New Document









เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้าง..

ข่าวสารสาธารณสุข

เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้าง..

โพสต์โดย เภสัช ชนบท » 26 ม.ค. 2011, 14:26

เห็นว่ามีการประชุมการพิจารณาค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับใหม่ มาใช้แทนฉบับเดิมที่เกิดความเหลื่อมล้ำของวิชาชีพอยู่ ณ ตอนนี้ เภสัชเราใครที่ได้เข้าร่วมการพิจรณาบ้างครับขอความคืบหน้าหน่อยครับ ที่ผมได้ยินมามี 2 กรณี 1.ใช้เหมือนเดิม 2.ยกเลิก .....สรุปแล้วที่เรารวมตัวกันเรียกร้องไปนั้นไม่เป็นผลหรือออย่างไรครับ....เฮ้อ..แล้วให้น้องๆเรียน 6 ปี มาทำไรเนี่ย ต่างกันฟ้ากับเหว ค่าตอบแทนเทียบเป็นเศษเงินของ แพทย์ กับทันตะ เลย...แอบบ่น ...
เภสัช ชนบท
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 12:29







Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย sssssss_nu » 28 ม.ค. 2011, 14:58

เตรียมของบกลางปี 54 จ่ายค่าตอบแทนบุคลากร สธ.ก่วา 6 พันล้านบาท

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 มกราคม 2554 07:54 น.





เตรียมเสนอเรื่องจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร สธ.เข้าสู่ คกก.พิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทน ก่อนส่งต่อ ครม.ของบกลางปี 54 จำนวนกว่า 6 พันล้านบาท

จากกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ ได้จัดทำแนวทางเบื้องต้นเกี่ยวกับการปรับระบบการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรด้านสาธารณสุข (สธ.) โดยได้มอบหมายให้สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) จัดทำรายละเอียดในส่วนของค่าตอบแทนตามความขาดแคลน และชมรมแพทย์ชนบทดำเนินการในส่วนของค่าตอบแทนตามระดับพื้นที่นั้น



ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต


ล่าสุด แหล่งข่าวใน สธ.เปิดเผยว่า สพศท.ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยวัดระดับความขาดแคลนบุคลากรพิจารณาจากข้อมูล 5 ลักษณะ ประกอบด้วย 1.การขาดแคลนในการสรรหาบุคลากร 2.การขาดแคลนตามความสูญเสียบุคลากร 3.การถูกกำหนดให้ต้องทำงานล่วงเวลา 4.การขาดแคลนตามกรอบอัตรากำลังที่องค์กรวิชาชีพกำหนด และผลกระทบของการขาดแคลนต่อการจัดบริการที่จำเป็นเร่งด่วน ซึ่งแต่ละลักษณะจะแบ่งเป็น 3 ระดับแล้วนำคะแนนที่ได้มารวมกัน และจัดระดับความขาดแคลน โดยขาดแคลนระดับ 1 มีคะแนนตั้งแต่ 5-8 จ่ายในอัตราต่อเดือน คือ แพทย์ 10,000 บาท ทันตแพทย์ 5,000 บาท เภสัชกร 3,000 บาท พยาบาลวิชาชีพ 2,000 บาท และสหวิชาชีพ 1,500 บาท ระดับ 2 ตั้งแต่ 9-12 จ่ายเพิ่มจากระดับที่ 1 อีกร้อยละ 50 และระดับ 3 ตั้งแต่ 13-15 จ่ายเพิ่มจากระดับที่ 1 อีกร้อยละ 100

แหล่งข่าวรายเดิม กล่าวอีกว่า เมื่อพิจารณาความขาดแคลนตามเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว จะพบว่า โรงพยาบาลในสังกัด สธ.แพทย์มีค่าความขาดแคลน ระดับ 2 ทันตแพทย์ ระดับ 2 เภสัชกร ระดับ 1 พยาบาลวิชาชีพ ระดับ 2 นักเทคนิคการแพทย์ ระดับ 1 นักกายภาพบำบัด ระดับ 1 และสหวิชาชีพอื่นๆ ระดับ 1 เมื่อนำความขาดแคลนนี้มาคำนวณเป็นค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายให้กับบุคลากรสังกัดโรงพยาบาลศูนย์(รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลประจำตำบลต่อปี แพทย์ 2,592 ล้านบาท ทันตแพทย์ 360 ล้านบาท เภสัชกร 253 ล้านบาท พยาบาล 3,168 ล้านบาท สหวิชาชีพ 62 ล้านบาท รวม 6,435 ล้านบาทต่อปี เฉพาะ รพศ.รพท. 3,297 ล้านบาท ต่อปี

