New Document









ความจริงเรื่อง เมอร์ส ที่ไม่มีใครพูดถึง "เมอร์สอยู่กับเราต

ข่าวสารสาธารณสุข

ความจริงเรื่อง เมอร์ส ที่ไม่มีใครพูดถึง "เมอร์สอยู่กับเราต

โพสต์โดย kiatisak » 25 มิ.ย. 2015, 15:22

ความจริงเรื่อง เมอร์ส ที่ไม่มีใครพูดถึง "เมอร์สอยู่กับเราตลอด"

3 ปีที่ผ่านมาเมอรส์ไม่เคยหายไป เพราะมีแหล่งรังโรคอยู่ใน “อูฐโหนกเดียว” ที่มีอยู่ทั่วตะวันออกกลาง ตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยรวมแล้วกว่าพันคนและเสียชีวิตประมาณ 300-400 ราย ด้วยการติดต่อจากอูฐสู่คนผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น การกินนมอูฐ สัมผัสน้ำลายและขี้อูฐ แต่ในภายหลังมีการติดต่อจากคนสู่คนทำให้เมอรส์ระบาดออกไปมากกว่าตะวันออกกลาง โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าการติดจากคนสู่คนเริ่มขึ้นจากที่ไหน

ศ.นพ.ยง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาเคยมีประวัติว่าชาวฟิลิปปินส์และมาเลเซียที่กลับจากการแสวงบุญในตะวันออกกลางนำเชื้อกลับสู่ประเทศด้วยแต่เชื้อกลับไม่ถูกแพร่ออกไป เพราะไม่มีผู้รับช่วงต่อ หรือ เชื้ออาจมีน้อยเกินไปจนไม่สามารถติดต่อไปยังคนอื่นได้ ซึ่งในกรณีการระบาดใหม่ที่เริ่มในเกาหลีอีกครั้ง น่าจะเกิดจากความพอเหมาะพอดีที่ผู้ติดเชื้อและผู้รับช่วงมาพบกันในสภาพที่ผู้ติดเชื้อพร้อมจะแพร่เชื้อเต็มที่ และผู้รับเชื้ออยู่ในสภาพร่างกายอ่อนแอ

เริ่มต้นใหม่ที่ “เกาหลีใต้”

"กรณีการระบาดที่เกาหลีใต้ ผมว่าเป็นแจ๊กพอตที่ทรงพลังมาก เพราะคนต้นโรคเดินทางไปหลายที่มากในตะวันออกกลาง ทั้งการ์ตา,โอมาน, ซาอุดิอาระเบีย หลายประเทศที่มีเชื้อทั้งนั้น แล้วกลับเข้าเกาหลีโดยที่เขาไม่รู้ตัวว่ารับโรคกลับมา และทางการก็ไม่ได้มีมาตรการสกัดกั้นเพราะก็ไม่เคยมีใครทราบมาก่อน

อีกทั้งกว่าโรคจะแสดงอาการก็อยู่ในตัวของผู้ป่วยรายนี้นานถึง 7 วัน พอมีอาการผู้ป่วยก็ไปพบแพทย์ในหลายๆ ทั้งคลินิกชุมชนและโรงพยาบาล ซ้ำร้ายเมื่อแพทย์พบอาการเบื้องต้น ยังให้นอนในห้องผู้ป่วยรวมเพราะไม่ทราบว่าคือโรคนี้ ทำให้การติดต่อแพร่ไปอย่างรวดเร็วเพราะเพียงแค่สัมผัสละอองฝอยไอจาม และการสัมผัสใกล้ชิดสารคัดหลั่งของผู้ป่วยก็มีโอกาสติดเมอร์สได้ ประกอบกับที่แพร่เชื้อที่แรกคือโรงพยาบาล แหล่งรวมคนป่วยที่สภาพร่างกายอ่อนแออยู่แล้ว เมื่อมีเชื้อใหม่จึงมีโอกาสติดง่ายกว่าปกติ จากผู้ป่วยรายแรกเพียงคนเดียวจึงแพร่เชื้อไปให้ผู้ป่วยและผู้สัมผัสข้างเคียงได้มากถึง 25 คน

