัชทุง » 02 ต.ค. 2010, 23:48
Puttipu3 เขียน: : มันตั้งปีกว่าแล้วนะ.. ทำไม..ไม่ตามตั้งแต่ปีก่อนนะครับ.. ป่านนี้..ก็รู้ดำ..รู้แดง..กันแล้วครับ ที่ผ่านมาเราก็ตามมาตลอดครับ แต่อยากใช้การพูดคุยแบบพี่แบบน้อง ด้วยเหตุด้วยผลก่อน การฟ้องร้องจะใช้เป็นวิธีสุดท้าย ซึ่งช่วงปี 52 ก็เป็นปีที่หมดวาระของสภาเภสัชฯ ชุด อ.ภาวิช จากนั้น สภาฯ ชุดใหม่ กว่าจะเริ่มประชุมครั้งแรกก็เป็นเดือน กพ.53 เพราะมีปัญหาการเลือกตั้งที่ต้องเลื่อนออกไป เราก็ให้โอกาส จนกระทั่งมันคงไม่มีวิธีการที่ดีกว่านี้อีกแล้ว
พูดไป วิชาชีพสาขาคุ้มครองผู้บริโภค เหมือนมีวิบากกรรมครับ เพราะเราต้องติดตามเร่งรัดสภาฯ ตั้งแต่ปี 2551 เพื่อให้นายกสภาฯ คนก่อน (อ.ภาวิช) ลงนาม จนมาสภาฯ ชุดนี้ ก็ต้องมาตามให้สภาฯ ติดตามสภานายกพิเศษ (รมว.สธ.) เห็นชอบอีก ทั้งที่พวกเราไม่มีตำแหน่งใดๆ ในสภาฯ เลย
ขอย้อนรอยถึงความเป็นมาของการติดตามข้อบังคับการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ ฉบับมาราธอน ที่สงสัยต้องจารึกไปชั่วลูกชั่วหลานก็ได้
- 18 มิย. 50 สภาฯ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพื่อจัดทำข้อบังคับฯ และหลักสูตรวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภค - 20 ตค. 51 คณะอนุกรรมการฯ ส่ง ร่างข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพให้นายกสภาเภสัชกรรม (ศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์) ลงนาม - 11 ธค. 51 ชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคอีสานทำหนังสือเสนอความเห็นเรียกร้องให้นายกสภาเภสัชกรรมพิจารณาสนับสนุนการจัดตั้งวิทยาลัยฯ และรีบลงนามข้อบังคับฯ (เพราะทราบว่า ยังไม่ยอมลงนาม) - 15 ธค. 51 ที่ประชุมกรรมการสภาเภสัชฯ มีมติเห็นชอบให้ออกข้อบังคับฯ วิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ
- 29 กค. 52 นายกสภาเภสัชกรรม (ศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์) ได้ลงนามข้อบังคับฯ และส่งเรื่องให้สภานายกพิเศษให้ความเห็นชอบ (สังเกตไหมว่า กว่าจะลงนาม ก็ผ่านไป 7 เดือน หลังสภามีมติเห็นชอบ ??? ซึ่งช่วงนั้น ก็มีการเรียกร้องให้ลงนามมาตลอด) - 30 กค. 52 สำนักงานรัฐมนตรี สธ. ลงรับหนังสือของสภาฯ ที่ขอความเห็นชอบออกข้อบังคับฯ วิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภค - 13 สค. 52 หนังสือถูกส่งไปที่กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพิจารณา ซึ่งกลุ่มกฎหมายได้ประสานงานกับสภาฯ ให้ทำประชาพิจารณ์ และความเห็นของภาคีวิชาชีพอื่นมาเพื่อประกอบการพิจารณา - 29 ตค. 52 ชมรมเภสัชกรจังหวัดนครพนมมีหนังสือทวงถามการออกข้อบังคับฯ วิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ ว่า ยังมิได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งขัดต่อ มาตรา 27 ของ พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 เนื่องจากเกินกำหนด 15 วันที่สภานายกพิเศษไม่ได้ยับยั้ง - 30 ตค. 52 สภาเภสัชกรรมส่งข้อมูลการทำประชาพิจารณ์ และ ความเห็นภาคีวิชาชีพอื่นเกี่ยวกับร่างข้อบังคับฯ วิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ ซึ่งผลปรากฏว่า ไม่ขัดข้อง ให้แก่กลุ่มกฎหมาย สป. - 13 พย. 52 เลขาธิการสภาเภสัชกรรม (ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์) มีหนังสือตอบข้อทวงถามของชมรมเภสัชกรจังหวัดนครพนม เกี่ยวกับการออกข้อบังคับฯ ที่ขัดต่อกฎหมาย โดยแจ้งว่า อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบและให้ความเห็นของกลุ่มกฎหมาย ซึ่งสภานายกพิเศษ อาจยังถือว่าไม่ได้รับเรื่องก็ได้ สภาเภสัชกรรมเห็นว่า หากใช้เวลาเกินที่กฎหมายกำหนด แต่ผู้เกี่ยวข้องเห็นชอบร่วมกัน ก็จะทำให้มีความราบรื่น และหากมีความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าว ก็อาจมีผู้ทักท้วงว่า สภาทำผิดกฎหมายวิชาชีพเภสัชกรรม เพราะ การคุ้มครองผู้บริโภคไม่ใช่การประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย
- 15 กพ. 53 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เห็นชอบข้อบังคับฯ วิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ และเสนอสภานายกพิเศษลงนาม (จากนั้น เรื่องก็เงียบไปนาน) - 28 พค. 53 ผมได้ซักถามท่านนายกสภาเภสัชกรรม และ ภก.วิพิน ในการประชุมการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับเภสัชกร ซึ่งได้รับคำชี้แจงว่า ทราบว่าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด สภานำมาประกาศบังคับใช้ได้ แต่หากทำอย่างนั้น จะมีปัญหาในการประสานงาน - 5 กค. 53 ผมได้สอบถาม ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ ทาง facebook จึงทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า ร่างข้อบังคับฯ กลุ่มกฎหมายฯ ตอบมาแล้ว แต่หาหนังสือไม่พบ และรับปากว่าจะตามเรื่องให้
- 3 สค. 53 ชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีหนังสือถึงสภาเภสัชกรรม เพื่อทวงถามเรื่องนี้จากสภาฯ เป็นครั้งสุดท้าย และสำเนาแจ้ง รมว.สธ. ด้วย เนื่องจากท่านให้ความสำคัญกับงานคุ้มครองผู้บริโภคมาก หากพ้นจากวันที่ 30 กย. 53 สภาเภสัชฯ ยังไม่ได้ทำอะไร ชมรมฯ จำเป็นต้องพึ่งพาความเป็นธรรมจากศาลปกครอง - 20 สค. 53 สำนักงานรัฐมนตรี มีหนังสือแจ้งประธานชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภก.บรรเจิด เดชาศิลปชัยกุล) ให้ทราบว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาแล้ว และทราบภายหลังว่า สำนักงานรัฐมนตรีได้ส่งหนังสือฉบับนั้นให้สภาเภสัชกรรมพิจารณาให้ความเห็นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2553 แต่ยังไม่ได้รับการตอบชี้แจงจากสภาเภสัชกรรม - 20 กย. 53 สภาเภสัชกรรมได้เชิญตัวแทนจากชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องของเภสัชกรด้านคุ้มครองผู้บริโภค ที่ประชุมมีมติให้ อุปนายกสภาเภสัชกรรมคนที่หนึ่ง (ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์) ติดตามการออกข้อบังคับฯ และแจ้งตัวแทนชมรมเภสัชสาธารณสุข คือ ผมทราบทางอีเมลและช่องทางอื่นๆ และให้มีการตั้งอนุกรรมการศึกษาแนวทางการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภค การเพิ่มหลักสูตรพัฒนาทักษะพื้นฐานงานคุ้มครองผู้บริโภค ในหลักสูตรปริญญาตรี 6 ปี รวมทั้งให้เร่งประชาสัมพันธ์ประเด็นวิชาชีพให้สังคมให้การยอมรับ ซึ่งในวันประชุม ภก.