New Document









WHO holds emergency meeting on deadly Saudi MERS virus

ข่าวสารสาธารณสุข

WHO holds emergency meeting on deadly Saudi MERS virus

โพสต์โดย kiatisak » 15 พ.ค. 2014, 09:49

WHO holds emergency meeting on deadly Saudi MERS virus
LONDON Tue May 13, 2014

LONDON (Reuters) - Health and infectious disease experts met at the World Health Organisation on Tuesday to discuss whether a deadly virus that emerged in the Middle East in 2012 now constitutes a "public health emergency of international concern".
The virus, which causes Middle East Respiratory Syndrome or MERS infections in people, has been reported in more than 500 patients in Saudi Arabia alone and spread throughout the region in sporadic cases and into Europe, Asia and the United States.
Its death rate is around 30 percent of those infected.

Experts meeting at the United Nations health agency's Geneva headquarters would consider whether a recent upsurge in detected cases in Saudi Arabia, together with the wider international spread of sporadic cases, means the disease should be classed as an international emergency.

Global health regulations define such an emergency as an extraordinary event that poses a risk to other WHO member states through the international spread of disease, and which may require a coordinated international response.
In a statement issued late on Tuesday, the WHO said the experts' discussions were continuing later than planned and that its assistant director general for health security, Keiji Fukuda, would hold a news conference on Wednesday to announce the conclusions of the meeting.

MERS, which causes coughing, fever and sometimes fatal pneumonia, is a coronavirus from the same family as SARS, or Severe Acute Respiratory Syndrome, which killed around 800 people worldwide after first appearing in China in 2002.

Scientists have linked the human cases of the virus to camels, and Saudi authorities warned on Sunday that anyone working with camels or handling camel products should take extra precautions by wearing masks and gloves.

The WHO's MERS emergency committee is the second to be set up under WHO rules that came into force in 2007. The previous emergency committee was set up to respond to the 2009 H1N1 pandemic.

On Tuesday, U.S. officials said two health workers at a hospital in Orlando, Florida, who were exposed to a patient with MERS had begun showing flu-like symptoms, and one had been hospitalized.


(Reporting by Kate Kelland; Editing by Janet Lawrence)

http://www.reuters.com/article/2014/05/ ... B220140513
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37







Re: WHO holds emergency meeting on deadly Saudi MERS virus

โพสต์โดย kiatisak » 15 พ.ค. 2014, 09:53

อนามัยโลกยอมรับกังวลMERSมรณะ แต่ยังไม่ประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤษภาคม 2557 02:14 น.

รอยเตอร์ส - องค์การอนามัยโลก(WHO) ยอมรับในวันพุธ(14) มีความกังวลมากขึ้นต่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง (MERS) แต่ยังไม่ประกาศให้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องจากยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนว่ามันสามารถติดต่อจากคนสู่คน

ไวรัสชนิดนี้ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ หายใจติดขัด และมีไข้สูง บางรายก็ถึงขึ้นปอดบวม มีรายงานผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 500 รายทั่วโลก โดยส่วนใหญ่อยู่ในซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตามมันเริ่มแพร่ระบาดไปยังเหล่าชาติเพื่อนบ้าน เช่นเดียวกับพบผู้ติดเชื้อจำนวนเล็กน้อยในยุโรป เอเชียและสหรัฐฯ ในขณะเดียวกันสำหรับผู้ติดเชื้อนั้น มีถึงร้อยละ 30 ที่ต้องจบชีวิตลง

คณะกรรมการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก ซึ่งหารือกันนานกว่า 5 ชั่วโมง ในเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันอังคาร(13) เปิดเผยในวันพุธ(14) ว่าพวกเขาเคร่งเครียดมากขึ้นต่อสถานการณ์ของไวรัส MERS ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสาธารณชน อย่างไรก็ตามตอนนี้ยังไม่พบหลักฐานอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการติดต่อจากคนสู่คนของไวรัสตัวนี้ "ด้วยเหตุนี้ ดังนั้นมันยังไม่เข้าเงื่อนไขของภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ" WHO ระบุ

