หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ร่างกฏหมายหมกเม็ด เภสัชกรต้องระวัง ตื่นตัวด่วน

โพสต์โพสต์แล้ว: 23 ก.ค. 2010, 21:06
โดย cm_pharmacistclub
ร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขผ่านสภาฯวาระที่1ไปแล้ว เภสัชกรต้องระวังการประกาศในร้านขายยาเป็นสถานบริการตามกม.นี้ มีการตั้งกองทุนโดยหักเงินเข้ากองทุน กรรมการเป็นNGO การเรียกค่าชดเชยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ช่วยกันศึกษาด่วน ก่อจะสายเกินแก้ รพ.รัฐ รพ.เอกชน บุคลากร คลินิกแพทย์ คลินิกพยาบาล คลินิกทันตะ อนาคตให้แค่อำนาจกรรมการกหนดนิยามเพิ่มร้านขายยา โดนแน่

Re: ร่างกฏหมายหมกเม็ด เภสัชกรต้องระวัง ตื่นตัวด่วน

โพสต์โพสต์แล้ว: 23 ก.ค. 2010, 22:11
โดย API
ผมเห็นด้วยกับเจตนารมย์ของ กม.ฉบับนี้นะครับ

ร้านยาน่าจะเข้าข่ายใน พรบ.นี้ครับ

ลองเข้าไปอ่านเรื่องนี้ที่มีการอภิปรายกันในพันทิป (ยาวหน่อยนะครับ)
http://www.pantip.com/cafe/lumpini/topi ... 60294.html

กม.ดีๆ แต่พวกนักกฎหมายศรีธนญชัยชั่วๆ ที่จะพยายามหาช่องทางตีความเพื่อผลประโยชน์และชื่อเสียง ผมก็ขอแช่งให้ป่วยตายเร็ววันไปละกัน
เอาเป็นว่าผมอยากให้ผ่านแล้วค่อยมาดูเรื่องการปฏิบัติว่าเราจะควบคุมให้มันเป็นไปตามเจตนารมย์ได้อย่างไร

Re: ร่างกฏหมายหมกเม็ด เภสัชกรต้องระวัง ตื่นตัวด่วน

โพสต์โพสต์แล้ว: 31 ต.ค. 2010, 10:17
โดย cm_pharmacistclub
ควรศึกษาจากข้อวิเคราะห์ร่างกฎหมาย ที่แพทยสภาเสนอต่อกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภาซะก่อน เตรียมตัวซื้อประกัน สัญญาประกันภัยความรับผิดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ มีการทำแล้วจริงๆ ตัวอย่าง รพ.เครือพญาไทยทำให้กับพนักงาน แต่ภาคราชการคงต้องจ่ายกันเอง แง แง คนไข้เป็นพัน โอกาสพลาดมันก็สูง เอกชนเค้าผลักภาระได้นี่นา เค้าเสนอหักหัวละ 5 บาท opd เข้ากองทุน ร้านยาเอาอัตรานี้ด้วยไหมนะ

Re: ร่างกฏหมายหมกเม็ด เภสัชกรต้องระวัง ตื่นตัวด่วน

โพสต์โพสต์แล้ว: 31 ต.ค. 2010, 10:56
โดย smartss
โดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วยในหลักการเจตนารมย์ของ กม.
แต่ไม่เคยไว้ใจในกฎหมายลูกเลยเช่น
ระเบียบการปฏิบัติ อัตราที่เป็นธรรม นิยามคำจำกัดความต่างๆความครอบคลุมเรื่องการเสียหายไปถึงขั้น side effect หรือประมาทหรือสุดวิสัย
คือไม่ชำนาญด้าน กม.ทำให้สายตาสั้นต้องขอมอง step by step ไม่ใช่ไม่ตื่นตัวกันแต่ปฏิกริยาตอบสนองได้เมื่อเห็นชัดพอ
ส่วนอื่นก็ตรวจสอบการกระทำของผู้รู้ไปเรื่อยๆ
หวังว่าจะได้ผลพลอยได้ตอนที่มีเภสัชกรปฏิบัติอยู่ร้านจะได้เปรียบกว่าร้านที่ไม่มี คือการละเลยน่าจะเสียเปรียบ

Re: ร่างกฏหมายหมกเม็ด เภสัชกรต้องระวัง ตื่นตัวด่วน

โพสต์โพสต์แล้ว: 31 ต.ค. 2010, 12:23
โดย zartingtong
คนร่างเค้ารวมไปตั้งแต่ร่างเดิมแล้ว แต่หลอกเด็กอมมือ กะจะหมกเม็ดกับความที่เภสัชไม่ชอบขี้หน้าหมอ ความจริงรู้ไต๋มาตั้งนานแล้วเลยโฉ่งฉ่างซะเลย จากกระทู้ก่อนๆนั่นแหละ ทีนี้ตอนนี้เค้ารู้กันแล้วก็ไม่ต้องหมกเม็ดอีก พวกทำเงียบระวังความซวยจะเข้าหลังบ้าน

