New Document









แพทยสภาล่าหมื่นชื่อ ปลดแอกขรก.จาก กพ.

ข่าวสารสาธารณสุข

แพทยสภาล่าหมื่นชื่อ ปลดแอกขรก.จาก กพ.

โพสต์โดย นายปิงปอง » 29 มิ.ย. 2010, 00:37

"ลูกจ้างชั่วคราวที่มีกว่า 20,000 คน เงินเดือนก็ไม่ขึ้น อาชีพไม่มีความก้าวหน้า สวัสดิการไม่ดี เสี่ยงต่อความผิดพลาด ดังนั้นเมื่อกพ.ไม่ยอมอนุมัติให้บรรจุข้าราชการ จึงต้องมีการปฏิรูประบบราชการของสธ.ออกจาก กพ."

โดย... ธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน


พลันที่พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 บังคับใช้ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขมากยิ่งขึ้นนั้น กลับเป็นการสร้างปัญหาแก่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะผู้รับผิดชอบหลัก

ด้วยภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งสวนทางกับปริมาณบุคลากรที่มีอยู่ ประกอบกับการบริหารงานของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ที่มี ข้อจำกัดเรื่องการเพิ่มอัตรากำลังคน การเพิ่มค่าตอบแทนเพื่อจูงใจและการสร้างขวัญกำลังใจ

ยังผลให้กำลังคนขาดแคลน งบประมาณด้านบริหารสะดุด กระทบกับมาตรฐานคุณภาพการบริการ ร้ายแรงถึงขั้นเกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน จนปรากฏกรณีคดีความฟ้องร้องระหว่างคนไข้กับบุคคลากรทางการแพทย์ให้เห็นอย่าง ชินตา

ทางออกของปัญหาสะท้อนผ่านผลึกทางความคิดของบุคลากรสาธารณสุข ภายใต้การขับเคลื่อนของแพทยสภา คือ การแยกข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขออก จาก กพ.

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ใน ภาคราชการ แพทยสภา เล่าว่า ตั้งแต่มี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หน่วยงานด้านสาธารณสุขต้องรับบทหนักมาก เมื่อเกิดความผิดพลาดในการรักษาก็ถูกฟ้องร้องได้อีก ทั้งนี้ยังพบว่าสธ.ยังขาดบุคลากรประจำเป็นจำนวนมาก ในขณะที่กพ.ไม่ยอมอนุมัติให้เพิ่มจำนวน

?ตอนนี้ไม่มีบรรจุเลย มีแต่ลูกจ้างชั่วคราว 20,000 คน เงินเดือนก็ไม่ขึ้น อาชีพไม่มีความก้าวหน้า สวัสดิการไม่ดี เสี่ยงต่อความผิดพลาด ดังนั้นเมื่อกพ.ไม่ยอมอนุมัติให้บรรจุข้าราชการ จึงต้องมีการปฏิรูประบบราชการของสธ.ออกจาก กพ.? พญ.เชิด ชู กล่าว

นพ.ประทีป เมฆประสาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูเขียว อธิบายว่า สาเหตุที่สธ.จะไม่ใช้บริการของกพ. เนื่องมาจาก สธ.มีบุคลากรหลากหลายวิชาชีพและสายวิชาชีพมากที่สุด โดยเป็นการให้บริการแก่บุคคลทุกสัญชาติตามหลักมนุษยธรรม แต่อย่างไรก็ตามจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นเหตุให้กพ.ประกาศลดวงเงินที่จะนำมาจ่ายเป็นเงินเดือนแก่ข้าราชการสธ.ลง พร้อมกันนี้ปี 2545 มีการใช้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงเกิดปัญหาอย่างรุนแรง

?ปัญหาคือเมื่อประกาศใช้พ.ร.บ. นี้แล้ว การกระจายตัวเพื่อใช้บริการกลับไม่กว้างขวาง ทำให้งบประมาณกระจุกตัว กลายเป็นภาวะบุคลากรสมองไหล คือย้ายไปทำในที่ๆ ดีกว่า ส่วนผู้ที่ยังอยู่ที่เดิมก็ต้องแบกภาระหนักกว่าเก่า และเกิดความผิดพลาดในการทำงานในที่สุด?

สำหรับแนวทางแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า สธ.ได้พิจารณาใน 3 แนวทาง คือ 1.อยู่ในระบบกพ.เหมือนเดิมแต่ต้องมีการต่อรองกับรัฐบาลในลักษณะปีต่อปี 2.พิจารณาว่าจะแยกออกจากกพ.หรือไม่ และ 3.ตั้งกองทุนของสธ.คล้ายกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งมีการสมทบจ่ายระหว่างภาครัฐกับเจ้าหน้าที่ โดยผู้ที่อยู่ในระบบจะได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ 1.5 เท่า และยังมีเงินที่ได้หลังเกษียณอีกด้วย

"ได้ตั้งคณะทำงาน 1 ชุด มีนพ.เสรี หงษ์หยก รองปลัดกระทรวงสธ. เป็นประธาน โดยมีตัวแทนจากทุกสาขาวิชาชีพมาร่วมศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้มีบุคคลากรอย่างเพียงพอและมีความสุข เมื่อศึกษาข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางแล้ว จะมีการทำประชาพิจาร์ต่อไป"ปลัดสธ.กล่าว

