หน้า 2 จากทั้งหมด 7

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 23 ก.ย. 2007, 00:06
โดย kb007
ขอร่วมประท้วงอีก ๑ เสียง ครับ!

(ค่ายาไม่ถึง ๕ บาท!.....ต้องไปเสียค่าหมออีกเป็นร้อย...เหอะ)  :?:

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 23 ก.ย. 2007, 00:57
โดย naproxen
ให้อีก 1 ชื่อครับ

กรรมการสภาเภสัชกรรมชุดปัจจุบัน  คนที่ผมเลือกได้เป็นกรรมการเพียง 1 ท่าน
และคิดว่าเลือกตั้งคราวหน้า 1 ท่าน ที่ได้เสียงจากผม ถ้าท่านสมัครอีกก็คงไม่เลือกแล้ว
55555555555555555555555555555555555555555555555555555

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 23 ก.ย. 2007, 08:18
โดย apotheker
ช่วยกันรวบรวมรายชื่อเภสัชกร เพื่อจัดตั้งชมรมเภสัชกรออนไลน์
เป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ

http://www.pharmacafe.com/board/index.p ... cseen.html

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 23 ก.ย. 2007, 09:02
โดย PHARMA
ให้ 2 ชื่อค่ะพี่ อ่านแล้วของขึ้นทุกทีเรื่องนี้

เรื่องอื่นๆมีข่าวออกมาโครมๆแล้วก็เงียบไป แอสไพรินอยู่ดีๆประกาศออกมาเฉยเลย

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 23 ก.ย. 2007, 09:04
โดย PHARMA
ที่เวปสภา เค้าว่าไงกันมั่งคะพี่

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 23 ก.ย. 2007, 17:04
โดย zartingtong
สภาไม่เกี่ยวไปฟ้องศาลปกครองโน่นเลย
:lol: :lol: :lol:

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 23 ก.ย. 2007, 20:45
โดย nhum_nop
ผมว่าตอนนี้มันช้าเกินไปนะครับ เพราะประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

ตามที่อ่านจากประกาศก็ชัดเจนว่าจะควบคุมเฉพาะยา aspirin ที่มีข้อบ่งใช้ระบุในฉลากที่ไม่ใช่การระงับปวด ลดไข้ ซึ่งจะเป็นการควบคุมเฉพาะยาที่ขึ้นทะเบียนไว้เป็นยาป้องกันเกร็ดเลือดแข็งตัวเท่านั้น ดังนั้นยา aspirin ส่วนใหญ่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาแก้ปวดก็ยังคงจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา หรือคงสถานะเป็นยาอันตราย หรือยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ (เช่น ทัมใจ) ซึ่งผมคิดว่ายาพวก aspirin 60 mg ที่มีจำหน่ายทั่วไปก็ขึ้นทะเบียนเป็นยาแก้ปวดทั้งนั้น แต่ที่ร้านยาหรือแพทย์จ่ายในกรณีป้องกันเกร็ดเลือดแข็งตัวนั้นเป็นการจ่าย off-license เท่านั้นเอง (คือ จ่ายนอกเหนือจากกับข้อบ่งใช้ในฉลาก) แต่สิ่งที่จะต้องเพิ่มขึ้นมาก็คือ คำเตือนต่างๆ และยา aspirin สูตรที่เคยอนุญาตเป็นยาสามัญประจำบ้านก็ต้องกลับมาเป็นยาอันตรายหรือยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จเหมือนเดิม ไม่รู้ว่าผมเข้าใจผิดหรือเปล่า

กรณีที่จะร้องเรียนต่อ อย ให้มีการทบทวนการพิจารณาการจัดประเภทยา aspirin สำหรับกรณีที่ไม่ใช่ลดปวด ต้องเข้าใจก่อนว่าปัญหาทางยาคืออะไร แล้วการจัดการของ อย นั้นแก้ปัญหาได้ตรงจุดหรือเปล่า เช่น

- หากปัญหาการใช้ aspirin เป็นยาป้องกันเกร็ดเลือดแข็งตัวนั้น มีปัญหา คือ คนไข้ใช้ยาเองแล้วทำให้เกิดข้อเสีย หรือละเลยการพบแพทย์  - การแก้ปัญหาก็คือ ทำอย่างไรที่คนไข้จะไม่ใช้ยาเอง หรือคนไข้ได้รับทราบข้อมูลยาก่อนการใช้ยาครบถ้วน ซึ่งก็คงต้องประเมินว่าความเสี่ยงนั้นมากน้อยเพียงไร หากมากก็ต้องให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ (ยาควบคุมพิเศษ) หรืออยู่ในระดับที่เภสัชกรจัดการได้ (ยาอันตราย) และต้องมีการแก้ไขเรื่องฉลากคำเตือนให้ครบถ้วน ข้อมูลที่ควรจะต้องมีนะครับในการยื่นเอกสารร้องเรียนกับ อย ก็คือ

