ประเด็นเรื่องที่ว่าคณะเภสัช ยังเป็นที่นิยมในการสอบเอ็นทรานซ์นั้น น่าจะเกิดจาก ความสำเร็จของพี่ๆเภสัชกรรุ่นก่อนๆในการสร้าง
ฐานะทั้งทางการเงินและทางสังคม อย่างในจังหวัดผมมีร้านยาของพี่ๆเภสัชกรที่มียอดขายที่ดีมากๆเป็นที่รู้จักดีของคนทั่วไป
ทางราชการก็มีพี่ๆเภสัชกรในสสจ.และรพท. ที่ได้ถึงซี 9 ทำให้คนวงนอกอยากให้ลูกหลานเรียนเภสัช เป็นจำนวนมาก
ประกอบกับมีการเปิดหลักสูตรพิเศษและม.เอกชน เพื่อรับเภสัชเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้การเข้าเรียนเภสัชทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
มาก ซึ่งปริมาณเภสัชกรที่มากเกินไปนี้มีสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้คือค่าตอบแทนที่เริ่มจะลงไปใกล้เคียงกับพยาบาลมากขึ้นทุกที่
และถอยห่างจากแพทย์และทันตะมากขึ้นเรื่อยๆ สวัสดิการต่างๆในสมัยที่ผมมารับราชการใหม่จะให้แพทย์ ทันตะ และเภสัช อย่างเท่า
เทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบ้านพัก ตู้เสื้อผ้า ที่นอน แต่ในระยะหลังมานี้ เริ่มเห็นความแตกต่างครับ มีการติดแอร์ที่บ้านพักให้แพทย์กับ
ทันตะแต่เภสัชไม่ได้ ผลกระทบต่างๆนี้คนภายนอกยังมองไม่เห็นครับ การหางานที่ยากขึ้น ค่าตอบแทนที่ใกล้เคียงกับพยาบาลมาก
ขึ้น ร้านยาที่แข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น สิ่งเหล่านี้คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะที่คนภายนอกจะเห็นได้ชัด และเมื่อนั้นความนิยมของคณะ
เภสัชจะลดลงครับ แต่มิได้หมายความว่านักศึกษาจะลดลงนะครับ แต่คนเก่งๆจะไม่เลือกเรียนครับ เด็กก็คงเรียนมากเหมือนเดิมแต่
คะแนนสอบเข้าจะต่ำลงๆ
ผมบอกลูกๆว่าโตขึ้นถ้าอยากทำงานสายสาธารณสุข ให้เลือกแพทย์ หรือทันตแพทย์เท่านั้น ไม่งั้นก็ไปทำงานสายอื่นๆดีกว่า ที่พูดนี่
ไม่ใช่ผมไม่รักวิชาชีพนะครับ ผมยังรักวิชาชีพเภสัชกรไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อผมมองไปในอนาคตแล้ว มืดมนครับ ยาต่างๆที่เคยจ่าย
ได้ในร้านยา อนาคตคงถูกบีบให้น้อยลงเรื่อยๆครับ เพื่อให้ไปพบแพทย์แทน (ประเด็นนี้ผมนึกขึ้นมาทีไร นึกเคืองพี่เภสัชใน อย. ทุก
ครั้งครับ เพราะเวลาประชาสัมพันธ์เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับยา มักทิ้งท้ายด้วยคำว่า
?อย่าซื้อยากินเอง ควรไปพบแพทย์? พวกเราที่เป็น
เภสัชกรน่าจะรณรงค์ว่า ในการประชาสัมพันธ์หรือให้ความสุขศึกษาควรทิ้งท้ายด้วยคำว่า
?ก่อนใช้ยาควรปรึกษาเภสัชกร? ขอให้พวก
เราทำให้คำนี้ติดปากชาวบ้านให้ได้นะครับ )
เมื่อสิบกว่าปีก่อนผมเคยทักเรื่องการรับนักศึกษาเภสัชว่ามีปริมาณมากเกินไป ก็มีคนมาต่อว่าผมเรื่องไม่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ ซึ่งผม
มองว่าการกำหนดจำนวนนักศึกษาที่เหมาะสม ไม่ได้เป็นการปิดโอกาส แต่เป็นเรื่องของการวางแผนกำลังคนที่เหมาะสมต่างหาก
หลายคนคงนึกแย้งว่า กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจสภา ในการควบคุมจำนวนเภสัชกร ใช่ครับ แต่ผมกำลังมองว่าถ้าเภสัชกรที่เป็นผู้หลัก
ผู้ใหญ่ และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ มาลงพูดคุยกันถึงเรื่องปริมาณเภสัชกรที่เหมาะสม ก็น่าจะช่วยกันควบคุมปริมาณได้ในระดับ
หนึ่ง เรื่องนี้ผมมองว่าเราต้องวางเป็นยุทธศาสตร์ในระยะยาวด้านกำลังคนเลยนะครับ เรื่องกำลังคนอยากให้ดูตัวอย่างจากทันตแพทย์
ครับ หลายสิบปีมานี้การเพิ่มทันตแพทย์ค่อนข้างช้ามากครับ
บ่นมามากแล้ว พอก่อนดีกว่า
