New Document









สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย pharmacy » 24 มิ.ย. 2009, 14:19

อยากให้คุณเกาะบอยไปอ่านระเบียบของสภาทนายความครับ
ผู้เป็นประธาณกรรมการจริยธรรมและลงโทษทนายความก็คือนายกสภาทนายความ
มีอะไรต่างจากสภาเภสัชกรรมล่ะครับ ทุกอย่างที่มีการลงโทษทนายความก็มาจากนายกสภาทนายความลงนามเหมือนกันครับ
pharmacy
 
โพสต์: 20
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 พ.ค. 2007, 09:33







Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 24 มิ.ย. 2009, 14:24

zartingtong เขียน:เค้าเรียกว่า

ฝักถั่ว
:lol: :lol: :lol:


ฝักถั่ว หมายถึง ยกมือกันสลอน
คุณซ่าหมายถึงใครยกมือหรือครับ
ชัดๆหน่อยครับ ว่าหมายถึงยกมือในกระทู้นี้,
หรือว่าการยกมือแบบพวกมากลากไป(บางครั้งตามคำสั่งจากนายก หรือจากการชี้นำของคณะกรรมการบางคน)ในสภา?


:lol: :lol: :lol:
(หัวเราะด้วยคน)
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย pharmacy » 24 มิ.ย. 2009, 14:32

คนวิจารณ์ง่ายกว่าคนทำงานเยอะครับ
อยากให้ท่านที่แสดงความคิดเห็นต่างๆมากมาย ช่วยมาสมัครเป็นกรรมการสภาเภสัชกันกหน่อยเถอะครับ
อยากรู้ว่าทำงานกับวิจารณ์จะต่างกันไหม
pharmacy
 
โพสต์: 20
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 พ.ค. 2007, 09:33

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 24 มิ.ย. 2009, 14:39

pharmacy เขียน:อยากให้คุณเกาะบอยไปอ่านระเบียบของสภาทนายความครับ
ผู้เป็นประธาณกรรมการจริยธรรมและลงโทษทนายความก็คือนายกสภาทนายความ
มีอะไรต่างจากสภาเภสัชกรรมล่ะครับ ทุกอย่างที่มีการลงโทษทนายความก็มาจากนายกสภาทนายความลงนามเหมือนกันครับ


ขอบคุณครับที่นำมาบอก

งั้นถามต่อนิดครับ
ว่าทางโน้นอะ..
.. อนุกรรมการแต่ละชุดเค้ามีที่มากันอย่างไร?
.. เค้าแต่งตั้งคนไปเป็นกรรมการในเท่าที่มี โยกไปทำหน้าที่ร่างด้วย, ทำหน้าที่บริหารด้วย, ทำหน้าที่เป็นคณะตัดสินด้วย รึเปล่า?
.. เค้าใช้ข้าราชการที่มีงานประจำของตนเองอยู่แล้ว, มีเวลาทุ่มเททำงานให้สภาอย่างเต็มที่ รึเปล่า?
(เรื่องบุคคลผู้ทำหน้าที่นี่ผมว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระบบการถ่วงดุลอำนาจนะครับ)
.. เค้าจัดให้มีการถ่วงดุลอำนาจกันรึเปล่า
.. กติกาการออกข้อบังคับ ตลอดถึงการประกาศใช้ ของเค้าเป็นเช่นไร มีการตรวจสอบกันอย่างเป็นรูปธรรมรึเปล่า?


ไม่ตอบก็ได้นะครับ
เดี๋ยวจะเป็นการเปิดประเด็นข้ามสภาไปสภาอื่นซะ กรอบการคุยจะกว้างออกไป

โดยส่วนตัว ผมมิอาจก้าวล่วงวิชาชีพอื่นครับ ผมเขียนเรื่องนี้ด้วยความที่ผมเป็นเภสัชกร และเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาเภสัชฯ ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 24 มิ.ย. 2009, 15:09

pharmacy เขียน:คนวิจารณ์ง่ายกว่าคนทำงานเยอะครับ
อยากให้ท่านที่แสดงความคิดเห็นต่างๆมากมาย ช่วยมาสมัครเป็นกรรมการสภาเภสัชกันกหน่อยเถอะครับ
อยากรู้ว่าทำงานกับวิจารณ์จะต่างกันไหม


