|
โดย chomcheer555 » 09 มี.ค. 2009, 20:51
อยากให้สภาทราบว่า หนังสือ drug information ที่ม.อุบล, สงขลา, เชียงใหม่ มี index ให้เปิดส่วนที่ม. จุฬา, มหิดล, มศว. และศิลปากรไม่มี index ที่มี ชื่อการค้า
ตามความคิดมันไม่ยุติธรรมค่ะ เนื่องจากถ้าหาชื่อการค้าจากใน drug infor จะสะดวกมากแล้วที่ม.ของดิฉันเค้าก็สอนเปิดอย่างนั้น
อยากให้เรื่องนี้ส่งตรงถึงสภาค่ะ มันไม่ยุติธรรม อาจจะเป็นความผิดของพวกเราเองที่ไม่เคยเปิดจากเล่มอื่น แต่ยังไงเวลาสอบ OSPE น่าจะมีหนังสือเหมือนกันเป็นมาตรฐานค่ะ
อยากให้สภาตรวจสอบฐานการเปิดหนังสือทั้ง 2 ฐานที่เด็กทำไม่ค่อยได้ ว่าเป็นเพราะอะไร
-
chomcheer555
-
- โพสต์: 28
- ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 12:50
โดย ammja » 09 มี.ค. 2009, 21:42
เนื่องจากขอ้สอบ OSPEครั้งที่1/2552 ข้อที่ 21 ที่โจทย์ถามถึงชื่อสามัญของยาชนิดหนึ่งโดยให้ชื่อการค้ามา แล้วมีหนังสือ พบว่า มีม.อุบล, สงขลา, เชียงใหม่ หนังสือ drug infor มี index ที่มีชื่อการค้าให้เปิด ส่วนที่ม. จุฬา, มหิดล, มศว. และศิลปากรไม่มี index ที่มีชื่อการค้า อยากทราบว่าทำไมหนังสือที่เอามาทำการสอบทำไมถึงไม่เหมือนกันค่ะ แล้วอย่างนี้คนที่สอบสนามสอบที่ index ไม่มีชื่อการค้า ก็เสียเปรียบสิค่ะ ถึงจะมีวิธีเปิดอย่างอื่นนอกจากที่จะเปิดจาก index แต่ดิฉันคิดว่าไม่ยุติธรรมอยู่ดี ทนที่ดีหนังสือที่ใช้ในการสอบก็ควรที่จะเป็นหนังสือที่เหมือนกันทุกสนามสอบไม่ใช่เหรค่ะ แต่ทำไมถึงไม่เหมือนกัน ช่วยรับไปพิจารณาด้วยน่ะค่ะ
-
ammja
-
- โพสต์: 6
- ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2009, 21:32
โดย Wiz@rd. » 09 มี.ค. 2009, 22:08
อืม...นะ...
แต่ในส่วนตัวถ้าทำงานแล้ว เปิดหนังสือนึง ไม่มี มันก็ต้องเปิดอีกที่นึง
ถ้าเล่มอื่นมีคำตอบ ??? ผมว่าก็ไม่น่ามีปัญหา
ถามว่ายุติธรรมไม๊...
ทำไมโรงพยาบาลแต่ละโรงพยาบาล Drug Infor ไม่มี index ให้ล่ะค่ะ ??? ทำไมโรงพยาบาล A มี Drug Infor เล่มจริง ทำไมโรงพยาบาลชั้นได้เล่ม Xerox ล่ะค่ะ ???
ทำไมคนไข้สิทธิ์นี้ไม่ต้องจ่ายเงิน ทำไมคนไข้สิทธิ์นี้ต้องจ่ายเงิน
โลกนี้ไม่มีความยุติธรรมที่แท้จริงหรอกครับ มีแต่ว่าพอรับได้หรือไม่ได้ครับ
-

Wiz@rd.
