New Document









เด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อโดยการสูดสำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเว

ข่าวสารสาธารณสุข

เด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อโดยการสูดสำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเว

โพสต์โดย kiatisak » 28 ธ.ค. 2016, 07:37

เด็กป่วยปอดบวมเสี่ยงเจ็บป่วยรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิต ห่วงสาเหตุการตายอันดับ 1 ในเด็กต่ำกว่า 5 ปี แนะกินนมแม่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน

นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคปอดอักเสบ หรือที่เรียกว่า “ปอดบวม” คือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา โดยร่างกายจะได้รับเชื้อผ่านทางระบบทางเดินหายใจ โดยทั่วไปโรคปอดอักเสบอาจเป็นอาการที่ต่อเนื่องมาจากโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งความรุนแรงมีความแตกต่างกัน จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พบว่า โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบในเด็ก เป็นการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันของเนื้อปอด รวมทั้งหลอดลมส่วนปลายและถุงลม ทำให้การทำงานของทางเดินหายใจลดลง เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยรุนแรง และอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย อายุต่ำกว่า 1 ปี มีโรคขาดอาหาร โรคเรื้อรัง หรือความพิการแต่กำเนิด ซึ่งจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่า โรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุการตายอับดับ 1ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ในแต่ละปีจะมีเด็กทั่วโลกที่เสียชีวิตจากปอดอักเสบปีละ 2 ล้านคน

นพ.ธีรพล กล่าวว่า เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี เช่น การสูดหายใจเอาเชื้อโรคที่มีอยู่ในอากาศเข้าไปโดยตรง การกระจายของเชื้อตามกระแสเลือดไปสู่ปอด เด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อโดยการสูดสำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณคอเข้าไปในหลอดลมส่วนปลาย หรือถุงลม เชื้อเกิดการแบ่งตัวและก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบตามมา ผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสมักมีอาการไข้หวัดนำมาก่อนสัก 2 - 3 วัน มีไข้ น้ำมูก ไอมีเสมหะ ตามด้วยอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว ส่วนมากถ้าอาการไม่รุนแรงอาจดีขึ้นได้เอง ซึ่งการสังเกตอาการเบื้องต้นของโรคปอดบวมอยู่ในภาวะป่วยหนักหรือรุนแรง จะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ ไม่ยอมกินนมหรือน้ำ ซึมมาก ปลุกตื่นยาก หายใจมีเสียงดัง หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม ควรรีบพาไปพบแพทย์
แนบไฟล์
559000013318401.JPEG
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37







Re: เด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อโดยการสูดสำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บ

โพสต์โดย kiatisak » 02 มี.ค. 2017, 08:08

สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ใน กทม.จากรายงานของกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กทม. ตั้งแต่วันที่ 1-31 ม.ค. 60

พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 1,539 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต โดยในพื้นที่กรุงเทพฯมีอัตราผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก
ได้แก่ เขตราชเทวี พญาไท บางรัก สะพานสูง และเขตบางกะปิ ตามลำดับ

http://www.posttoday.com/local/bkk/483071
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37


ย้อนกลับไปยัง คาปูชิโน

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document