New Document









สอบถามการรับรอง วิทยาลัยเซนเทเรซา

สอบถามการรับรอง วิทยาลัยเซนเทเรซา

โพสต์โดย agape1991 » 07 พ.ย. 2009, 21:57

ตอนนี้ทางวิทยาลัยได้เปิดคณะเภสัชศาสตร์ ในปี 53 นี้ หนูอยากสอบถามว่าทางสภาได้รับรู้หรือได้อนุมัติหรือยังค่ะ ตอนนี้กำลังจะสมัครอ่ะค่ะ อยากเรียนเภสัชมากค่ะ แต่กลัวเข้าของรัฐบาลม่ายได้ รบกวนด้วยน่ะค่ะ
agape1991
 
โพสต์: 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 พ.ย. 2009, 21:47







Re: สอบถามการรับรอง วิทยาลัยเซนเทเรซา

โพสต์โดย wannee » 07 พ.ย. 2009, 23:56

ลองโทรไปถามที่สภาเภสัชกรรมเลยน่าจะดีนะคะ


อวยพรล่วงหน้าให้ได้เรียนเภสัชและเป็นเภสัชกรที่ดีค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: สอบถามการรับรอง วิทยาลัยเซนเทเรซา

โพสต์โดย agape1991 » 08 พ.ย. 2009, 20:21

หนูสามารถโปรไปถามกะ เภสัชสภาได้เลยใช่ป่ะค่ะ รบกวนพี่ๆเภสัชกรด้วยค่ะ
agape1991
 
โพสต์: 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 พ.ย. 2009, 21:47

Re: สอบถามการรับรอง วิทยาลัยเซนเทเรซา

โพสต์โดย Porcelain » 19 พ.ย. 2009, 09:28

เท่าที่ทราบขณะนี้อยู่ในกระบวนการอยู่ คาดว่าคงไม่มีปัญหา :razz: :razz: :razz:
Porcelain
 
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2009, 09:22

Re: สอบถามการรับรอง วิทยาลัยเซนเทเรซา

โพสต์โดย cookgu » 23 ม.ค. 2010, 13:01

เคยโทรไปถามที่สภาแต่สภาก็ไม่สามารถให้ข้อมูลใดๆ ได้เลย สงสัยคงต้องรอให้เขารับเด็กไปก่อนละมั้ง เสร็จแล้วก็ค่อยมาตามเรื่องกันทีหลัง แล้วสุดท้ายก็ต้องยอมให้เปิดต่อไปเพราะสงสารเด็ก นี่แหละน่าเมืองไทย
cookgu
 
โพสต์: 11
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 16:41

Re: สอบถามการรับรอง วิทยาลัยเซนเทเรซา

โพสต์โดย Myristica » 13 ก.พ. 2010, 13:57

สภาเภสัชฯห่วงคุณภาพ 'หมอยา'ไทยชี้บัณฑิตเภสัชฯม.เอกชนห่วย-ส่อเค้าสั่งห้ามผลิต

โดย ผู้จัดการ 360? รายสัปดาห์ 5 กุมภาพันธ์ 2553 11:21 น.


จากเวป http://www.manager.co.th/mgrWeekly/View ... 0000016670



คณะเภสัชศาสตร์เฟื่อง มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งเตรียมเปิดสอนในปีการศึกษา 53 ขณะที่สภาเภสัชฯเตือนให้นักเรียนเลือกเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐดีที่สุด หากสอบไม่ได้ให้เลือกเรียนคณะอื่นแทน เผยมหาวิทยาลัยเอกชนมีเพียง 3 แห่ง ที่ได้รับการรับรองแต่ยังไม่ทราบชะตากรรมว่าอนาคตจะได้รับการเพิกถอนหรือไม่ ขณะที่ผลสอบผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมชี้ชัดม.เอกชนน่าห่วง