การแก้ปัญหาเรื่องผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า นพ.ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ สาธารณสุขนิเทศก์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจราชการสาธารณสุข เขต 3 กล่าวว่า ต้องมีการจ่ายผลตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขใน 3 ส่วน คือ 1.เงินเดือนประจำ ซึ่งต้องปรับขึ้นตามอายุราชการ 2.เงินเพิ่มพิเศษ จ่ายเท่ากัน พิจารณาตามพื้นที่ทำงานและสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน ซึ่งจะจูงใจให้บุคลากรอยู่ในระบบราชการ 3.เงินเพิ่ม พิเศษจ่ายตามภาระงาน

ทั้งนี้ต้องเป็นการจ่ายแบบปีต่อปีและครอบคลุมทุกคนในวิชาชีพ แต่อาจจะได้ไม่เท่ากันบ้าง อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2554 จะของบกลางอีก 5,000 ล้าน เพื่อนำมาจ่ายในส่วนนี้

ส่วนการดำเนินการหลังจากนี้ นายสุกฤษดิ์ ศรีวรพันธุ์ นักกฎหมาย แนะนำว่า เมื่อกพ.ยังไม่อนุมัติตำแหน่ง 20,000 ตำแหน่งให้แก่สธ. ซึ่งจะกระทบต่อทุกส่วน ย่อมเท่ากับว่ารัฐไม่สามารถให้บริการสาธารณะด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนได้ ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนทำได้ในตอนนี้คือการเข้าชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข ตามกรอบรัฐธรรมนูญปี 2550

ล่าสุดมติของที่ประชุม ?การแยกข้าราชการและบุคลากรของกระทรวง สาธารณสุขออกจาก กพ.? ซึ่งมีข้าราชการเข้าร่วมกว่า 500 ชีวิต เห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกันว่าควรออกจากระบบของ กพ. พร้อมกันนี้ยังได้แจกแบบฟอร์มเข้าชื่อเสนอกฎหมาย และร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฯ ให้ศึกษาอีกด้วย

http://webcache.googleusercontent.com/s ... clnk&gl=th
นายปิงปอง
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 00:44







Re: แพทยสภาล่าหมื่นชื่อ ปลดแอกขรก.จาก กพ.

โพสต์โดย นายปิงปอง » 29 มิ.ย. 2010, 00:38

หัวข้อ: ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขต้องการการแยกออกจาก กพ.เพราะอะไร-นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: pradit ที่ 20 มิถุนายน 2553, 23:13:59
ในปัจจุบัน การบริการการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยประสบปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจาก ผู้ป่วยที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลของรัฐ มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก และลักษณะของความเจ็บป่วยมีความซับซ้อนที่ยากแก่การรักษามากขึ้น แต่การเพิ่มของบุคลากรทางการแพทย์ ไม่สัมพันธ์และไม่สอดคล้องกับภาระงานที่เปลี่ยนแปลงไป

ยกตัวอย่างจำนวนแพทย์และพยาบาล ซึ่งเป็นบุคคลากรหลักของการดูแลรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ ป่วย นับตั้งแต่ ปีพ.ศ.๒๕๔๕ถึงปีพ.ศ.๒๕๕๑ เวลา๗ปี จำนวนผู้ป่วยมากกว่าเดิม ถึง๔๐ล้านครั้งสำหรับผู้ป่วยนอกและ๓.๖๕ล้านครั้งของผู้ป่วยในที่รับเข้า รักษาในโรงพยาบาลของรัฐ แต่จำนวนแพทย์และพยาบาล เพิ่มขึ้นไม่กี่พันคน

ปีพ.ศ. ผู้ป่วยนอก(ครั้ง) ผู้ป่วยใน(ครั้ง) จำนวนแพทย์ จำนวนพยาบาล
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

๒๕๕๑ ๑๔๐.๐๗ ล้าน ๙.๔๙ ล้าน ๑๑,๘๔๑ คน ๘๘,๑๕๓ คน

๒๕๔๕ ๙๙.๓๒ ล้าน ๕.๘๔ ล้าน ๘,๘๒๑ คน ๘๒,๓๕๒ คน

ระยะเวลา๖ปี ๔๐.๗๕ ล้าน ๓.๖๕ ล้าน ๓,๐๒๐ คน ๕,๘๐๑ คน

ข้อมูลรวบรวมจาก http://bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=5
๑๖มิ.ย.๕๓