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000129592

แม้แต่นักกฎหมายขวางโลกอย่าง อ.แก้วสรร ก็อ่านออกว่า

กฎหมายนี้ คนร่างชั่วๆหมกเม็ดให้ศรีธนนชัยตีความมาฟ้องได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง แม้แต่ไปฟ้องก่อนค่อยมาขอเงินก็ยังให้ อย่างนี้คนจ่ายเหมือนโดนปล้น

อย่างนี้ตั้งกองทุนไว้คอยจ่ายหลังจากฟ้องศาลชนะไปแล้วแก่ผู้เสียหายยังจะ work กว่าร่างกฎหมายที่แทบไม่ช่วยคนโดนปล้นเงินเลย :wink:

แม้แต่เภสัชด้วยกันก็พยายามหลอกหาว่าพวกคัดค้านไปตาม tood หมอ หมกเม็ดว่าเภสัชไม่เกี่ยว แต่พอซักเข้าจริงก็โดนเหมือนกันแหละ :sad:

Re: ร่างกฏหมายหมกเม็ด เภสัชกรต้องระวัง ตื่นตัวด่วน

โพสต์โพสต์แล้ว: 01 พ.ย. 2010, 20:58
โดย TUANG
เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ ถึงจะมีข้อด้อยบ้าง แต่กับผู้ด้อยโอกาสน่าจะดีกว่าที่เป็นอยู่ อยากให้โอกาสกับพวกเขาบ้างนะ

Re: ร่างกฏหมายหมกเม็ด เภสัชกรต้องระวัง ตื่นตัวด่วน

โพสต์โพสต์แล้ว: 03 พ.ย. 2010, 11:15
โดย smartss
ลองอ่านความเห็นรอบๆ

23 ก.ย.เครือข่ายภาคประชาชนและศูนย์กฎหมายสุขภาพ และจริยศาสตร์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีวิพากษ์ (ร่าง) กฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....วันที่ 23 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งที่ประชุมได้ข้อสรุปว่ากฎหมายฉบับนี้ยังมีจุดอ่อนอีกหลายประการ เช่น
1.กฎหมายให้มีการพิสูจน์ถูกผิดของผู้ให้บริการตามมาตรา 9 และ มาตรา 10 ขณะที่ร่างกฎหมายของรัฐบาลและฉบับประชาชนยึดหลักการไม่พิสูจน์ถูกผิดของผู้ให้บริการ แต่เน้นการพิสูจน์ว่ามีความเสียหายจริงหรือไม่จากการรับบริการ แต่สอดคล้องตรงกันเรื่องไม่หาผู้กระทำผิด

2.สัดส่วนของคณะกรรมการคุ้มครอง ฯ ไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 12 มาตรา 16 และมาตรา 49 ทั้งที่แพทย์เรียกร้องเรื่องสัดส่วนที่ไม่เป็นธรรมจากร่างรัฐบาล แต่ร่างของตนเองกลับมีสัดส่วนที่ไม่เป็นธรรมเช่นเดียวกัน

3.กฎหมายฉบับนี้ไม่รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากโรงพยาบาลเอกชน ทั้งที่ปัจจุบันระบบสวัสดิการข้าราชการอนุญาตให้ข้าราชการรับบริการจากโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งไม่เก็บเงินจากโรงพยาบาลเอกชน (มาตรา 26) เนื่องจากอ้างเหตุไม่รวมโรงพยาบาลเอกชน

4.มาตรา 24 ให้มีการกันเงินจากกองทุนร้อยละ 10 สนับสนุนสภาวิชาชีพในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความปลอดภัย ซึ่งน่าจะเข้าข่ายการใช้เงินที่ผิดวัตถุประสงค์ของกองทุน

5.อายุความของการใช้สิทธิตามกฎหมาย มาตรา 29 ขัดต่อพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2550 ทำให้ผู้บริโภคถูกตัดสิทธิตามกฎหมาย และเป็นเหตุในการนำคดีมาฟ้องร้องได้ ซึ่งจะไม่ลดคดีฟ้องร้องทางการแพทย์ น่าจะขัดต่อตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะช่วยลดการฟ้องร้อง

