New Document









สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 22 มิ.ย. 2009, 11:33

ผมห่างเวปไปนาน
ก็อย่างที่บางคนหรือหลายคนรู้ ว่าทำไมถึงห่างไป
(เออ..แล้วจะรู้มั๊ยเนี่ย?)



มาว่าเรื่องตามหัวข้อกระทู้ดีกว่า..
..ผมตั้งข้อสังเกตุว่าสภาเภสัชกรรมเป็นไปตามหลักการปกครองที่เรียกว่า.."สมบูรณาญาสิทธิราชย์"
กล่าวคือ อำนาจสูงสุดในสภารวมอยู่ในกลุ่มคนกลุ่มเดียว หรือองค์กรเดียว

หากเปรียบพื้นที่ที่เภสัชกรผู้ใช้วิชาชีพเภสัชกรรมทำมาหากินเป็นรัฐเภสัชกร
อำนาจอธิปไตยในรัฐเภสัชกรคืออำนาจสูงสุดที่ไม่มีอำนาจใดๆอยู่สูงกว่า
อำนาจสูงสุดประกอบด้วยอำนาจสามอย่างคือ
๑.อำนาจในการตราข้อบังคับ
๒.อำนาจในการใช้ข้อบังคับ
๓.อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยอรรถคดี

โดยหลักแห่งการจัดการทั้งสามอำนาจเพื่อให้เกิดและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของคนในรัฐนั้น มงเตสกิเออ นักปราชญ์แห่งเรื่องนี้กล่าวไว้ว่า.."ต้องแยกอำนาจทั้งสามออกจากกันอย่างเด็ดขาด"
ถ้าอำนาจทั้งสามอยู่กับคนในกลุ่มคนกลุ่มเดียว หรือองค์กรเดียว เรียกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy)


เมื่อหันไปมองสภาเภสัชกรรมไทยจะเห็นว่า สภาเภสัชกรรมไทยมิได้แยกอำนาจทั้งสามออกจากกันเลย
อำนาจทั้งสามอยู่ภายในห้องเล็กๆในตึกสำนักงานปลัดฯ
อำนาจทั้งสามอยู่ในกำมือของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าสภาเภสัชกรรม


ดังนั้นจึงเป็นการถูกต้องที่สภาแห่งนี้จะเปรียบได้ดังเช่นชื่อกระทู้นี้






ปล.
เชิญแสดงความเห็นครับ
หัวข้อต่อไปผมจะกล่าวถึงการที่ความล้มเหลวของสภาเภสัชกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดหลักการ "Check and Balance" ที่หากสภาใดขาดหลักนี้ไป ย่อมไม่ต่างไปจากสภาโจร
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51







Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 22 มิ.ย. 2009, 17:17

Check and Balance

ภาษาไทยใช้กันโดยทั่วไปว่า.."การตรวจสอบและถ่วงดุล"
ถึงแม้ในคำภาษาไทยจะเอาคำว่าตรวจสอบขึ้นก่อนคำว่าถ่วงดุล
แต่ในการศึกษาให้เข้าใจในเรื่องนี้ จะต้องเริ่มจากคำว่าถ่วงดุลก่อนที่จะพูดถึงการตรวจสอบ

การถ่วงดุล (Balance of Power)
หมายถึง การให้แต่ละอำนาจให้เป็นอิสระต่อกัน มีศักดิ์เท่ากัน เพื่อไม่ให้มีอำนาจใดชี้นำอำนาจอื่น
พูดให้เห็นภาพก็คือ...ถ้าจะให้มีการถ่วงดุลกันในสภาเภสัชกรรมของพวกเรา ก็ต้องแยกองค์กรแห่งอำนาจทั้งสามออกจากกันอย่างเด็ดขาด
คือ
๑. มีองค์กรในการออกข้อบังคับของสภา เป็นอิสระ
๒. องค์กรที่เป็นผู้ใช้ข้อบังคับ(ตัวนายกสภาอยู่ในอำนาจนี้เท่านั้น) ก็แยกตัวเป็นองค์กรต่างหาก
๓. เมื่อจะต้องวินิจฉัยในอรรถคดีที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ก็ดำเนินการโดยองค์กรอีกองค์กรหนึ่ง ที่เป็นอิสระกับองค์กรทั้งสองที่กล่าวมา