- Global Moderator
-
- โพสต์: 942
- ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2004, 20:15
- ที่อยู่: โลก
-
โดย chesoo » 10 มี.ค. 2009, 11:34
ข้อนี้เป็นการยืนยันว่านักศึกษาไม่เคยเปิดหน้งสือ Drug information handbook อย่างจริงๆ จังๆ Drug information handbook จะมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบ Drug information handbook ธรรมดา กับ version ที่เป็น international แบบที่เป็น international จะมี index ข้างหลังส่วน version ธรรมดา ไม่มี index มหาวิทยาลัยใดจะซื้อแบบใดขึ้นกับการเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด และนักศึกษาจะซื้อรุ่นไหน ใช้ได้ทั้ง 2 แบบ ส่วน international version จะมีชื่อการค้ามากกว่า ในที่ประชุมสรุปกันว่าขอให้ใช้เล่มที่มีในแต่ละสถาบัน
วิธีการเปิดทั้ง 2 version เหมือนกัน คือ ข้อมูลยาจะเรียงตามตัวอักษรจะเรียงจาก A --> Z โดยไม่แยกว่าชื่อการค้าหรือชื่อสามัญทางยา index ก็เช่นกัน แต่ข้อมูลยาจะแสดงเฉพาะ generic เช่น version 2007-2008 จะเริ่มจาก 1. abacavir 2. abacavir + lamivudine 3. abacavir + lamivudine + zidovudine 4. ..... 5...... 6..... 7...... 8. Acarbose 9. Acebutolol 10.Aceclofenac
ที่นี้ระหว่าง 8 กับ 9 (ก่อนถึงยาที่ 9) จะมีชื่อยาอีก 9 ตัว ได้แก่ A-cero-25, Accolate, Accuhist, AccuNeb, Accupril, Accuretic, Accutane, Accuzyme, ACE ซึ่งทั้งหมดเป็นชื่อการค้า ที่มีอักษรอยู่ก่อน ACEBUTOLOL ถ้าเปิด index ก็ต้องมาดูตรงนี้อีกทีอยู่ดี
ดังนั้นหากนักศึกษารู้ว่าข้อมูลยาเรียงตามอักษร จะไม่เสียเวลาในการไปเปิด index ก่อน ดังนั้นการมี index ไม่ได้ช่วยอะไร หนังสือที่เรียงตามตัวอักษร ได้แก่ drug information handbook, MIM annual และ Pharmacopoeia ต่างๆ เช่น USP, BP
สำหรับหนังสือที่ต้องเปิด index ก่อน ได้แก่ MIMs, Clinical drug data, Drug fact, Martindale, Remington
หลายปีก่อนอาจารย์เคยใช้ AMA ในการสอบ เด็กตอบไม่ได้เลย เพราะมัวแต่หา index แต่ไม่รู้ว่า index อยู่ตรงกลางหนังสือ
ของขอนแก่นใช้ International version มี index กับมีผลเสียด้วยซ้ำเพราะชื่อการค้าเดียวมี 2 generic ซึ่งนักศึกษาต้องรู้ว่าอีก 1 generic ไม่มีชนิดหยอดหู ดังนั้นกลุ่มที่ใช้แบบมี index นักศึกษาตอบผิดมาแล้ว และน่าจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากกว่า
ไม่รู้ไม่เป็นธรรมกับใคร และใครเป็นฝ่ายเสียเปรียบ หรือตอบไม่ได้เพราะความไม่รู้
-
chesoo
-
- โพสต์: 62
- ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.พ. 2004, 11:41
- ที่อยู่: ขอนแก่น
โดย chesoo » 10 มี.ค. 2009, 11:46
