New Document









“ทุก 10 ไมโครกรัมมีผู้ป่วยถึง 5 คน!” แพทย์ มช.เผยวิกฤติ เร่ง

ข่าวสารสาธารณสุข

“ทุก 10 ไมโครกรัมมีผู้ป่วยถึง 5 คน!” แพทย์ มช.เผยวิกฤติ เร่ง

โพสต์โดย kiatisak » 04 เม.ย. 2018, 07:43

“ทุก 10 ไมโครกรัมมีผู้ป่วยถึง 5 คน!” แพทย์ มช.เผยวิกฤติ เร่งแก้ปัญหาหมอกควัน

ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ จ.เชียงใหม่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากการวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm 2.5 และ pm10 โดยจะเห็นว่าค่า pm 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนมีค่าที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน และในทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม. จะมีผู้ป่วย 5 คน เท่ากับ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น สิ่งนี้น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง และต้องรีบเตือนประชาชนให้มีความระมัดระวังมากขึ้น และเป็นภัยที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้านปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง และปอดติดเชื้อ โดยมีจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

นายมนัส ขันใส ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเสริมว่า การมีเครื่องมือตรวจวัด pm 2.5 ก็เป็นเรื่องที่ดี ที่จะได้นำมาเปรียบเทียบกับค่า pm 10 ที่เป็นค่ามาตรฐานตามที่รัฐบาลกำหนด แต่ทั้งนี้ การวัดค่า pm 2.5 ก็ไม่ได้ยืนยันว่า หากวัดค่าฝุ่นละอองมาแล้วจะช่วยแก้ปัญหาหมอกควันได้ แต่สิ่งที่จะแก้ไขได้คือจิตสำนึกและความร่วมแรงร่วมใจกัน ในการป้องกันที่ต้นเหตุ เพราะการวัดค่าฝุ่นละอองเป็นการทำที่ปลายเหตุ หากทุกฝ่ายร่วมมือกันไม่เผา ก็คงจะเหลือเพียงหมอกควันที่ข้ามแดนเข้ามา ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยากเพราะไม่มีใครแก้ไขได้ แต่ทั้งนี้ต้องหยุดการเผาให้ได้เสียก่อน และจังหวัดเชียงใหม่ ก็ไม่ได้เป็นจังหวัดที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกินมาตรฐานเพียงจังหวัดเดียว หากจะใช้การวัด pm 2.5 มาวัด ก็ต้องวัดทุกจังหวัด ไม่ควรวัดจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง แต่ควรทำให้เป็นบรรทัดฐานที่ชัดเจน และล่าสุดทางผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ประกาศให้มีการนำค่าการวัดฝุ่นละออง pm2.5 มารายงานให้กับประชาชนได้รับทราบตามที่ประชาชนต้องการด้วย

“ทุก 10 ไมโครกรัมมีผู้ป่วยถึง 5 คน!” แพทย์ มช.เผยวิกฤติ เร่งแก้ปัญหาหมอกควัน

ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ จ.เชียงใหม่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากการวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm 2.5 และ pm10 โดยจะเห็นว่าค่า pm 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนมีค่าที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน และในทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม. จะมีผู้ป่วย 5 คน เท่ากับ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น สิ่งนี้น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง และต้องรีบเตือนประชาชนให้มีความระมัดระวังมากขึ้น และเป็นภัยที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้านปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง และปอดติดเชื้อ โดยมีจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

http://www.newtv.co.th/news/13839
แนบไฟล์
15226158541891.jpg
20180403045818_new18.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37







Re: “ทุก 10 ไมโครกรัมมีผู้ป่วยถึง 5 คน!” แพทย์ มช.เผยวิกฤติ

โพสต์โดย kiatisak » 04 เม.ย. 2018, 09:58

PM2.5 (Particulate Matter less than 2.5 micron, Fine particulate matter) ในอากาศ จึงหมายความถึง อนุภาคที่มีขนาดเท่ากับหรือเล็กกว่า 2.5 ไมครอน อนุภาคขนาดนี้ขนจมูกเรากรองไม่ได้เพราะเล็กเกิน มันจึงถูกส่งผ่านลมหายใจเข้าไปถึงขั้วปอดด้านในได้ลึกสุด

ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 2561 มีปรากฏการณ์ฟ้าหลัว มองอะไรก็ไม่ชัด คือเกิดภาวะทัศนวิสัยเลวขึ้นในกรุงเทพมหานคร กอร์ปกับช่วงนั้นกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่โดยตรงในการที่จะตรวจตราคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยต่อพวกเราประชาชน ได้แสดงตัวเลขคุณภาพอากาศในรูปของ PM2.5 (จำคำนี้ไว้ก่อนนะ) ว่าเกินมาตรฐานไทยไปมาก ยิ่งถ้าเทียบกับมาตรฐานโลกก็จะเห็นว่ายิ่งเกินไปมากๆ (ดูตารางที่ 1) รวมทั้งคพ. ได้ประกาศด้วยว่าค่า AQI หรือ Air Quality Index หรือ ดัชนีคุณภาพอากาศในช่วงนั้น สูงกว่าค่า 100 อันหมายถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ ผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคาร และบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุไม่ควรทำกิจกรรมภายนอกอาคารเป็นเวลานาน ซึ่งบางคนอาจแปลความหมายหรืออนุมานไปว่า อากาศในกรุงเทพช่วงนั้น ใช้หายใจไม่ได้

PM2.5 (Particulate Matter less than 2.5 micron, Fine particulate matter) ในอากาศ จึงหมายความถึง อนุภาคที่มีขนาดเท่ากับหรือเล็กกว่า 2.5 ไมครอน อนุภาคขนาดนี้ขนจมูกเรากรองไม่ได้เพราะเล็กเกิน มันจึงถูกส่งผ่านลมหายใจเข้าไปถึงขั้วปอดด้านในได้ลึกสุด อันจะมีผลเสียต่อร่างกายเรา คือ

(ก) ผลกระทบที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (Cancer endpoints) โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็กมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และโรคมะเร็งอื่นๆ มากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับสัมผัส
(ข) ผลกระทบที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง (Non-cancer endpoints) ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น

(1) ผลจากการระคายเคืองตา เช่น โรคตาแดง
(2) ผลต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการไอ โรคหอบหืด (Asthma) โรคถุงลมโป่งพอง(Emphysema) หรือ โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
(3) ผลต่อระบบผิวหนัง ผื่นคัน
(4) ผลต่อสตรีมีครรภ์ อาจเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน หรืออาจคลอดก่อนกำหนด รวมทั้งความบกพร่องของทารก

เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมีผู้เรียกร้องให้หน่วยราชการ โดยเฉพาะคพ. เพิ่มสารมลพิษ PM2.5 ตัวนี้เข้าไปในมาตรฐานคุณภาพอากาศอีกตัวหนึ่ง
คิดว่า คพ. เองกำลังดำริที่จะกำหนดค่า PM2.5 ในการคำนวณ AQI ในมาตรฐานคุณภาพอากาศ เราจึงอยากจะขอเสนอแนะให้กำหนดเป็น AQHI ไปเสียเลยทีเดียวน่าจะดีกว่า เพราะไม่ต้องทำงานซ้ำสอง
คำถามที่โหดกว่าและตามมาติดๆ คือ หากค่า PM2.5 เกิน หรือ สารมลพิษ C เกิน หรือ AQI เกิน หรือ AQHI เกิน แล้วไง แล้วจะทำเช่นไรต่อ โดยใคร ด้วยงบของใคร จะเป็นงานของมหาดไทย(ห้ามชาวบ้านเผาไม่ว่าจะเผาอะไร) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ห้ามขับรถ อย่างน้อยก็วันคู่วันคี่) กระทรวงพลังงาน(สั่งโรงไฟฟ้าหยุดผลิตไฟฟ้าหากจำเป็น) เทศบาล (ห้ามใช้เตาเผาขยะรวม ห้ามกวาดถนน สั่งหยุดก่อสร้างอาคาร) กระทรวงอุตสาหกรรม(สั่งหยุดผลิตชั่วคราว) และกระทรวงคมนาคม(สั่งหยุดสร้างถนน) ฯลฯ

คำถามนี้ยาก ยังไม่มีคำตอบเพราะสั่งอย่าง แก้ปัญหาอย่างก็ไปมีผลกระทบต่ออีกอย่าง คนใดคนหนึ่งจึงคงไม่มีปัญญาหาคำตอบได้เบ็ดเสร็จ คงต้องช่วยกันคิด

http://www.chula.ac.th/th/archive/73006
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37


ย้อนกลับไปยัง คาปูชิโน

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document