กิตติ ก็แจ้งว่า หนังสืออยู่ที่ เลขา อย. เพราะ รมว.สธ.ส่งให้พิจารณา โดยไม่มีการพูดถึงหนังสือที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบตั้งแต่ 15 กพ. 53 และแจ้งว่า หากเอกสารหาย ก็ต้องทำเสนอขึ้นไปใหม่ - 30 กย. 53 อุปนายกสภาเภสัชกรรมคนที่หนึ่ง (ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์) ไปขอถอนเรื่องเสนอข้อบังคับฯ วิทยาลัยฯ และ ร่างข้อบังคับฯ อีก 3 ร่างที่ค้างการพิจารณา คืนจากเลขานุการ รมว.สธ. และแจ้งว่าจะนำไปเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมในการประชุมเดือนตุลาคม และจะเสนอเข้ามาอีกครั้ง ซึ่งก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า การขอถอนร่างข้อบังคับฯ ทั้ง 4 เรื่อง ยังไม่มีมติกรรมการสภาเภสัชกรรมให้ดำเนินการ และ รมว.สธ. ไม่ได้สั่งการให้ถอนเรื่อง ???
-

เภสัชทุง
-
- โพสต์: 417
- ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57
-
โดย Puttipu3 » 03 ต.ค. 2010, 18:02
พี่ทุงครับ
- 30 กย. 53 อุปนายกสภาเภสัชกรรมคนที่หนึ่ง (ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์) ไปขอถอนเรื่องเสนอข้อบังคับฯ วิทยาลัยฯ และ ร่างข้อบังคับฯ อีก 3 ร่างที่ค้างการพิจารณา คืนจากเลขานุการ รมว.สธ. และแจ้งว่าจะนำไปเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมในการประชุมเดือน ตุลาคม และจะเสนอเข้ามาอีกครั้ง ซึ่งก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า การขอถอนร่างข้อบังคับฯ ทั้ง 4 เรื่อง ยังไม่มีมติกรรมการสภาเภสัชกรรมให้ดำเนินการ และ รมว.สธ. ไม่ได้สั่งการให้ถอนเรื่อง ??
จริงหรือครับ... ...พี่กิตติไปขอถอนเรื่องกลับมาทำไม?
ต้องทำหนังสือ..ไปแจ้งหรือไม่..ครับ
ราชการ..เขาทำอย่างไรกัน..ครับ
-
Puttipu3
-
- โพสต์: 72
- ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 22:57
โดย เภสัชทุง » 04 ต.ค. 2010, 23:27
อุปนายกฯ คนที่หนึ่ง (ภก.กิตติ พิทักษืนิตินันท์) ได้ยื่นขอถอนหนังสือติดตามการเห็นชอบการออกข้อบังคับฯ ที่ค้างการพิจารณาที่สำนักงานรัฐมนตรี 4 เรื่อง ซึ่งรวมถึง ข้อบังคับฯ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อนำกลับไปพิจารณาในที่ประชุมกรรมการสภาเภสัชกรรมในวันที่ 18 ตค. 53 เป็นมติใหม่นั้น ได้มีผู้ทักท้วงว่า
ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเป็นการดึงเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว มาเริ่มกระบวนการพิจารณาใหม่ ทั้งที่ยังไม่ได้นำเรืองเดิมไปลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่ภายหลัง ภก.กิตติ ได้แจ้งว่า จะไม่นำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาในการประชุมสภาเภสัชกรรมดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงของสมาชิกสภาเภสัชกรรมต่อการสนับสนุนการจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ เพื่อเป็นองค์กรในการพัฒนาความเชี่ยวชาญการประกอบวิชาชีพสาขาการคุ้มครองผู้บริโภค ชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัด จึงได้ทำหนังสือรวบรวมรายชื่อสมาชิกเพื่อสนับสนุนและจะนำเข้าที่ประชุมสภาเภสัชกรรมในวันที่ 18 ตค. 53 โดยเรียกร้องสามประเด็น ได้แก่