6.กฎหมายฉบับนี้ไม่มีหลักของความรับผิดในการกรณีที่ไม่มีผู้กระทำผิด ไม่มีระบบ No Fault Liability ดังนั้นมาตรา 10 วรรค 2 ที่ไม่มีการจ่ายเยียวยาความเสียหายในกรณีมีผลกระทบซึ่งให้บริการสาธารณสุขตามวิชาชีพ เช่น ผ่าตัดเลาะผังผืดในท้องแล้วโดนท่อไต ไม่ถูกพิจารณาว่ามีความเสียหายทั้งที่มีความเสียหายแต่ไม่มีผู้กระทำผิดมาตรฐาน เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เพราะมีความเสียหายจริง แต่เข้าข่ายการให้บริการที่ได้มาตรฐานแล้วไม่มีการเยียวยา ซึ่งแพทยสภาและเครือข่ายประชาชนเห็นสอดคล้องกันในเรื่องนี้ ว่า มีความเสียหายแต่ไม่มีผู้กระทำผิด

7.ชั้นอำนาจของคณะกรรมการ และการกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเข้ามาร่วมดำเนินการในการจ่ายเงิน ตามมาตรา 31 ในกรณีพิจารณาไม่แล้วเสร็จ

8.ประชาชนได้รับความเป็นธรรมจากกฎหมายฉบับนี้น้อย เช่นประชาชนไม่มีสิทธิมารับเงินจากกองทุนนี้หากไปฟ้องคดี เมื่อหมอถูกฟ้องเป็นจำเลยเมื่อมีคำพิพากษาให้กองทุนรับภาระแทนได้ เป็นต้น



ขณะที่ ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ได้ชี้ว่า กฎหมายฉบับนี้ดูเป็นกฎหมายเฉพาะกลุ่ม ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายที่จะต้องบังคับใช้กับทุกคน และยกเว้นความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาให้กับผู้ประกอบวิชาชีพ และให้อำนาจสภาวิชาชีพเหนืออำนาจของประชาชน(อำนาจของรัฐมนตรี) และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนน้อย มีช่องโหว่ของกฎหมายหลายแห่ง เช่น ไม่มีนิยามความหมายของคำว่า รัฐมนตรี การนำเงินร้อยละ 10 ไปให้สภาวิชาชีพ

นายไพศาล ลิ้มสถิตย์ กฎหมายฉบับนี้ยอมรับระบบ No Fault Liability โดยใช้ระบบ No Blame และกฎหมายอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 การยกเว้นการดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญา สามารถกระทำได้หรือไม่ การใช้จ่ายเงินกองทุนผิดวัตถุประสงค์หรือไม่

ดร.ยุพดี ศิริสินสุข กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้สิ่งที่สำคัญอาจจะไม่ช่วยลดคดีฟ้องร้อง เนื่องจากอายุความไม่สอดคล้องกับกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค การผูกยึดความเสียหายกับมาตรฐานวิชาชีพจะไม่ทำให้ลดคดีความ สำนักงานเป็นหน่วยงานใดแน่เนื่องจากกฎหมายเขียนไม่สอดคล้องกัน และดูเหมือนจะคุ้มครองแพทย์มากกว่าคนไข้

Re: ร่างกฏหมายหมกเม็ด เภสัชกรต้องระวัง ตื่นตัวด่วน

โพสต์โพสต์แล้ว: 09 พ.ย. 2010, 09:05
โดย TUANG
อ่านดูแล้วเพลิน ตามนักกฎหมาย แต่กลไกที่มีอยู่ช่วยประชาชนผู้ด้อยโอกาสได้แค่ไหนเห็นฟ้องหลายปี สุดท้ายหมดตัวเหมือนเดิม แพทย์สภาเคยเป็นที่พึ่งให้ผู้ด้อยโอกาสบ้างไหม (บ่นไปงั้นแหละ ในโลกปลาใหญ่กินปลาเล็กเสมอ)

Re: ร่างกฏหมายหมกเม็ด เภสัชกรต้องระวัง ตื่นตัวด่วน

โพสต์โพสต์แล้ว: 05 ธ.ค. 2010, 03:14
โดย tintin_hcu
งง ตั้งแต่หัวข้อกระทู้แล้ว 555 :mrgreen:
ต้องไปอ่านที่ไหนจะรู้เรื่องง่ายๆมั้งหว่า :roll:

Re: ร่างกฏหมายหมกเม็ด เภสัชกรต้องระวัง ตื่นตัวด่วน

โพสต์โพสต์แล้ว: 05 ธ.ค. 2010, 11:15
โดย zartingtong
กองทุนเค้ามีอยู่แล้ว แต่ไม่สะจาย
จะตั้งกองทุนหรือวิธีช่วยเหลือใหม่ก็ได้ แต่อย่าไปโหนคอคนอื่น แถมยังไม่คุ้มครองอีก เอาอย่างเดียว