MERS ถูกจัดอยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (SARS) ซึ่งเคยแพร่ระบาดในเอเชียเมื่อปี 2003 หลังถูกพบครั้งแรกในจีน โดยหนนั้นมีผู้ติดเชื้อไวรัสซาร์สมากถึง 8,273 คน และร้อยละ 9 เสียชีวิต

เคอิจิ ฟูกูดะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ระบุว่าเหตุผลหลักที่ไม่ประกาศให้ MERS เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข แม้พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆว่า ยังไม่พบหลักฐานว่ามันติดต่อจากคนสู่คนอย่างง่ายดาย "

ด้านเบน นิวแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสของมหาวิทยาลันเรดดิ้งในอังกฤษ เชื่อว่าการตัดสินใจของคณะกรรมการ WHO เป็นมาตรการและปฏิกิริยาที่สมเหตุสมผลจากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดที่ค่อยเป็นค่อยไป "มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องระลึกว่า MERS ยังไม่ได้แพร่ระบาดอย่างเห็นผลระหว่างมนุษย์" เขากล่าว "มันเป็นโรคติดต่อร้ายแรงอย่างยิ่งหากคุณโชคร้ายได้รับเชื้อ แต่โอกาสติดไวรัสยังคงมีเล็กน้อยมาก แม้แต่ในซาอุดีระเบียเองก็ตาม"

องค์การสาธารณสุขโลกแห่งนี้จะกำหนดภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ(PHEIC) เฉพาะกรณีที่เกิดหตุการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อประเทศอื่นๆ จากการแพร่ระบาดระหว่างประเทศ และต้องอาศัยความร่วมมือจากนานาประเทศในการรับมือกับเหตุการณ์นั้น อย่างไรก็ตามนายฟูกูดะ บอกว่าทางคณะกรรมการฉุกเฉินจะนัดหารือกันอีกครั้งในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อประเมินสถานการณ์ของไวรัส MERS

นานาชาติเริ่มมีความกังวลต่อไวรัสใหม่นี้ หลังจากช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งนับตั้งแต่ตรวจพบมันครั้งแรกในปี 2012 จนถึงตอนนี้มีคนไข้มากถึง 495 คน ในนั้น 152 รายเสียชีวิตแล้ว

นอกเหนือจากซาอุดีอาระเบียแล้ว ยังตรวจพบผู้ติดเชื้อ MERS ในประเทศอื่นๆทั่วตะวันออกกลาง และมันยังแผ่ลามไปยังชาติต่างๆในทวีปอื่นๆ อาทิมาเลเซีย เลบานอนและสหรัฐฯ ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเนเธอร์แลนด์เปิดเผยในวันพุธ(14) ว่าชายคนหนึ่งซึ่งเดินทางมาจากซาอุดีอาระเบีย ได้เข้ารับรักษาตัวที่โรงพยาบาลและตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัส MERS

ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการแพร่ระบาด ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากองค์การอนามัยโลก ว่าล้มเหลวในการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยขั้นพื้นฐานและควบคุมโรคติดต่อตามโรงพยาบาลต่างๆ จนปล่อยให้ไวรัสแผ่ลามติดต่อในหมู่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

ฟูกูดะ ย้ำว่าประเทศต่างๆที่พบผู้ติดเชื้อไวรัส MERS จำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุงมาตรการป้องกันและควบคุมการติดต่ออย่างเร่งด่วน ในความพยายามจำกัดการแพร่ระบาด "การควบคุมการติดต่อคือสิ่งสำคัญที่สุด" ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกบอก พร้อมยกมาตรการต่างๆเป็นตัวอย่าง อาทิเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขต้องสวมถุงมือและหน้ากากเสมอ เช่นเดียวกับล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสผู้ป่วย

เขาบอกด้วยว่าการสืบสวนทางวิทยาศาสตร์ก็ควรเริ่มต้นอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เช่นกัน เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อยู่เบื้องหลังโรคติดต่อนี้ ในนั้นรวมถึงการศึกษาทางระบาดวิทยา วิทยาเซรุ่ม ภาวะสิ่งแวดล้อมและสัตว์ที่เป็นพาหะ

http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000053622
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37


ย้อนกลับไปยัง คาปูชิโน

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document