1. ให้จัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ควบคู่กับการพัฒนาทักษะ ความชำนาญพื้นฐานของการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ในระดับปริญญาตรี 6 ปี
2. ให้สภาเภสัชกรรม ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้ข้อบังคับฯ ได้ประกาศใช้ต่อไป
3. ให้สภาเภสัชกรรมเร่งรัดการตั้งอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ โดยมีองค์ประกอบจากผู้เกี่ยวข้องทุกส่วน และเร่งประชุมโดยเร็ว
ดังนั้น ผมในฐานะที่ได้รับมอบหมายจาก ภก.ชูชัย รัตนศรีทอง ประธานชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัด จึงขอเชิญชวนทุกท่านร่วมลงชื่อในหนังสือที่แนบมาพร้อมนี้ และส่งไปยัง สำนักงานเลขาธิการสภาเภสัชกรรม อาคาร 6 ชั้น 7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี Fax 0-2590-2439 0-2590-1877 Email : pharthai@pharmacycouncil.org
ในวันนี้ ผมได้รวบรวมรายชื่อเภสัชกร สสจ.ทุกภาค ทั่วไทยลงชื่อสนับสนุน ซึ่งส่วนใหญ่เห็นเป็นเอกฉันท์สนับสนุนการจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ
!!!! ขอพวกเราได้ รวมพลังกันอีกครั้ง เพื่อให้กรรมการสภาเภสัชกรรม รับรู้ว่า
นี่คือความต้องการของสมาชิก !!!
- แนบไฟล์
-
rxpub.doc
- ไฟล์ Word 2003
- (62 KiB) ดาวน์โหลด 761 ครั้ง
-
rxpub.pdf
- (124.66 KiB) ดาวน์โหลด 663 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย เภสัชทุง เมื่อ 04 ต.ค. 2010, 23:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
-

เภสัชทุง
-
- โพสต์: 417
- ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57
-
โดย winzzz » 04 ต.ค. 2010, 23:37
เอา file word ด้วยลงด้วย จะได้พิมพ์แล้วส่งทาง mail ได้ง่ายขึ้น
-
winzzz
-
- โพสต์: 77
- ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 21:41
- ที่อยู่: Thailand
โดย เภสัชทุง » 06 ต.ค. 2010, 19:01
เรียน เครือข่ายเภสัชกรผู้ประกอบวิชาชีพด้านคุ้มครองผู้บริโภคทุกท่าน เนื่องด้วยสภาเภสัชกรรมจะมีการประชุมกรรมการเพื่อพิจารณาข้อบังคับฯ ว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพในวันจันทร์ที่ 18 ตค. 53 ซึ่งข้อบังคับฯ ฉบับนี้ สำนักงานรัฐมนตรี สธ.ได้ลงรับหนังสือที่สภาเภสัชกรรมส่งมาตั้งแต่วันที่ 30 กค. 52 และ รมว.สธ.ไม่ได้ยับยั้งภายใน 15 วัน ครบกำหนดวันที่ 13 สค. 52 จึงถือว่า รมว.สธ.เห็นชอบตาม ม.27 แห่ง พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรมพ.ศ.2537 สามารถนำไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับได้ หากข้อบังคับฯ ดังกล่าวได้ลงในราชกิจจานุเบกษา จะถือว่า วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคได้ถือกำเนิดทันที จะมีกระบวนการคัดสรร ผอ.วิทยาลัยฯ ชั่วคราว และมีการสอบหนังสืออนุมัติ และผู้ที่สอบได้หนังสืออนุมัติ จะเป็นกำลังสำคัญในการวางรากฐานหลักสูตรและแหล่งฝึกงานสำหรับการสอบวุฒิบัตรต่อไป เท่าที่ผมได้คุยกับท่านนายกสภาเภสัชกรรม (อ.