New Document









ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) และ 10 ไมครอน (PM10

ข่าวสารสาธารณสุข

ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) และ 10 ไมครอน (PM10

โพสต์โดย kiatisak » 05 ม.ค. 2016, 10:43

ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพประชาชน เนื่องจากเมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทางระบบทางเดินหายใจ จะทำลายอวัยวะของระบบทางเดินหายใจโดยตรง และยังทำให้เกิดการระคายเคืองตา ระคายคอ แน่นหน้าอก หายใจถี่ หลอดลมอักเสบ เกิดหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และอาจเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ

ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) และ 10 ไมครอน (PM10) หากมีค่าเกินมาตรฐาน คุณภาพอากาศจะส่งผลกระทบตอ่ ระบบทางเดินหายใจของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอยู่แล้วจะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบได้ง่าย
ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพประชาชน เนื่องจากเมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทางระบบทางเดินหายใจ จะทำลายอวัยวะของระบบทางเดินหายใจโดยตรง และยังทำให้เกิดการระคายเคืองตา ระคายคอ แน่นหน้าอก หายใจถี่ หลอดลมอักเสบ เกิดหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และอาจเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเส้นทางของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เข้าสู่ทางเดินหายใจนั้นขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง และความหนาแน่น รวมถึงลักษณะของลมหายใจร่วมด้วย

http://healthwayforlife.blogspot.jp/201 ... -post.html
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37







Re: ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) และ 10 ไมครอน (

โพสต์โดย kiatisak » 02 มี.ค. 2017, 08:05

ฝุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอน หรือที่เรียกว่าฝุ่นที่หายใจเข้าไป (respiration particulate matter, RPM) จะรอดจากการกรองเข้าไปถึงปอดได้ ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน จะเข้าไปถึงถุงลมปอดได้ ฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้ทำให้เกิดการระคายเคืองและมีผลต่ออาการและโรคทางเดินหายใจ

ฝุ่นละอองเล็กๆนี้เมื่อถูกหายใจเข้าปอด จะไปเกาะติดผนัง นานเข้าก็จะคล้ายยางเหนียว ทำให้ความสามารถในการหายใจของปอดลดน้อยลง สร้างปัญหาในระยะยาวกับร่างกายต่อไปอีกนาน

โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประกอบด้วย

1. โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease, COPD)

2. โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis)

3. โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema)

4. โรคปอดอักเสบ ( Interstatial lung disease)

5. โรคหอบหืด ( Asthma)
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) และ 10 ไมครอน (

โพสต์โดย kiatisak » 20 มี.ค. 2017, 19:42

ในเวลา 15.00 น.พบว่า ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ วัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 ได้ 118 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และวัดค่าดัชนีคุณภาพอากาศ ได้ 103 ส่วนที่สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย วัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 ได้ 97 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และวัดค่าดัชนีคุณภาพอากาศ ได้ 86

จากผลการตรวจวัดดังกล่าวพบว่า ค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่เริ่มสูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว นอกจากนี้ ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กก็เพิ่มสูงขึ้นจนเกือบจะเท่าค่ามาตรฐานแล้ว

http://manager.co.th/Local/ViewNews.asp ... 0000028439
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) และ 10 ไมครอน (

โพสต์โดย kiatisak » 26 มี.ค. 2017, 12:03

7 จังหวัดที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ได้แก่ ลำพูน แพร่ พะเยา น่าน เชียงใหม่ ตาก และลำปาง ขณะที่ 2 จังหวัด มีปริมาณฝุ่นละอองในอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เกินค่ามาตรฐานตามลำดับ

เชียงราย พื้นที่ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่า 129 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) มีค่า 104

แม่ฮ่องสอน พื้นที่ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่า 126 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) มีค่า 103

http://www.naewna.com/local/262197
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) และ 10 ไมครอน (

โพสต์โดย kiatisak » 28 มี.ค. 2017, 14:06

สถานการณ์หมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ จังหวัดตาก มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน

https://youtu.be/9UI9utS9Qo8
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) และ 10 ไมครอน (

โพสต์โดย kiatisak » 28 มี.ค. 2017, 14:46

สารพิษบนฝุ่นละอองจะออกฤทธิ์ได้มากที่สุด สารพิษนั้นได้แก่ สารจำพวกพีเอเอช(PAHs; Polycyclic Aromatic Hydrocarbons)

สารนี้เกิดจากการเผาใบไม้ กิ่งไม้ การปิ้งย่างอาหาร และสารจากท่อไอเสียรถยนต์ สารพีเอเอชนี้ เป็นอันตรายต่อสุขภาพทางเดินหายใจและปอดมาก เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ กระตุ้นให้ร่างกายไอออกมา บางคนไอมากๆ จนหายใจไม่ทัน หรือเส้นเลือดฝอยแตกจนเสมหะปนเลือด บางคนถึงกับหายใจไม่ออกเพราะสารพิษดังกล่าวไปรบกวนการแลกเปลี่ยนก๊าซของปอด ยิ่งคนที่มีโรคประจำตัว เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด ยิ่งอันตราย เพราะอาจจะทำให้อาการหอบหืดกำเริบ จนกระทั่งเสียชีวิตได้

นอกจากนี้ ถ้ามีใครเผลอป่วยเป็นหวัดในช่วงฤดูกาลหมอกควันนี้ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะกว่าจะหาย ต้องหมดยาไปหลายชุด และเสียเวลาทำงานไปหลายอาทิตย์แน่นอน ยังไม่รวมกับข้อเท็จจริงจากงานวิจัยมากมายที่พบว่า สารพีเอเอชนี้เป็นสารก่อมะเร็งที่สำคัญชนิดหนึ่งอีกด้วย

http://www.rajavejchiangmai.com/tip_full.php?id=18
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37


ย้อนกลับไปยัง คาปูชิโน

ผู้ใช้งานขณะนี้

cron
New Document