New Document









New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

ข่าวสารสาธารณสุข

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 24 พ.ค. 2013, 15:30

องค์การอนามัยโลกเตือนประเทศที่พบไวรัสคล้ายซาร์สอย่าปิดบังข้อมูล
By สำนักข่าวไทย TNA News | 24 พ.ค. 2556 09:50 |

เจนีวา 24 พ.ค.-องค์การอนามัยโลกเตือนประเทศที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสคล้ายไวรัสโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) ว่าต้องแบ่งปันข้อมูล และอย่าปล่อยให้ห้องทดลองปฏิบัติการเชิงพาณิชย์หาประโยชน์จากเชื้อไวรัสนี้ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 22 คนทั่วโลก

นางมาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวต่อรัฐมนตรีด้านสาธารณสุขในการประชุมประจำปีที่นครเจนีวาว่า รัฐมนตรีสาธารณสุขมีหน้าที่ทำความตกลงกับนักวิจัยที่ต้องการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาการค้นพบเกี่ยวกับเชื้อไวรัส อย่าปล่อยให้เรื่องนี้ขัดขวางการดำเนินการใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน หลังจากซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นประเทศแรกที่พบผู้ป่วยติดเชื้อนี้แจ้งว่าการพัฒนาวิธีตรวจเชื้อล่าช้า เพราะติดสิทธิบัตรของห้องทดลองปฏิบัติการต่างชาติ

รัฐมนตรีสาธารณสุขซาอุดีอาระเบียเผยต่อที่ประชุมว่า กว่าจะระบุได้เมื่อเดือนกันยายนปีก่อนว่าเป็นเชื้อตัวนี้เวลาก็ผ่านไปแล้ว 3 เดือน นับจากที่นักวิทยาศาสตร์นำตัวอย่างเชื้อจากซาอุดีอาระเบียไปตรวจที่ศูนย์การแพทย์อีรามุสในเนเธอร์แลนด์ ทางศูนย์ได้จดสิทธิบัตรกระบวนการวิเคราะห์เชื้อ หากต้องการนำวิธีไปใช้ก็ต้องจ่ายเงิน การจดสิทธิบัตรทำให้การพัฒนาวิธีตรวจและชุดตรวจเกิดความล่าช้า ล่าสุดซาอุดีอาระเบียพบผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 17 คนแล้ว

นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยในจอร์แดน กาตาร์ ตูนิเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส และอังกฤษ.-สำนักข่าวไทย
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37







Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 29 พ.ค. 2013, 16:48

ไวรัสมรณะคล้ายซาร์ส คร่าชีวิตผู้ติดเชื้อรายแรกในฝรั่งเศส
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤษภาคม 2556 02:03 น.

บุคคลรายแรกที่ล้มป่วยด้วยไวรัสใหม่คล้ายซาร์สในฝรั่งเศส เสียชีวิตแล้วที่โรงพยาบาล จากการเปิดเผยของกระทรวงสาธารณสุขวันอังคาร(28) ราว 3 สัปดาห์ตั้งแต่ถูกตรวจพบติดเชื้อไวรัส "โคโรนา" หลังเดินทางกลับจากเยือนดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

มาริซอล ตูแรน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของฝรั่งเศส แสดงความเสียใจไปถึงครอบครัวของชายวัย 65 ปี ที่จากไปอย่างสงบ ณ โรงพยาบาลในเมืองลีลล์ ทางเหนือของประเทศ ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ชนิดนี้ เพิ่มเป็น 23 ศพแล้ว

ชายคนดังกล่าวถูกวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (novel coronavirus หรือ NCoV) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม หลังจากเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน ไม่นานหลังเดินทางกลับมาจากดูไบ โดยตรวจแรกดูเหมือนว่าเขาแค่ป่วยติดเชื้อในกระเพาะอาหารอย่างรุนแรงและมีปัญหาด้านการหายใจเท่านั้น

ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ ยังมีผู้ติดเชื้อไวรัสใหม่คล้ายซาร์ส นอนพักรักษาตัวอีก 1 รายและอาการป่วยก็อยู่ในขั้นวิกฤต และจากการตรวจสอบพบว่าชายวัย 50 ปีรายนี้เคยใช้เตียงคนไข้เดียวกับเหยื่อไวรัสโคโรนาคนแรกของประเทศ ที่โรงพยาบาลอื่นตอนที่ล้มป่วยเมื่อเดือนเมษายน ย้ำถึงข้อสันนิษฐานที่ว่ามันอาจสามารถถ่ายทอดระหว่างคนกับคนได้
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 26 มิ.ย. 2013, 09:53

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2556 09:54 น.

เอเอฟพี - นักวิจัยเตือน ไม่ควรวางใจเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช7เอ็น9 ซึ่งระบาดในจีนปีนี้ โดยแม้พบว่ามีผู้เสียชีวิตเพียง 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อ ที่มารักษาในโรงพยาบาล ซึ่งจัดเป็นเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงน้อย แต่การแพร่ระบาดก็อาจลุกลามได้มากกว่าที่เคยคาดคิดกัน

ในการปรับตัวเลขประจำเดือนครั้งล่าสุดของคณะกรรมาธิการด้านสุขภาพและการวางแผนครอบครัวแห่งชาติของจีนระบุว่า มีผู้ติดเชื้อเอช 7 เอ็น 9 บนแผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้น 131 คน นับตั้งเกิดการแพร่ระบาดในเดือนก.พ. นอกจากนั้น ยังพบผู้ติดเชื้อ 1 คนในไต้หวัน

จากรายงานผลการศึกษาของนักวิจัยในกรุงปักกิ่งและฮ่องกง ซึ่งระบุว่า เป็นการให้ภาพความรุนแรงของเชื้อไวรัสชนิดนี้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด และตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์แลนเซ็ตนั้น นักวิจัยพบว่า ผู้ติดเชื้อเหล่านี้ มี 123 คน ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล และต่อมา 39 คนได้เสียชีวิต ซึ่งเท่ากับร้อยละ 36 ของผู้เข้ารับการรักษา

นับเป็นอัตราการเสียชีวิต ที่ต่ำกว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดนกเอช 5 เอ็น 1 ซึ่งระบาดเมื่อปี 2546 และมีผู้เสียชีวิตถึงร้อยละ 60 ของผู้ติดเชื้อที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล

อย่างไรก็ตาม ยังมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเชื้อไวรัสเอช 1 เอ็น 1 ซึ่งระบาดในช่วงปี 2552-2553 และมีผู้เสียชีวิตเพียงร้อยละ 21 ของผู้ติดเชื้อที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล

นักวิจัยในกรุงปักกิ่งและฮ่องกงประเมินว่า อัตราความเสี่ยงเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอช 7 เอ็น 9 มีเพียงร้อยละ 0.16-2.8 อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อ ซึ่งยังมีอาการไม่รุนแรง และไม่มีการรายงานเข้ามาอาจมีจำนวนมากถึง 1,500-27,000 คนก็ได้

ในผลการวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งตีพิมพ์ในแลนเซ็ตเช่นกัน นักวิจัยระบุว่า มีความเป็นไปได้ ที่เอ็ช 7 เอ็น 9 อาจหวนกลับมาระบาดอีกครั้งช่วงฤดูใบไม้ร่วงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หลังจากไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลจากทางการจีนสั่งปิดตลาดขายสัตว์ปีกมีชีวิต

นอกจากนั้น นักวิจัยยังประเมินระยะการฟักตัวของโรค ซึ่งเป็นช่วงระหว่างการติดเชื้อกับการเริ่มปรากฎอาการว่า อยู่ที่ประมาณ 3 วัน ซึ่งสั้นกว่าที่เคยประเมินกันไว้

ทั้งนี้ เชื่อกันว่า เชื้อเอช 7 เอ็น 9 มีการติดต่อจากนกสู่คน และเกิดความกลัวกันว่า มันอาจกลายพันธุ์ไปสู่การติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยผลการศึกษาในห้องทดลอง ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารไซเอนซ์ของสหรัฐฯ แสดงว่า เชื้อเอ็ช 7 เอ็น 9 อาจติดต่อกันได้ในหมู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเฟอร์เร็ต ซึ่งมีลักษณะคล้ายพังพอน นอกจากนั้น ยังอาจติดต่อระหว่างคนด้วยกันภายใต้เงื่อนไขบางประการ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และควรเตรียมพร้อมในกรณีที่เชื้ออาจลุกลามออกนอกประเทศจีน
แนบไฟล์
a.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 02 ก.ค. 2013, 04:44

พิธีฮัจย์กับไวรัสคล้ายซาร์ส
วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม 2556 เวลา 00:00 น.

พิธีฮัจย์ พิธีศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาของชาวมุสลิมทั่วโลก มีปัญหาให้ต้องกังวล ก็คือเรื่องของโรคระบาดรุนแรงในปีนี้ เพราะต้นตอของโรคระบาดร้ายแรงอยู่ในซาอุดีอาระเบีย ทำให้ผู้ที่จะไปแสวงบุญพากันหวาดวิตก ท่ามกลางรายงานข่าวว่า มีเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่คล้ายซาร์ส หรือโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง มีชื่อเรียกว่า เอ็มอีอาร์เอส หรือโรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เรียกชื่อตามภูมิภาคที่พบการแพร่ระบาด) กำลังระบาดอย่างหนักอยู่ในซาอุฯ มีผู้เสียชีวิตแล้วหลายสิบคน ซึ่งผู้แสวงบุญทุกคนในช่วงเวลานี้ ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ เป็นที่รู้จักน้อยมาก แต่ความร้ายกาจของมันก็ไม่ธรรมดา มันทำให้ผู้คนเสียชีวิตได้ด้วยปัญหาระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน ปอดบวม และไตวายได้ โดยสามารถติดต่อได้ระหว่างมนุษย์ แต่ก็ไม่เหมือนไวรัสซาร์ส ไวรัสคู่แฝด ที่เคยสร้างความโกลาหลทั่วโลกเมื่อ 10 ปีก่อน เพราะแพร่ระบาดได้ไม่ง่ายมากนัก

กระนั้นก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นไวรัสระบบทางเดินหายใจชนิดใด ในคนจำนวนมากจากทั่วโลกนับล้าน ๆ คนมารวมตัวกัน ก็มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดในเมืองศักดิ์สิทธิ์ 2 แห่งของชาวมุสลิม คือนครเมกกะ และเมืองเมดินา ซึ่งมันก็จะติดตัวผู้แสวงบุญที่ติดเชื้อไปด้วยเมื่อเดินทางกลับบ้านในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ยิ่งเป็นการช่วยให้ไวรัสระบาดได้เร็วขึ้น

ในพิธีฮัจย์เมื่อปี 2555 มีชาวมุสลิมจากทั่วโลกเข้าร่วมพิธีจำนวน 3.1 ล้านคน และแม้ว่าในปีนี้ พิธีฮัจย์จะมีขึ้นในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่ซีกโลกเหนือเข้าสู่ฤดูหนาวที่ผู้คนจะป่วยเป็นหวัดมีอาการไอและจาม ถือว่าเป็นพาหะนำโรคอย่างดี

มาร์กาเรต ชาน ประธานองค์การอนามัยโลก หรือฮู หน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหประชาชาติ ส่งเสียงเตือนไปยังบรรดาคณะรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมประจำปีในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา โดยเธอกล่าวว่า
เราจำเป็นต้องเผยแพร่ความจริงที่ชัดเจน และให้คำแนะนำที่เหมาะสมแก่ทุกประเทศ ที่จะมีผู้แสวงบุญเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์

ไวรัสเอ็มอีอาร์เอส ระบาดได้ด้วยการสัมผัสหรือไม่ หากมีผู้ป่วยติดเชื้ออยู่ที่บ้าน หรือที่ทำงาน ซึ่งก็จะทำให้มีละอองน้ำลาย จาม ไอ ปนเปื้อนเชื้อไวรัส จะทำให้ติดต่อกันได้หรือไม่ หรืออะไรคือวิธีการป้องกันรักษาที่ดีที่สุด และต้องใช้วัคซีนอะไร มีความเสี่ยงที่โรคจะกลายพันธุ์หรือไม่ ล้วนแต่เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบในขณะนี้

ผู้เสียชีวิตรายแรกด้วยไวรัส เอ็มอีอาร์เอส พบในเดือนมิ.ย.2555 ในซาอุฯ และจำนวนก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เดือนพ.ค.ถึงเดือนมิ.ย. มีผู้ติดเชื้อถึง 77 ราย ส่วนใหญ่ก็อยู่ในซาอุฯ จนถึงวันนี้ มีผู้ป่วยด้วยไวรัสเอ็มอีอาร์เอส เสียชีวิตแล้ว 40 ราย อัตราการตายสูงมากถึงร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับเพียงร้อยละ 9 ของผู้ป่วยด้วยโรคซาร์ส 8,273 คน ซึ่งมีศูนย์กลางการระบาดอยู่ในเอเชีย