อยากหนะอยากครับ
แต่ผมมันเป็นเภสัชกรเอกชนที่ทำมาหากินเลี้ยงตัวเองและครอบครัวอยู่ครับ ฐานะยังไม่มั่นคงพอที่จะไปทำครับ หากร่ำรวยแล้ว อยู่ตัวแล้ว อาจคิดสมัครครับ แต่ตอนนี้ยังไงก็ไม่สมัคร ยกตำแหน่งให้ก็ไม่เอาเพราะกลัวลูกๆไม่มีข้าวกิน
แต่ก็พร้อมที่จะออกความเห็นนะครับ ตามความรู้ความสามารถที่มี (และหากเป็นที่ต้องการ)

ท่านมีการกล่าวถึงการเลือกตั้งด้วย, จึงขอพูดถึงเรื่องนี้นิดครับ
เรื่องนี้มีการกล่าวถึงกันเยอะนะครับว่ายังไม่ใช่การเลือกตั้งที่เป็นไปอย่างแท้จริง ทั่วถึง ทั่วไป
เรื่องวิธีการเลือกกรรมการสภานี่ก็คงต้องมีการกล่าวถึงข้อที่ต้องพัฒนากันต่อไป
ผมจำได้ว่าเวปนี้ก็มีอยู่หลายที่ที่เคยออกความเห็น หรือเสนอแนวทางที่พัฒนาไว้
(แต่จะเป็นสาระเข้าตากรรมการสภาหรือไม่นั้นก็ไม่ทราบได้)

ที่ท่านว่า.."คนวิจารณ์ง่ายกว่าคนทำงานเยอะครับ",
นี่ก็เห็นด้วยครับ
แต่ก็กลับมาเรื่องเดิม, คือก็ต้องบอกว่า .."ก็ต้องทำงานยากซิครับ ก็พี่เล่นซะหลายตำแหน่งเหลือเกิน เอาหน้างานที่เป็นกิจลักษณะซิครับ อย่าจับฉ่าย ทำโน่นบ้าง ทำนี่บ้าง สุดท้ายทุกเรื่องก็เอาแค่พอผ่าน อิลุงตุงนังกันไปจนหมดวาระ แล้วกรรมการชุดใหม่ก็มาสานต่อแบบอิลุงตุงนังต่อไป และต่อไป"

ถ้าเอ่ยชื่อพี่ๆที่สภาได้ ผมเอ่ยเป็นตัวอย่างแล้วครับ
โดยเฉพาะพี่ๆที่คุ้นเคยกันโดนเป็นส่วนตัว ผมเห็นว่าถ้าให้พี่แต่ละคนไปทำหน้าที่ๆตัวเองถนัดแต่เพียงด้านเดียว รับรองการพัฒนาไปได้ไกล ที่ติดตามดูพี่ๆเค้าทำงานเห็นมีแต่ยุ่งๆ ไม่มีเวลาพอ ไหนจะงานสภา ไหนจะงานจังหวัดที่ตัวเองมีตำแหน่งอยู่ ไหนจะงานอย. ไหนจะงานคณะอนุกรรมการโน่นนี่ สารพัดงาน


ตอนนี้นะครับ บางทีผมมองแล้วก็ดูตลกกับชีวิตคนเหล่านี้นะครับ ทำซะทุกอย่าง อย่างกับตัวเองมีสิบเท้าสิบมือ

(เดี่ยวท่านพี่ก็มาบอกอีกว่า.."กูเสียสละเว่ย" ก้จริงอะครับพี่ เรื่องเสียสละหนะไม่เถียงเลย ท่านพี่อะโตครเสียสละเลยหละ แต่ถ้าการเสียสละแล้วมันทำได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ปฏิเสธมันไปบ้าง ให้คนอื่นทำแทนก็ได้)