ธิดา นิงสานนท์) เมื่อบ่ายวันที่ 5 ตค. 53 ท่านยืนยันว่า สภาเภสัชกรรมชุดนี้สนับสนุนให้วิทยาลัย คบส.เกิดแน่นอน แต่มีความเห็นต่างในความชัดเจนของหลักสูตรและรูปแบบของวิทยาลัยฯ และการประชุมในวันที่ 18 ตค. 53 มีความเห็นต่างว่า จะลงมติให้นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือ ลงมติใหม่เพื่อส่งให้สภานายกพิเศษเห็นชอบ ซึ่งท่านนายกฯ จะไปถามความเห็นของนักกฎหมายเพื่อแจ้งที่ประชุม ขณะเดียวกัน สภาเภสัชกรรมก็กำลังแต่งตั้งอนุกรรมการประสานงานความชัดเจนในการจัดตั้งวิทยาลัย คบส. เช่นเดียวกับ ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ อุปนายกสภาเภสัชกรรมคนที่หนึ่ง ก็ได้มีอีเมลเมื่อวันที่ 5 ตค. 53 ยืนยันว่า สภาฯ สนับสนุนให้มีการจัดตั้งวิทยาลัย คบส.ร่วมกับการเรียนหลักสูตรปริญญา ตามข้อเสนอในหนังสือของชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัด เพื่อแสดงความต้องการของเรา จึงขอให้พวกเราได้แสดงพลัง ส่งความเห็นถึงกรรมการสภาเภสัชกรรม ทั้ง 24 ท่าน ตามอีเมลข้างล่างนี้ ว่า เราสนับสนุนให้มีการจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพสาขาคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยในการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ก่อนวันที่ 18 ตุลาคม 2553 นี้ด้วยครับ
รายชื่ออีเมลของกรรมการสภาเภสัชกรรม
"ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด" <freshwirat@yahoo.com>, "ภก.ธีระ ฉกาจนโรดม" <teera.c@olic-thailand.com>, "ภก.ผศ.ดร.ปรีชา มนทกานติกุล" <pypmt@mahidol.ac.th>, "ภก.ผศ.ดร.มังกร ประพันธ์วัฒนะ" <mangkornp@gmail.com>, "ภก.ภาณุโชติ ทองยัง" <parnuchote@yahoo.com>, "ภก.รศ(พิเศษ)กิตติ พิทักษ์นิตินันท์" <kittipitak@gmail.com>, "ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร" <kworawit@gmail.com>, "ภก.อำนวย พฤกษ์ภาคภูมิ" <amnouyppp@yahoo.com>, "ภญ.ช้องมาศ นิติศฤงคาริน" <smartmas@hotmail.com>, "ภญ.ดาริน จึงพัฒนาวดี" <darinaoy@gmail.com>, "ภญ.นิภาพร บุญศรารักษพงศ์" <ni_boon@yahoo.com>, "ภญ.ผศ.อภิฤดี เหมะจุฑา" <ajnue@hotmail.com>, "ภญ.ยุพิน ลาวัณย์ประเสริฐ" <yupin589@hotmail.com>, "ภญ.รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์" <jiraporn.l@chula.ac.th>, "ภญ.รศ.ดร.จุฑามณี สุทธิสีสังข์" <pycst@mahidol.ac.th>, "ภญ.รศ.ดร.จุไรรัตน์ นันทานิช" <jrr@su.ac.th>, "ภญ.รศ.ดร.เฉลิมศรี ภุมมางกูร" <cpummangura@yahoo.com>, "ภญ.รศ.ดร.บังอร ศรีพานิชกุลชัย" <bungorn@kku.ac.th>, "ภญ.รศ.ดร.พิณทิพย์ พงษ์เพ็ชร" <pintip.p@chula.ac.th>, "ภญ.รศ.ธิดา นิงสานนท์" <thida_n@yahoo.com>, "ภญ.ศรีวิมล เสถียรทรัพย์" <sriwimol_ch@yahoo.com>, "ภญ.อาภรณ์ จตุรภัทรวงศ์" <apornja@yahoo.com>, "เลขานุการ_ภญ.รศ.ดร.เฉลิมศรี ภุมมางกูร" <phm2@siam.edu>
แก้ไขล่าสุดโดย เภสัชทุง เมื่อ 07 ต.ค. 2010, 01:18, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
-