แหล่งข่าวใน สธ.กล่าวต่อว่า ขั้นตอนหลังจากนี้เสนอเข้าสู่คณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบจ่ายค่าตอบแทนฯ พิจารณาก่อน หลังจากนั้นก็จำนำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นขั้นตอนต่อไป เพื่อให้ ครม.พิจารณาอนุมัติงบกลางปี 2554 จำนวน 6,435 ล้านบาท เพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนของปีงบประมาณ 2554 ให้กับบุคลากรสาธารณสุขทั้งใน รพศ. รพท. รพช.และ รพ.ตำบล
sssssss_nu
 
โพสต์: 14
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 15:19

Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย เภสัช ชนบท » 28 ม.ค. 2011, 20:20

หรืออีกนัยหนึ่ง แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ ขาดแคลนระดับ 2 ....วิชาชีพอื่นๆระดับ 1......เอาซะแล้วเภสัชกลายเป็นวิชาชีพขาดแคลนน้อยไปซะแล้ว...พยาบาลเค้าไฟท์จนได้.555
เภสัช ชนบท
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 12:29

Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย เภสัช ชนบท » 28 ม.ค. 2011, 20:27

งั้นสรุปว่าของกระทรวงสาธารณสุข แพทย์ 10000*2=20000/เดือน ทันต 5000*2=10000/เดือน พยาบาล 2000*2 =4000/เดือน
เภสัช 3000*1=3000/เดือน หรือเปล่าครับ ยัง งงๆๆอยู่ ใครรู้ช่วยตอบด้วย..
เภสัช ชนบท
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 12:29

Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย anocha » 30 ม.ค. 2011, 15:42

ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ยกเลิกระบบเรียน6ปีเถอะ
anocha
 
โพสต์: 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ค. 2010, 11:29

Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย mint » 30 ม.ค. 2011, 16:22

ดูเหมือนว่าทุกวันนี้วิชาชีพเราถูกบีบทุกด้าน อยู่ใน รพ. เขาก็ว่าไม่ขาดแคลน อยู่ร้านยา เขาก็ห้ามขายยานู่นนี่นั่นทั้งที่ปัญหายาใช้ผิดวัตถุประสงค์มันมาจากคลินิกความงาม ที่ว่าไม่ขาดแคลนนี่จริงเหรอ เขาวัดกันอย่างไร อยากรู้น่ะ
mint
 
โพสต์: 30
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.พ. 2004, 13:03
ที่อยู่: พิษณุโลก

Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย pharmakop » 31 ม.ค. 2011, 02:16

มีคณะทำงานอยู่ สงครามยังไม่จบครับ ติดตามตอนต่อไปครับ :neutral:
ภาพประจำตัวสมาชิก
pharmakop
 
โพสต์: 227
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2006, 15:41
ที่อยู่: ร้อยเอ็ด

Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย iampharmacist » 31 ม.ค. 2011, 23:06

เอาใจช่วยครับ (อยากเอาแรงช่วยด้วย) คาดว่ากรณีนี้ถ้ายังไม่มีข้อสรุปสุดท้าย
ขอให้เภสัชกรผู้เป็นตัวแทนช่วยกันผลักดันเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากเกินจนน่าเกลียด

ติดตามความคิดเห็นของวิชาชีพอื่นๆ ดูบ้างจากลิ้งด้านล่างนะครับ

http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp ... 1296227463

http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp ... 1296296566

http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp ... 1296404287

http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp ... 1296325158

http://www.thaihospital.org/board/index ... pic=1155.0

http://www.thaihospital.org/board/index ... pic=1141.0
แก้ไขล่าสุดโดย iampharmacist เมื่อ 02 ก.พ. 2011, 11:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
iampharmacist
 
โพสต์: 66
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 12:39

Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย mali » 01 ก.พ. 2011, 17:49

รอฟังด้วยคน
mali
 
โพสต์: 58
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2007, 18:49

Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย iampharmacist » 02 ก.พ. 2011, 11:22