" ไม่ใช่ทำกันแบบมั่วๆอย่างทุกวันนี้ เห็นมาเยอะต่อเยอะแล้ว เดี๋ยวกรรมการสภาคนนั้นไปทำหน้าที่นั้นที แล้วคนเดิมก็ไปทำหน้าที่โน้นอีกที วนๆเวียนๆทำมันทั้งสามอำนาจนั่นแหละ แล้วก็มาบอกว่าตัวเองงานยุ่ง ทำงานตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน้อต ไม่มีทางทำอะไรได้ครบถ้วนร้อก ไม่ทันแน่นอน (ก็แน่นอนหละครับ ก็พี่เล่นซะทุกอำนาจเลยนี่นา ไม่ยุ่งยังไงไหว ต่อให้ได้ด้อกเตอร์ทั้งทางกฎหมาย, ทั้งทางบริหาร, ทั้งเคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน ก็ยังไม่มีทางทำอะไรให้ดีได้แม้แต่เรื่องเดียว)
ตัวผู้บริหารสูงสุดก็ทำตัวเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดไปวันๆ, อยากให้มีกฎอะไรตามใจตนเองก็สั่งให้คนในสภาออกกฎให้ตรงตามปราถนาของตนซะ ก็สามารถทำได้
ส่วนเวลาจะทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดอะไร ก็ไม่พ้นหน้าเดิมๆ เลือกเอาคนจากกรรมการชุดเดิมนั่นแหละ มานั่งทำตัวเป็นตัดสินคดีความอีกที"


หากความจริงมันเป็นอย่างนี้
หากไม่มีการแบ่งองค์กรที่ใช้อำนาจอย่างนี้
อำนาจทั้งหมดมันก็อยู่ที่เดียว เหมือนเดิม เป็นเยี่ยงนี้ทุกวี่ทุกวัน


ปล. ต่อไปจะพูดถึงการตรวจสอบครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 22 มิ.ย. 2009, 17:29

Check
หมายถึง แต่ละอำนาจต้องตรวจสอบกันได้
ซึ่งการตรวจสอบจะทำไม่ได้เลยถ้าไม่ผ่านเรื่องการแยกอำนาจให้ชัดเจนก่อน
(ถ้ายังไม่แยก ก็อย่าหวังว่าจะมีการตรวจสอบได้ ในทางกลับกันหากมีการแยกอำนาจกันชัดเจน การตรวจสอบก็จะยิ่งมีมากขึ้นๆ)

ตัวอย่างเช่น
..เมื่อมีการออกข้อบังคับมาแล้ว ไม่ใช่จะประกาศใช้เลย ต้องผ่านการพิจารณาจากองค์กรอื่นๆก่อน บางกรณีอาจต้องทำประชามติก่อนด้วยหากเห็นว่าจำเป็น แล้วจึงจะประกาศใช้
..เมื่อนายกจะออกกฎอะไร ก็ต้องมีองค์กรอื่นตรวจสอบก่อนที่จะนำกฏนั้นออกใช้
..ฯลฯ




ปล. ต่อไปเป็นบทส่งท้ายครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 22 มิ.ย. 2009, 17:43

บทส่งท้าย...


ด้วยความเคารพในสภาเภสัชกรรมไทย,
ผมไม่ได้เขียนบทความนี้เพื่อโจมตีหรือว่าร้ายสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้เลย
ผมมีเจตนานำเสนอแนวความคิดที่ควรเป็นควรมี เพื่อให้เป็นการพัฒนาในวิชาชีพของเรา

ความรู้ในเรื่องนี้ นิติกรที่เดินกันขวักไขว่อยู่ในสำนักงานสภาทุกคนเคยร่ำเรียนกันมาหมดทุกคน ( ตัวกรรมการสภาและนายกอาจเคยได้เห็นได้ผ่านตามาแล้ว แต่ก็อาจจะไม่เข้าใจได้ดีเท่าคนที่เคยเรียนด้านนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์มาโดยตรง แต่ก็คงไม่ยากที่จะเข้าใจ ถ้าเปิดใจที่จะรับสารที่ผมต้องการสื่อจริงๆ) แต่นิติศาสตร์บัณฑิตเหล่านั้นคงไม่ได้มีโอกาสนำเสนอในเรื่องนี้ หากคนในสภาให้นิติกรเหล่านี้จัดทำแนวทางการเปลี่ยนแปลงตามให้เป็นไปตามผมที่กล่าวมา เขาเหล่านั้นย่อมทำได้