(เภสัชกรไทยที่ใช้งานใช้การได้ไม่ได้มีแค่ที่วนๆเวียนอยู่นะครับ มันไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นระดับซีใหญ่ๆ เงินเดือนสูงๆ หรือต้องเป็นดาวเด่นที่พุ่งเข้าจับไมค์ในทุกที่ประชุม น้องๆรุ่นใหม่ ฉลาดๆมีตั้งเยอะแยะ ชวนมาทำงานสิครับ พวกพี่ๆรุ่นเก๋าก็นั่งเป็นที่ปรึกษา หรือนั่งเป็นผู้นำน้องๆไป ไม่ใช่เอาแต่ใจตัวเอง ตัวเองเท่านั้นที่ทำได้ เด็กใหม่อย่ามาสะเออะเลย อย่างนี้ก็ไปไม่ถึงไหนซักที กลับมาสู่การทำงานเต็มมือแบบไม่ได้เรื่องเหมือนเดิม)


ด้วยความเคารพครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย pharmacy » 24 มิ.ย. 2009, 15:17

อยากให้คุณเกาะบอยลองไปดูครับในสภาวิชาชีพอื่นๆ มีใครครับที่ไม่มีงานประจำแล้วมาทำงานเพื่อวิชาชีพเฉยเฉย
ไม่มีหรอกครับ นายกสภาวิชาชีพต่างๆ กรรมการในสภาวิชาชีพ อื่นๆ ล้วนแต่มีงานประจำด้วยกันทั้งสิ้น
ยกเว้นนักการเมืองครับ ถึงจะเป็นอาชีพนักการเมือง
ไม่มีอาชีพ กรรมการสภาเภสัชกรรมหรอครับ เงินเดือนก็ไม่มีครับ
อย่าอ้างทำงานเอกชนหรือต้องเลี้ยงลูกเลี้ยงเมียเลยครับ
กรรมการเภสัชทุกคนดก็ต้องกินต้องใช้นี่ครับ
กรรมการสภาเภสัชล้วนมาจากการเลือกตั้งครับ ยกเว้นคณบดีคณะเภสัชบางท่านครับ
อยากอาสามาทำงานให้วิชาชีพต้องเสนอตัวมาครับ และที่สำคัญต้องได้รับเลือกด้วยครับ
ผลงานของกรรมการสภาเภสชัชุดนี้ไม่น้อยครับ ผมยืนยันได้ว่าไม่น้อยครับ มากกว่าชุดที่แล้วแล้วมาด้วยซ้ำ
การที่จะทำงานถูกใจคนทุกคนเป็นไปไม่ได้ครับ แต่ถ้าสมาชิกเภสัชส่วนใหญ่เห็นว่านโยบายกรรมการชุดนี้ไม่ถุกต้อง
งวดหน้ากรรมการเภสัชเหล่านี้ก็ไม่ได้รับเลือกเองเเหละครับ ผมย้ำน่ะครับว่าต้องมาจากสมาชิกเภสัชกรส่วนใหญ่
ไม่ใช่ความเห็นของสมาชิกบอรืดไม่กี่คนแล้วไปสรุปว่าส่วนใหญ่ครับ
pharmacy
 
โพสต์: 20
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 พ.ค. 2007, 09:33

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย pharmacy » 24 มิ.ย. 2009, 15:22

การเลือกตั้งสภาเภสัชกรรมมาจากการลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกเภสัชกรรมที่ลงคะแนนครับ
เเพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาพยาบาล ผู้มาลงคะแนนเสียงเลือกกรรมการ ก็ล้วนแต่มีคนลงคะแนนไม่ถึงครึ่งของสมาชิกทั้งหมดแหละครับ
แต่กรรมการเหล่านี้มาจากการลงคะแนนส่วนใหญ่ของคนลงคะแนนเสียงครับ
pharmacy
 
โพสต์: 20
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 พ.ค. 2007, 09:33

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 24 มิ.ย. 2009, 15:40

pharmacy เขียน:คุณเกาะบอยเข้าใจผิดเเล้วครับที่ตีค่าสภาวิชาชีพคือระบอบประเทศครับ
สภาเภสัชเป็นไม่ใช่ประเทศครับ การออกกฎของสภาวิชาชีพต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และต้องเป็นประโยชน์ต่อศีลธรรมไม่ขัดจารีตประเพณี และที่สำคัญต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและมวลสมาชิกครับ


ผมได้กล่าวว่า..