1. ข้อมูลการจัดประเภทของยา aspirin ที่มีข้อบ่งใช้ในการป้องกันเกร็ดเลือดแข็งตัวในประเทศหลักๆ ทั่วโลก (US, EU/UK, Japan, Australia/New Zealand) โดยพิจารณาว่าต้องมีการใช้ระบบใบสั่งยาในการกำกับดูแลยาตัวนี้หรือเปล่า
2. ข้อมูลด้านความปลอดภัยของยา aspirin 60 mg ว่ายังเป็น Regimen ที่ปลอดภัยหรือไม่ อย่างไร สภาพการใช้ยาในเมืองไทยของยาตัวนี้มีปัญหาจริงหรือไม่
3. ปัญหาการแก้ไขการใช้ยา off-license ในขนาดที่สูงกว่า หรือเท่ากันแต่ขึ้นทะเบียนเป็นยาแก้ปวด

- หากปัญหามาจาการใช้ยา aspirin เป็นยาลดไข้ในเด็กและเกิดอาการข้างเคียง - การแก้ปัญหาก็คือ ทำอย่างไรยานี้จะมีการใช้ลดลงในเด็ก เช่น อาจจะต้องห้ามไม่ให้มีการขึ้นทะเบียนข้อบ่งใช้ในเด็ก มีการแก้ไขรายการยาสามัญประจำบ้าน นำเอายาตัวอื่นเข้ามาใช้ในเด็กแทน ระบุคำเตือน

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 23 ก.ย. 2007, 22:11
โดย nitnit
nhum_nop เขียน:ผมว่าตอนนี้มันช้าเกินไปนะครับ เพราะประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

ตามที่อ่านจากประกาศก็ชัดเจนว่าจะควบคุมเฉพาะยา aspirin ที่มีข้อบ่งใช้ระบุในฉลากที่ไม่ใช่การระงับปวด ลดไข้ ซึ่งจะเป็นการควบคุมเฉพาะยาที่ขึ้นทะเบียนไว้เป็นยาป้องกันเกร็ดเลือดแข็งตัวเท่านั้น ดังนั้นยา aspirin ส่วนใหญ่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาแก้ปวดก็ยังคงจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา หรือคงสถานะเป็นยาอันตราย หรือยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ (เช่น ทัมใจ) ซึ่งผมคิดว่ายาพวก aspirin 60 mg ที่มีจำหน่ายทั่วไปก็ขึ้นทะเบียนเป็นยาแก้ปวดทั้งนั้น แต่ที่ร้านยาหรือแพทย์จ่ายในกรณีป้องกันเกร็ดเลือดแข็งตัวนั้นเป็นการจ่าย off-license เท่านั้นเอง (คือ จ่ายนอกเหนือจากกับข้อบ่งใช้ในฉลาก) แต่สิ่งที่จะต้องเพิ่มขึ้นมาก็คือ คำเตือนต่างๆ และยา aspirin สูตรที่เคยอนุญาตเป็นยาสามัญประจำบ้านก็ต้องกลับมาเป็นยาอันตรายหรือยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จเหมือนเดิม ไม่รู้ว่าผมเข้าใจผิดหรือเปล่า

กรณีที่จะร้องเรียนต่อ อย ให้มีการทบทวนการพิจารณาการจัดประเภทยา aspirin สำหรับกรณีที่ไม่ใช่ลดปวด ต้องเข้าใจก่อนว่าปัญหาทางยาคืออะไร แล้วการจัดการของ อย นั้นแก้ปัญหาได้ตรงจุดหรือเปล่า เช่น

- หากปัญหาการใช้ aspirin เป็นยาป้องกันเกร็ดเลือดแข็งตัวนั้น มีปัญหา คือ คนไข้ใช้ยาเองแล้วทำให้เกิดข้อเสีย หรือละเลยการพบแพทย์  - การแก้ปัญหาก็คือ ทำอย่างไรที่คนไข้จะไม่ใช้ยาเอง หรือคนไข้ได้รับทราบข้อมูลยาก่อนการใช้ยาครบถ้วน ซึ่งก็คงต้องประเมินว่าความเสี่ยงนั้นมากน้อยเพียงไร หากมากก็ต้องให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ (ยาควบคุมพิเศษ) หรืออยู่ในระดับที่เภสัชกรจัดการได้ (ยาอันตราย) และต้องมีการแก้ไขเรื่องฉลากคำเตือนให้ครบถ้วน ข้อมูลที่ควรจะต้องมีนะครับในการยื่นเอกสารร้องเรียนกับ อย ก็คือ