ดังนั้นย่อมเป็นไปได้ในทางปฏิบัติที่เราท่านจะได้เห็นการล่มสลายของระบบตามชื่อกระทู้ แล้วเปลี่ยนเป็นระบบที่ดีขึ้น

ทั้งนี้หัวใจสำคัญของการพัฒนาในเรื่องนี้ มีอยู่ประการเดียว นั่นคือ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดในอำนาจที่กล่าวมาต้องไม่ยึดติดต่ออำนาจมากมายที่ตนเองเคยมี


ครับ

ด้วยความเคารพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย wannee » 23 มิ.ย. 2009, 23:13

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความเห็นดีๆและน่าสนใจแบบนี้

เป็นเรื่องที่โดนใจเป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่มีเรื่องข้อบังคับ 5ปี/6ปี ได้มีโอกาสทำความเข้าใจในหลายๆเรื่องเพิ่มขึ้น

รู้สึกว่าเรื่องของการขาดการถ่วงดุลนี้เป็นเรื่องใหญ่มากๆ เป็นการเปิดช่องว่างให้ใช้อำนาจอย่างไม่ฟังเสียงใคร

แต่ก็ให้สงสัยอยู่ค่ะ ถ้าจะช่วยอธิบายเพิ่มเติมจะขอบคุณมากๆ

อย่างกรณีสภาออกข้อบังคับ ต้องผ่านรมต.สาธารณสุขก่อนถึงจะประกาศบังคับใช้ได้ โดยถ้า รมต.ไม่ลงนาม แล้วส่งกลับมาให้สภาใหม่ หากสภาพิจารณาแล้ว ยังยืนยันเหมือนเดิม สภาสามารถที่จะบังคับใช้ได้ ตรงนี้ มีบางคนบอกว่าเป็นการทำให้สภาอิสระจากนักการเมือง แต่ก็กลายเป็นการให้อำนาจที่มากเกินไปกับสภา ซึ่งดูว่ามันมีทั้งข้อดีข้อเสีย ไม่ว่าจะพยายามออกกฎระเบียบกันอย่างไร มันก็ให้มีช่องว่างที่คนมันจะดิ้น ประเด็นที่สงสัยคือว่า แล้วมันจะมิต้องไปไล่ออกกฎระเบียบหรือข้อบังคับกันให้เต็มไปหมดเลยเหรอ ตอนนี้กำลังเจอสภาพการณ์ในที่ทำงานที่ พอมีอะไรขึ้นมานิดนึงก็ตั้งกรรมการ หรือคณะทำงานร่างกฎระเบียบ บอกตามตรงว่าเบื่อมาก....(บ่นอีกแล้ว)

ทีนี้ก็ขอแลกเปลี่ยนนะคะ

ดังนั้น โดยส่วนตัวแล้ว มองไปถึงว่า คนที่อยู่ตรงนั้น มีความสำคัญมากๆ การมีระเบียบข้ออบังคับระดับนึงเป็นเรื่องที่ดี เพราะการอยู่เป็นสังคมซึ่งมีความหลากหลายมากมายนั้น ก็อาจจะต้องการกรอบของการอยู่ร่วมกัน แต่ถ้าคนรู้จักหน้าที่ รู้จักในสิ่งที่พึงกระทำ ระเบียบข้อบังคับทั้งหลายมันก็ดูเหมือนกับว่าไม่มีก็ได้ หรือถ้ามี ก็ให้เป็นแค่กรอบหลวมๆก็พอแล้ว อาจจะมองว่ามันอุดมคติเกินไป แต่ก็ยังมีความคิดในเรื่องนี้อยู่ การศึกษาอบรมทั้งในบ้าน นอกบ้าน ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ช่วยได้บ้างไหม