" ถ้านำหลักการแห่งการถ่วงดุลอำนาจมาเปรียบเทียบองค์กรและบุคคลากรในสภาเภสัชกรรมไทยกับระดับชาติไทยเป็นดังนี้ครับ

๑.รัฐของเภสัชกร = ประเทศไทย "


นั่นคือ ผมต้องให้ผู้อ่านได้เข้าใจและเห็นถึงขอบเขตของของรัฐของเภสัชกรนะครับ
เป็นรัฐสมมุติขึ้น เพื่อให้ครบองค์ประกอบของรัฐคือ
๑. ประชากร
๒. แดนแดน
๓. อำนาจอธิปไตยในรัฐ

ดินแดนของรัฐของเภสัชกรในที่นี้ เลยเป็นดินแดนสมมุติ (ที่ไม่มีผืนดินจริงที่เป็นเขตแผ่นดินของรัฐที่จับต้องได้ แต่เป็นที่มีจริงตามนามธรรม)

แค่นั้นครับ หากเข้าใจก็จะเข้าใจเลย และจะเข้าใจไปถึงการอธิบายอำนาจอธิปไตยในรัฐนั้นต่อไปด้วย



ที่ท่านว่า..."การออกกฎของสภาวิชาชีพต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย" มานั้น หากนำมาใช้ในรัฐของเภสัชกร แล้วเปรียบเทียบกับระดับประเทศก็จะเป็นดังนี้ครับ
..กฏของสภา = กฎหมายไทย
..กฎหมายที่เป็นกรอบของการออกกฏของสภา = รัฐธรรมนูญไทย




เป็นดังที่กล่าวมาครับ และผมคิดว่าท่านก็เข้าใจ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย pharmacy » 24 มิ.ย. 2009, 16:05

เรียนคุณเกาะบอยครับ
ถ้าคุณเกาะบอย เข้าใจคำว่า รัฐฐาธิปัตย์ ซึ่ง การเรียนนี้ ปี 1 กฎหมายความรู้ทั่วไปอธิบายชัดเจนครับ
ผมขอย้ำครับว่า สภาเภสัช หรือ สภาต่างๆ ไม่ได้เป็น รัฐฐาธิปัตย์ครับ
เปรียบเทียบกันไม่ได้เลยครับ
กฎระเบียบของสภาเภสัชที่ใช้บังคับสมาชิกไม่สิ้นสุดครับ ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย พรบ. พรก. กฎกระทรวง
การตัดสินลงโทษสมาชิกไม่ได้สิ้นสุดที่การตัดสินของสภาเภสัชครับ สมาชิกสามารถฟ้องร้องได้ที่ศาลปกครอง ศาลแพ่ง หรือแม้แต่ศาลอาญาครับ
รัฐฐาธิปัตย์ อธิบายให้ผมฟังหน่อยครับว่าเป็นยังไง ทำไมถึงไปเปรียบอย่างนั้นกับสภาเภสัช
งั้นบริษัทต่างๆ หน่วยงานต่างๆ ก้เป็นรัฐฐาธิปัตย์ด้วยสิครับ
pharmacy
 