1. ข้อมูลการจัดประเภทของยา aspirin ที่มีข้อบ่งใช้ในการป้องกันเกร็ดเลือดแข็งตัวในประเทศหลักๆ ทั่วโลก (US, EU/UK, Japan, Australia/New Zealand) โดยพิจารณาว่าต้องมีการใช้ระบบใบสั่งยาในการกำกับดูแลยาตัวนี้หรือเปล่า
2. ข้อมูลด้านความปลอดภัยของยา aspirin 60 mg ว่ายังเป็น Regimen ที่ปลอดภัยหรือไม่ อย่างไร สภาพการใช้ยาในเมืองไทยของยาตัวนี้มีปัญหาจริงหรือไม่
3. ปัญหาการแก้ไขการใช้ยา off-license ในขนาดที่สูงกว่า หรือเท่ากันแต่ขึ้นทะเบียนเป็นยาแก้ปวด

- หากปัญหามาจาการใช้ยา aspirin เป็นยาลดไข้ในเด็กและเกิดอาการข้างเคียง - การแก้ปัญหาก็คือ ทำอย่างไรยานี้จะมีการใช้ลดลงในเด็ก เช่น อาจจะต้องห้ามไม่ให้มีการขึ้นทะเบียนข้อบ่งใช้ในเด็ก มีการแก้ไขรายการยาสามัญประจำบ้าน นำเอายาตัวอื่นเข้ามาใช้ในเด็กแทน ระบุคำเตือน


ถ้าผอ.กองยา ตัวแทนเภสัชกร เภสัชสสจ. และกรรมการยา ทำตามที่กล่าวข้างต้นนี้ คงไม่มีประกาศฉบับนี้ และการแก้ปัญญาแบบนี้คงไม่เกิด เพราะข้อมูลไม่จริง
แสดงว่า มีคนให้ข้อมูลที่ไม่จริง หรือเจตนาให้ข้อมูลเท็จ คนที่ให้ข้อมูลเท็จแก่กรรมการในครั้งนี้ มีอยู่ 4 คน เป็นเภสัชกร 2 วิชาชีพอื่น 2
เอามัน 2 คนมาลงโทษให้ได้[เฉพาะเภสัชกรก่อน ] อย่าปล่อยไว้นะ ไปดูข้อมูลได้...รู้แล้วเจ็บใจ.. อยากใหญ่โตจนเหยียบพวกพ้อง...ไปตรวจสอบดูเอาเองนะ..ไม่อยากพูด  เลวจริงๆ:evil: :evil: :evil:

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 23 ก.ย. 2007, 22:18
โดย apotheker
จะว่าช้าไปก็ใช่ครับ แต่ก็ต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำ เค้าจะคิดว่าเราไม่มีปากมีเสียง เค้าสั่งให้ทำอะไรก็ได้
ส่วนเอกสารที่ต้องจัดหามาเพื่อประกอบการพิจารณา เป็นข้อแนะนำที่ดีครับ แต่เป็นหน้าที่ของสภาเภสัชที่ต้องเตรียม
หน้าที่ของเราคือกระตุ้นให้สภาทำการพิจารณาเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษก่อน ขั้นตอนจะแบ่งเป็น3ขั้นตอนครับ

1 รวมรายชื่อเภสัชให้ครบ50คนตามที่ระเบียบของสภาเภสัชระบุไว้
2 เสนอให้สภาเภสัชพิจารณาเรื่องนี้เป็นกรณีเร่งด่วน
3 หากสภาเภสัชเห็นด้วยกับการคัดค้านเรื่องนี้ ก็เป็นหน้าที่ของสภาที่จะจัดหาเอกสารหลักฐานเพื่อคัดค้านต่อไป

จะเห็นว่าหน้าที่ของเรามีแค่ขั้นตอนที่1เท่านั้นครับ หลังจากนั้นก็ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสภาเภสัชกรรม แล้วครับ

