หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 24 พ.ค. 2007, 17:28
โดย เภสัชกรน้ำเค็ม
ขอโทษที่หายไประยะหนึ่ง
เนื่องจากภาระงานที่มีครับ
คราวนี้ขอรายงานความคืบหน้าในบางเรื่องนะครับ

บางเรื่องจะสรุปในจดหมายข่าวฉบับที่ 2 นะครับ
ตอนนี้ขอรายงานบางเรื่องครับ


การพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค
จากการประชุมสภาเภสัชกรรม  ครั้งที่ 146 (6/2550)
วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2550
ภก. รศ. ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์  รอง เลขาธิการสภาเภสัชกรรม
ได้นำเสนอ เกี่ยวกับการดำเนินงานพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่อง
ผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค
(เดิมมีแต่สาขาเภสัชกรรมคลินิก)

โดยเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อมาดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังซะที
โดยเสนอขอบเขตอำนาจหน้าที่ดังนี้

1.จัดทำแนวทางในการพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องผู้มีความรู้ ความชำนาญ
ในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค
ตลอดจนแนวทางการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมหรือวิทยาลัยเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค
เพื่อนำเสนอต่อสภาเภสัชกรรม

2.จัดทำ ร่าง หลักสูตร และ ระเบียบการที่เกี่ยวข้องเพื่อการดำเนินการฝึกอบรม
และรับรองอนุมัติบัตรและวุฒิบัตรผู้มีความรู้ ความชำนาญ
ตามข้อบังคับสภาเภสัชกรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติบัตรและวุฒิบัตรแสดง ความรู้ ความชำนาญ
ในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาต่างๆ พ.ศ.2543

3.ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา
และผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาการคุ้มครองผู้บริโภค
ในการนำแนวทางการพัฒนาที่จัดทำขึ้นไปสู่การปฏิบัติ
ตลอดจนเผยแพร่ต่อสมาชิกสภาเภสัชกรรมและสังคม


สภาได้มอบหมายให้ ภก. รศ. ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์
พิจารณารายละเอียดบางประเด็นเพิ่มเติม เช่น
1.ใครควรจะเป็นประธานอนุกรรมการฯ
2.ควรใช้ชื่อสาขาคุ้มครองผู้บริโภค หรือชื่ออะไร
ฯลฯ

ใครมีคำแนะนำอะไรเสนอได้ครับ
ขอบคุณครับ

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 25 พ.ค. 2007, 08:43
โดย spras77
ขอบพระคุณครับ พี่

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 25 พ.ค. 2007, 20:04
โดย เภสัชกรน้ำเค็ม
ตอนนี้มีน้องๆเสนอความเห็นมาแล้ว 2-3 คนครับ
ขอขอบคุณด้วยครับ
ผมคิดว่ากรรมการสภาก็ยังต้องการคำแนะนำดีๆอีกครับ
และผมเชื่อว่าพวกเรามีคำแนะนำดีๆอีกมากครับ

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 30 พ.ค. 2007, 18:17
โดย doraemon
เอ่อ แล้วประเด็นที่ติงๆกันไป ไม่ทราบว่าผ่านวาระสองแล้วมีไรเปลี่ยนแปลงไหมคะ  :roll:

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 30 พ.ค. 2007, 19:32
โดย nhum_nop
ในส่วนของงานด้าน Drug & Healthcare Products Regulatory Affairs (ไม่ทราบว่าจะอยู่ใน คบส หรือเปล่า หรือจะอยู่ใน Pharm Tech) มีหลักสูตรการฝึกอบรมและรับรองวุฒิในอเมริกา เรียกว่า RAC (Regulatory Affairs Certification) และในอังกฤษก็มีมาตรฐานของ TOPRA (The Organisation for Professionals in Regulatory Affairs) รู้สึกว่ายุโรปก็มีเหมือนกัน โดยจะมีระบุว่าหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นอย่างไร ต้องมีการศึกษาในวิชาแขนงใดบ้าง