จึงทำให้ปัญหา การขาดแคลนบุคลากรทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหามาตรฐานและคุณภาพการบริการประชาชนลดลงและเร่งรีบ เป็นเหตุให้เกิดสิ่งไม่พึงประสงค์ การทำงานดูแลผู้ป่วยซึ่งเดิมมีความขาดแคลนทั้ง คน เครื่องมือ และงบประมาณอยู่แล้ว แต่จากนโยบายปรับลดจำนวนข้าราชการ ทำให้ต้องเลี่ยงมาเป็นการเพิ่มลูกจ้าง ซึ่งไม่เกิดผลดีแก่ราชการและประชาชน ไม่ประหยัดงบประมาณของรัฐด้านเงินเดือนข้าราชการ เพราะต้องไปเพิ่มในส่วนของลูกจ้าง เพราะระบบงานต้องการผู้ปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้นให้สัมพันธ์สอดคล้องกับภาระ งานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้พยาบาลจำนวนกว่าหมื่นคนและบุคลากรสาขาวิชาชีพต่างๆ ที่เป็นลูกจ้างรอการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ขาดขวัญกำลังใจ ขาดความมั่นคงในหน้าที่การงาน ทำงานกันอย่างไม่มีความสุข ปัญหาขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลของรัฐ แพทย์เฉพาะทางที่เรียนจบมา ส่วนหนึ่งต้องไปอยู่โรงพยาบาลในสังกัดอื่นหรือเอกชน ด้วยเหตุผลเพราะว่ากระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถหาตำแหน่งบรรจุเป็นข้าราชการ ให้ได้ การผลิตแพทย์และพยาบาลให้แก่โรงพยาบาลของรัฐที่ขาดแคลน กลับกลายเป็นการผลิตให้โรงพยาบาลหน่วยงานนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและเอกชน ส่งผลให้เกิดภาวะสมองไหลออกจากระบบของกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้น



ปัญหาเกิดขึ้นจาก การกำหนดนโยบายด้านอัตรากำลัง อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ที่ต้องการพัฒนาระบบราชการไทย มีการพัฒนาให้ส่วนราชการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง พัฒนาข้าราชการให้เป็นทุนมนุษย์ และพยายามนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ นับเป็นการบริหารราชการที่ล้ำหน้าประเทศต่างๆทั่วโลก แต่การออกนโยบายลดจำนวนข้าราชการก่อนที่คนจะเป็นทุนมนุษย์ ก่อนที่ส่วนราชการจะเป็นองค์กรสมรรถนะสูง กพ.และกพร.กลับไม่ได้คำนึงถึงหลักการบริการสาธารณะและความเป็นจริง

การแพทย์และสาธารณสุข เป็นบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขที่รัฐต้องจัดให้แก่ประชาชน มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ ได้แก่

๑.) ประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้บริการสาธารณะอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม

๒.) การบริการสาธารณะต้องมีความต่อเนื่อง ไม่ใช่การจัดให้เป็นครั้งคราว

๓.) ปรับเปลี่ยนได้ตามสภาวการณ์ของประชาชนผู้ใช้บริการ มีการพัฒนาทั้งปริมาณและคุณภาพของบริการ

แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลายฉบับ เช่น พรบ.มหาวิทยาลัยต่างๆ, พรบ.กตร., พรบ.กลาโหม, พรบ.กทม.,พรบ.พัทยา และพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นต้น แต่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ภายใต้พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ นับเป็นแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ ที่ได้รับการดูแลจากรัฐอย่างแย่ที่สุด เมื่อเทียบกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ภายใต้พรบ.อื่น

บริการทางการแพทย์ มี ๗๕ส าขาและอนุสาขา ซึ่งแพทย์ต่างสาขาใช้แทนกันไม่ได้ การผ่าตัด๑รายไม่ใช้แพทย์หรือพยาบาลคนเดียว บริการทางการแพทย์บางงานใช้หมอคนเดียว บางงานใช้หมอหลายคน การรับมือโรคภัยกว่า๒,๐๐๐โรคในประเทศไทยต้องออกแบบบริการตามข้อมูลพื้นฐาน ของพื้นที่ ไม่ใช่การนับจำนวนตามอัตราส่วนประชากรอย่างที่กพ.ชอบใช้ การจัดสรรอัตรากำลังไม่ใช่การจัดตามจำนวนประชากร แต่ควรจัดตามจำนวนและชนิดของภาระงานหรือผู้ป่วย ต้องสอดคล้องกับความต้องการตามฐานข้อมูลโรคและจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ การจัดสรรควรจัดเป็นชุดบริการ เช่น การจัดแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่มีสถิติอุบัติเหตุสูง ควรจัดเป็นชุด ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ศัลยแพทย์ทั่วไป ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ วิสัญญีแพทย์ พยาบาลช่วยผ่าตัด พยาบาลวิสัญญี พยาบาลห้องฉุกเฉิน พร้อมกับชุดห้องผ่าตัด เครื่องมือและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นทุกชนิด จึงจะสามารถบริการผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุได้ นั่นคือองค์ประกอบของชุดบริการซึ่งต้องจัดให้ หากจัดเพียงบางคนบางส่วนก็ทำงานไม่ได้ อีกทั้ง ยังต้องคำนึงถึงคุณค่าของบุคลากรทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่แค่จำนวนบุคคลากรที่เพียงพอ ยังต้องคำนึงถึงคุณภาพของทีมด้วย คุณภาพของทีมที่จะดูแลประชาชนนั้นก็มาจากการมีคุณภาพชีวิตที่ดี การทำงานที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ให้บริการจะทำให้การบริการมีคุณภาพลดลง จำนวนบุคลากรที่จัดให้ก็ควรครอบคลุมเวลาผลัดละ๘ชั่วโมง วันละ๓ผลัด สัปดาห์ละ๗วัน ปีละ๓๖๕วัน คนๆหนึ่งจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้กี่ชั่วโมง การคิดชั่วโมงทำงานเป็นสิ่งจำเป็น หากการทำงานที่ไม่สามารถจัดสรรช่วงเวลาพักผ่อนให้เหมาะสม ก็จะส่งผลถึงคุณภาพบริการที่ประชาชนจะได้รับ



