New Document









ไทยมีเชื้อ "วัณโรค" หลายสายพันธุ์ ทำควบคุมโรคยากกว่าประเทศอื

ข่าวสารสาธารณสุข

ไทยมีเชื้อ "วัณโรค" หลายสายพันธุ์ ทำควบคุมโรคยากกว่าประเทศอื

โพสต์โดย kiatisak » 22 ก.ย. 2017, 15:03

วิจัยพบไทยมีเชื้อ "วัณโรค" หลายสายพันธุ์ ทำควบคุมโรคยากกว่าประเทศอื่น
????????????????‍????‍????‍????
ประเทศไทยมีเชื้อวัณโรคที่พบบ่อยสองสายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ปักกิ่ง และสายพันธุ์แอฟริกาตะวันออกและอินเดีย ซึ่งสายพันธุ์ปักกิ่งมักพบได้ในผู้ป่วยวัยทำงาน ส่วนสายพันธุ์แอฟริกาตะวันออกและอินเดีย มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

#พลาสม่าคลัสเตอร์ #plasmacluster
#ฆ่าเชื้อวัณโรคทางอากาศ #sharp
#เชื้อวัณโรคติดง่าย #ไอจามทางอากาศ

https://mgronline.com/qol/detail/9600000096869
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37







Re: ไทยมีเชื้อ "วัณโรค" หลายสายพันธุ์ ทำควบคุมโรคยากกว่าประเ

โพสต์โดย kiatisak » 22 ก.ย. 2017, 15:12

เชื้อวัณโรคทั้งสองสายพันธุ์มีกลไกในการก่อโรคที่แตกต่างกัน ทำให้คนที่ป่วยเป็นวัณโรคจากเชื้อสายพันธุ์หนึ่งและรักษาจนหายแล้ว ยังมีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคซ้ำจากเชื้อสายพันธุ์อื่นได้อีก สำหรับประเทศไทยและประเทศแถบอาเซียน พบผู้ป่วยจากเชื้อวัณโรคหลากหลายสายพันธุ์ ทำให้ควบคุมโรคได้ยากกว่าประเทศอื่น

นพ.สุขุม กล่าวว่า ความหลากหลายทางสายพันธุ์ของเชื้อวัณโรคที่ระบาดในประเทศไทย ทำให้การควบคุมวัณโรคยากลำบากกว่าประเทศอื่น โดยการยุติวัณโรคในประเทศที่มีเชื้อวัณโรคหลากหลายสายพันธุ์ เช่น สหรัฐอเมริกา จำเป็นต้องใช้มาตรการเชิงรุก ได้แก่ การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ การคัดกรองผู้สัมผัสโรคอย่างเป็นระบบ และรักษาวัณโรคแฝงในเด็ก ซึ่งเป็นมาตรการคัดกรองโรคที่มีประสิทธิภาพและเป็นตัวชี้วัดสำคัญ สำหรับกลยุทธ์ยุติวัณโรคขององค์การอนามัยโลก ซึ่งประเทศไทยจะต้องรายงานตัวชี้วัดนี้ทุกปี ดังนั้นการค้นหาและตรวจพบผู้ป่วยที่แพร่เชื้อได้ ตั้งแต่ยังไม่มีอาการจะช่วยลดการแพร่เชื้อวัณโรคได้ทุกสายพันธุ์และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

https://mgronline.com/qol/detail/9600000096869
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: ไทยมีเชื้อ "วัณโรค" หลายสายพันธุ์ ทำควบคุมโรคยากกว่าประเ

โพสต์โดย kiatisak » 26 ก.ย. 2017, 09:33

ผู้ป่วยวัณโรคเกินกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยและพบว่าวัณโรคในเพศชายจะสูงกว่าเพศหญิง รวมทั้งผู้สูงอายุจะเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคในอัตราที่สูง

ปี ๒๕๕๙ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดยุทธศาสตร์วัณโรค โดยมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า ๑๐ ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน แต่ประมาณอัตราอุบัติการณ์วัณโรคปี ๒๕๕๗ มีสูงถึง ๑๗๑ ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน

ที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้เชิญ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขและผู้แทนสถาบันโรคทรวงอก มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยแต่ละหน่วยงานได้ให้ข้อมูลในภาพรวมว่า องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยเป็น ๑ ใน ๑๔ ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก ทั้งวัณโรคทั่วไป วัณโรคและเอดส์ วัณโรคดื้อยาหลายขนานและคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ จำนวน ๑๒๐,๐๐๐ รายต่อปี ซึ่งในจำนวนดังกล่าว มีผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน ๑๒,๐๐๐ ราย รวมทั้งมีปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนานคาดประมาณปีละ ๔,๕๐๐ ราย

ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข ๓๑๐ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย นายแพทย์เจตน์
ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข

http://click.senate.go.th/?p=39788
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37


ย้อนกลับไปยัง คาปูชิโน

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document