อย่างไรก็ตาม มันก็ยังตรวจสอบกันยากอยู่ดี เมื่อประชาชนที่ติดเชื้อเอ็มอีอาร์เอส แต่ยังไม่แสดงอาการ หรืออาจมีใครได้รับเชื้อมา แต่อาการยังไม่ปรากฏ ก็ยังไม่สามารถรู้ได้ ขณะที่มีการตรวจสอบและเก็บข้อมูลอยู่ในห้องทดลอง ฮูก็ได้แต่เรียกร้องให้ทุกประเทศเฝ้าระวัง ด้วยการติดตามตรวจสอบการติดเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่เดินทางกลับจากตะวันออกกลาง

นอกจากซาอุฯ ซึ่งเป็นประเทศศูนย์กลางของการระบาดแล้ว ยังมีอีกหลายประเทศที่พบผู้ป่วยไวรัสเอ็มอีอาร์เอส ไม่ว่าจะเป็นจอร์แดน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี ส่วนในยุโรปก็มีทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และตูนิเซีย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ล้มป่วยหลังเดินทางกลับจากตะวันออกกลาง แต่ก็มีในฝรั่งเศส อิตาลี ตูนิเซียและอังกฤษ ที่พบการติดต่อกับคนป่วยที่ไม่ไปตะวันออกกลาง แต่ติดต่อด้วยความใกล้ชิดกับผู้ป่วย.

เลนซ์ซูม
แนบไฟล์
215834.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 05 ก.ค. 2013, 11:08

Plasmacluster can destroy new influenza virus from the Retroscreen Virology's test
แนบไฟล์
ScreenHunter_01-Jun.jpg
ScreenHunter_02-Jun.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 08 ก.ค. 2013, 08:49

ไข้หวัดมรณะ "เอช1 เอ็น1" ระบาดหนักในชิลี
วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2556 เวลา 11:09 น.

โรคไข้หวัดใหญ่จากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ "เอช1 เอ็น1" กำลังระบาดอย่างหนักในชิลี มีผู้เสียชีวิตแล้ว 11 ศพ
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงซันติอาโก ประเทศชิลี เมื่อวันที่ 5 ก.ค. ว่า โรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ "เอช1 เอ็น1" กำลังระบาดอย่างหนักในชิลี ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 11 ศพ

รายงานโดยกระทรวงสาธารณสุขชิลีระบุว่า ผู้เสียชีวิตทั้งหมดอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการระบาดสูงกว่าบริเวณอื่นถึง 6 เท่า โดยอัตราส่วนผู้ป่วยตลอด 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา อยู่ที่ 148 คน จากจำนวนประชากร 100,000 คน สูงกว่าอัตราส่วนเฉลี่ยทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ที่ 24 คน ต่อประชากร 100,000 คน

ขณะที่คำแนะนำเบื้องต้นจากทางกระทรวง คือการขอให้คณะผู้จัดงาน "เฟียสตา เดอ ลา ติรานา" ซึ่งเป็นเทศกาลสำคัญทางศาสนา เลื่อนหรือยกเลิกการจัดงาน ที่เดิมมีกำหนดระหว่างวันที่ 15-17 ก.ค. เนื่องจากการวมตัวกันของประชาชนจำนวนมาก อาจทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายอย่างรวดเร็วได้

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ได้กระจายการส่งมอบวัคซีนกว่า 115,000 หลอด ไปยังโรงพยบาลและสถานอนามัยทั่วทั้งภาคเหนือของประเทศแล้ว ส่วนนายไฮเม โมนาลิช รมว.กระทรวงสาธารณสุข มีกำหนดเดินทางไปยังพื้นที่ระบาดของโรคในวันนี้ เพื่อตรวจสอบสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
แนบไฟล์
h1n1.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 08 ก.ค. 2013, 09:37

WHO sets up emergency committee on MERS virus

• Health »
GENEVA | Fri Jul 5, 2013 8:18am EDT

(Reuters) - The World Health Organization is forming an emergency committee of international experts to prepare for a possible worsening of the Middle East coronavirus (MERS), which has killed 40 people, WHO flu expert Keiji Fukuda said on Friday.

Fukuda said there was currently no emergency or pandemic but the experts would advise on how to tackle the disease if the number of cases suddenly grows. Most of the cases of MERS so far have been in Saudi Arabia, which hosts millions of Muslim visitors every year for the annual haj pilgrimage.

"We want to make sure we can move as quickly as possible if we need to," Fukuda told a news conference.

"If in the future we do see some kind of explosion or if there is some big outbreak or we think the situation has really changed, we will already have a group of emergency committee experts who are already up to speed so we don't have to go through a steep learning curve."

The emergency committee is the second to be set up under WHO rules that came into force in 2007, years after the 2002 SARS outbreak. The previous emergency committee was set up to respond to the 2009 H1N1 pandemic.

Fukuda said MERS (Middle East Respiratory Syndrome) remained a patchwork of infections that had not yet swept through countries or communities as influenza can. The committee was partly being formed to consider big gaps in knowledge about the disease, he added.
(Reporting by Tom Miles; Editing by Gareth Jones)
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 21 ก.ค. 2013, 05:24

เตือนภัยไวรัส ‘โคโรน่า’ สายพันธุ์ใหม่อันตรายถึงชีวิต!
วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2556 เวลา 00:00 น.

หลังจากองค์การอนามัยโลกประกาศแจ้งเตือนให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศ ดำเนินการเฝ้าระวังโรคในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน หลังมีรายงานพบผู้ป่วยติดเชื้อ “โคโรน่า” ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 และมีผู้เสียชีวิตแล้ว

ล่าสุด ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้นำเสนอข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเชื้อโรคดังกล่าว พร้อมรายงานสถานการณ์ล่าสุดเพิ่มเติมว่า ได้ตรวจพบผู้ป่วยที่ยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2012 แล้วรวม 77 ราย เสียชีวิต 42 ราย จากรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 9 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี และอิตาลี โดยส่วนมากจะพบผู้ป่วยในประเทศซาอุดี อาระเบีย