ได้ข้อมูลจากผู้ประสงค์ไม่ออกนามตอบตามหัวข้อกระทู้ในเบื้องต้นดังนี้ครับ

"เป็นการหารือ เฉพาะในส่วนการพิจารณาค่าตอบแทน รพท และ รพศ
ส่วน ค่าตอบแทนส่วนอื่นๆ ของ รพช และการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย นั้น มีทาง ภก.กิติ และกลุ่มวิชาชีพแพทย์ สนย และอื่นๆๆ แยกกันทำหน้าที่
การพิจารณา มี ๓ เรื่อง
๑ การกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย (กันดาร) ให้เหมาะสม สอดคล้อง (กลุ่มแพทย์ รับมอบหมายภารกิจ)
๒ การกำหนดวิชาชีพขาดแคลน (ภก.กิติ รอง ผอ.สำนัก สรส รับมอบภารกิจ)
๓ การกำหนดค่าตอบแทนน ส่วน รพท และ รพศ นั้น มอบหมาย ชมรมแพทย์ พิจารณา ( เลยเป้นที่มาของการเชิญ เพราะ กลุ่มนี้ มีความหลากหลาย สูง)
ดังนั้น จึงไม่ได้เชิญมั้งหมดครับผม
เพราะแยกกันทำงาน
หากสงสัยปรพะการใด สำหรับขั้นตอน เมลลืกลับมาถามได้ (จะเรียนถามเชิงลึกเพ่ิมเติมให้)
ป.ล. ส่วนเภสัชกรนั้น มี ภก.กิติ และ พี่ ภญ.ฉวีวรรณ ม่วงนอย ดุแลอยู่ (โดย มีทีม ส่งข้อมุล จาก เขต ๑๓ ช่วยดำเนินการอยู่) แต่นอกเนือจากนี้จะรายงานตามระยะ
ไม่ต้องตกใจครับ"

เมื่อทราบแล้วใครต้องการช่วยอะไร สามารถติดต่อไปที่ ภก.กิตติ และ ภญ.ฉวีวรรณ นะครับ
iampharmacist
 
โพสต์: 66
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 12:39

Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย เภสัช ชนบท » 03 ก.พ. 2011, 13:48

ขอรายละเอียดการเคลื่อนไหวด้วยครับ เภสัชเราต้องช่วยกันตอนนี้จะกลายเป็นวิชชาชีพไม่ขาดแคลนซะแล้ว มันพอซะที่ไหนเคยมาดูบ้างไหมคนที่กำหนดเนี่ย ทำงานกัน รพช 2-3 คน ....เต็มใจช่วยอีกแรงครับ i_ja07@hotmail.com เห็นหนังสือการพิจารณาเรื่องนี้ทีไร จี๊ดทุกที...
เภสัช ชนบท
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 12:29

Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย bigbomb » 05 ก.พ. 2011, 08:05

เภสัช ชนบท เขียน:ขอรายละเอียดการเคลื่อนไหวด้วยครับ เภสัชเราต้องช่วยกันตอนนี้จะกลายเป็นวิชชาชีพไม่ขาดแคลนซะแล้ว มันพอซะที่ไหนเคยมาดูบ้างไหมคนที่กำหนดเนี่ย ทำงานกัน รพช 2-3 คน ....เต็มใจช่วยอีกแรงครับ i_ja07@hotmail.com เห็นหนังสือการพิจารณาเรื่องนี้ทีไร จี๊ดทุกที...



ผมเห็นด้วยกับเภสัช ชนบท นะครับ เพราะตัวผมเอง ทำงาน รพศ พอได้อ่านข่าวนี้ ได้นั่ง discuss กับหัวหน้างานและรุ่นพี่ในแผนก ไม่แน่ใจว่า มีตัวแทนวิชาชีพเภสัชเข้าไปร่วมพิจารณาด้วยหรือไม่ในการกำหนดความคลาดแคลนในแต่ละวิชาชีพ เพราะถ้ามองในความเป็นจริง ไม่ใช่เภสัชจะเพียงพอต่อการปฏิบัติงานนะครับ เพียงแค่ในบางช่วงไม่เปิดให้มีการใช้ทุนเนื่องจาก กพ ไม่เปิดตำแหน่งให้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเภสัชมีเพียงพอกับความต้องการแล้ว ในจำนวนผู้รับบริการที่มีมากขึ้น แต่ให้เภสัชกรปฏิบัติงานหลากหลาย ในจำนวนคนไข้ที่มากขึ้นก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน อยากรู้จริงๆว่าถ้ามีตัวแทนเภสัชคนไหนเข้าประชุม ขอเหตุผลในการกำหนดด้วยว่าวิชาชีพใดได้ค่าความขาดแคลนเป็น 1 หรือ 2 เพราะอะไร เพราะในการกำหนดระดับความขาดแคลน เมื่อกำหนดค่าระดับใดต้องมีเหตุผลสนับสนุนที่เพียงพอ ไม่ใช่ทำหรือกำหนดเพราะความรู้สึก ว่าอันนี้ขาดมาก อันนี้ ขาดน้อย มันไม่ใช่ ......... ทุกอย่างที่กำหนดต้องมีเหตุผลครับ ถ้าตัวแทนไม่มีแรงที่จะ fight ให้วิชาชีพ ขอความร่วมมือในบอร์ดมาได้เลย ผมว่าเพื่อนในบอร์ดหลายคนยินดีทำร่างเสนอพร้อมเหตุผลที่สมเหตุสมผลครับ ( อ่านแล้วของก็ขึ้นเหมือนกัน ผมไม่เข้าใจมุมมองของตัว แทน ถ้าท่านมาอ่านแล้วมีเหตุผลชีแจงก็ชี้แจงมาครับ ยินดีรับฟังเหมือนกัน )
bigbomb
 