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 01 มิ.ย. 2007, 19:51
โดย mmm
ผมว่าสภาฯ ควรแจ้งข่าวความคืบหน้าในเรื่อง จะทำอย่างไรกับเภสัชกรแขวนป้าย หรือหน้าที่ของเภสัชกรที่กำลังถูกผู้อื่นมาทำงานแทน หรือทำได้โดยที่เราได้แต่มอง
หากยังไม่มีการประชุมในหัวข้อเหล่านี้ มันก็น่าเป็นห่วงว่า วิชาชีพเภสัชกรรมกำลังจะห่างออกไปจากสังคมเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ

งานคุ้มครองฯ นั้นผมเห็นด้วยในบางส่วนเพราะผมก็เคยทำงานนี้มาเหมือนกัน แต่ผมเห็นว่าหากจะให้บทบาทของวิชาชีพเป็นที่ประจักษ์ มันต้องเร่งรีบแก้ไขในเรื่องที่เป็นปัญหาที่ประชาชนเขาเห็นกันในสังคมก่อน

และผมต้องการทราบว่าหากมีหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องงานคุ้มครองฯ นั้นจะมีความก้าวหน้าในสายงานอย่างไรบ้าง จะเหมือนงานเภสัชกรรมคลินิกหรือไม่ และอาจารย์ที่จะสอนเคยได้ปฏิบัติงานจริงอย่างไรบ้าง เคยได้เดินออกตรวจร้านชำ ร้านยา ตลาดสด เพราะงานพวกนี้นอกจากวิชาการแล้ว จะต้องใช้จิตวิทยาร่วมด้วยอย่างสูงไม่ใช่เอาแต่กฏหมายอย่างเดียว เพราะไม่อย่างนั้น อาจถูกเตะออกจากร้านได้ อาจารย์พร้อมจริงหรือไม่ หรือสอนแต่ในห้องเรียน อาจารย์ไม่ไปด้วย 555

ผมเคยคุยกับน้องที่เรียนงานคลินิกแล้วมาฝึกงานที่โรงพยาบาล เขาเล่าให้ฟังว่า อาจารย์งานคลินิกนั้นได้บอกกับนักศึกษาเมื่อเรียนจบออกไปแล้วคุณจะต้องบุกเบิกร่วมกัน เพื่อผลักดันให้เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ขอให้นักศึกษาทุกคนโชดดีครับ (อันนี้ผมเติมเอง .......ฮิ ฮิ)

ผมไม่ได้มาวิจารณ์นะครับ แต่ต้องการให้มองกันที่ output แล้วเป็นอย่างไร มีความชัดเจนอย่างไร หากสภาฯ สามารถชี้แจ้งได้ให้ทราบโดยทั่วกัน ก็จะดี

เป็นจดหมายข่าวก็ได้ครับ

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 16 มิ.ย. 2007, 12:49
โดย PRACHASAN
ติดตามอยู่ครับ... สนใจ....

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 17 มิ.ย. 2007, 09:37
โดย capsicum
เภสัชกรน้ำเค็ม เขียน:ขอโทษที่หายไประยะหนึ่ง
เนื่องจากภาระงานที่มีครับ
คราวนี้ขอรายงานความคืบหน้าในบางเรื่องนะครับ

บางเรื่องจะสรุปในจดหมายข่าวฉบับที่ 2 นะครับ
ตอนนี้ขอรายงานบางเรื่องครับ


การพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค
จากการประชุมสภาเภสัชกรรม  ครั้งที่ 146 (6/2550)
วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2550
ภก. รศ. ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์  รอง เลขาธิการสภาเภสัชกรรม
ได้นำเสนอ เกี่ยวกับการดำเนินงานพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่อง
ผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค
(เดิมมีแต่สาขาเภสัชกรรมคลินิก)

โดยเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อมาดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังซะที
โดยเสนอขอบเขตอำนาจหน้าที่ดังนี้

1.จัดทำแนวทางในการพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องผู้มีความรู้ ความชำนาญ
ในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค
ตลอดจนแนวทางการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมหรือวิทยาลัยเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค
เพื่อนำเสนอต่อสภาเภสัชกรรม