เภสัชทุง
-
- โพสต์: 417
- ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57
-
โดย เภสัชทุง » 06 ต.ค. 2010, 19:04
ข้อมูลทางวิชาการ
1. ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ ประเทศไทย สภาเภสัชกรรม มีความสมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการ สามารถนำไปประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้การจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ เริ่มนับหนึ่งทันที เหตุผลเพราะ - ข้อบังคับฯ ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมคณะกรรมการสภาเภสัชกรรม ครั้งที่ 164 (12/2551) วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม 2551 - ที่ประชุมภาคีวิชาชีพด้านสุขภาพด้านสุขภาพ ครั้งที่ 4/2552 วันอังคารที่ 23 มิถุนายน 2552 ได้เห็นด้วยกับข้อบังคับฯ ดังกล่าว - ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มีบันทึกข้อความที่ สธ 0201.042.2/212 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 มีความเห็นว่า ข้อบังคับฯ นี้ได้กำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม จึงสมควรให้ รมว.สธ ในฐานะสภานายกพิเศษ พิจารณาให้ความเห็นชอบข้อบังคับฯ ตาม มาตรา 27 ของ พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 - สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข ได้ลงรับหนังสือสภาเภสัชกรรมที่ สภ 01/01/431 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 ที่ส่งข้อบังคับฯ เพื่อให้สภานายกพิเศษเห็นชอบ โดยได้ลงรับถูกต้องเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2552 - จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ปรากฎว่า สภานายกพิเศษได้แจ้งยับยั้งข้อบังคับฯ ดังกล่าว ซึ่งตาม มาตรา 27 ของ พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 ได้กำหนดว่า ในกรณีที่สภานายกพิเศษมิได้ยับยั้งภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับมติที่นายกสภาเภสัชกรรมเสนอ ให้ถือว่า สภานายกพิเศษให้ความเห็นชอบตามมตินั้น เมื่อพิจารณาเวลา 15 วันตามที่กฎหมายกำหนด สรุปว่า ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2552 ถือว่า สภานายกพิเศษได้ให้ความเห็นชอบข้อบังคับฯ แล้ว สามารถนำไปประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาได้
2. ประเด็นข้อสงสัยที่ว่า งานคุ้มครองผู้บริโภคไม่ใช่วิชาชีพ จึงไม่สามารถพัฒนาความเชี่ยวชาญได้นั้น ขอเรียนว่า การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ เป็นคนละส่วนกับนิยามวิชาชีพ เพราะการสอบเพื่อหนังสืออนุมัติและวุฒิบัตร เป็นการพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพของเรา คือ เภสัชกรให้มีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์เพื่อไปประกอบวิชาชีพ หรือ ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคก็ได้ ไม่ได้ลิดรอนสิทธิของวิชาชีพอื่นไม่ให้ทำงานด้านนี้ หรือ ผู้ที่จบหลักสูตรนี้ จะสามารถประกอบวชิชีพได้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เพราะขอบเขตการประกอบวิชาชีพ ต้องเป็นไปตามนิยามวิชาชีพตามกฎหมายวิชาชีพเท่านั้น ซึ่งแนวคิดนี้ ภาคีวิชาชีพก็ได้เห็นด้วยข้อบังคับสภาฯ ว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ เมื่อวันอังคารที่ 23 มิย. 52 โดยไม่ขัดแย้งเหมือนการพิจารณาร่าง พรบ.