ที่สำคัญคือเกาหลีไม่โปร่งใสตั้งแต่ช่วงแรก ไม่มีการประกาศอย่างชัดเจนว่าโรงพยาบาลใดคือจุดแพร่โรค ทำให้คนการตื่นตัวช้า จนมาตรการกักันและป้องกันล่าช้าไปหนึ่งก้าว จนขณะนี้เชื้อระบาดไปในหลายประเทศ รวมถึงไทยด้วย เพราะหลักการควบคุมโรคระบาดที่ดีที่สุด คือ ความโปร่งใส ประเทศนั้นต้องประกาศออกมาให้โลกทราบเพื่อที่ทุกฝ่ายจะได้เตรียมความพร้อมและการช่วยเหลือได้ทัน ซึ่งเกาหลีพลาดในช่วงแรกแต่มาแก้มือในช่วงหลังด้วยมาตรการที่รัดกุมได้เป็นอย่างดี" ศ.นพ.ยง กล่าว

“ผมว่าต้นตอไม่ใช่การสัมผัสอูฐโหนกเดียวเท่านั้นหรอก น่าจะมีสัตว์อื่นอย่างค้างคาว อีเห็น รวมถึงการฟุ้งกระจายของไวรัสในอากาศเพราะผู้ป่วยชาวซาอุฯ รายแรก ไม่มีประวัติสัมผัสกับอูฐเลย และด้วยความที่เราไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงจึงทำให้การควบคุมค่อนข้างลำบาก” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ไวรัสสัตว์สู่คนและอาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์

ไม่รู้ต้นตอ-ไม่รู้ทางแก้

“เหตุที่เมอร์สมีมานานแต่ไม่เคยหายไปจากโรคเหมือนกับโรคระบาดอื่นๆ เป็นเพราะนักวิจัยไม่รู้ต้นตอที่แท้จริง มีแต่ข้อสันนิษฐาน” ศ.นพ.ธีรวัฒน์ ตอบก่อนอธิบายต่อไปว่า

นักวิจัยทั่วโลกรู้ดีว่าสาเหตุประการสำคัญมาจากอูฐ แต่ก็มีข้อมูลบางอย่างที่ขัดแย้งอย่างเห็นได้ชัด เพราะผู้ป่วยรายแรกของซาอุดิอาระเบียไม่มีประวัติสัมผัสสัตว์ ผู้ป่วยรายแรกของเกาหลีเราก็ไม่ทราบว่าเขารับเชื้อมาจากไหน และคนโอมานที่ป่วยในไทยเราก็ไม่ทราบเช่นกันว่าแหล่งรับโรคของเขาที่จริงคืออะไร อีกทั้งเมื่อมีการตรวจสอบไปยังคนเลี้ยงอูฐในซาอุดิอาระเบียกว่าร้อยคน ก็ไม่พบการติดเชื้อ ฉะนั้นอูฐโหนกเดียวจึงไม่น่าใช่ต้นตอของปัญหาทั้งหมด

ข้อสันนิษฐานใหม่ของนักวิจัยทั่วโลก จึงมุ่งมาที่ "ค้างคาว"สัตว์ป่าที่เคยทำให้เกิดโรคซาร์ส รวมไปถึง "อีเห็น"สัตว์ป่าอีกกลุ่มที่มีชาติพันธุ์บางกลุ่มนำมารับประทานเป็นอาหาร แม้กระทั่ง "การฟุ้งกระจายในอากาศของไวรัส" ก็ถูกนำมารวมอยู่ในสาเหตุที่ยังหาต้นตอไม่ได้นี้ด้วย

การไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ระบุว่า ทำให้การป้องกันเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้นการป้องกันที่เห็นตอนนี้ จึงเป็นการใช้กล้องตรวจจับความร้อน และการซักประวัติจากคนที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยง แต่อย่างไรก็ดี อาการของคนแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เพราะบางคนมีเชื้อแต่ไม่มีไข้ หรือบางคนที่มีอาการของโรคประจำตัวคล้ายคลึงกับเมอร์สอยู่แล้วจนทำให้แยกไม่ออก ซึ่งความคลุมเครือเหล่านี้ทำให้การวินิจฉัยโรคไขว้เขว

http://www.manager.co.th/Science/ViewNe ... 0000071034
แนบไฟล์
012.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37







ย้อนกลับไปยัง คาปูชิโน

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document