New Document









“มิชชันนารีสเปน” ในไลบีเรียติดเชื้ออีโบลา! รบ.กระทิงดุส่งเคร

ข่าวสารสาธารณสุข

“มิชชันนารีสเปน” ในไลบีเรียติดเชื้ออีโบลา! รบ.กระทิงดุส่งเคร

โพสต์โดย kiatisak » 06 ส.ค. 2014, 11:02

“มิชชันนารีสเปน” ในไลบีเรียติดเชื้ออีโบลา! รบ.กระทิงดุส่งเครื่องบินรับกลับประเทศ

เอเอฟพี – รัฐบาลสเปนเตรียมส่งเครื่องบินไปยังไลบีเรียเพื่อรับตัวมิชชันนารีสูงวัยผู้หนึ่งที่ติดเชื้อไวรัสมรณะ “อีโบลา” กลับมารักษาพยาบาลในบ้านเกิด กระทรวงกลาโหมแดนกระทิงดุแถลงเมื่อค่ำวานนี้(5) กระทรวงได้แถลงผ่านทวิตเตอร์ว่า เปโดร โมเรเนส รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสเปน มีคำสั่งให้เตรียมเครื่องบินแอร์บัส A310 “พร้อมบุคลากรและเครื่องมือแพทย์” เพื่อส่งไปรับพลเมืองซึ่งเข้าไปทำงานในไลบีเรีย โดยคาดว่าเครื่องบิ...นลำนี้จะพร้อมออกเดินทางได้ในเวลา 5.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (10.00 น. ตามเวลาในไทยวันนี้) กระทรวงกลาโหมไม่ได้ระบุวันเวลาที่ครูสอนศาสนาจะเดินทางกลับถึงแผ่นดินสเปน และไม่แจ้งด้วยว่า สถานพยาบาลแห่งใดจะถูกใช้เป็นที่ดูแลผู้ติดไวรัสมรณะซึ่งทำให้มีภาวะเลือดออกอย่างรุนแรงนี้

มิเกล ปาฆาเรส มิชชันนารีโรมันคาทอลิกวัย 75 ปี ถูกตรวจพบเชื้ออีโบลาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงมอนโรเวีย ตามข้อมูลซึ่งองค์กรช่วยเหลือที่เขาทำงานอยู่ด้วยแถลงออกมาเมื่อวานนี้(5) ปาฆาเรส ถูกกักตัวเพื่อรอดูอาการอยู่ที่โรงพยาบาล เซนต์ โจเซฟ ร่วมกับเพื่อนมิชชันนารีอีก 5 คน หลังจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งนี้เพิ่งจะเสียชีวิตลงจากเชื้ออีโบลาเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา(2) ปาฆาเรส ทำงานอยู่ในไลบีเรียมานานกว่า 50 ปี โดยในช่วง 7 ปีหลังนี้ได้เข้ามาทำงานกับโรงพยาบาล เซนต์ โจเซฟ

ฆวน ชิอูดัด โอเอ็นจีดี องค์กรบรรเทาทุกข์ของสเปน ระบุว่า สตรีชาวคองโก 1 คน และชาวกินีอีก 1 คน ซึ่งทางโรงพยาบาลกักตัวไว้เพื่อดูอาการ ก็ตรวจพบเชื้ออีโบลาเช่นกัน

จากบทสัมภาษณ์ซึ่งออกอากาศทางสถานีข่าวซีเอ็นเอ็นภาคภาษาสเปนเมื่อวันจันทร์(4) ปาฆาเรส กล่าวว่า เขาและมิชชันนารีคนอื่นๆ ต้องการกลับไปรักษาตัวที่สเปน “ผมมีอาการไข้ ไม่อยากรับประทานอะไรเลย ผมอยู่เฉยๆ โดยไม่ทานอะไรก็ได้ รู้สึกปวดตามข้อกระดูก และต้องขอให้ผู้อื่นช่วยพยุงเวลาจะไปไหนมาไหน” ปาฆาเรส กล่าว “เราหวังว่ารัฐบาลจะช่วยอพยพเราออกไป สำหรับเราแล้วการได้กลับสเปนคงเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะมั่นใจได้ว่าเราจะได้อยู่ในความดูแลของแพทย์ที่เก่ง และคงอาการดีขึ้นหากพระเจ้าทรงประสงค์”
ชาวอเมริกัน 2 คนซึ่งทำงานกับองค์กรคริสต์ในไลบีเรียและติดเชื้ออีโบลาขณะช่วยดูแลผู้ป่วยในกรุงมอนโรเวีย ก็ถูกส่งตัวกลับไปรักษาพยาบาลที่สหรัฐฯ แล้ว เมื่อไม่กี่วันก่อน