การบริหารงานบุคคล การพัฒนาทุนมนุษย์ และการพัฒนาระบบราชการ จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ หากยึดติดเพียงนโยบายลดจำนวนข้าราชการด้วยหวังจะลดงบประมาณด้านเงินเดือนข้า ราชการแล้ว แต่กลับไปจ่ายเพิ่มในการจ้างลูกจ้างมาทำหน้าที่แพทย์ พยาบาล และสาขาวิชาชีพอื่น ไม่ได้เป็นการลดการใช้งบประมาณ แต่ เป็นการลดขวัญกำลังใจ ลดคุณภาพชีวิตของผู้ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย การดำเนินงานเช่นนั้น ไม่มีประโยชน์ใด แต่ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการพัฒนาระบบราชการและการพัฒนาหน่วยงานที่มุ่ง หวังให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง อีกทั้งจะล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน เนื่องจากผู้ให้การดูแลประชาชน ไม่ได้รับการดูแลอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับบุคลากรทางการแพทย์ในสังกัดนอก ความรับผิดชอบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน


นอกจากการจัดชุดผู้ให้บริการไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่ อย่างเหมาะสมแล้ว กพ.และกพร.ยังต้องคำนึงถึงการจัดเส้นทางเดินในชีวิตราชการของบุคลากรใน กระทรวงสาธารณสุขด้วย อีกทั้งผู้บริหารระดับสูงควรได้พินิจพิจารณาการแก้ปัญหาความขาดแคลนแพทย์ สาขาต่างๆ ซึ่งแพทยสภาสามารถจัดให้มีการฝึกอบรมเฉพาะทางได้ถึงปีละ๒,๐๐๐ตำแหน่งแต่ กระทรวงสาธารณสุขกลับจัดสรรทุนให้แพทย์ไปเรียนเพียงปีละ๖๐๐-๘๐๐ตำแหน่ง กระทรวงสาธารณสุขและกพ.จะต้องจัดระบบให้ตอบสนองความต้องการของพื้นที่ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพกว่านี้ การบริหารงานบุคคลต้องสามารถดึงดูดบุคคลากรไว้ในกระทรวงได้ ไม่ให้เกิดสมองไหลไปสังกัดอื่น เพราะแพทย์จบเฉพาะทางกว่า๘๕%เรียนจบแล้วเข้าหากระทรวงสาธารณสุข ก่อนที่จะไปอยู่สังกัดอื่นหรือเอกชนซึ่งมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

การแก้ไขปัญหาของการบริหารงานบุคคลนี้ อาจไม่จำเป็นที่กระทรวงสาธารณสุขต้องออกจากกพ. ถ้า กพ.สามารถปรับตัวแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่

๑.พยาบาลและวิชาชีพอื่นที่เป็นลูกจ้างกว่า๑หมื่นตำแหน่ง ทุกคนได้รับการบรรจุ ทันที

๒.พยาบาลเทคนิคที่เรียนปรับวุฒิเป็นพยาบาลวิชาชีพได้รับเงินเดือนอย่างเป็น ธรรม ต้องไม่ถูกลดเงินเดือน

๓.ทุกสาขาวิชาชีพที่เป็นลูกจ้างรอตำแหน่งข้าราชการ ได้รับการบรรจุแต่งตั้งทุกคน

๔.แพทย์และสาขาวิชาชีพอื่นที่เรียนจบเฉพาะทาง เมื่อเรียนจบมีตำแหน่งบรรจุเป็นข้าราชการ ทันที

๕.เลิกพูดเรื่องอัตราส่วนแพทย์หรือวิชาชีพอื่นต่อจำนวนประชากร GISก็เลิกพูด ให้เทียบกับภาระงาน

๖.กพ.ควรเชิญผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดูแลระบบบริหารงานบุคคลของกระทรวงสาธารณสุข เพราะกพ.ไม่เข้าใจระบบที่มีความซับซ้อนของกระทรวงสาธารณสุข

หากกพ.ปรับตัวได้ กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่จำเป็นต้องออกจากกพ. แต่หากปรับตัวไม่ได้ ก็เป็นความจำเป็นของกระทรวงสาธารณสุข ที่จะต้องขอออกจากการบริหารงานบุคคลของกพ.และการพัฒนาระบบราชการของกพร.