อะไรที่มันจะช่วยสร้างจิตสำนึกพวกนี้ได้บ้าง ทำให้เป็นเรื่องที่มันอยู่ได้ยาวนานเลย

ไม่งั้น เราจะวนเวียนอยู่ในวังวนของการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง สภาชุดนี้เข้าไปใช้อำนาจเต็มที่ ฟังเสียงคนอื่นน้อยมาก เดี๋ยวก็มีชุดใหม่เข้าไป แล้วก็ใช้อำนาจแก้ไขในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบที่สภาชุดเก่าทำไว้ ถ้าเป็นอย่างนี้ มันไม่จรรโลงสังคมเอาซะเลย ยกเว้นแต่ว่า จะมีคนเข้าไปใหม่ แล้วพยายามสร้างวัฒนธรรมใหม่ แต่นั่นหมายถึงงว่า คนในวิชาชีพเราก็ต้องออกมามากกว่านี้ ไม่อยู่เป็นพลังเงียบอีกต่อไป มีความเห็นอย่างไร เหมือนหรือต่างก็ต้องออกมาคุยกันและฟังกัน
ขอบคุณนะคะที่ตั้งกระทู้นี้ ทำให้อดไม่ได้ต้องขอแจมด้วย จริงๆกำลังนั่งทำงาน แต่อดม่ายล่ายอะ ขอสักนิด :biggrin:
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 24 มิ.ย. 2009, 11:19

wannee เขียน:รู้สึกว่าเรื่องของการขาดการถ่วงดุลนี้เป็นเรื่องใหญ่มากๆ เป็นการเปิดช่องว่างให้ใช้อำนาจอย่างไม่ฟังเสียงใคร

แต่ก็ให้สงสัยอยู่ค่ะ ถ้าจะช่วยอธิบายเพิ่มเติมจะขอบคุณมากๆ

อย่างกรณีสภาออกข้อบังคับ ต้องผ่านรมต.สาธารณสุขก่อนถึงจะประกาศบังคับใช้ได้ โดยถ้า รมต.ไม่ลงนาม แล้วส่งกลับมาให้สภาใหม่ หากสภาพิจารณาแล้ว ยังยืนยันเหมือนเดิม สภาสามารถที่จะบังคับใช้ได้ ตรงนี้ มีบางคนบอกว่าเป็นการทำให้สภาอิสระจากนักการเมือง แต่ก็กลายเป็นการให้อำนาจที่มากเกินไปกับสภา ซึ่งดูว่ามันมีทั้งข้อดีข้อเสีย ไม่ว่าจะพยายามออกกฎระเบียบกันอย่างไร มันก็ให้มีช่องว่างที่คนมันจะดิ้น ประเด็นที่สงสัยคือว่า แล้วมันจะมิต้องไปไล่ออกกฎระเบียบหรือข้อบังคับกันให้เต็มไปหมดเลยเหรอ ตอนนี้กำลังเจอสภาพการณ์ในที่ทำงานที่ พอมีอะไรขึ้นมานิดนึงก็ตั้งกรรมการ หรือคณะทำงานร่างกฎระเบียบ บอกตามตรงว่าเบื่อมาก....(บ่นอีกแล้ว)

:


ขอบคุณที่ติดตามครับ

ผมก็พึ่งรู้ว่าขั้นตอนการร่างกฎหมายในเภสัชรัฐเป็นอย่างนี้
ถ้าเป็นระดับชาติ รับรองว่าสภาทั้งสภาติดคุกหัวโต ด้วยต้องความผิดฐานหมิ่นอำนาจของกษัตริย์แห่งรัฐ


ถ้านำหลักการแห่งการถ่วงดุลอำนาจมาเปรียบเทียบองค์กรและบุคคลากรในสภาเภสัชกรรมไทยกับระดับชาติไทยเป็นดังนี้ครับ

๑.รัฐของเภสัชกร = ประเทศไทย

๒.อำนาจอธิปไตยในรัฐของเภสัชกร = อำนาจอธิปไตยของไทย
ประกอบด้วยสามองค์กรคือ
๒.๑ คณะกรรมการที่ร่างข้อบังคับ = สภานิติบัญญัติ(สภาผู้แทน+วุฒิสภา)
-ข้อบังคับสภาเภสัช = กฎหมาย
๒.๒ ฝ่ายบริหารของสภา = รัฐบาล
-นายกสภาเภสัช = นายกรัฐมนตรี
๒.๓ คณะกรรมการพิจราณาตัดสินคดี = ศาล

**ผมมิบังอาจเขียนเปรียบเทียบให้เห็นนะครับว่ารัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเปรียบเป็นใคร เพราะเป็นการไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง**