คณะเภสัชศาสตร์ เป็นอีกคณะหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากนักเรียนจากทั่วประเทศเนื่องจากเป็นคณะที่เมื่อเรียนจบแล้วโอกาสที่จะตกงานแทบไม่มีเลยอีกทั้งยังสามารถเปิดดำเนินธุรกิจประเภทร้านขายยาได้อีกด้วย ฉะนั้นคณะเภสัชศาสตร์จึงเป็นอีกคณะหนึ่งที่มหาวิทยาลัยเอกชนหลายๆแห่งเตรียมเปิดการเรียนการสอน

เปิดสอนได้แต่ต้องให้สภาเภสัชฯรับรอง

ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยได้รับการรับรองจากสภาเภสัชกรแห่งประเทศไทยเพียง 3 แห่งประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและมหาวิทยาลัยสยาม โดยที่ผ่านมาสภาเภสัชกรรมจะอนุญาตให้ผู้จบการศึกษาจากทุกๆสถาบันมาทำการสอบเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งที่ผ่านมามีมหาวิทยาลัยเอกชนจำนวนหนึ่งได้เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรคณะเภสัชศาสตร์แต่เมื่อเด็กจบการศึกษาแล้วต้องสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กลับสอบไม่ผ่านตามที่สภาฯกำหนด

ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อดีตประธานสภาเภสัชกรรมแห่งประเทศไทย บอกกับ "ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์"ว่ากรณีดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจริงและทางสภาเภสัชกรรมก็มีความเป็นห่วงนักเรียนที่ไปเรียนต่อคณะดังกล่าวนี้มากเพราะในปี 2553 นี้ ได้มีมหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย จะทำการเปิดสอนคณะเภสัชศาสตร์จากเดิมที่มหาวิทยาลัยเอกชน 3 แห่งที่ได้ทำการเปิดสอนไปแล้วคือ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยสยาม แต่ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเอกชนทั้ง 3 แห่งจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของสภาฯว่าผู้ที่จบหลักสูตรของทางมหาวิทยาลัยแล้วมาสอบใบประกอบวิชาชีพจะต้องผ่านการสอบคัดเลือกไม่ต่ำกว่า 25% ภายใน 2 ปี ซึ่งหากสอบแล้วได้ต่ำกว่านี้ทางสภาฯจะรับรองอย่างมีเงื่อนไขโดยกำหนดให้มีการพัฒนาไม่เกิน 3 ปี หากพ้น 3 ปีแล้วยังไม่สามารถทำได้ทางสภาฯจะเพิกใบอนุญาตของมหาวิทยาลัยได้ทันที

สำหรับนักเรียนที่ต้องการที่จะเข้าเรียนในคณะเภสัชศาสตร์จึงควรที่จะสอบให้ติดมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งปัจจุบันได้เปิดทำการสอนหลักสูตรนี้อยู่หลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยบูรพาและ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนะให้ "ตัดใจ"เลือกเรียนคณะใหม่แทน

อย่างไรก็ตามหากนักเรียนมีความแน่วแน่ที่จะเข้าศึกษาต่อในคณะเภสัชศาสตร์จริงๆแต่สอบไม่ติดมหาวิทยาลัยของรัฐก็ควรจะ "ตัดใจ"และตัดสินใจเลือกเรียนคณะอื่นๆซึ่งจะทำให้ไม่เสียเวลา เสียความรู้สึกเพราะการเข้าไปศึกษาในคณะที่เราชอบแต่เมื่อจบมาแล้วสอบไม่ผ่านและไม่มีใบประกอบวิชาชีพก็ไม่มีความหมายอะไรเพราะเราจะเสียทั้งเวลา เสียทั้งเงิน

"ที่ผ่านมาได้มีการสอบเพื่อใบประกอบวิชาชีพปรากฏว่านักศึกษาที่เรียนจากมหาวิทยาลัยเอกชนสอบผ่านน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งจะสอบผ่านในอัตราเฉลี่ยเกือบ 60% อีกทั้งเด็กที่จบจากมหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งใช้เวลาสอบเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพมาแล้วถึง 20 ครั้งแต่ก็สอบไม่ผ่านเลยสักครั้งเดียว อย่างนี้มันหมายถึงคุณภาพของการศึกษาที่ไม่ดีใช่หรือไม่"

ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ระบุอีกว่า ที่ออกมาให้ข่าวนั้นไม่ได้ทำเพราะมีอคติแต่ที่ต้องพูดเพราะเป็นห่วงเด็กๆซึ่งอาจจะไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง หากยังคงปล่อยให้เขาเรียนทั้งๆที่ไม่รู้ว่าอนาคตจะสอบผ่านหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่เป็นอันตรายต่อคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยและคุณภาพของคนๆหนึ่งที่ต้องออกไปประกอบวิชาชีพที่มีความสำคัญต่อชีวิตของคนในสังคม เพราะผลการสอบใบประกอบวิชาชีพนี้ปีล่าสุดของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมปี 2552 สำหรับผู้เข้าเรียนมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2547 สะท้อนภาพได้ชัดเจนอยู่แล้วว่านักศึกษาที่ไหนมีคุณภาพการศึกษาเป็นอย่างไร

ผลสอบชี้ชัดเภสัชฯม.เอกชนน่าห่วง

จากผลการสอบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมประจำปีการศึกษา 2551 ซึ่งสอบเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม 2552 และประกาศผลในเว็บไซต์ของสภาเภสัชกรรม http://www.pharmacycouncil.org เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2552 ปีล่าสุด ผู้ผ่านการสอบ

อันดับ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 95.3% (ผ่าน 142 ตก 7)

อันดับ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 88.9% (ผ่าน 144 ตก 18)

อันดับ 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 82.8% (ผ่าน 111 ตก 23)

อันดับ 4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 80.4% (ผ่าน 41 ตก 10)

อันดับ 5 มหาวิทยาลัยมหิดล 79.8% (ผ่าน 83 ตก 21)

อันดับ 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 76.3% (ผ่าน 100 ตก 31)

อันดับ 7 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 74% (ผ่าน 74 ตก 26)

อันดับ 8 มหาวิทยาลัยนเรศวร 67.4% (ผ่าน 95 ตก 46)

อันดับ 9 มหาวิทยาลัยศิลปากร 65.4% (ผ่าน 89 ตก 47)

อันดับ 10 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 50 % (ผ่าน 25 ตก 25)

อันดับ 11 มหาวิทยาลัยรังสิต 38.1% (ผ่าน 67 ตก 109)

อันดับ 12มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 27.9 % (ผ่าน 50 ตก 129)

โดยมีบัณฑิตเภสัชศาสตร์กว่า 1,474 คนจาก 12 มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะเภสัชศาสตร์เข้าสอบเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพทั้งนี้ จำนวนนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่สอบผ่านเป็นภาพรวมของ 2 หลักสูตร ซึ่งหากแยกจำนวนตามหลักสูตร 5 ปี และ 6 ปี พบว่า หลักสูตร 5 ปีเข้าสอบจำนวน 115 คน สอบผ่าน 110 คน ส่วนหลักสูตร 6 ปีเข้าสอบจำนวน 29 คน และสอบผ่านทุกคน นอกจากนั้น นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หลักสูตร 6 ปี ยังสอบได้คะแนนเฉลี่ยรายหลักสูตรสูงสุดของประเทศ โดยสอบข้อเขียน ได้ 77.7 คะแนน และสอบปฏิบัติ ได้ 87.6 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน

"อยากให้นักเรียนที่ต้องการเรียนคณะนี้ศึกษารายละเอียดต่างๆให้รอบคอบ อย่าเชื่อในสิ่งที่เขาป้อนให้ที่สำคัญเราต้องดูความสามารถของตัวเองด้วยว่าจะสามารถเลือกเรียนคณะนี้ได้หรือไม่ และเมื่อเข้าเรียนแล้วเราจะเรียนจบหรือไม่ เมื่อเรียนจบแล้วเราจะสอบใบประกอบวิชาชีพได้หรือไม่เพราะสิ่งเหล่านี้มันคืออนาคตของเรา" ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าว
Myristica
 
โพสต์: 11
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:13


ย้อนกลับไปยัง สายตรงถึงสภาเภสัชกรรม

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document