ยุทธศาสตร์การแยกข้าราชการและบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุข ออกมาเป็นกระทรวงภายใต้พรบ.ของตนเอง ให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถกำหนดกรอบอัตรากำลังได้เอง อย่างสอดคล้องกับภาระงานจริง เพื่อให้ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขสามารถดูแลประชาชนได้ อย่างมีมาตรฐาน มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด มีข้อเสนอทางยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้

๑.ทำความเข้าใจกับสังคมและประชาชน ให้ทราบว่า การเกิดปัญหาเรื่องอัตรากำลังส่งผลให้คุณภาพการรักษา ประสิทธิภาพการทำงาน และประสิทธิผลที่ต้องการนั้นจะเป็นไปได้ยาก เป็นผลเสียแก่ประชาชน

๒.ใช้ข้อเท็จจริงในการแก้ปัญหา การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหานี้เป็นการแก้ไขไม่ให้ผลเสียไปตกแก่ประชาชน

๓.การทำความเข้าใจกับข้าราชการและบุคลากร ในเนื้อหาของร่างกฎหมายที่ต้องการมีความเข้าใจที่ตรงกัน รวมตัวกันเป็นเครือข่ายการขับเคลื่อนและดำเนินการ มีการศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำเนื้อหาประกอบเหตุผลอธิบายแก่รัฐสภาถึงความจำ เป็นในการแยกตัวออกจาก กพ. อย่างเป็นรูปธรรม

๔.กระบวนการขับเคลื่อนควรมีการดำเนินการอย่างมีขั้นตอน หากยื่นร่างพรบ.เข้าสภาได้แล้ว ควรมีตัวแทนไปร่วมแปรญัติในชั้นกรรมาธิการ

จาก... เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เรื่อง การแยกข้าราชการและบุคคลากรกระทรวงสาธารณสุขออกจากกพ. วันที่๑๗มิถุนายน๒๕๕๓ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร อาคาร๗ชั้น๙ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
นายปิงปอง
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 00:44

Re: แพทยสภาล่าหมื่นชื่อ ปลดแอกขรก.จาก กพ.

โพสต์โดย นายปิงปอง » 29 มิ.ย. 2010, 00:38

หัวข้อ: ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขต้องการการแยกออกจาก กพ.เพราะอะไร-นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: pradit ที่ 20 มิถุนายน 2553, 23:13:59
ในปัจจุบัน การบริการการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยประสบปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจาก ผู้ป่วยที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลของรัฐ มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก และลักษณะของความเจ็บป่วยมีความซับซ้อนที่ยากแก่การรักษามากขึ้น แต่การเพิ่มของบุคลากรทางการแพทย์ ไม่สัมพันธ์และไม่สอดคล้องกับภาระงานที่เปลี่ยนแปลงไป

ยกตัวอย่างจำนวนแพทย์และพยาบาล ซึ่งเป็นบุคคลากรหลักของการดูแลรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ ป่วย นับตั้งแต่ ปีพ.ศ.๒๕๔๕ถึงปีพ.ศ.๒๕๕๑ เวลา๗ปี จำนวนผู้ป่วยมากกว่าเดิม ถึง๔๐ล้านครั้งสำหรับผู้ป่วยนอกและ๓.๖๕ล้านครั้งของผู้ป่วยในที่รับเข้า รักษาในโรงพยาบาลของรัฐ แต่จำนวนแพทย์และพยาบาล เพิ่มขึ้นไม่กี่พันคน

ปีพ.ศ. ผู้ป่วยนอก(ครั้ง) ผู้ป่วยใน(ครั้ง) จำนวนแพทย์ จำนวนพยาบาล
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

๒๕๕๑ ๑๔๐.๐๗ ล้าน ๙.๔๙ ล้าน ๑๑,๘๔๑ คน ๘๘,๑๕๓ คน

๒๕๔๕ ๙๙.๓๒ ล้าน ๕.๘๔ ล้าน ๘,๘๒๑ คน ๘๒,๓๕๒ คน

ระยะเวลา๖ปี ๔๐.๗๕ ล้าน ๓.๖๕ ล้าน ๓,๐๒๐ คน ๕,๘๐๑ คน

ข้อมูลรวบรวมจาก http://bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=5
๑๖มิ.ย.๕๓