จำนวนผู้ติดเชื้ออีโบลาในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกพุ่งสูงกว่า 1,600 รายนับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ซึ่งถือว่าเป็นการแพร่ระบาดครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ยอดผู้เสียชีวิตในเซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย กินี และไนจีเรีย อยู่ที่ 887 ราย ซึ่งคิดเป็นอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 55 จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ได้ประกาศมอบเงินทุน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่รัฐบาลกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน เพื่อนำไปใช้สกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัสมรณะ

อีโบลา เป็นไวรัสที่ติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ติดเชื้อ ดังนั้น ผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วย หรือทำหน้าที่รักษาพยาบาล จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุด
แนบไฟล์
ebola spain2.jpg
ebola spain2.jpg (20.09 KiB) เปิดดู 2640 ครั้ง
ebola spain1.jpg
ebola spain1.jpg (35.69 KiB) เปิดดู 2640 ครั้ง
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37







Re: “มิชชันนารีสเปน” ในไลบีเรียติดเชื้ออีโบลา! รบ.กระทิงดุส่

โพสต์โดย kiatisak » 06 ส.ค. 2014, 15:15

ยอดตาย'อีโบลา'พุ่ง!ศพถูกทิ้งเกลื่อน ญาติเหยื่อ 'อีโบลา' ไม่สนคำสั่งรัฐบาล ลากศพผู้ติดเชื้อไปทิ้งตามถนน ขณะที่ผู้ที่ติดต่อกับผู้ติดเชื้อชาวอเมริกันที่เสียชีวิต เริ่มแสดงอาการแล้ว


6 ส.ค.57 บรรดาญาติของเหยื่ออีโบลาในไลบีเรีย ต่างไม่สนใจคำสั่งของรัฐบาล และพากันทิ้งศพที่ติดเชื้อไว้ตามถนน ขณะที่บรรดารัฐบาลในแอฟริกาตะวันตก กำลังพยายามหามาตรการที่เข้มงวดมาบังคับใช้ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสมรณะ ...ที่คร่าชีวิตประชาชนไปแล้ว 887 คน ที่ไนจีเรีย ซึ่งบันทึกผู้ติดเชื้อคนแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ทางการในกรุงลากอส ระบุว่ามีคน 8 คน ที่ติดต่อกับแพ็ททริค ซอว์เยอร์ ชาวอเมริกันที่เสียชีวิตเพราะไวรัสอีโบลา ได้แสดงอาการของโรคออกมาแล้ว

การแพร่ระบาดครั้งล่าสุด ถูกพบเมื่อเดือนมีนาคม ในเขตพื้นที่ป่าห่างไกลในกินี ที่ยอดผู้เสียชีวิตกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนเพื่อนบ้านอย่างเซียร่า เลโอน และไลบีเรีย มีการระบาดรวดเร็วที่สุด ทางการต้องส่งกำลังทหารไปประจำการที่ชายแดน เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้ออีโบลาเนื่องจากเป็นจุดที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ทั้งสามประเทศได้ประกาศใช้มาตรการที่เข้มงวดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลา ทั้งปิดโรงเรียนและกักโรคบ้านของผู้ติดเชื้อ ด้วยความวิตกว่า ไวรัสที่ยังไม่มียารักษานี้ จะคุกคามระบบสาธารณสุของหนึ่งในภูมิภาคที่ยากจนที่สุดในโลก

ในกรุงมอนโรวา ของไลบีเรีย พบว่า ญาติของเหยื่ออีโบลา พากันลากศพออกไปทิ้งตามถนนที่สกปรกแทนที่จะยอมให้บ้านเป็นสถานที่กักโรคตามคำสั่งของรัฐบาล นายลูอิส บราวน์ รัฐมนตรีข่าวสาร ระบุว่า มีบางคนตระหนกตกใจต่อกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ ในการกำจัดการแพร่เชื้อที่บ้านของเหยื่ออีโบลา รวมถึงติดตามร่องรอยไปยังบ้านเพื่้อนและญาติของพวกเขาด้วยขณะที่ปัจจุบัน มีผู้ติดเชื้อไม่ถึงครึ่ง ที่รอดชีวิตจากโรคร้ายนี้ และชาวแอฟริกันจำนวนมาก ก็เชื่อด้วยว่า การรักษาตัวในแผนกผู้ติดเชื้ออีโบลาของโรงพยาบาล เป็นการเข้าไปสู่กับดักที่นำไปสู่ความตาย นายบราวน์ บอกว่า ญาติเหยื่อได้ลากศพออกจากบ้านไปทิ้งไว้ตามถนน ทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส แม้ว่าทางการจะบอกให้ทิ้งศพไว้ในบ้านและจะไปจัดการให้เองก็ตาม ซึ่งตั้งแต่เมื่อวันอาทิตย์ ได้มีการเผาศพผู้ติดเชื้อไปเป็นจำนวนมาก