โพสต์: 52
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 19:11

Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย pharmakop » 05 ก.พ. 2011, 10:26

ล่าสุดที่รับทราบได้เสนอเข้าไปดังนี้ครับ


ข้อเสนอหลักเกณฑ์ความขาดแคลน
๑. ความขาดแคลนในการสรรหาบุคลากร
ใช้เกณฑ์ - จำนวนปีที่ใช้ในการเรียน
- การขาดการจัดสรรทุนให้บรรจุเป็นข้าราชการ (จำนวนที่จบxจำนวนปีที่ไม่มี
การจัดสรรทุนให้)
- จำนวนลูกจ้างชั่วคราว
- อัตราการสอบใบประกอบโรคศิลปะผ่านเฉลี่ย/ปี
๒. ความขาดแคลนเนื่องจากการศูญเสียบุคลากร
ใช้เกณฑ์ - การลาออก
- การโยกย้ายจากโรงพยาบาลชุมชนไปโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป
๓. เดิม การถูกกำหนดให้ต้องทำงานล่วงเวลา
เสนอให้ตัดออก เนื่องจาก - ข้อมูลไม่สะท้อนสถานการณ์จริง เนื่องจากบางวิชาชีพ
แม้ว่ามีข้อกำหนดว่า ต้องขึ้นเวร แต่อัตรากำลังที่มีอยู่ไม่เพียง
พอ รวมทั้งข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ
๔. ความขาดแคลนตามกรอบอัตรากำลังที่องค์กรวิชาชีพกำหนด
เสนอเปลี่ยนชื่อเป็น ความขาดแคลนตามกำหนดของมาตรฐานวิชาชีพ
ใช้เกณฑ์ - GIS (ที่อาจต้องทบทวนใหม่)
ในส่วนของเภสัชกร - การส่งมอบยาโดยเภสัชกร ๒๔ ชั่วโมง
- การทำ Discharge counseling ผู้ป่วยทุกราย
๕. ผลกระทบของความขาดแคลนต่อการจัดบริการที่เร่งด่วน
เสนอให้มีการตีความความหมายของคำว่า ?เร่งด่วน? จากเดิมน่าจะเป็นมุมมองการให้บริการ
ในเชิงของการรักษาเพียงอย่างเดียว เสนอเพิ่มในส่วนของงานเชิงรุก เช่น งานคบส.ที่เป็น
คำสั่งหรือนโยบายเร่งด่วน เช่น การเก็บยา/ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อันตรายหรือถูกถอนทะเบียน
จากท้องตลาด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อประชาชน เช่น กรณียา Rosiglitazone, ผลิตภัณฑ์ที่ปน
เปื้อนเมลามิน เป็นต้น
รวมทั้งการทำงานในเชิงสนับสนุนที่จะขาดเสียมิได้ เพื่อให้การรักษาที่เร่งด่วนหรือจำเป็น
สำเร็จลุล่วง เช่น การจัดหายา/เวชภัณฑ์ ไม่ว่า จะเป็นยาช่วยชีวิต, ยากำพร้า, รวมตลอดทั้งการ
จัดเตรียมยาที่ไม่มีผู้ผลิตและต้องอาศัยความรู้ในเชิงเภสัชกรรมเป็นอย่างมาก เช่น การจัดเตรียม
ยาน้ำ Oseltamivir เพื่อรองรับผู้ป่วยเด็กในช่วงที่มีการระบาด เป็นต้น