ซึ่งถ้าจะให้เป็นการถูกต้องตามหลักการในการส่งเสริมและก่อให้เกิดสิทธิและเสรีภาพในรัฐ จะต้องมีการถ่วงดุลอำนาจในข้อ ๒.๑, ๒.๒,๒.๓ ให้แยกออกจากกันอย่างเด่นชัด โดยให้มีฐานะเท่าเทียมกัน และแต่ละอำนาจไม่สามารถชี้นำอำนาจที่เหลือได้
มิใช่อย่างที่เห็นในสภาเภสัชของเราท่านทั้งหลายในทุกวันนี้




ส่วนในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง"ต้องไปไล่ออกกฎระเบียบหรือข้อบังคับกันให้เต็มไปหมด" นั้นเป็นสิ่งที่หากมุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดี ย่อมไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะทำ ( "ถ้าไม่ทำแล้วเมื่อไหร่จะได้ทำ?")

ในความเห็นผมนะครับ..ถ้ามีสภาชุดใดที่กล้าเปลี่ยน และตั้งใจเปลี่ยนแปลงระบบให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง สภาชุดนั้นจะถูกโลกนี้จารึกไว้ว่าได้ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้กับรัฐเภสัชกรไทย เป็นผู้ทำให้รัฐเภสัชกรไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบที่ดีกว่า ยั่งยืนกว่า
"สมควรที่ได้รับการยกย่องเทิดทูนเป็นปูชณียบุคคลของเภสัชกรไทย"




ปล.
เขียนมาถึงตรงนี้แล้วผมเห็นว่าคงต้องมีกล่าวถึงแนวคิดสองอย่างที่เป็นความจริงและมีส่วนสำคัญที่ทำให้เภสัชรัฐไม่พัฒนา เป็นไปอย่างการเจริญของคนง่อยเปลี้ยเสียขาขาดสารอาหารแคระแกร็นไม่เติบโตซักที,
ผมจะต่อด้วยเรื่อง..
..แนวคิดของฌอง ชาค รุสโซ : อำนาจเป็นของเภสัชกรทุกคนในไทย (Sovereigntiy of Population)
..แนวคิดของ ซีเอเย่ส์ : อำนาจเป็นของกูผู้เป็นกรรมการสภา(Sovereigntiy of Nation)

ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย wannee » 24 มิ.ย. 2009, 12:20

โอเช ขอบคุณมากค่ะ

จะติดตามอ่านค่ะ อาจจะขอแทรกเป็นระยะ แบบทฤษฎีน้อย แต่มันสมองยังพอคิดไหว และสงสัยได้

เชียร์ให้เขียนเยอะๆ

โยงภาพใหญ่ของบ้านเมืองปัจจุบัน มาสู่สถานการณ์ในวิชาชีพด้วยน่าจะยิ่งประเทืองปัญญา
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย zartingtong » 24 มิ.ย. 2009, 12:33

เค้าเรียกว่า

ฝักถั่ว
:lol: :lol: :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย pharmacy » 24 มิ.ย. 2009, 12:48

ผมขอเข้ามาเเจมครับ
หลายหลายคนในนี้ผมว่าไม่รู้จักคำว่าระบบถ่วงดุล
ทุกวิชาชีพ ทุกสภาวิชาชีพ เป็นลํกษณะเหมือนกันหมดครับ สภาเภสัชก็ไม่ต่างจากสภาวิชาชีพอื่น
คุณเกาะบอยเข้าใจผิดเเล้วครับที่ตีค่าสภาวิชาชีพคือระบอบประเทศครับ
สภาเภสัชเป็นไม่ใช่ประเทศครับ การออกกฎของสภาวิชาชีพต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และต้องเป็นประโยชน์ต่อศีลธรรมไม่ขัดจารีตประเพณี และที่สำคัญต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและมวลสมาชิกครับ
การถ่วงดุลของสภาเภสัชก็คือหมดวาระก้เลือกตั้งใหม่ครับ ไม่มีใครอยู่คงทนหรอกครับ
กรรรมการในสภาเภสัชกรรมจบนิติศาสตร์หลายคนครับ และเรียนจบเเล้วด้วยครับ
อย่าอวดอ้างว่ากำลังเรียนนิติศาสตร์แล้วมาอ้างแบบนี้เลยครับ ขายขี้หน้าคนอื่นเปล่าเปล่า
โพลในเวปบอรืดเชื่อได้เหรอครับว่ามาจากเสียงส่วนใหญ่ของเภสัชกร
เภสัชกรส่วนใหญ่ที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการเภสัชมา มาจากเสียงส่วนใหญ่ครับ
ไม่พอใจนโยบายเลือกตั้งคราวหน้าพวกคุณก็หาคนอื่นมาสมัครเเข่งสิครับ หรือว่าพวกคุณก็มาลงสมัครเองเลยสิครับ