โพสต์: 20
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 พ.ค. 2007, 09:33

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 24 มิ.ย. 2009, 16:06

pharmacy เขียน:อยากให้คุณเกาะบอยลองไปดูครับในสภาวิชาชีพอื่นๆ มีใครครับที่ไม่มีงานประจำแล้วมาทำงานเพื่อวิชาชีพเฉยเฉย
ไม่มีหรอกครับ นายกสภาวิชาชีพต่างๆ กรรมการในสภาวิชาชีพ อื่นๆ ล้วนแต่มีงานประจำด้วยกันทั้งสิ้น
ยกเว้นนักการเมืองครับ ถึงจะเป็นอาชีพนักการเมือง
ไม่มีอาชีพ กรรมการสภาเภสัชกรรมหรอครับ เงินเดือนก็ไม่มีครับ
อย่าอ้างทำงานเอกชนหรือต้องเลี้ยงลูกเลี้ยงเมียเลยครับ
กรรมการเภสัชทุกคนดก็ต้องกินต้องใช้นี่ครับ
กรรมการสภาเภสัชล้วนมาจากการเลือกตั้งครับ ยกเว้นคณบดีคณะเภสัชบางท่านครับ
อยากอาสามาทำงานให้วิชาชีพต้องเสนอตัวมาครับ และที่สำคัญต้องได้รับเลือกด้วยครับ
ผลงานของกรรมการสภาเภสชัชุดนี้ไม่น้อยครับ ผมยืนยันได้ว่าไม่น้อยครับ มากกว่าชุดที่แล้วแล้วมาด้วยซ้ำ
การที่จะทำงานถูกใจคนทุกคนเป็นไปไม่ได้ครับ แต่ถ้าสมาชิกเภสัชส่วนใหญ่เห็นว่านโยบายกรรมการชุดนี้ไม่ถุกต้อง
งวดหน้ากรรมการเภสัชเหล่านี้ก็ไม่ได้รับเลือกเองเเหละครับ ผมย้ำน่ะครับว่าต้องมาจากสมาชิกเภสัชกรส่วนใหญ่
ไม่ใช่ความเห็นของสมาชิกบอรืดไม่กี่คนแล้วไปสรุปว่าส่วนใหญ่ครับ


ผมต้องอ้างเรื่องทำงานเอกชนหรือต้องเลี้ยงลูกเลี้ยงเมียเลยครับ เพราะความจริงผมเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ท่านก็รู้ว่าผมเป็นเจ้าของร้านขายยา ทำเอง หากินเอง ไม่มีลูกน้อง ไม่มีเงินเดือนของตัวเอง ผมจึงไปทำไม่ได้
ท่านพูดในพื้นฐานของตัวท่านเองเพราะท่านกินเงินเดือน มีเงินประจำตำแหน่งเพียงพอแล้วนี่ จะเหมาว่าผมเป็นแบบท่านได้ไง ไม่เหมือนกันครับ

เรื่องการอาสาทำงาน..
ได้โปรดเข้าใจให้ถูกนะครับ ผมไม่เคยแม้แต่จะคิดกล่าวหาท่านเลยว่าท่านไร้ซึ่งความเสียสละ หรือไร้จิตอาสา
ผมได้กล่าวชื่นชมไปแล้วนะครับ

เรื่องการทำงานก็เหมือนกัน..
ได้โปรดเข้าใจให้ถูกนะครับ ผมไม่เคยแม้แต่จะคิดกล่าวหาท่านเลยว่าท่านไม่ทำงาน หรือไปสภาเพื่อหายใจทิ้งที่สภา (ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ในบางการประชุม ที่บังเอิญไปแล้วไม่ได้ทำอะไร ไปเพียงเพื่อเป็นพระอันดับ, ดูให้ดีนะครับ บางคนบางครั้งไม่ใช่ทุกคนทุกครั้ง)
แต่กระทู้นี้ผมพยายามเริ่มต้นพูดถึงในความไม่ดีของการรวมทุกอย่างไว้ที่เดียว และความดีในการแบ่งแยกอำนาจให้ชัดเจน หาได้เริ่มจากการกล่าวหาว่าคนในสภาไม่ทำงานไม่ ผมพูดในเชิงระบบการแบ่งแยกอำนาจนะครับ

ส่วนเรื่องกรรมการสภาในอนาคต..
ที่หวังจะให้มีน้ำใหม่มาไล่น้ำเก่า ก็เป็นความหวังหละครับ เป็นความหวังของทุกเภสัชกรแหละครับที่อยากให้มีคนดีคนเก่งเข้าสภา
ก็ต้องดูกันไปครับ ขนาดสภาผู้แทนก็ยังเห็นอยู่ตั้งเยอะที่มองเห็นทีไรก็ต้องรำพึงตั้งคำถามกับตัวเองว่า.."ถ้าประเทศไทยไม่มีไอ่คนนี้อยู่มันจะล่มสลายรึป่าวหว่า.."
ฉันใดฉันนั้นกับสภาของเราครับ ผมเห็นรายชื่อคนทำงานในแต่ละครั้งแล้ว ก็พอจะนึกหน้าออกครับว่าใครเป็นใคร นึกออกเกินครึ่งละกัน
และพอรู้ด้วยว่าคนไหนเจ๋งจริงในเรื่องอะไร คนไหนมีประวัติในตำแหน่งเดิมอย่างไร คนชอบมากน้อยเพียงใด ทำเละไว้ที่ไหนบ้าง ก็พอที่จะได้ยินได้ฟังมาครับ