วิชาชีพด้านสาธารณสุข ที่พิจารณาในวันเดียวกัน ตัวอย่างของแพทยสภา ก็มีวุฒิบัตรเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา อาชีวเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ สุขภาพจิตชุมชน เวชศาสตร์การบิน ทันตแพทยสภา ก็มีวุฒิบัตร ทันตสาธารณสุข ซึ่งหากพิจารณาตามนิยมวิชาชีพ ก็ไม่มีกำหนดเช่นกัน และก็ทับซ้อนกับวิชาชีพอื่นได้ ดังนั้น เหตุผลที่ว่า ไม่ใช่วิชาชีพ คนอื่นทำได้ด้วย จึงไม่ใช่เหตุผลที่จะมายับยั้งการจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ แต่อย่างใด 3. งานคุ้มครองผู้บริโภค มีทักษะที่ต้องได้รับการฝึกเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ ซึ่งตาม role profile ของ กพ.ลงวันที่ 11 ธค. 2551 ได้แจ้งลักษณะงานของตำแหน่ง เภสัชกร ที่ระบุชัดเจนว่า งานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นงานของเภสัชกรที่ต้องได้รับการประเมินและพัฒนาทักษะวิชาชีพ ซึ่งในส่วนของ สสจ. มีคณะทำงานที่อยู่ระหว่างจัดทำ ตัวอย่างทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ ทักษะในการสืบค้น ตรวจสอบข้อมูลยา เครื่องสำอาง เพือการขึ้นทะเบียน/จดแจ้ง ทักษะในการบริหารความเสี่ยงของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทักษะทางในการวิเคราะห์ระบบและสังเคราะห์นโนบาย ทักษะการตรวจสอบยาและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพในร้านยา ทักษะในการวางแผนและปฏิบัติการในการบังคับใช้กฎหมายด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทักษะเภสัชระบาดวิทยาในการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
-

เภสัชทุง
-
- โพสต์: 417
- ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57
-
โดย Puttipu3 » 07 ต.ค. 2010, 15:24
พี่ทุงครับ ทำไม..เรื่องนี้..ต้องคอยกระทุ้ง..สภาเภสัช..อย่างต่อเนื่อง..ต้อง 2 สมัย สภาเภสัช..ชุดที่แล้ว..อ.ภาวิชน์..เห็นด้วย..จริงหรือครับ.. ชุดนี้..ก็..ติดตามอีก..
ทำไมสภาเภสัชทั้ง 2 สมัย..ไม่ค่อยเห็นด้วยกับเรื่องนี้ครับ..
-
Puttipu3
-
- โพสต์: 72
- ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 22:57
โดย Puttipu3 » 07 ต.ค. 2010, 20:22
พี่ทุงครับ (เข้าใจว่า เอกสารของเดิมน่าจะหาย) ตกลง..เอกสาร..เดิม.งหายรีเปล่า..ครับ
ช่วยใช้ภาษาง่ายๆ..หน่อยได้ไหมครับ.. ใช้..ภาษากฎหมาย..แล้ว..งง..มึนหัว..
อยาก..ให้..ความจริง..ปรากฏ..จริงๆ...
ใคร..โกหก..พูดเท็จ..ใส่ร้าย..ผู้อื่น.. ขอให้..ฉิบหาย..ไม่ได้..ผุดไม่ได้เกิด..ทั้ง..โคตร..เลย..
-
Puttipu3
-
- โพสต์: 72
- ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 22:57
โดย เภสัชทุง » 07 ต.ค. 2010, 21:13
ที่ใช้คำว่า "เข้าใจว่าเอกสารของเดิมน่าจะหาย" เนื่องจากแหล่งข้อมูลที่ผมได้รับ ไม่ได้มาจากสำนักงาน รมต.