จึงทำให้ปัญหา การขาดแคลนบุคลากรทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหามาตรฐานและคุณภาพการบริการประชาชนลดลงและเร่งรีบ เป็นเหตุให้เกิดสิ่งไม่พึงประสงค์ การทำงานดูแลผู้ป่วยซึ่งเดิมมีความขาดแคลนทั้ง คน เครื่องมือ และงบประมาณอยู่แล้ว แต่จากนโยบายปรับลดจำนวนข้าราชการ ทำให้ต้องเลี่ยงมาเป็นการเพิ่มลูกจ้าง ซึ่งไม่เกิดผลดีแก่ราชการและประชาชน ไม่ประหยัดงบประมาณของรัฐด้านเงินเดือนข้าราชการ เพราะต้องไปเพิ่มในส่วนของลูกจ้าง เพราะระบบงานต้องการผู้ปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้นให้สัมพันธ์สอดคล้องกับภาระ งานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้พยาบาลจำนวนกว่าหมื่นคนและบุคลากรสาขาวิชาชีพต่างๆ ที่เป็นลูกจ้างรอการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ขาดขวัญกำลังใจ ขาดความมั่นคงในหน้าที่การงาน ทำงานกันอย่างไม่มีความสุข ปัญหาขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลของรัฐ แพทย์เฉพาะทางที่เรียนจบมา ส่วนหนึ่งต้องไปอยู่โรงพยาบาลในสังกัดอื่นหรือเอกชน ด้วยเหตุผลเพราะว่ากระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถหาตำแหน่งบรรจุเป็นข้าราชการ ให้ได้ การผลิตแพทย์และพยาบาลให้แก่โรงพยาบาลของรัฐที่ขาดแคลน กลับกลายเป็นการผลิตให้โรงพยาบาลหน่วยงานนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและเอกชน ส่งผลให้เกิดภาวะสมองไหลออกจากระบบของกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้น



ปัญหาเกิดขึ้นจาก การกำหนดนโยบายด้านอัตรากำลัง อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ที่ต้องการพัฒนาระบบราชการไทย มีการพัฒนาให้ส่วนราชการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง พัฒนาข้าราชการให้เป็นทุนมนุษย์ และพยายามนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ นับเป็นการบริหารราชการที่ล้ำหน้าประเทศต่างๆทั่วโลก แต่การออกนโยบายลดจำนวนข้าราชการก่อนที่คนจะเป็นทุนมนุษย์ ก่อนที่ส่วนราชการจะเป็นองค์กรสมรรถนะสูง กพ.และกพร.กลับไม่ได้คำนึงถึงหลักการบริการสาธารณะและความเป็นจริง

การแพทย์และสาธารณสุข เป็นบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขที่รัฐต้องจัดให้แก่ประชาชน มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ ได้แก่

๑.) ประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้บริการสาธารณะอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม

๒.) การบริการสาธารณะต้องมีความต่อเนื่อง ไม่ใช่การจัดให้เป็นครั้งคราว

๓.) ปรับเปลี่ยนได้ตามสภาวการณ์ของประชาชนผู้ใช้บริการ มีการพัฒนาทั้งปริมาณและคุณภาพของบริการ

แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลายฉบับ เช่น พรบ.มหาวิทยาลัยต่างๆ, พรบ.กตร., พรบ.กลาโหม, พรบ.กทม.,พรบ.พัทยา และพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นต้น แต่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ภายใต้พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ นับเป็นแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ ที่ได้รับการดูแลจากรัฐอย่างแย่ที่สุด เมื่อเทียบกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ภายใต้พรบ.อื่น

บริการทางการแพทย์ มี ๗๕ส าขาและอนุสาขา ซึ่งแพทย์ต่างสาขาใช้แทนกันไม่ได้ การผ่าตัด๑รายไม่ใช้แพทย์หรือพยาบาลคนเดียว บริการทางการแพทย์บางงานใช้หมอคนเดียว บางงานใช้หมอหลายคน การรับมือโรคภัยกว่า๒,๐๐๐โรคในประเทศไทยต้องออกแบบบริการตามข้อมูลพื้นฐาน ของพื้นที่ ไม่ใช่การนับจำนวนตามอัตราส่วนประชากรอย่างที่กพ.ชอบใช้ การจัดสรรอัตรากำลังไม่ใช่การจัดตามจำนวนประชากร แต่ควรจัดตามจำนวนและชนิดของภาระงานหรือผู้ป่วย ต้องสอดคล้องกับความต้องการตามฐานข้อมูลโรคและจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ การจัดสรรควรจัดเป็นชุดบริการ เช่น การจัดแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่มีสถิติอุบัติเหตุสูง ควรจัดเป็นชุด ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ศัลยแพทย์ทั่วไป ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ วิสัญญีแพทย์ พยาบาลช่วยผ่าตัด พยาบาลวิสัญญี พยาบาลห้องฉุกเฉิน พร้อมกับชุดห้องผ่าตัด เครื่องมือและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นทุกชนิด จึงจะสามารถบริการผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุได้ นั่นคือองค์ประกอบของชุดบริการซึ่งต้องจัดให้ หากจัดเพียงบางคนบางส่วนก็ทำงานไม่ได้ อีกทั้ง ยังต้องคำนึงถึงคุณค่าของบุคลากรทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่แค่จำนวนบุคคลากรที่เพียงพอ ยังต้องคำนึงถึงคุณภาพของทีมด้วย คุณภาพของทีมที่จะดูแลประชาชนนั้นก็มาจากการมีคุณภาพชีวิตที่ดี การทำงานที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ให้บริการจะทำให้การบริการมีคุณภาพลดลง จำนวนบุคลากรที่จัดให้ก็ควรครอบคลุมเวลาผลัดละ๘ชั่วโมง วันละ๓ผลัด สัปดาห์ละ๗วัน ปีละ๓๖๕วัน คนๆหนึ่งจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้กี่ชั่วโมง การคิดชั่วโมงทำงานเป็นสิ่งจำเป็น หากการทำงานที่ไม่สามารถจัดสรรช่วงเวลาพักผ่อนให้เหมาะสม ก็จะส่งผลถึงคุณภาพบริการที่ประชาชนจะได้รับ