อีกสถานีหนึ่งคือเรื่อง pregnancy category นักศึกษาก็จะ fix idea ว่าจะเปิดจาก MIMs ด้านหน้าๆ จะมี FDA cat บอกไว้ แต่ไม่บอกอธิบายผล เลยงง เป็นไก่ตาแตก หลายคนพยายามเปิด Drug fact ก็ไม่รู้ว่าข้อมูลอยู่ที่ไหน เพราะพอเปิดตัวยาก็เจอแต่ dosage regimen หารู้ไม่ว่า Drug fact จัดยาเป็นกลุ่ม ก่อนเข้าสู่ข้อมูลยาแต่ละตัวจะมี class information ได้แก่ Pharmaology, warning, ADR
ทำไมตอบไม่ได้ ก็เพราะนักศึกษาเปิดหนังสือไม่เป็น ทำไมเปิดไม่เป็น ก็เพราะไม่เคยเปิด เวลาจะหาข้อมูลยาจะเปิดแต่ drug information handbook อย่างเดียว พกไว้แต่ก็ใช้มันไม่เป็น (เตือนไว้นิดนึงครับ หนังสือเล่มนี้ dose ยาหลายตัว ไม่เหมือนเล่มอื่น)
-
chesoo
-
- โพสต์: 62
- ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.พ. 2004, 11:41
- ที่อยู่: ขอนแก่น
โดย sanji » 10 มี.ค. 2009, 21:56
ยังงัยสิบคะแนนฐานนี้ก็เป็นปัญหาอยู่ดีนั่นแหละ สอบใบประกอบเหมือนกันแต่อุปกรณ์ที่ให้มาไม่เหมือนกัน มันยุติธรรมมั้ยล่ะ
-

sanji
-
- โพสต์: 23
- ลงทะเบียนเมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 21:07
โดย Wiz@rd. » 10 มี.ค. 2009, 21:59
อีกหน่อยก็ทำงานทั้งปีเหมือนกัน ขึ้นเงินเดือนไม่เหมือนกัน จะเรียกร้องกันไม๊เนี่ย 
-

Wiz@rd.
- Global Moderator
-
- โพสต์: 942
- ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2004, 20:15
- ที่อยู่: โลก
-
โดย sanji » 10 มี.ค. 2009, 22:10
chesoo เขียน:Drug information handbook จะมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบ Drug information handbook ธรรมดา กับ version ที่เป็น international แบบที่เป็น international จะมี index ข้างหลังส่วน version ธรรมดา ไม่มี index มหาวิทยาลัยใดจะซื้อแบบใดขึ้นกับการเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด และนักศึกษาจะซื้อรุ่นไหน ใช้ได้ทั้ง 2 แบบ ส่วน international version จะมีชื่อการค้ามากกว่า ในที่ประชุมสรุปกันว่าขอให้ใช้เล่มที่มีในแต่ละสถาบัน
ทำไมไม่เอาทั้งสอง versions วางไว้เลยล่ะครับ เด็กจะใช้ version ไหนก็แล้วแต่เด็ก เพราะเด็กที่มาจาก ม. ที่มีแบบ international version แต่ไม่ได้สอบ ม. ตัวเองก็มีนี่ครับ
-

sanji
-
- โพสต์: 23
- ลงทะเบียนเมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 21:07
โดย ammja » 10 มี.ค. 2009, 23:22