การไปเปรียบเทียบสภาเภสัชเทียบเหมือนประเทศ ไม่ถุกต้องครับ
ไม่มีอะไรเหมือนกันเลยครับ ยิ่งไปเปรียบเทียบ รมต.สธแบบนั้นยิ่งไปกันใหญ่ครับ
แล้วมีอาจารญ์บางคนมาเยินยอเข้าอีก ผมว่ายิ่งไปกันใหญ่
พาดหัวข้อกระทู้ก็ยิ่งน่าเกลียดครับ คิดใหม่ดีกว่าครับ
อย่ามาสร้างความดังทางเวปแบบนี้เลยครับ อยากดังอยากทำเพื่อสภาเภสัชจริงมาลงสมัครเป็นกรรมการสภาเภสัชดีกว่าครับ
จะรู้ว่าเสียงส่วนใหญ่ของเภสัชต้องการพวกคุณจริงแน่หรือปล่า
pharmacy
 
โพสต์: 20
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 พ.ค. 2007, 09:33

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย pharmacy » 24 มิ.ย. 2009, 12:50

ไปดูโครงสร้างสภาวิชาชีพอื่นครับ เหมือนกันหมดครับ ลองไปศึกษาดูน่ะครับ
pharmacy
 
โพสต์: 20
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 พ.ค. 2007, 09:33

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย wannee » 24 มิ.ย. 2009, 12:55

pharmacy เขียน:ไปดูโครงสร้างสภาวิชาชีพอื่นครับ เหมือนกันหมดครับ ลองไปศึกษาดูน่ะครับ


หุ หุ...
เหมือนกันหมด แสดงว่า ดีหมด หรือ ไม่ดีหมด

แต่ก็น่าสนใจนะคะ หากใครมีกรณีศึกษาของวิศวกร ที่ก็เคยมีการทักท้วงกันเองในผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมมาเล่าสู่กันฟังบ้าง ก็ดีนะคะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 24 มิ.ย. 2009, 13:44

เหมาะเลย ดีๆๆ
มาเลยครับ อยากให้ออกความเห็นนะครับ

เข้าใจว่าเป็นกรรมการอยู่ในสภาใช่มั๊ยครับ
ใช่หรือไม่ใช่ก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องแนะนำตัวก็ได้ เพราะซักวันเราก็รู้ว่าท่านเป็นใคร
ขออย่างเดียว.."อย่าหนี!"

คนจบนิติศาสตร์มีเยอะครับ ไม่เถียงครับ (เช่นเดียวกันกับคนจบเภสัชศาสตร์ก็มีเยอะเช่นกัน)

ถูกครับ ผมกำลังเรียนอยู่ แต่ไม่ใช่ว่านักเรียนกฎหมายจะเขียนถึงกฎหมายไม่ได้นะครับ

และรัฐธรรมนูญก็เขียนไว้ชัดว่า"ทุกนคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น"
แมวที่ไหนจะมาห้ามการออกความเห็นของผมได้ ผมยึดถือคติว่าศักดิ์และสิทธิ์ในความเป้นคนของทุกคนมีค่าเท่ากัน หาได้มีสิ่งใดทำให้คนใดคนหนึ่งอยู่เหนือคนอีกคนหนึ่งได้
ผมไม่สนใจหรือให้ค่าของการเป็นคนมีตำแหน่ง มียศฐาบรรดาศักดิ์ของใครมาใหญ่กว่าผมได้ โดยเฉพาะพวกกินเงินเดือนจากภาษีอากรแล้วมาทำตัวโต ลุแก่อำนาจ แล้วมาโอ่ตัวเองนะ ยิ่งไม่สน ผมสนใจคนดีตะหาก!
ถ้าใครเผลอเอาการมียศมีตำแหน่งมากร่างกับผม โปรดจงรู้ไว้ว่าใช้ไม่ได้กับผม, ผมออกจะสมเภทต่อการกระทำของคนนั้นด้วยซ้ำ