การบริหารงานบุคคล การพัฒนาทุนมนุษย์ และการพัฒนาระบบราชการ จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ หากยึดติดเพียงนโยบายลดจำนวนข้าราชการด้วยหวังจะลดงบประมาณด้านเงินเดือนข้า ราชการแล้ว แต่กลับไปจ่ายเพิ่มในการจ้างลูกจ้างมาทำหน้าที่แพทย์ พยาบาล และสาขาวิชาชีพอื่น ไม่ได้เป็นการลดการใช้งบประมาณ แต่ เป็นการลดขวัญกำลังใจ ลดคุณภาพชีวิตของผู้ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย การดำเนินงานเช่นนั้น ไม่มีประโยชน์ใด แต่ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการพัฒนาระบบราชการและการพัฒนาหน่วยงานที่มุ่ง หวังให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง อีกทั้งจะล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน เนื่องจากผู้ให้การดูแลประชาชน ไม่ได้รับการดูแลอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับบุคลากรทางการแพทย์ในสังกัดนอก ความรับผิดชอบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน


นอกจากการจัดชุดผู้ให้บริการไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่ อย่างเหมาะสมแล้ว กพ.และกพร.ยังต้องคำนึงถึงการจัดเส้นทางเดินในชีวิตราชการของบุคลากรใน กระทรวงสาธารณสุขด้วย อีกทั้งผู้บริหารระดับสูงควรได้พินิจพิจารณาการแก้ปัญหาความขาดแคลนแพทย์ สาขาต่างๆ ซึ่งแพทยสภาสามารถจัดให้มีการฝึกอบรมเฉพาะทางได้ถึงปีละ๒,๐๐๐ตำแหน่งแต่ กระทรวงสาธารณสุขกลับจัดสรรทุนให้แพทย์ไปเรียนเพียงปีละ๖๐๐-๘๐๐ตำแหน่ง กระทรวงสาธารณสุขและกพ.จะต้องจัดระบบให้ตอบสนองความต้องการของพื้นที่ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพกว่านี้ การบริหารงานบุคคลต้องสามารถดึงดูดบุคคลากรไว้ในกระทรวงได้ ไม่ให้เกิดสมองไหลไปสังกัดอื่น เพราะแพทย์จบเฉพาะทางกว่า๘๕%เรียนจบแล้วเข้าหากระทรวงสาธารณสุข ก่อนที่จะไปอยู่สังกัดอื่นหรือเอกชนซึ่งมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

การแก้ไขปัญหาของการบริหารงานบุคคลนี้ อาจไม่จำเป็นที่กระทรวงสาธารณสุขต้องออกจากกพ. ถ้า กพ.สามารถปรับตัวแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่

๑.พยาบาลและวิชาชีพอื่นที่เป็นลูกจ้างกว่า๑หมื่นตำแหน่ง ทุกคนได้รับการบรรจุ ทันที

๒.พยาบาลเทคนิคที่เรียนปรับวุฒิเป็นพยาบาลวิชาชีพได้รับเงินเดือนอย่างเป็น ธรรม ต้องไม่ถูกลดเงินเดือน

๓.ทุกสาขาวิชาชีพที่เป็นลูกจ้างรอตำแหน่งข้าราชการ ได้รับการบรรจุแต่งตั้งทุกคน

๔.แพทย์และสาขาวิชาชีพอื่นที่เรียนจบเฉพาะทาง เมื่อเรียนจบมีตำแหน่งบรรจุเป็นข้าราชการ ทันที

๕.เลิกพูดเรื่องอัตราส่วนแพทย์หรือวิชาชีพอื่นต่อจำนวนประชากร GISก็เลิกพูด ให้เทียบกับภาระงาน

๖.กพ.ควรเชิญผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดูแลระบบบริหารงานบุคคลของกระทรวงสาธารณสุข เพราะกพ.ไม่เข้าใจระบบที่มีความซับซ้อนของกระทรวงสาธารณสุข

หากกพ.ปรับตัวได้ กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่จำเป็นต้องออกจากกพ. แต่หากปรับตัวไม่ได้ ก็เป็นความจำเป็นของกระทรวงสาธารณสุข ที่จะต้องขอออกจากการบริหารงานบุคคลของกพ.และการพัฒนาระบบราชการของกพร.