2.จัดทำ ร่าง หลักสูตร และ ระเบียบการที่เกี่ยวข้องเพื่อการดำเนินการฝึกอบรม
และรับรองอนุมัติบัตรและวุฒิบัตรผู้มีความรู้ ความชำนาญ
ตามข้อบังคับสภาเภสัชกรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติบัตรและวุฒิบัตรแสดง ความรู้ ความชำนาญ
ในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาต่างๆ พ.ศ.2543

3.ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา
และผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาการคุ้มครองผู้บริโภค
ในการนำแนวทางการพัฒนาที่จัดทำขึ้นไปสู่การปฏิบัติ
ตลอดจนเผยแพร่ต่อสมาชิกสภาเภสัชกรรมและสังคม


สภาได้มอบหมายให้ ภก. รศ. ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์
พิจารณารายละเอียดบางประเด็นเพิ่มเติม เช่น
1.ใครควรจะเป็นประธานอนุกรรมการฯ
2.ควรใช้ชื่อสาขาคุ้มครองผู้บริโภค หรือชื่ออะไร
ฯลฯ

ใครมีคำแนะนำอะไรเสนอได้ครับ
ขอบคุณครับ




ไม่ทราบว่าเรื่องทั้งหมดนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาเภสัชกรรมหรือไม่
หลายคนกำลังสับสน โปรดเอาข้อความที่ตราเป็นกฎหมายมาอ้างอิงด้วย
ถ้าไม่ใช่โปรดทำหน้าที่ที่ท่านต้องรับผิดชอบในเรื่องที่ด่วนมาก

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 20 มิ.ย. 2007, 18:39
โดย racha
ตอนนี้ใน พรบ.วิชาชีพ ก็ยังไม่ระบุหน้าที่ตรงนี้ แล้วความคืบหน้าจะต้องประสานงานต่อกันอย่างไร

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 22 มิ.ย. 2007, 15:42
โดย เภสัชกรน้ำเค็ม
racha เขียน:ตอนนี้ใน พรบ.วิชาชีพ ก็ยังไม่ระบุหน้าที่ตรงนี้ แล้วความคืบหน้าจะต้องประสานงานต่อกันอย่างไร

นั่นละครับ
เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันคิด
เราคงไม่รอครับ

หากสนใจจะร่วมคิด ร่วมเสนอแนะ
ฝากความคิดเห็นในข้อความถึงผมก็ได้ครับ

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 14 ธ.ค. 2008, 11:20
โดย asinus
เภสัชกรน้ำเค็ม เขียน:
racha เขียน:ตอนนี้ใน พรบ.วิชาชีพ ก็ยังไม่ระบุหน้าที่ตรงนี้ แล้วความคืบหน้าจะต้องประสานงานต่อกันอย่างไร

นั่นละครับ
เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันคิด
เราคงไม่รอครับ