“เชื้อไวรัสโคโรน่า” ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2508 เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (Single stranded RNA virus) ในตระกูล Coronaviridae ประกอบด้วยสายพันธุ์ย่อยหลายชนิด สามารถทำให้เกิดโรคได้ทั้งในคนและสัตว์ เช่น หนู สุนัข แมว กระต่าย ไก่ วัว กระบือ สุกร ขณะนี้ไวรัสโคโรน่าที่ก่อโรคในคนที่รู้จักมี 6 ชนิด โดย 4 ชนิดทำให้เกิดโรคไข้หวัด 1 ชนิดทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุน แรง หรือ โรคซาร์ส และอีก 1 ชนิดคือ เมอร์ส (Middle East Respiratory Syndromes Coronavirus : MERS)

ถึงแม้ว่าผู้ที่ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่จะมีอาการคล้ายโรคซาร์ส แต่เชื้อก่อให้เกิดโรคแตกต่างกัน ซึ่งโคโรน่าโดยทั่วไปพบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตอบอุ่น มักพบในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ พบได้ในทุกกลุ่มอายุ สำหรับการติดต่อคล้ายโรคทางเดินหายใจ คือผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ จากการไอหรือหายใจรดกัน หรือจากมือที่เปื้อนเชื้อโรคมาสัมผัสจมูกหรือตา ซึ่งระยะฟักตัวของโรคประมาณ 3-4 วัน ส่วนเชื้อก่อโรคซาร์ส มีระยะฟักตัว 4-7 วัน (อาจนาน 10-14 วัน) และหากไวรัสอยู่นอกร่างกายจะสลายไปเองภายใน 24 ชั่วโมง และถูกทำลายได้ด้วยสารซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาด

จากการศึกษาวิจัยพบว่า สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคอาจมีส่วนเกี่ยว ข้องกับสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ค้างคาว ทำให้เจ็บป่วยได้ทั้งระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ ซึ่งพบว่าก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนถึงร้อยละ 35 มีอาการตั้งแต่ระดับน้อยคือเป็นไข้หวัดธรรมดาจนถึงระดับรุนแรง (โรคซาร์ส) ทำให้หายใจติดขัด ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีอาการของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ น้ำมูก ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ หรือบางคนอาจมีอาการปอดอักเสบ เช่น หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือบางรายรุนแรงอาจมีระบบหัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ยังพบมีอาการแสดงทางอวัยวะอื่นได้ เช่น มีอาการไตวายเฉียบพลัน ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

องค์การอนามัยโลก (WHO) และสำนักงานควบคุมโรคและป้องกันโรคสหรัฐ อเมริกา หรือ CDC ให้คำแนะนำ สำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางให้สังเกตอาการภายใน 14 วัน สำหรับการวินิจฉัยโรคนอกจากอาการและประวัติแล้วอาจจำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อช่วยวินิจฉัยด้วยการตรวจโดยวิธีทางชีวะพันธุกรรมของไวรัส (Real-Time Reverse-Transcriptase Polymerase Chain Reaction : RT-PCR) โดยใช้เก็บสิ่งส่งตรวจจากบริเวณต่าง ๆ ดังนี้ เสมหะจากทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น การดูดสารคัดหลั่งจากหลอดลม น้ำล้างถุงลมและหลอดลมฝอย เสมหะทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น การป้ายเก็บสิ่งส่งตรวจจากโพรงจมูกและคอ การดูดสารคัดหลั่งจากโพรงจมูก ตรวจอุจจาระในผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย และเลือด น้ำเหลือง ซึ่งใช้เป็นตัวช่วยเสริม

สำหรับผู้ที่ต้องพิจารณาส่งตรวจด้วยวิธีดังกล่าว คือผู้ป่วยที่มีอาการแสดงออกทางระบบทางเดินหายใจ คือ มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการไอที่สงสัยว่ามีปอดอักเสบ รวมทั้งภาพรังสีปอดมีความผิดปกติ และมีประวัติการเดินทางหรือท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศในคาบสมุทรอาระเบียและประเทศใกล้เคียง ภายในระยะเวลา 14 วันและไม่สามารถอธิบายสาเหตุการป่วยของผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจรุนแรงที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการที่เดินทางไปในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางภายใน 14 วันหลังจากท่องเที่ยวในประเทศดังกล่าว หรือผู้ที่มีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก หายใจหอบเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ภายในระยะเวลา 14 วันหลังจากเดินทางกลับมาจากกลุ่มประเทศในคาบสมุทรอาระเบีย ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ เยเมน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต อิรัก อิสราเอล ซีเรีย จอร์แดน เลบานอน จำเป็นต้องแจ้งประวัติการเดินทางให้แพทย์ทราบด้วย

ส่วนการรักษาเหมือนการติดเชื้อโคโรน่าไวรัสชนิดอื่น ๆ คือ ไม่มียาต้านไวรัสในการรักษาผู้ป่วย และขณะนี้ไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรค เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ดังนั้นเราจึงควรป้องกันการติดเชื้อเบื้องต้นได้ด้วยการหลีกเลี่ยงผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อ เช่น ผู้ที่มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดหรือที่สาธารณะที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก หากจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่แออัดควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ ล้างมือบ่อยครั้งด้วยน้ำสบู่ เนื่องจากพบเชื้อได้ทั้งในอากาศ น้ำมูก และเสมหะ ซึ่งอาจปนเปื้อนที่มือของผู้ติดเชื้อแล้วไปจับสิ่งของหรือวัตถุทั่วไป

นอกจากนี้การรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นควรใช้ช้อนกลาง เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมและออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสปศุสัตว์มีชีวิตหรือสัตว์ป่าในกรณีที่เดินทางไปในประเทศในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตามจากข้อมูลปัจจุบันคนไทยอย่าเพิ่งตื่นตระหนกหรือเครียดกับโรคนี้จนเกินไป เนื่องจากแนวโน้มการระบาดมายังประเทศไทยยังไม่อยู่ในระดับน่ากังวล ในตอนนี้สิ่งที่พึงกระทำคือ การศึกษาข้อมูลการป้องกันและดูแลรักษาเบื้องต้นเพื่อเตรียมพร้อมรับมือในการป้องกันตนเองและสมาชิกในครอบ ครัวให้ปลอดภัย.

..................................................................................................

http://www.dailynews.co.th/article/224/220378
แนบไฟล์
220378.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 22 ก.ค. 2013, 16:34

เจอไวรัสยักษ์ ใหญ่กว่าเดิม 2 เท่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 กรกฎาคม 2556 13:23 น.