ส่วนเรื่องเอาไปเปรียบเทียบกับสภาอื่น ผมยังยืนยันว่ามิกล้าไปวิจารณ์นอกวิชาชีพ



ปล.
ถ้าหากว่าไม่แฮปปี้ที่ไม่ได้ยกเอาความเหมือนกันกับสภาวิชาชีพอื่นมาอ้างเพื่อให้ทุกคนในที่นี้พอใจกับสภาปัจจุบัน ก็เชิญดูอยู่ห่างๆก็ได้ครับ
เพราะผมไม่อยากขัดใจที่ต้องคอยเบรคเรื่องอ้างเทียบกับสภาอื่นอยู่เรื่อยๆครับ

แต่ถ้ายังอยู่ก็ยินดีเหมือนเดิมนะครับ

ส่วนข้อความเห็นที่ท่านกล่าวผ่านมา, ถ้าอยากลบก็ลบได้นะครับ ผมก็จะหยุดไม่อ้างถึง
แต่ถ้ายังอยู่ผมก็จะโค้ทมาตอบอีกต่อไป

" ในเวปนี้ผมเอาตัวรอดเสมอ เพราะผมอยู่บอร์ดนี้มานาน รู้ดีว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้
อย่างมากผมก็งอนแอดมินซักครึ่งปี แล้วกลับมาใหม่ แค่นั้นเอง!"
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 24 มิ.ย. 2009, 16:33

pharmacy เขียน:เรียนคุณเกาะบอยครับ
ถ้าคุณเกาะบอย เข้าใจคำว่า รัฐฐาธิปัตย์ ซึ่ง การเรียนนี้ ปี 1 กฎหมายความรู้ทั่วไปอธิบายชัดเจนครับ
ผมขอย้ำครับว่า สภาเภสัช หรือ สภาต่างๆ ไม่ได้เป็น รัฐฐาธิปัตย์ครับ
เปรียบเทียบกันไม่ได้เลยครับ
กฎระเบียบของสภาเภสัชที่ใช้บังคับสมาชิกไม่สิ้นสุดครับ ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย พรบ. พรก. กฎกระทรวง
การตัดสินลงโทษสมาชิกไม่ได้สิ้นสุดที่การตัดสินของสภาเภสัชครับ สมาชิกสามารถฟ้องร้องได้ที่ศาลปกครอง ศาลแพ่ง หรือแม้แต่ศาลอาญาครับ
รัฐฐาธิปัตย์ อธิบายให้ผมฟังหน่อยครับว่าเป็นยังไง ทำไมถึงไปเปรียบอย่างนั้นกับสภาเภสัช
งั้นบริษัทต่างๆ หน่วยงานต่างๆ ก้เป็นรัฐฐาธิปัตย์ด้วยสิครับ


อะน่า รู้ละกัน ไม่ต้องให้มาอธิบายให้ละเอียดแบบทำข้อสอบหรอก
มามัวแต่อธิบาย, เดี๋ยวผมจะโดนว่า.."อวดอ้างว่ากำลังเรียนนิติศาสตร์แล้วมาอ้างแบบนี้เลยครับ ขายขี้หน้าคนอื่นเปล่า"
และผมไม่อยากเห็นคนปากเปราะมาว่าท่านว่า.."แค่จบนิติศาสตร์ สอบเนฯยังไม่ได้ โทกฎหมายมหาชนก็ไม่ได้เรียน แล้วมาอ้างแบบนี้เลยครับ ขายขี้หน้าคนอื่นเปล่า"
เดี๋ยวจะเคืองเปล่าๆ