สายการบริติช แอร์เวย์ส ระบุว่า ได้ระงับเที่ยวบินขาเข้าและออกจากไลบีเรีย และเซียร่า เลโอน จนถึงสิ้นเดือนนี้ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของสาธารณชน ส่วนเยอรมนี ฝรั่งเศสและสหรัฐ ได้จับมือกันให้คำแนะนำว่าไม่ควรเดินทางไปยังกินี ไลบีเรีย และเซียร่า เลโอน เนื่องจากยังไม่มีแนวโน้มว่าการระบาดของโรคจะยุติลงง่าย ๆ

เกิดความสับสนเกี่ยวกับผู้ป่วย 6 คน ที่เสี่ยงติดเชื้ออีโบลาในสหรัฐฯ

หน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหรัฐ ถูกมองว่า พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความตื่นตะหนกเกี่ยวกับไวรัสอีโบลา ด้วยการไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อให้สาธารณชนรับทราบ ทำให้เกิดความสับสนในการแถลงข่าว โดยหลังการอัพเดทข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับอีโบลา ในการแถลงข่าวที่นครนิวยอร์คของสหรัฐ เมื่อวันอังคาร ได้ทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับตัวเลขผู้ป่วย 6 คน ที่เป็นไปได้ว่าจะติดเชื้อไวรัสอีโบลา และตัวเลขผู้ป่วยที่แท้จริงที่กำลังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลในนิวยอร์ค โดยเว็บไซต์ เบรทบาร์ท นิวส์ รายงานว่า ได้เกิดความสับสนจากรายงานข่าวที่ว่า ผู้ป่วยทั้ง 6 คน ไม่ได้รักษาตัวอยู่ที่นครนิวยอร์คที่เดียว แต่ดูเหมือนศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค หรือ CDC จะระบุว่า ผู้ป่วยทั้ง 6 คน กระจายกันอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งหมายถึงความวิตกจะขยายตามไปด้วย

สำนักข่าว CNN รายงานอ้างถ้อยแถลงของ CDC ว่า มีผู้ป่วย 6 คน กำลังถูกสังเกตอาการว่าติดเชื้อไวรัสอีโบลาหรือไม่ ขณะที่สำนักข่าวอื่น ๆ พากันรายงานว่า ผู้ป่วยทั้ง 6 คน อยู่ที่นครนิวยอร์ค แต่ CNN กลับไม่เจาะจงว่าอยู่ที่นิวยอร์คแห่งเดียวหรือไม่

หลังการแถลงข่าวผ่านไปไม่กี่ชั่วโมง ทางโรงพยาบาลเมาท์ ไซไน ในนครนิวยอร์ค ได้เปิดการแถลงข่าวแก้ไขข้อมูล โดยระบุว่า มีผู้ป่วยเพียงคนเดียวที่เข้ารับการทดสอบการตรวจหาเชื้อไวรัสอีโบลา หรือ EVD ขณะที่แหล่งข่าวในกรมอนามัยและสุขภาพจิตของนิวยอร์ค ยืนยันว่า มีผู้ป่วยเพียงคนเดียวที่นิวยอร์ค ที่ถูกกักโรคเพราะความวิตกว่าจะติดเชื้อไวรัสอีโบลา

ด้านสถานีโทรทัศน์ ABC นิวส์ รายงานว่า CDC ระบุว่า ได้ทดสอบตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วย 6 คน ที่เป็นไปได้ว่ามีอาการของอีโบลา ที่เพิ่งเดินทางไปยังแอฟริกาตะวันตกเมื่อไม่นานมานี้ แต่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ผู้ป่วยทั้ง 6 คน อยู่ที่ไหนบ้าง และไม่ได้เจาะจงว่าอยู่ที่นิวยอร์คทั้งหมดด้วย