ไวรัสแพนโดรา

นักวิจัยขุดพบไวรัสขนาดใหญ่ที่สุดอีกครั้ง คราวนี้ใหญ่กว่าไวรัสที่เคยพบเป็น 2 เท่า และคาบเกี่ยวระหว่างนิยามของ "สิ่งมีชีวิต" กับ "ไวรัส"

ตามปกติไวรัสทั่วไปมีขนาดใหญ่แค่ 20-300 นาโนเมตร และไวรัสส่วนมากอย่างเช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่และไวรัสเอชไอวี (HIV) นั้นมียีนแค่ 10 ยีนหรือน้อยกว่านั้น ทว่าไวรัสที่เพิ่งค้นใหม่นี้มียีนกว่า 2,500 ยีน

ไลฟ์ไซน์ระบุก่อนหน้านี้ราว 10 ปีที่ผ่านมา มีขนาดใหญ่กว่า 700 นาโนเมตร และมียีนมากกว่า 1,000 ยีน ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของแบคทีเรีย ทำให้ไวรัสดังกล่าวได้ชื่อว่า "มิมิไวรัส" (mimivirus) ซึ่งหมายถึงการเลียนแบบจุลินทรีย์

ส่วนไวรัสขนาดใหญ่ที่สุดที่เพิ่งค้นพบนี้ มียีนราวๆ 2,500 ยีน มีขนาดเล็กกว่าเส้นผม 100 เท่า และมองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ซึ่งต่างจากไวรัสทั่วไป

ชานทัล อาเบอร์เกล (Chantal Abergel) ผู้วิจัยและผู้อำนวยการวิจัยจากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส (French National Center for Scientific Research) ในมาร์กเซย ฝรั่งเศส กล่าวว่า การค้นพบนี้ได้เขย่าความเข้าใจพื้นฐานที่เรามีต่อไวรัส

รูปทรงของไวรัสคล้ายคลึงเหยือกของกรีกโบราณ จึงเป็นที่มาของชื่อว่า "แพนโดราไวรัส" (pandoraviruses) ซึ่งทีมวิจัยพบระหว่างการเตรียมค้นหาไวรัสใหม่ที่มียีนอยู่ในช่วง 1,000-2,000 ยีน

นักวิจัยพบไวรัส แพนโดราไวรัส ซาไลนัส (Pandoravirus salinus) ซึ่งถูกขุดพบจากปากแม่น้ำตันเควนทางชายฝั่งตอนกลางของชิลี ส่วนไวรัส แพนโดราไวรัส ดัลซิส (Pandoravirus dulcis) อีกชนิดขุดขึ้นจากใต้สระน้ำจืดในเมลเบิร์น ออสเตรเลีย

สิ่งคล้ายไวรัสแพนโดรานั้นถูกพบครั้งแรกเมื่อ 13 ปีก่อน แต่ไลฟ์ไซน์ระบุว่า ครั้งนั้นยังไม่ถูกระบุว่าเป็นไวรัส ส่วนไวรัสขนาดใหญ่ที่เพิ่งพบนี้ เดิมทีถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแบคทีเรีย ซึ่งทีมวิจัยพบอยู่ในตัวอะมีบา

หลังอะมีบากลืนกินแพนโดราไวรัสเหล่านี้เข้าไป 2-4 ชั่วโมง นิวเคลียสของอะมีบาก็เปลี่ยนรูปไปอย่างไม่เหลือเค้าเดิม แล้วที่สุดก็หายเกลี้ยง เมื่ออะมีบาตายแล้วก็มีไวรัสแพนโดราอีกประมาณ 100 ไวรัสออกมา

อย่างไรก็ดี ไลฟ์ไซน์ระบุว่า อะมีบาที่นักวิจัยใช้ในการทดลองนี้อาจจะไม่ใช่เป้าหมายในการเป็นแหล่งฝังตัวตามธรรมชาติของไวรัส โดยคาดว่าเป้าหมายหลักของไวรัสเหล่านี้น่าจะเป็นโปรโตซัวหรือสาหร่าย ซึ่งยากที่จะเลี้ยงหรือรักษาไว้ในห้องปฏิบัติการ

นักวิจัยจึงเลือกใช้โปรโตซัวแทนเพราะสามารถเบี้ยงไว้ได้ในห้องปฏิบัติการ และสวาปามสิ่งต่างๆ รอบตัวโดยได้ไม่ยั้ง และกวาดเอาทุกอย่างที่น่าจะเป็นอาหารได้เข้ามากิน จึงเป็นเป้าหมายที่ดีในการจับไวรัสยักษ์

มียีนของไวรัสแพนโดรากว่า 93% ที่เรายังไม่รู้จัก ซึ่งทำให้กำเนิดของไวรัสยังเป็นปริศนา และจากการวิเคราะห์จีโนมของพวกมันบงบอกว่า ไวรัสแพนโดรานั้นไม่ใกล้เคียงกับตระกูลไวรัสใดๆ ที่เรารู้จัก

อาเบอร์เกลกล่าวว่า ไวรัสเหล่านี้มียีนที่เราไม่รู้จักมาก่อนมากกว่า 2,000 ชนิด ในการให้รหัสสร้างโปรตีนและเอ็นไซม์ที่เราไม่ทราบว่าใช้ทำอะไร ซึ่งการไขความกระจ่างในกลไกทางชีวเคมีและกลไกควบคุมของไวรัสอาจจะเป็นเรื่องน่าสนใจยิ่งสำหรับการประยุกต์ทางไบโอเทคโนโลยีและชีวการแพทย์

"เราอยากเสนอทำโครงการศึกษาจีโนมไวรัสแพนโดราอย่างเต็มรูปแบบ" อาเบอร์เกลกล่าว

ด้าน ฌอง-มิเกล คลาวิรี (Jean-Michel Claverie) หัวหน้าห้องปฏิบัติการข้อมูลโครงสร้างและพันธุกรรม (Structural and Genomic Information Laboratory) ในมาร์กเซย ฝรั่งเศส กล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่ว่า ไวรัสแพนโดรานั้นต่างจากตระกูลไวรัสยักษ์อื่นๆ อย่างสิ้นเชิงนั้น อาจบ่งบอกถึงไวรัสยักษ์ตระกูลอื่นๆ อีกที่เรายังค้นไม่พบ

อามีบาที่ถูกไวรัสแพนโดรายึดครอง
แนบไฟล์
556000009403501.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 25 ก.ค. 2013, 09:35