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 23 ก.ย. 2007, 23:27
โดย zartingtong
ก็บอกแล้วว่าสภาไม่เกี่ยวเพราะไม่มีอำนาจยับยั้งหรือให้พิจารณาใหม่
มีแต่เวลา 90 วันไปยื่นฟ้อง ศาลปกครอง
หรือมีแต่ NATO
:lol: :lol: :lol:

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 23 ก.ย. 2007, 23:37
โดย Wiz@rd.
ผมเห็นต่างกับพี่ nhum_nop นิดหน่อยครับ
ตรงที่

เราไม่ได้คุยกันที่ 60 mg ครับ แต่เราคุยกันที่ indication ที่ว่า กรณีป้องกันเกร็ดเลือดแข็งถูกควบคุมครับ
ดังนั้น ยาประเภทนี้ มันมีขนาด 80 mg ออกมาขายแล้วนะครับ และขึ้นทะเบียนเป็น ป้องกันเกร็ดเลือดแข็ง ครับ (aspilets ของ united american เป็น 80 mg เดิมจัดเป็นยาอันตรายครับ หมายถึงตัวนี้จะโดนควบคุม สมเหตุสมผลหรือไม่)

ข้อมูลด้านความปลอดภัยของยา มีที่ อ.ย.ครับ อ.ย. ต้องชี้แจงออกมาด้วย (งาน ADR ว่าอย่างไร อย่ามัวแต่ตั้งรับ เอาแต่รอรายงานครับ สรุปผลมาเผยแพร่ เอามาให้เภสัชกรใช้ประโยขน์กันบ้างครับ)

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 24 ก.ย. 2007, 09:38
โดย apotheker
ตอบคุณ zartingtong
จะฟ้องร้องทางช่องไหน หรือแก้ไขอย่างไร ไม่ใช่หน้าที่ของเราครับ เพราะเราไม่ทำเอง แต่เราจะขอร้องให้สภาเภสัช ทำให้
เพราะถ้าทำเองคงไม่มีเพาเวอร์พอ เรื่องนี้ถือเป็นผลกระทบต่อวิชาชีพเรา สภาเภสัชจึงน่าจะมีหน้าที่โดยตรง

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 24 ก.ย. 2007, 10:58
โดย ruralphar
ต่อไปก็คงให้ Paracetamol เป็นยาควบคุมพิเศษด้วย ไม่ให้เภสัชกรขาย นอกจากได้รับใบสั่งแพทย์

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 24 ก.ย. 2007, 11:09
โดย API
nitnit เขียน:ถ้าผอ.กองยา ตัวแทนเภสัชกร เภสัชสสจ. และกรรมการยา ทำตามที่กล่าวข้างต้นนี้ คงไม่มีประกาศฉบับนี้ และการแก้ปัญญาแบบนี้คงไม่เกิด เพราะข้อมูลไม่จริง
แสดงว่า มีคนให้ข้อมูลที่ไม่จริง หรือเจตนาให้ข้อมูลเท็จ คนที่ให้ข้อมูลเท็จแก่กรรมการในครั้งนี้ มีอยู่ 4 คน เป็นเภสัชกร 2 วิชาชีพอื่น 2
เอามัน 2 คนมาลงโทษให้ได้[เฉพาะเภสัชกรก่อน ] อย่าปล่อยไว้นะ ไปดูข้อมูลได้...รู้แล้วเจ็บใจ.. อยากใหญ่โตจนเหยียบพวกพ้อง...ไปตรวจสอบดูเอาเองนะ..ไม่อยากพูด  เลวจริงๆ:evil: :evil: :evil:



ไม่ทราบว่าข้อมูลที่ไม่จริงหรือข้อมูลเท็จที่ว่ามีเนื้อหาอย่างไร ถ้ารู้วานท่านกรุณานำมาแชร์ให้พวกเราทราบด้วย จะได้ช่วยหาข้อมูลหักล้างนะครับ

Re: ประกาศกระทรวงให้ aspirin เป็นยาควบคุมพิเศษ

โพสต์โพสต์แล้ว: 24 ก.ย. 2007, 12:12
โดย zartingtong
คุณมีเวลาแค่ 90 วันที่จะฟ้องร้องต่อศาลปกครอง แม้แต่เภสัชคนเดียวก็ฟ้องได้(ไม่ได้ต้องรอถึง 50 คน) ถ้ามีเหตุผลคัดค้านเพียงพอ
หลัง 90 วันแม้แต่สภาก็ทำอะไรไม่ได้ไม่ว่าจะมีมติอย่างไร เพราะกฎหมายไม่ได้มีช่องอะไร
http://www.admincourt.go.th/
:P :P