ยุทธศาสตร์การแยกข้าราชการและบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุข ออกมาเป็นกระทรวงภายใต้พรบ.ของตนเอง ให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถกำหนดกรอบอัตรากำลังได้เอง อย่างสอดคล้องกับภาระงานจริง เพื่อให้ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขสามารถดูแลประชาชนได้ อย่างมีมาตรฐาน มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด มีข้อเสนอทางยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้

๑.ทำความเข้าใจกับสังคมและประชาชน ให้ทราบว่า การเกิดปัญหาเรื่องอัตรากำลังส่งผลให้คุณภาพการรักษา ประสิทธิภาพการทำงาน และประสิทธิผลที่ต้องการนั้นจะเป็นไปได้ยาก เป็นผลเสียแก่ประชาชน

๒.ใช้ข้อเท็จจริงในการแก้ปัญหา การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหานี้เป็นการแก้ไขไม่ให้ผลเสียไปตกแก่ประชาชน

๓.การทำความเข้าใจกับข้าราชการและบุคลากร ในเนื้อหาของร่างกฎหมายที่ต้องการมีความเข้าใจที่ตรงกัน รวมตัวกันเป็นเครือข่ายการขับเคลื่อนและดำเนินการ มีการศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำเนื้อหาประกอบเหตุผลอธิบายแก่รัฐสภาถึงความจำ เป็นในการแยกตัวออกจาก กพ. อย่างเป็นรูปธรรม

๔.กระบวนการขับเคลื่อนควรมีการดำเนินการอย่างมีขั้นตอน หากยื่นร่างพรบ.เข้าสภาได้แล้ว ควรมีตัวแทนไปร่วมแปรญัติในชั้นกรรมาธิการ

จาก... เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เรื่อง การแยกข้าราชการและบุคคลากรกระทรวงสาธารณสุขออกจากกพ. วันที่๑๗มิถุนายน๒๕๕๓ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร อาคาร๗ชั้น๙ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
นายปิงปอง
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 00:44

Re: แพทยสภาล่าหมื่นชื่อ ปลดแอกขรก.จาก กพ.

โพสต์โดย นายปิงปอง » 29 มิ.ย. 2010, 00:42

อย่างน้อยเภสัชกร ก็ต้องช่วยเป็นแรงอีกแรงหนึ่งนะครับ

ผมคิดว่า ถ้าเรา เรียกร้องอย่างจริงจังกันจริงๆ ก็คงจะได้ตามที่เราหวัง

หวังว่าอยากเป็นราชการ

อยากก้าวหน้า

อยากช่วยชาติ

มาเลยครับมาช่วยกันเสริมแรง แพทย์เค้าช่วยออกหน้าแล้วเรา เราก็เป็นด่านเสริมต่อกันนะครับ เพื่อวิชาชีพ และอาชีพของพวกท่านๆเอง

ขอให้กรรมการสภาเภสัชกรรมมาตอบกระทู้ด้วยนะครับ

ผมอยากเห็นพวกท่านเป็นเสียง เป็นสายให้ด้วย ครับ เลือกท่านเข้ามาทำหน้าที่ให้พวกผมแล้ว

อย่าให้พวกผมผิดหวังอีกเลยนะครับ อย่าเงียบ อย่าหาย เหมือนที่เคยเป็นๆมา
นายปิงปอง
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 00:44

Re: แพทยสภาล่าหมื่นชื่อ ปลดแอกขรก.จาก กพ.

โพสต์โดย Ham bun » 09 ก.ค. 2010, 12:20

หลายๆครั้ง เกิดคำถามในใจ เวลาที่เห็นสภาวิชาชีพอื่นออกมาแสดงพลัง
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีข้นต่อวิชาชีพ ต่อความอยู่รอดของวิชาชีพระยะยาว
แล้วสภาวิชาชีพเรา ไปอยู่ที่ไหน ไล่จับกันโยที่ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นการแก้ไขรากเหง้า
ส่วนนี้เราคงต้องออกมาร่วมแสดงพลังเหมือนกันนะ
Ham bun
 
โพสต์: 63
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 02:16

Re: แพทยสภาล่าหมื่นชื่อ ปลดแอกขรก.จาก กพ.

โพสต์โดย miguel » 11 ก.ค. 2010, 01:17

อยากทราบแนวทางของสภาเภสัชจังครับ ชี้แจงด้วย
miguel
 
โพสต์: 38
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 มี.ค. 2008, 22:20

Re: แพทยสภาล่าหมื่นชื่อ ปลดแอกขรก.จาก กพ.

โพสต์โดย chawa » 15 ก.ค. 2010, 09:27

ไม่ทราบว่าตอนนี้เรื่องไปถึงไหนแล้วค่ะ ใครพอจะทราบความเคลื่อนไหวบ้าง ช่วยแจ้งด้วยค่ะ
ก็ติดตามเรื่องตลอด แต่ตอนนี้ดูไม่มีข่าวคราวอะไรเลย แถมรัฐบาลนี้ก็มีทีท่าว่าจะยุบสภาอีกล่ะ :roll:
chawa
 
โพสต์: 12
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2007, 22:08

Re: แพทยสภาล่าหมื่นชื่อ ปลดแอกขรก.จาก กพ.

โพสต์โดย chawa » 23 ก.ค. 2010, 22:50

ได้ข่าวแล้วค่ะ
ร่วมกันผลักดัน พรบ สาธารณสุข

viewtopic.php?f=1&t=24594&p=140148#p140148

:biggrin:
chawa
 
โพสต์: 12
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2007, 22:08


ย้อนกลับไปยัง คาปูชิโน

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document