แต่มาจากพี่กิตติ และ อีกฝ่าย ก็ให้ข้อมูลในทางเดียวกันครับ
หรืออย่างการถอนร่างข้อบังคับเดิมฯ เมื่อสอบถามไปทางพี่กิตติ ก็แจ้งว่า ถอนแค่หนังสือติดตามเรื่องที่พี่เขาลงนามแทนนายกฯ ลงวันที่ 20 สค. 53
ผมก็เชื่อ เพราะเห็นหลักฐาน เพราะหากถอนร่างข้อบังคับจริง คงทำไม่ได้ ต้องผ่านความเห็นชอบของมติกรรมการสภาฯ ก่อน
ส่วนอื่นที่ได้รับมาก็เยอะ แต่ผมไม่อยากมาเผยแพร่ เพราะยังไม่ได้รับการสอบทานจากผู้เกี่ยวข้อง จึงยังไม่ปักใจเชื่อ
และไม่อยากให้มีความขัดแย้งบานปลาย จึงขอนำเสนอแต่ข้อมูลที่ได้รับและมีหลักฐานรองรับทุกอย่างครับ
แต่เรื่องนี้ ผมไม่อยากไปสืบเสาะตัวละครตัวร้าย อยู่ที่ใคร ??? เพราะเป้าหมายของเรา คือ ผลักดันให้ข้อบังคับฯ ได้ประกาศในราชกิจจาฯ เพื่อประกาศบังคับใช้
อันจะทำให้วิทยาลัยฯ เกิด รวมทั้งการเร่งรัดให้ตั้งอนุกรรมการฯ เพือพิจารณาเรื่องวิทยาลัยฯ
ซึ่งสภาฯ ก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดี ผมเองก็เป็นอนุกรรมการฯ ดังกล่าวด้วย
เห็นทาง อ.มังกร แจ้งว่า จะนัดประชุมวันที่ 15 ตค. ก่อนประชุมสภาฯ วันที่ 18 ตค.
ก็ขอให้เรื่องทุกอย่างจบได้ด้วยดี เพราะสิ่งที่เราเรียกร้อง ก็เป็นสิ่งดีๆ ที่จะให้เกิดแก่วิชาชีพ
เพียงแต่แนวคิด รูปแบบ อาจต่างจากกรรมการสภาฯ บางท่านเท่านั้นครับ
-

เภสัชทุง
-
- โพสต์: 417
- ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57
-
โดย cm_pharmacistclub » 10 ต.ค. 2010, 10:30
เพราะมันเป็น บอรด์ เชี่ยวชาญเฉาะ เภสัชกรที่ทำงานใน สสจ อย่างเดียวมากกว่าวิชาชีพเภสัชกรรมโดยแท้จริง เพราะระบบผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ จะต้องเชี่ยวชาญโดยตัวของมันเอง โดยไม่ใช่เพราะงานราชการที่ทำตามอำนาจของกฎหมายมอบหมายให้ทำ อย่างนี้ท่านก็ได้ความเชี่ยวชาญตามตำแหน่งราชการอยู่แล้ว ชำนาญการ,ชำนาญการพิเศษ ,เชี่ยวชาญ, แต่ หมอเด็ก ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด สสจ รพ รัฐ รพ เอกชน ทำส่วนตัว อยู่บ้านเฉย ก็เป็นกุมารแพทย์ เป็นด้วยตัวคนๆนั้นเอง ไม่ได้เป็นเพราะทำงานในราชการโดยมีตำแหน่งหน้าที่ราชการ เวลาย้ายงานไปอยู่ตำแหน่งอื่น เภสัชกรร้านยา เภสัชกรโรงพยาบาล จะถูกกีดกันเข้าศึกษาหรือไม่ เป็นต้น
NEVER BOWS MY HEAD TO THE ELITE RULERS
-

cm_pharmacistclub
-
- โพสต์: 65
- ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มี.ค. 2010, 16:21
- ที่อยู่: ข้าจะทำตามเจตนาของสวรรค์
ย้อนกลับไปยัง เอสเปรสโซ่
ผู้ใช้งานขณะนี้
|
|