ข้อสอบเดียวกันแต่ทำไมหนังสือที่ให้มาไม่เหมือนกันหล่ะค่ะ อย่างนี้เรียกว่ายุติธรรมเหรอ แล้วทำไมไม่เอาหนังสือทั้ง 2 แบบมาให้เปิดหล่ะค่ะ นี่เป็นการถามถึงสาเหตุที่หนังสือแต่ละสนามสอบไม่เหมือนกันค่ะ ดิฉันก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามาเขียนในนี้แล้วจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงมั้ย แต่ก็แค่อยากให้สภาเภสัชรู้ไว้อ่ะค่ะ ว่าหนังสือแต่ละสนามสอบเป็นยังไง ไม่เช่นนั้นรุ่นน้องรุ่นอื่นๆ คงต้องหัดเปิดหนังสือไว้ทุกเวอร์ชัน แล้วการที่หนังสือแต่ละสนามสอบไม่เหมือนกันมันส่งผลคนผู้สอบหลายอย่างน่ะค่ะ ถึงจะมีวิธีการเปิดหนังสือวิธีอ่ะก็ตาม หนังสือแต่ล่ะสนามสอบก็ควรต้องเหมือนกัน ไม่เช่นนั้นจะตั้งโจทย์ให้เหมือนกันไปทำไม
-
ammja
-
- โพสต์: 6
- ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2009, 21:32
โดย chesoo » 11 มี.ค. 2009, 09:57
จริงๆ ตอบแล้วนะครับว่าทำไมหนังสือไม่เหมือนกัน คำตอบคือแล้วแต่ว่าแต่ละสถาบันจะใช้ version ปีไหน คณะอนุกรรมการจัดสอบมีแค่บอกว่าให้ใช้หนังสือชื่อ ....... และแนะนำ version ..... แต่หากสถาบันไม่มีเล่มนี้สามารถหา version ใกล้เคียง และให้ระบุคำตอบ ส่งไปที่คณะอนุกรรมการจัดสอบ
ดังนั้นหากเห็นว่าไม่เป็นธรรม กรุณาติดต่ออาจารย์ประธานสนามสอบที่ท่านไปสอบครับ ทำเป็นบันทึกข้อความร้องเรียนด้วยครับ ว่าทำไมท่านประธานสนามสอบ ไม่เลือกหนังสือที่มี index กรุณาทำโดยด่วนที่สุด ก่อนอนุกรรมการจัดสอบจะพิจารณาผลสอบ
แนวทางแก้ไขต่อไปในอนาคต คือ 1. ในส่วนของการสอบ ให้อนุกรรมการจัดสอบ ซื้อหนังสือและมอบให้แต่ละสนามสอบสำหรับการสอบแต่ละข้อ เป็นครั้งๆ ไป ทุกสนามสอบจะได้ใช้เล่มเดียวกัน โดยผู้รับผิดชอบคงต้องเป็นผู้สมัคร เพราะหนังสือหลายเล่มมีราคาแพง ปัจจุบันการจัดสอบแต่ละครั้งใช้เงินสูงมากอยู่แล้ว 2. ในส่วนของนักศึกษา กลับไปฝึกเปิดหนังสือใหม่ครับ เปิดให้เป็น
พูดถึงความเป็นธรรม อนาคตเราคงต้อง 1. จัดสอบรอบเดียว เพราะคนสอบรอบ 2 และ 3 เสียเปรียบเพราะต้องรอเก็บตัว 2. ทุกคนคงต้องสอบเริ่มด้วยข้อเดียวกัน เพราะปัจจุบันคนที่เริ่มข้อแรกด้วยการ levigate หรือเตรียมยาน้ำมักจะเสียเปรียบและได้คะแนนน้อย เนื่องจากตื่นเต้น
-
chesoo
-
- โพสต์: 62
- ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.พ. 2004, 11:41
- ที่อยู่: ขอนแก่น
โดย chomcheer555 » 12 มี.ค. 2009, 11:43
ที่ตั้งกระทู้เพื่อต้องการสื่อให้ถึงสภาทราบเรื่องหนังสือที่ไม่เหมือนกัน โอเคนะที่เด็กอย่างเราๆเปิดหนังสือกันไม่เก่ง แต่การมี drug info ที่มี index ด้านหลังมันทำให้เปิดง่ายและเร็วขึ้น อย่างนี้ถ้าคนที่ได้ drug info ที่มี index ก็สบายกว่าจริงเปล่าคะ