เอาสั้นๆพอ ดังนี้ครับ
รัฐาธิปัตย์
ประกอบด้วยสามอำนาจคือ
๑.อำนาจนิติบัญญัติ
๒.อำนาจบริหาร
๓.อำนาจตุลาการ

ผมได้ยกมากล่าวตั้งแต่ต้นๆแล้วว่าในรัฐของเภสัชกรเรา มีการใช้อำนาจทั้งสามคือ
อำนาจของคณะกรรมการที่ร่างกฏ หรือข้อบังคับของสภา เปรียบได้กับอำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจฝ่ายบริหารของสภา เปรียบได้กับอำนาจบริหาร
อำนาจของคณะกรรมการพิจราณาตัดสินคดี เปรียบได้กับอำนาจตุลาการ

"เปิดใจให้กว้างก็จะเห็นว่าผมเปรียบให้เห็นเช่นนั้น และก็ไม่เป็นการผิดใดๆเลยที่จะนำมาเปรียบเทียบกันอย่างนี้เพื่อให้เห็นภาพ"





ส่วนที่ถามว่า.."งั้นบริษัทต่างๆ หน่วยงานต่างๆ ก้เป็นรัฐฐาธิปัตย์ด้วยสิครับ"
ก็ต้องตอบว่า..
.. ใช่ครับ,เป็นครับ
หากบริษัทนั้นมีการร่างข้อบังคับ,มีการใช้ข้อบังคับ,และมีการวินิจฉัยตัดสินคดีหรือข้อพิพาทในบริษัท ก็จะครบทั้งสามอำนาจเช่นกัน
และหากการกระทำทั้งสามทำโดยคนๆเดียว เช่นเจ้าของบริษัทเป็นผู้สั่งให้ออกระเบียบข้อบังคับในบริษัททุกข้อ ก็มีคำเรียกเพิ่มอีกว่าเป็น "ระบบเผด็จการ" ไงครับ
(ซึ่งถ้ามีข้อบังคับใดที่นายกสภาของเราเป็นผู้สั่งให้ออกโดยตัวท่านเอง เราก็เรียกท่านว่าเป็นนายยกเผด็จการได้เช่นกัน)
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย pharmacy » 24 มิ.ย. 2009, 16:40

เหตุอันใดคุณเกาะบอยถึงบอกว่ากฎระเบียบต่างๆของสภาเภสัชมาจากนายกสภาเภสัชสั่งครับ
ทำไมถึงกล้าพุดเช่นนั้นครับ
กรรมการสภาเภสัชทุกคนไม่มีใครเป็นหัวหน้าครับ ไม่มีใครสั่งขวาหันซ้ายหันได้เลยครับ
ทุกกฎ ทุกระเบียบที่ออกมา ล้วนมาจากการประชุม การถกเถียงกัน และที่สำคัญไม่ได้ออกจากความเห็นของกรรมการสภาเภสัชกรรมอย่างเดียวครับ
มาจากเหล่าสมาชิก มาจากอาจารย์ มาจากทุกส่วนครับ
pharmacy
 
โพสต์: 20
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 พ.ค. 2007, 09:33

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 24 มิ.ย. 2009, 16:46

pharmacy เขียน:เหตุอันใดคุณเกาะบอยถึงบอกว่ากฎระเบียบต่างๆของสภาเภสัชมาจากนายกสภาเภสัชสั่งครับ
ทำไมถึงกล้าพุดเช่นนั้นครับ
กรรมการสภาเภสัชทุกคนไม่มีใครเป็นหัวหน้าครับ ไม่มีใครสั่งขวาหันซ้ายหันได้เลยครับ
ทุกกฎ ทุกระเบียบที่ออกมา ล้วนมาจากการประชุม การถกเถียงกัน และที่สำคัญไม่ได้ออกจากความเห็นของกรรมการสภาเภสัชกรรมอย่างเดียวครับ
มาจากเหล่าสมาชิก มาจากอาจารย์ มาจากทุกส่วนครับ