หากสนใจจะร่วมคิด ร่วมเสนอแนะ
ฝากความคิดเห็นในข้อความถึงผมก็ได้ครับ


ทำหน้าที่ได้ยอดเยี่ยมมากมายครับ

อย่างนี้สิถึงจะเป็นกรรมการสภาฯ ที่พึงประสงค์

เหอเหอ

จะได้ไปถ่ายรูปกันเมื่อไหร่ครับเฮีย

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 03 เม.ย. 2010, 18:53
โดย cm_pharmacistclub
พี่บรูซว่าการที่จะเปิดสาขา ความรู้ความชำนาญด้านวิชาชีพเป็นวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตร จะต้องตรงกับตำนิยามในกฎหมายวิชาชีพที่ว่า วิชาชีพเภสัชกรรมหมายความว่า..........อะไร คาวมรู้ความชำนาญจะต้องอยู่ภายในคำนิยามนี้เท่านั้น ซึ่งเป็นของวิชาชีพเราโดยเฉพาะผู้อื่นไม่มีสิทธิมาทำแทนเพราะกฎหมายรองรับอย่างนั้นแต่ คำว่าการคุ้มครองผู้บริโภคมันกว้าง และไม่ได้บัญญัติในวิชาชีพด้วยคือ ใครก็สามารถมาทำตรงนี้ก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมเท่านั้นที่จะมาทำหน้าที่นี้ สภาเองก็เคยขอแก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามนี้เข้าไปว่าให้เพิ่มคำว่าการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา สนง.กฤษฎีกาก็แย้งและตีกฎหมายนี้ตกไปแล้ว เพราะคบส.เป็นการใช้ความรู้ทางกฎหมายไม่ใช่ทางด้านเภสัชกรรม ถ้าไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมายแล้วมาเป้นผู้บังคับใช้กฎหมายจะส่งผลให้สังคมเสียหาย

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 29 ก.ค. 2010, 17:07
โดย somsak_nong
เครียดจัง ขอบคุณครับมีประโยชน์มากๆ

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 09 พ.ค. 2012, 15:09
โดย Princess Avril
Thanks a lot i was searching for this for very long time, actually i recently join this forum and i hope got lot of such useful information in future.

Re: เรื่องเล่าเมื่อเข้าสภา(การศึกษาต่อเนื่อง สาขา คบส)

โพสต์โพสต์แล้ว: 24 ม.ค. 2013, 11:47
โดย Punyadee
นิโครติน ขนาด High ขวด 10CC เท่ากับบุหรี่ 8.5 ซอง หากขวดนึงเราใช้ 8.5 วันครึ่งถือว่าได้นิโครติน เท่ากับได้นิโครติน เท่ากับสูบบุหรี่จริงวันละซอง แอมโมเนีย มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอมีเสมหะมาก บุหรี่ไฟฟ้าทำงานด้วยแบตเตอร์รี่ลิเธียมและไมโครชิพซึ่งเป็นหัวใจของระบบ ทำให้มีไฟสีแดงสว่างวาบที่ปลายมวน ประกอบเข้ากับแท่งนิโคติน ภายในบรรจุนิโคตินและสารโพรไพลีนไกลคอล (PG) ในแบบรูปของเหลว มีให้เลือกตั้งแต่ไม่มีนิโคติน หรือ โลว์ – มีเดียม –ไฮ ตามความต้องการของผู้ใช้ ขณะที่อุปกรณ์ขนาดจิ๋ว (ไมโครชิพ) ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนของเหลวให้กลายเป็นละอองหมอก และจะทำให้นิโคตินเหลวร้อนขึ้นเมื่อผู้ใช้สูบ (เปิด/ปิด อัตโนมัติเมื่อมีอากาศไหลผ่าน) และกลายเป็นไอภายในสองวินาที ให้ได้รับสารนิโคตินในเกือบจะทันที แต่ไม่มีน้ำมันดินและสารก่อมะเร็งใดๆ บุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนิโครติน บุหรี่ไฟฟ้ามีโทษอย่างอื่นหรือไม่ คำตอบคือไม่มีครับเพราะ ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าผสมด้วย PG กับ VG ซึ่งมีในพวกยาสีฟัน ครีมล้างหน้า เยลลี่ ลิปมันทาปาก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราใช้ในชีวิตบ่อยวัน บุหรี่ไฟฟ้า อีกทั้งยังมีตัวแทนหลากหลายเพื่อรอ ให้บริการคุณ ในพท.ทั่วกรุงเทพ และทั่วทุกภาค นิโคติน กดประสาทส่วนกลาง มีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจ เต้นเร็วกว่าปกติ และไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด (ก้นกรองไม่ได้ทำให้ ปริมาณนิโคตินลดลงได้) ovale เรื่องแรก ในการใช้งานครั้งแรก ควรจะชาร์จทิ้งไว้ประมาณ 8-12 ชั่วโมง สำหรับขั้นตอนการเลิกบุหรี่ด้วยบุหรี่ไฟฟ้า ผมนำมาจากเอกสารกำกับสินค้า