มันเป็นธรรมชาติในวงการผู้ศึกษากฎหมายนะครับ ที่ให้มีการถกเถียงด้วยเหตุผลกัน เราถือว่าการถกเถียงก่อให้เกิดความรู้ กล่าวคือ ไม่เถียงก็ไม่เกิดความรู้ครับ

แต่ทุกนิติกรไม่ใช่จะเหมือนกันทุกคน (และทุกเภสัชกรก็ไม่เหมือนกันทุกคนเช่นกัน)
คนจบนิติศาสตร์แต่ละคนก็ถนัดต่างกัน บางคนถนัดทางกฎหมายเอกชน บางคนถนัดทางมหาชน
" อยู่ที่ความสนใจ และการเรียนรู้เพิ่มเติมของแต่ละคน" ผมเคยได้ยินท่านตุลาการศาลปกครองพูดว่าทนายที่จบมาก่อนที่จะมีการก่อตั้งศาลปกครองหลายคนขาดองค์ความรู้เรื่องกฎหมายปกครองเพราะสมัยเรียนไม่มีให้เรียน



ผมเขียนอยากนี้หาได้มีเจตนาดูหมิ่นรุ่นพี่นิติศาสตร์แต่อย่างใดนะครับ ออกจะชื่นชมด้วยครับ ยิ่งเป็นเภสัชกรและจบนิติศาสตร์ด้วยผมยิ่งชื่นชมครับ มีตัวอย่างน้องเภสัชกรคนหนึ่งที่เคยอยู่อีสานเหนือด้วยกัน ที่ตอนนี้เป็นท่านไปแล้ว คนนี้เป็นฮีโร่หนึ่งในดวงใจของเกาะบอยเลยหละครับ

และสำคัญยิ่งก็คือ ผมเชื่อว่าบัณฑิตนิติศาสตร์ผู้รักในประชาธิปไตย จะชอบที่จะอ่านข้อเขียนนี้ ส่วนจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็เป็นสิทธิส่วนตัวของท่านอยู่แล้วนี่ครับ


ปล.
กล่าวทักทายกันแค่นี้ก่อนครับ
เดียวจะมาถกในเรื่องที่ท่านให้ความเห็นมา
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 24 มิ.ย. 2009, 13:58

ขอบคุณในความสนใจครับ
ผมเคารพในความคิดเห็นนะครับ
เดี๋ยวผมจะขอเอาข้อความที่โพสท์มาถกทีละประเด็นละกันนะครับ


เริ่มจาก...
pharmacy เขียน:หลายหลายคนในนี้ผมว่าไม่รู้จักคำว่าระบบถ่วงดุล


เห็นด้วยครับ
แถมเห็นด้วยมากๆ เพราะผมเห็นว่า แค่ใช้คำว่า"หลายคน" ผมว่ายังน้อยไป ต้องใช้คำว่า "ส่วนใหญ่ หรือ ส่วนมาก" ครับ
เพราะก่อนหน้านี้ผมก็ไม่รู้ แต่พอได้เรียน ได้รู้เพิ่ม ก็จึงกล้าที่จะเอามายกเป็นหลักให้ได้อ่านกัน แต่ก็ไม่ถึงกับจะอวดอ้างว่าเขียนได้จนเป็นตำราวิชาการหรอกนะครับ



ปล.
ผมลืมเขียนถึงเรื่องอาจารย์ที่ถูกพาดพิง
"จารย์ครับ...ผมเข้าใจอาจารย์นะครับ ผมชื่นชมความเป็นนักสู้ทางความคิดอาจารย์มาเงียบๆตั้งนานแล้วนะครับ
และผมก็รู้สึกว่าคนที่พาดพิงถึงอาจารย์ไม่ควรจะกล่าวถึงคำว่า"อาจารย์" เพราะอาจารย์ไม่ได้บอกตัวเองซะหน่อยว่าอาจารย์เป็นอาจารย์, อาจารย์มาแสดงความเห็นในฐานะสมาชิกเวปนี้เท่านั้น
แต่อย่างไรก็เถอะครับ แค่นี้คงไม่ดิสเคอร์เรจอาจารย์ได้ร้อก ว่ามั๊ยครับ?
(พูดชมมากไม่ได้ เดี๋ยวโดนข้อหาชมกันเอง อิอิ)"
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย pharmacy » 24 มิ.ย. 2009, 14:05