ผมกล้าเพราะผมไม่ได้ว่าตัวท่านนายกคนปัจจุบันนี่ครับ
อ่านดีๆ ผมวงเล็บเพื่อขยายให้เห็นถึงเรื่องเผด็จการแค่นั้นเอง

กรุณาอย่าใส่ความผมว่าผมตำหนิท่านนายกคนปัจจุบัน เพราะผมหาได้ทำไม่


เอาหละครับ
ผมขอถามท่านตรงๆเลย สั้นๆครับ สองคำถามพอ เป็นคำถามแบบ yes/no question นะครับ..
"๑. ท่านเคยอยู่ในคณะกรรมการเพื่อออกร่างกฏ หรือข้อบังคับหรือไม่?
๒. ท่านเคยอยู่ในคณะกรรมการพิจารณาลงโทษเภสัชกรที่ทำผิดกฏของสภาหรือไม่?"

กรุณาตอบนะครับ
ผมรออยู่หน้าจอนี่แหละ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย pharmacy » 24 มิ.ย. 2009, 16:51

ขอตอยบครับว่า อยู่ทั้ง 2 ชุดครับ
และก็ไม่มีใครสั่งผมได้ครับ
นายกสภาก็สั่งไม่ได้ครับ
pharmacy
 
โพสต์: 20
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 พ.ค. 2007, 09:33

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย wannee » 24 มิ.ย. 2009, 17:14

pharmacy เขียน:คุณวรรณีครับช่วยยกตัวอย่างกฎระเบียบของสภาวิชาชีพอื่นให้ผมดูหน่อยครับว่ามีวิชาชีพไหนที่มีกฎระเบียบแตกต่างจากสภาเภสัชครับ


กลับไปอ่านทวนที่ตัวเองเขียน ก็ยังไม่ได้เขียนอะไรว่ามันเหมือนหรือต่างนี่นะ แล้วก็ไม่ได้เป็นคนยกประเด็นเรื่องวิชาชีพอื่นเลยนี่นา

ก็เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตว่า

การที่มีคนบอกเหมือนนั้น มันหมายถึงว่า เหมือนกันหมดแล้วแสดงว่าดีใช่ไหม หรือก็เป็นไปได้ว่าไม่ดีทั้งหมด เนื่องจากการทำเหมือน ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าดี (ตรงนี้เข้าใจตรงกันใช่ไหมคะ) จากนั้นก็นึกขึ้นมาได้ว่า เออ มีคนพูดถึงวิชาชีพอื่นใช่ไหม มันก็เลยนึกถึงวิศว แล้วก้ถามว่า ใครพอมีข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง ก็ช่วยที ก็แค่นั้นนะคะ

แต่ถ้าเขียนมาแล้ว ทำให้เข้าใจผิดก็ขอโทษด้วยนะคะ


อย่าเพิ่งตอบกระทู้แบบเหม็นหน้าดิฉันได้ไหมคะ คือว่าจะไม่ชอบก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่อย่าเพิ่งใช้อารมณ์มาตอบกันจะดีไหมคะ

ที่จริงแล้ว สิ่งที่ทั้งสองท่านกำลังถามตอบกันนั้น หากอ่านสกัดเอาเฉพาะประเด็น ดิฉันก็ได้ความรู้เพิ่มนะคะ แล้วก็มีข้อสงสัยเพิ่มด้วย ยังคิดว่าเออดีแฮะ เราจะได้ไปค้น ไปถามผู้รู้เพิ่มเติม นอกจากนั้นแล้ว ยังรู้สึกดีกับทั้งสองท่านที่มีความรู้ ความตั้งใจดี แล้วก็พร้อมที่จะมาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน ในสังคมเรา การแลกเปลี่ยนความเห็นกันและยอมรับในความแตกต่างกัน ยังมีน้อย ถ้าทั้งสองท่านจะกรุณาทำเป็นตัวอย่าง จะขอบคุณมากเลยค่ะ
แก้ไขล่าสุดโดย wannee เมื่อ 24 มิ.ย. 2009, 17:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง สายตรงถึงสภาเภสัชกรรม

ผู้ใช้งานขณะนี้

cron
New Document