นอกจากกรณีของผู้ป่วยที่นครนิวยอร์คแล้ว มีรายงานว่า มีผู้หญิงคนหนึ่งเข้ารับการทดสอบหาเชื้อไวรัสอีโบลา ที่โอไฮโอ แต่ผลออกมาเป็นลบ ขณะที่ CDC รายงานว่า มีผู้ป่วยเข้ารับการทดสอบหาเชื้ออีโบลา ที่โรงพยาบาลจอห์น'ส ฮอปสกิ้นส์ ในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมรี่แลนด์ และพบว่า เธอติดเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเท่ากับว่า ยังเหลือผู้ป่วยอีก 3 คน ที่เข้ารับการทดสอบหาเชื้อไวรัสอีโบลา แต่ CDC ไม่ได้บอกว่า ผลการทดสอบออกมาเป็นอย่างไร หรือพวกเขาอยู่ที่ไหน

มิชชันนารีอเมริกัน วัย 59 ปีที่ติดเชื้ออีโบลาจากไลบีเรียถึงสหรัฐแล้ว

แนนซี ไรท์โบล มิชชันนารีชาวอเมริกันวัย 59 ปีที่ติดเชื้ออีโบลาจากไลบีเรีย เดินทางกลับถึงสหรัฐแล้วเมื่อวาน และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เอมอรี ที่ซึ่งนายแพทย์ เคนท์ แบรนท์ลีย์ วัย 33 ปี ติดเชื้ออีโบลากำลังรักษาตัวอยู่ บรูซ จอห์นสวัน ประธานองค์กรการกุศล ซิม ยูเอสเอ ที่ซึ่งไรท์โบลร่วมทำงานด้วยเปิดเผยว่า แม้ไรท์โบลอ่อนแอมากแต่ก็มีอาการดีขึ้น ทั้งสองได้รับเซรุ่มทดลองคนละ 1 โดส ขณะอยู่ในไลบีเรียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และมีอาการดีขึ้น แต่อาการของผู้ป่วยอีโบลาเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน ตอนขึ้นเครื่องบินเพื่อกลับสหรัฐเธอสามารถยืนได้ แต่ตอนส่งตัวไปโรงพยาบาล เธอนอนบนเตียงรถเข็น นอกจากนี้จอห์นสัน บอกด้วยว่า ไรท์โบลไม่ได้สัมผัสผู้ป่วยโดยตรง ขณะทำงานที่ศูนย์รักษาอีโบลาในไลบีเรีย เธอทำหน้าที่พ่นยาฆ่าเชื้อให้เจ้าหน้าที่ที่สวมชุดป้องกันที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยอีโบลา ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า แบรนท์ลีย์และไรท์โบลควรได้รับการรักษาด้วยเซรุ่มทดลอง ซีแมปป์ ของบริษัท แมปป์ ไบโอฟาร์มาซูติคอล อีกหรือไม่ แต่ปกติแล้วการรักษาผู้ป่วยจะต้องให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำในร่างกายที่เหมาะสม ถ่ายเลือดเสียออก และให้ยาปฏิชีวนะ โดยหวังว่าระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของคนไข้จะสามารถต่อสู่กับไวรัสได้ด้วยตัวเอง

ขณะที่ไนจีเรียกำลังพิจารณาว่าอาจจะให้แพทย์หญิงชาวไนจีเรียที่ติดเชื้อจากผู้ติดเชื้ออีโบลาชาวไลบีเรียที่เสียชีวิตในไนจีเรีย รับเซรุ่มทดลองชนิดเดียวกับชาวอเมริกันสองคนด้วยหรือไม่ และกำลังเฝ้าสังเกตการณ์อาการผู้ที่สัมผัสโดยตรงกับผู้ติดเชื้ออีโบลาชาวไลบีเรียดังกล่าวอีก 7 คนด้วย

ขณะเดียวกันสเปนจะส่งเครื่องบินไปรับมิชชันนารีชายชาวสเปน วัย 75 ปีที่ติดเชื้ออีโบลาขณะทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยในไลบีเรีย กลับประเทศเช่นกัน ซึ่งขณะนี้เขาถูกกักโรคพร้อมกับมิชชันนารีอีก 5 คน
แนบไฟล์
6a7bed7c5j9egag9a7bd5.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37


ย้อนกลับไปยัง คาปูชิโน

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document