ช่วยบอกผมด้วยครับ ว่าสภาแต่ละวิชาชีพ มีระบบถ่วงดุลคืออะไรครับ
ปิรามิด 3 อำนาจ จะมี 3 อำนาจ ได้ ต้องมาจาก รัฐฐาธิปัตย์ ครับ
แต่สภาวิชาชีพ ไม่ใช่ครับ สภาวิชาชีพเป็นแค่คนที่มีวิชาชีพเดียวกันมารวมกันสร้างจริยธรรม สร้างกฎระเบียบ
การออกกฎระเบียบของสภาวิชาชีพก็เหมือนกฎระเบียบบริษัท กฎระเบียบสำนักงานเพื่อควบคุมผู้ทำงานในองค์กร หรือผู้ที่เป็นองค์กรครับ
แต่ไม่ใช่อำนาจอย่างที่เจ้าของกระทู้อ้างครับที่อ้างถึง 3 อำนาจ เพราะสภาเภสัชไม่ใช่รัฐฐาธิปัตย์ครับ
คงเข้าใจน่ะครับนักศึกษานิติศาสตร์


คุณวรรณีครับช่วยยกตัวอย่างกฎระเบียบของสภาวิชาชีพอื่นให้ผมดูหน่อยครับว่ามีวิชาชีพไหนที่มีกฎระเบียบแตกต่างจากสภาเภสัชครับ
แก้ไขล่าสุดโดย pharmacy เมื่อ 24 มิ.ย. 2009, 14:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
pharmacy
 
โพสต์: 20
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 พ.ค. 2007, 09:33

Re: สภาสมบูรณาญาสิทธิราชย์

โพสต์โดย kohboy » 24 มิ.ย. 2009, 14:14

pharmacy เขียน:ทุกวิชาชีพ ทุกสภาวิชาชีพ เป็นลํกษณะเหมือนกันหมดครับ สภาเภสัชก็ไม่ต่างจากสภาวิชาชีพอื่น


อันนี้ไม่เห็นด้วยทั้งหมดครับ
เพราะผมมิกล้าที่จะไปวิจารณ์สภาวิชาชีพอื่น (แค่วิเคราะห์วิจารณ์สภาของตัวเองก็ยังต้องค่อยๆคิดค่อยๆทำเลย)
ในรายละเอียดของแต่ละสภาคงแตกต่างกันครับ จะว่าไม่ต่างเลยก็ไม่ได้มั๊ง

ในเรื่องการเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสภาวิชาชีพ อาจจะเหมือนกันในหลายสภา
ที่พอจะเห็นได้ก็คือสภาวิชาชีพของแพทย์ กับของทันตแพทย์ ก็ยังเป็นการรวมทั้งสามอำนาจไว้ด้วยกันอยู่
ส่วนสภาของทนายความ, ได้ข่าวมาว่ามีการพัฒนาไปมากกว่าสภาวิชาชีพอื่นๆอยู่พอสมควร


คุณภาพและแนวคิด ตลอดถึงการกระทำของตัวนายก และคณะกรรมการของทุกสภาจะต่างกัน
เพราะโดยส่วนตัวของผมแล้วเวลาเห็นข่าวที่สภาวิชาชีพอื่นบางวิชาชีพเค้าแถลงต่อสื่อมวลชนให้เห็น ผมรู้สึกว่าเค้าดูดีจริงๆ



เกี่ยวกับความเห็นที่ยกมาในกรอบนี้,
ผมตั้งข้อสังเกตว่า..
๑.ท่านกำลังเสนอว่าท่านไม่ได้แย่ไปกว่าสภาอื่นๆ ทำนองว่ากำลังจะบอกว่า"ของชั้นก็ดีอยู่แล้ว" ใช่มั๊ยครับ
๒.แต่ท่านก็ไม่ได้เสนอว่าสภาของเราดีกว่าสภาวิชาชีพอื่นตรงไหน ใช่มั๊ยครับ
...
หรือผมตั้งข้อสังเกตผิด?
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง สายตรงถึงสภาเภสัชกรรม

ผู้ใช้งานขณะนี้

cron
New Document