~ รายงานจากการใช้เครื่องฟอกอากาศของชาร์ป ~

Dubai Healthcare City ทุ่มเทเพื่อความเป็นเลิศด้านการดูแลสุขภาพและการรักษาผู้ป่วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพต้องมีมาตรฐานคุณภาพสากลที่เข้มงวดเพื่อที่จะมาทำงานที่ Dubai Healthcare และสมาพันธ์หรือสถานรักษาทางการแพทย์ที่ซึ่งผู้ป่วยได้รับการรักษา รวมทั้งการทำงานแบบมืออาชีพทางการแพทย์ก็จำเป็นต้องมีมาตรฐานระดับเดียวกัน Dubai Healthcare City จึงมีการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ไว้ที่ห้องทำงานของแพทย์ เช่น ดร.มาร์ค (แพทย์เฉพาะทางหู คอจมูก) เพื่อช่วยลดเชื้อโรคที่มาทางอากาศที่อาจติดต่อกันได้จากผู้ป่วย และฟอกอากาศให้ปลอดจากฝุ่น แบคทีเรีย และกลิ่น Dubai Healthcare City มีระดับความพึงพอใจสูงจากผู้ป่วย ซึ่งเป็นการยืนยันคุณภาพของการดูแล สภาพแวดล้อม และการรักษาทางการแพทย์ แนวทางของ Dubai Healthcare City เรียบง่าย เพื่อที่จะเป็นผู้ให้บริการการดูแลสุขภาพที่ดีสุด ต้องเป็นผู้ส่งมอบบริการที่ดีที่สุด ให้การรักษาที่ดีที่สุด และด้วยนวัตกรรมของเทคโนโลยีที่มอบให้และสนับสนุนโดยชาร์ป Dubai Healthcare City จึงมีสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดจากมุมมองด้านอนามัยและคุณภาพอากาศ


ทำไมต้องเป็นเครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์?

ดร.มาร์ค มูลเลอร์ แพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก ของ Dubai Healthcare City เป็นผู้หนึ่งในมืออาชีพในการดูแลสุขภาพผู้ซึ่งทุ่มเทให้กับการให้บริการที่มีคุณภาพและประสิทธิผลกับผู้ป่วยของเขาทุกคน “การใช้เครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ไม่เพียงแต่จะให้สภาพแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัยกับผู้ป่วยในพื้นที่นั่งคอยในสำนักงานของผมแล้ว ยังช่วยกำจัดกลิ่นในอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฟอกอากาศทันทีเมื่อมีเชื้อโรคที่มาทางอากาศจากสภาพแวดล้อมภายนอก” การที่ Dubai Healthcare City เลือกคุณสมบัติของเครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ก็เพราะมีความสามารถได้มาตรฐานอนามัยและการดูแลสุขภาพของตามการบังคับใช้ของสมาพันธ์การแพทย์ ด้วยนวัตกรรมของเทคโนโลยีนี้ ดร.มาร์ค มูลเลอร์ และแพทย์ท่านอื่นๆ สามารถมอบสภาพแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนน้อยกว่าให้กับผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่และเป็นประโยชน์ต่อการเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน

เครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์สามารถรักษาความสะอาดและอนามัยของสภาพแวดล้อมใน Dubai Healthcare City ด้วยอากาศที่ฟอกและมีคุณภาพที่สูง ทำให้มั่นใจในสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพในการให้บริการทางการแพทย์


อะไรคือผลลัพธ์จากการใช้เครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์?

Dubai Healthcare City มีชื่อเสียงอย่างสูงด้านความเป็นเลิศในทางการแพทย์ รับรองในสุขภาพ และการพัฒนาในการบริการการแพทย์ ชื่อเสียงนี้รวมถึงความเป็นเลิศในด้านอุปกรณ์สถานที่และปัจจัยพื้นฐาน เทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสูงและความเป็นชั้นสูงของชาร์ปได้นำเสนอระบบใหม่ในการยับยั้งเชื้อไวรัสที่มาทางอากาศ ปกป้องผู้ป่วย เจ้าหน้าที่และแพทย์จากการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้จากไวรัสที่กำลังระบาดซึ่งเข้ามายังสภาพแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา

เครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ทำหน้าที่เป็นระบบบำบัดอากาศที่จำเป็นในการทำความสะอาดอากาศในสถานที่ของ Dubai Healthcare City ทันที่ที่ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศจะรู้สึกถึงความแตกต่างของคุณภาพอากาศได้ทันทีในวันแรก มีกลิ่นและฝุ่นน้อยลง รู้สึกอากาศโปร่งขึ้นและหายใจง่ายขึ้น “ผมพึงพอใจกับเครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ ผลลัพธ์ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ได้แสดงให้เห็นว่าเครื่องกรองอากาศไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ใหม่ของชาร์ปที่ให้ผลลัพธ์เยี่ยมยอด” ดร.มาร์ค มูลเลอร์กล่าว

ดร.มาร์ค และทีมงานของเขามีเครื่องฟอกอากาศของชาร์ป 2 เครื่อง ซึ่งตั้งใจวางไว้ในบริเวณที่ระบายอากาศได้ไม่ดี เป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงด้วยเชื้อโรคที่มาทางอากาศและฝุ่น เป็นต้น ตั้งแต่เริ่มใช้เทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ไม่เพียงแต่จะเป็นผลดีต่อผู้ป่วยยังช่วยให้เจ้าหน้าที่ติดเชื้อได้น้อยลงจากความเจ็บป่วยของผู้ป่วยที่นำเข้ามายังที่ทำงาน และเขาเหล่านั้นยังรู้สึกกระชุ่มกระชวยกับคุณภาพอากาศในสภาพแวดล้อมที่ทำงานอยู่ เครื่องฟอกอากาศของชาร์ปมีขนาดกะทัดรัด ง่ายต่อการติดตั้งเพื่อการใช้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล ไม่ทำให้กีดขวางในที่ทำงานทางการแพทย์ ไม่มีเสียงรบกวน คำนึงถึงความลงตัวของสภาพแวดล้อม

ดร.มาร์ค และ Dubai Healthcare City รักษาคำมั่นและพัฒนาต่อจนได้รับความเป็นเลิศในเป้าหมายทางการแพทย์ด้วยการใช้เครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ ด้วยเครื่องฟอกอากาศของชาร์ป เทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ช่วยสร้างคุณภาพชีวิต กรองอากาศในที่ทำงานทางการแพทย์ที่เต็มไปด้วยผู้คน กำจัดกลิ่นและลดผลกระทบจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสซึ่งพบและส่งต่อผ่านทางละอองในอากาศ


ในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

จากผลลัพธ์อันยอดเยี่ยมที่ได้รับจากการใช้เครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ ดร.มาร์ค มูลเลอร์ เชื่อว่าทุกบ้าน สำนักงาน โรงเรียนทั้งบริเวณสาธารณะและส่วนตัวควรนำเอานวัตกรรมทางเทคโนโลยีนี้มาใช้ในสภาพแวดล้อมของทุกคน ดร.มาร์ค ได้แนะนำเครื่องฟอกอากาศของชาร์ปให้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่มีเด็กอ่อนและผู้ที่ต้องทรมานกับโรคภูมิแพ้ ผู้ที่มีเชื้อราในบ้านควรอย่างยิ่งที่จะลงทุนกับเครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ในการทำความสะอาดอากาศในสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่เพื่อลดจำนวนสปอร์และแบคทีเรีย

เนื่องจากอากาศสดชื่นที่หาได้ยากในดูไบ ดร.มาร์ค ได้แนะนำให้ใช้เครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ ดร.มาร์ค ไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่หลอกลวงหรือไม่มีประสิทธิผล ซึ่งเป็นเหตุผลที่หนักแน่นมากขึ้นว่าทำไมเขาจึงแนะนำชาร์ปที่มีเทคโนโลยี พลาสม่าคลัสเตอร์

ด้วยการเป็นแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก ดร.มาร์ค ยืนยันว่าผู้ป่วยที่ทรมานกับการคัดจมูกหรือการแน่นจมูกจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจหรือเป็นหวัด สามารถนอนหลับได้ง่ายและดีขึ้นด้วยการใช้เครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ มันเป็นความต้องการเร่งด่วนที่จะทำให้มั่นใจถึงสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนทั้งหมด และนำสภาพแวดล้อมที่มีสุขภาพที่ดีกว่ามีอนามัยที่ดีขึ้นให้กับทุกคน เครื่องฟอกอากาศของชาร์ปที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ช่วยให้อนาคตสดใสด้วยชีวิตที่มีนวัตกรรมและสุขภาพที่ดีอันยาวนาน
แนบไฟล์
dubai1.jpg
dubai1.jpg (40.87 KiB) เปิดดู 12070 ครั้ง
dubai2.jpg
dubai2.jpg (36.86 KiB) เปิดดู 12070 ครั้ง
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 28 ก.ค. 2013, 09:21

พบเหยื่อ “ไวรัสมรณะ” คล้ายซาร์สในซาอุฯเพิ่มอีกศพ ยอดรวมทั่วโลกดับแล้ว 46 ราย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กรกฎาคม 2556 05:01 น.

เอเอฟพี/เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-ชายชาวซาอุดีอาระเบียรายหนึ่งเสียชีวิตจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัส “เอ็มอีอาร์เอส” ส่งผลให้จำนวนผู้ที่ต้องสังเวยชีวิตเพราะไวรัสมรณะชนิดนี้ในประเทศเพิ่มเป็น 39 ราย

คำแถลงของกระทรวงสาธารณสุขซาอุฯในวันเสาร์ (27) ระบุว่า ชายคนล่าสุดที่เสียชีวิตมาจากจังหวัดอาเซียร์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ขณะเดียวกันก็พบชายวัย 83 ปีอีกรายหนึ่งจากจังหวัดเดียวกันเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่

ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากเชื้อไวรัสมรณะชนิดนี้ โดยมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 39 รายจากจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลก 46 คน ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อในซาอุดีอาระเบียที่ได้รับการยืนยันแล้วก็มีถึง 68 รายจากจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก 89 คน

จนถึงขณะนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญยังคงประสบปัญหาในการหาทางรับมือกับไวรัสมรณะชนิดนี้ ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Middle East Respiratory Syndrome” ซึ่งยังคงไม่มีวัคซีนใดๆป้องกันได้ ขณะที่อัตราการเสียชีวิตหลังจากติดเชื้อมีมากกว่า 51 เปอร์เซ็นต์ และเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อจะเป็นผู้ชาย

อัตราการเสียชีวิตของไวรัส“เอ็มอีอาร์เอส”ที่สูงกว่า 51 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า มันมีความร้ายแรงมากกว่าโรคซาร์สที่เคยแพร่ระบาดครั้งแรกในเอเชียช่วงปี 2003 ที่มีผู้เสียชีวิตเพียงแค่ 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นจากจำนวนผู้ติดเชื้อ 8,273 ราย

ด้าน ดร. คริสเตียน ดรอสเทน แห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยบอนน์ในเยอรมนี ออกโรงเตือนว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสที่มีลักษณะทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับโรคซาร์สชนิดนี้ อาจเลวร้ายย่ำแย่ลงในเดือนตุลาคมที่จะมีการประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งชาวมุสลิจำนวนหลายล้านคนจากทั่วโลก จะเดินทางไปแสวงบุญในซาอุดีอาระเบีย ดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของการระบาด
แนบไฟล์
a3.jpg
a3.jpg (27.74 KiB) เปิดดู 12058 ครั้ง
a2.jpg
a2.jpg (32.82 KiB) เปิดดู 12058 ครั้ง
a1.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 30 ก.ค. 2013, 04:16

แบบจำลองให้ดูว่า พลาสม่าคลัสเตอร์ทำงานอย่างไร ในการทำลายเชื้อโรค หรือ ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นเต่งตึงขึ้นได้อย่างไร......
http://www.sharp-pci.com/th/movies/index.html

Demonstration to see how the Plasmacluster destroys airborne germ and how the Plasmacluster effects the skin moisturizing........
http://www.sharp-pci.com/en/movies/index.html
แนบไฟล์
ScreenHunter_01 Jul. 30 04.14.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 07 ส.ค. 2013, 10:11

นักวิทย์จีนพบเชื้อหวัดนก H7N9 แพร่ “จากคนสู่คน” ได้เป็นครั้งแรก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 สิงหาคม 2556 07:03 น.