และถูกของท่านที่กล่าวว่าเมื่อเปิดหาไม่เจอก็ให้เปิดเล่มใหม่ ถูกค่ะถ้าเป็นสถานการณ์ในชีวิตจริงที่ถึงแม้ต้องการคำตอบเร็วแต่ไม่ได้ใช้เวลาแค่ 3 นาที ย้ำ 3 นาทีในการสอบจริงเปิด drug info ที่ไม่มี index หาไม่เจอแล้วยังต้องมาเปิดหนังสือเล่มอื่นที่ไม่คุ้นเคย + เขียนชื่อนามสกุล เขียนคำตอบ ดิฉันว่านะคะใครทันนี่เก่งมากๆ เท่าที่สอบถามทุกม.พบว่าคนจะทำฐานนี้ไม่ได้มาก ขนาดอ.คุมสอบยังยอมรับ
อยากทราบรายชื่อประธานคุมสอบจุฬา มหิดล ศิลปากร มศว ที่drug info ไม่มี index ด้วยค่ะ
-
chomcheer555
-
- โพสต์: 28
- ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 12:50
โดย Pharma_Name » 12 มี.ค. 2009, 12:47
ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไป ผมอยากทราบว่า โจทย์ข้อนี้เป็นอย่างไรครับ เอาแบบละเอีดเลยนะครับ จะได้ช่วยคิดว่าถ้าไม่มี drug information with index แล้วมันจะทำให้ทำไมได้เชียวหรือ
แล้วถามหน่อยเถอะครับ งานนี้สภาเภสัชกรรมผิด หรือว่าประธานคุมสอบของจุฬา มศว มหิดล ศิลปากร ผิด
-
Pharma_Name
-
- โพสต์: 357
- ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ย. 2007, 09:29
- ที่อยู่: Bangkok
โดย Augmentin » 12 มี.ค. 2009, 14:50
โจทย์ถามว่า ผู้ป่วยชาวต่างชาติ เข้ามาขอซื้อยาที่มีื่ชื่อการค้า Floxin ear drop อยากทราบว่าจะจ่ายยาอะไรแทนได้บ้าง หนังสือที่มีให้ฐานนี้ มี 3 เล่ม คือ (1)Drug Information Handbook (ที่เป็นปัญหาว่า บาง ม. ใช้แบบไม่มี Tradname index และ บาง ม.ใช้แบบมี Tradename Index) แล้วก้อมี (2)MIMs และ (3)Goodman & Gilman ,s Phamacologic approach นี่แหละจ้าาาาาาาาาา คำถามฐานเปิดหนังสือ OSPE ข้อที่ 1
จากนั้นก้อมาข้อที่ 2 ถามว่า Acebutolol คือยากลุ่มไหน จัดอยู่ใน Pregnancy Category ใด หนังสือที่มีให้ฐานนี้มี 3 เล่ม คือ (1)MIMs Annual, (2)Clinicla Drug Data และ (3)Drug Fact and Comparison
หนูอยากถามหน่อยจ้ะว่า ถ้าเป็นคุณท่าน คุณพี่ ทั้งหลาย จะเกิดหนังสือเล่มไหน ก่อน-หลัง เหรอเจ้าค่ะ ภายในเวลา 3 นาที
-
Augmentin
-
- โพสต์: 11
- ลงทะเบียนเมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 17:01
โดย sukanya_rx19 » 12 มี.ค. 2009, 15:18
Augmentin เขียน: จากนั้นก้อมาข้อที่ 2 ถามว่า Acebutolol คือยากลุ่มไหน จัดอยู่ใน Pregnancy Category ใด หนังสือที่มีให้ฐานนี้มี 3 เล่ม คือ (1)MIMs Annual, (2)Clinicla Drug Data และ (3)Drug Fact and Comparison
หนูอยากถามหน่อยจ้ะว่า ถ้าเป็นคุณท่าน คุณพี่ ทั้งหลาย จะเกิดหนังสือเล่มไหน ก่อน-หลัง เหรอเจ้าค่ะ ภายในเวลา 3 นาที
คว้ามิมส์มา เปิด pregnancy safety index
-

sukanya_rx19
- Global Moderator
-
- โพสต์: 2148
- ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2005, 16:06
- ที่อยู่: ยโสธร
ย้อนกลับไปยัง สายตรงถึงสภาเภสัชกรรม
ผู้ใช้งานขณะนี้
|