เอเอฟพี - นักวิทยาศาสตร์ในจีนอ้างพบการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดนก H7N9 จากคนสู่คนเป็นกรณีแรก วานนี้(6) หลังจากที่การแพร่ระบาดของไวรัสได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปแล้วกว่า 40 คนตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา

คณะนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนเขียนในบทความที่เผยแพร่ลงวารสารออนไลน์ bmj.com ในอังกฤษว่า พัฒนาการของเชื้อไวรัสจัดว่า “น่าเป็นห่วง” แต่ยืนยันว่า H7N9 ซึ่งคาดว่ามีต้นตอจากสัตว์ปีก ยังไม่สามารถปรับตัวจนแพร่จากคนสู่คนได้อย่างกว้างขวาง

“ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป... การแพร่ของไวรัสชนิดนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก” เป่า ฉาง-จุน นักระบาดวิทยาจากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมณฑลเจียงซู ซึ่งเป็นเขตที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส H7N9 ค่อนข้างรุนแรง ให้สัมภาษณ์เอเอฟพีเกี่ยวกับงานวิจัยที่เขาร่วมเขียน

นักวิทยาศาสตร์หวั่นเกรงกันมานานว่า ไวรัส H7N9 อาจมีการกลายพันธุ์ จนสามารถแพร่จากคนสู่คนได้ในที่สุด เป่า และทีมวิจัยของเขาอ้างถึงกรณีของชายชราวัย 60 ปี ซึ่งเสียชีวิตที่โรงพยาบาลหลังได้รับเชื้อ H7N9 ต่อมาบุตรสาววัย 32 ปีที่มาเฝ้าไข้พ่ออยู่นานกว่า 1 สัปดาห์ก็ติดโรค และเสียชีวิตลงเช่นกัน เนื่องจากหญิงรายนี้ไม่เคยสัมผัสสัตว์ปีก พนักงานสอบสวนจึงสรุปว่า คำอธิบายที่สมเหตุสมผลที่สุดก็คือ “เธอได้รับเชื้อโดยตรงจากบิดาที่เข้าไปซื้อเป็ดไก่ในตลาดอยู่เป็นประจำ”

“นอกจากการสัมผัสสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของพ่อระหว่างเฝ้าไข้แล้ว ตัวลูกสาวไม่เคยสัมผัสสัตว์ปีกโดยตรง และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเธอจะได้รับเชื้อจากแหล่งอื่นๆเลย” เป่า กล่าว พร้อมเผยว่า จากการตรวจพันธุกรรมไวรัสที่พบในคนไข้ทั้ง 2 ราย พบว่า “เกือบจะเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยน”

แม้จะพบหลักฐานการแพร่เชื้อจากคนสู่คน แต่ความสามารถในการแพร่กกระจายของไวรัส “ยังอยู่ในวงจำกัดและไม่เสถียร” เนื่องจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและบุคคลอื่นๆรวม 43 รายที่เคยใกล้ชิดกับคนไข้ทั้งสอง ไม่ได้ติดเชื้อไปด้วย

“ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ภูมิไวรับทางพันธุกรรม (genetic susceptibility) อาจเป็นตัวแปรที่สำคัญ และเชื้อไข้หวัดนกอาจจะแพร่ไปสู่บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันทางพันธุกรรมได้ง่ายกว่า” ผลวิจัยระบุ

สถิติอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคมพบว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัส H7N9 แล้วทั้งสิ้น 132 รายในจีน ซึ่งในจำนวนนั้นเสียชีวิตแล้ว 43 ราย หลังพบผู้ติดเชื้อรายแรกในเดือนมีนาคม ส่วนที่ไต้หวันก็พบผู้ป่วยแล้ว 1 ราย

http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000097561
แนบไฟล์
556000010253201.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 30 ส.ค. 2013, 08:30

Two deaths, six new MERS virus cases in Saudi: WHO
Eight new cases of the deadly coronavirus MERS, a SARS-like infection, have been registered in Saudi Arabia, the World Health Organisation said on Wednesday.

Meat Pies in Japan - Steak&Cheese, Mince, Chick&Veg etc. 10 varieties delivered to your door - www.pie-mad.com
Of the eight, two men from the capital Riyadh had died, the WHO said. Both had underlying medical conditions.

Three women and three men, all from Riyadh or the southern region of Asir, have also contracted the virus, which affects the respiratory system.

In addition, a 38-year-old man who had been suffering from a lung infection died, the Saudi health ministry announced earlier Wednesday.

Saudi Arabia is the country worst hit by MERS, which has killed 49 people globally. A total of 102 cases have been registered.

Experts are struggling to understand MERS—Middle East Respiratory Syndrome—for which there is still no vaccine and which has an extremely high fatality rate of more than 51 percent.

It is considered a cousin of the SARS virus that erupted in Asia in 2003 and infected 8,273 people, nine percent of whom died.

Like SARS, MERS is thought to have jumped from animals to humans, and it shares the former's flu-like symptoms—but differs by also causing kidney failure.

According to research published this month in the American health journal Emerging Infectious Diseases, MERS was transmitted to humans from bats. But a study in the Lancet found that the virus could have come from camels.

http://medicalxpress.com/news/2013-08-d ... saudi.html
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: New air sterilizer's video from Japan >>>>>>

โพสต์โดย kiatisak » 09 ก.ย. 2013, 09:58

Two Saudi women dead from MERS-coronavirus, two men infected - Health Ministry
DUBAI | Sat Sep 7, 2013 4:42am EDT

DUBAI (Reuters) - Two Saudi women have died from the MERS coronavirus and two more have contracted the disease in Saudi Arabia, the health ministry said on Saturday, raising to 44 the number of people in the kingdom who have died from the SARS-like virus.

The World Health Organization said last month the number of confirmed infections worldwide in the past year was 102, of whom almost half have died.

The Saudi Health Ministry said in a statement one 41-year-old woman working in the health sector died in the capital Riyadh and a 79-year-old woman who had been suffering from other diseases died in Hafr al-Baten, a town in northeastern Saudi Arabia.

The ministry also reported two men aged 30 and 47 were under intensive care in Riyadh and Hafr al-Baten.

The Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus (MERS-CoV), which can cause coughing, fever and pneumonia, emerged in Saudi Arabia last year and has been reported in people in the Gulf, France, Germany, Italy, Tunisia and Britain.

In a study into what kind of animal "reservoir" may be fuelling the outbreak in humans, scientists said this month they had found strong evidence it is widespread among dromedary camels in the Middle East.

The WHO, a U.N. agency, has not recommended any travel restrictions but has urged health authorities worldwide to maintain vigilance. Recent travelers returning from the Middle East who develop severe respiratory infections should be tested for MERS-CoV, it said.

(Reporting by Sami Aboudi; Editing by Angus MacSwan)
แนบไฟล์
ScreenHunter_02 Sep. 09 04.05.jpg
ScreenHunter_01 Sep. 09 04.05.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง คาปูชิโน

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document