เสนอเพิ่ม ข้อ ๖. ความเสี่ยงภัยในการปฏิบัติงาน
ระดับสูงสุด ? ความเสี่ยงภัยที่ไม่สามารถป้องกันได้ เช่น การทำงานคบส.
(ถูกคุกคามสวัสดิภาพจากผู้เสียผลประโยชน์)
ระดับรองลงมา ? ความเสี่ยงภัยที่ป้องกันได้ เช่น การถูกเข็มตำ (มี UP เป็น
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันความเสี่ยงอยู่แล้ว)
ภาพประจำตัวสมาชิก
pharmakop
 
โพสต์: 227
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2006, 15:41
ที่อยู่: ร้อยเอ็ด

Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย pharmakkk » 05 ก.พ. 2011, 15:34

[quote="pharmakop"]ล่าสุดที่รับทราบได้เสนอเข้าไปดังนี้ครับ


ข้อเสนอหลักเกณฑ์ความขาดแคลน
๑. ความขาดแคลนในการสรรหาบุคลากร
ใช้เกณฑ์ - จำนวนปีที่ใช้ในการเรียน
- การขาดการจัดสรรทุนให้บรรจุเป็นข้าราชการ (จำนวนที่จบxจำนวนปีที่ไม่มี
การจัดสรรทุนให้)
- จำนวนลูกจ้างชั่วคราว
- อัตราการสอบใบประกอบโรคศิลปะผ่านเฉลี่ย/ปี
๒. ความขาดแคลนเนื่องจากการศูญเสียบุคลากร
ใช้เกณฑ์ - การลาออก
- การโยกย้ายจากโรงพยาบาลชุมชนไปโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป
๓. เดิม การถูกกำหนดให้ต้องทำงานล่วงเวลา
เสนอให้ตัดออก เนื่องจาก - ข้อมูลไม่สะท้อนสถานการณ์จริง เนื่องจากบางวิชาชีพ
แม้ว่ามีข้อกำหนดว่า ต้องขึ้นเวร แต่อัตรากำลังที่มีอยู่ไม่เพียง
พอ รวมทั้งข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ
๔. ความขาดแคลนตามกรอบอัตรากำลังที่องค์กรวิชาชีพกำหนด
เสนอเปลี่ยนชื่อเป็น ความขาดแคลนตามกำหนดของมาตรฐานวิชาชีพ
ใช้เกณฑ์ - GIS (ที่อาจต้องทบทวนใหม่)
ในส่วนของเภสัชกร - การส่งมอบยาโดยเภสัชกร ๒๔ ชั่วโมง
- การทำ Discharge counseling ผู้ป่วยทุกราย
๕. ผลกระทบของความขาดแคลนต่อการจัดบริการที่เร่งด่วน
เสนอให้มีการตีความความหมายของคำว่า ?เร่งด่วน? จากเดิมน่าจะเป็นมุมมองการให้บริการ
ในเชิงของการรักษาเพียงอย่างเดียว เสนอเพิ่มในส่วนของงานเชิงรุก เช่น งานคบส.ที่เป็น
คำสั่งหรือนโยบายเร่งด่วน เช่น การเก็บยา/ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อันตรายหรือถูกถอนทะเบียน
จากท้องตลาด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อประชาชน เช่น กรณียา Rosiglitazone, ผลิตภัณฑ์ที่ปน
เปื้อนเมลามิน เป็นต้น
รวมทั้งการทำงานในเชิงสนับสนุนที่จะขาดเสียมิได้ เพื่อให้การรักษาที่เร่งด่วนหรือจำเป็น
สำเร็จลุล่วง เช่น การจัดหายา/เวชภัณฑ์ ไม่ว่า จะเป็นยาช่วยชีวิต, ยากำพร้า, รวมตลอดทั้งการ
จัดเตรียมยาที่ไม่มีผู้ผลิตและต้องอาศัยความรู้ในเชิงเภสัชกรรมเป็นอย่างมาก เช่น การจัดเตรียม
ยาน้ำ Oseltamivir เพื่อรองรับผู้ป่วยเด็กในช่วงที่มีการระบาด เป็นต้น

เสนอเพิ่ม ข้อ ๖. ความเสี่ยงภัยในการปฏิบัติงาน
ระดับสูงสุด ? ความเสี่ยงภัยที่ไม่สามารถป้องกันได้ เช่น การทำงานคบส.
(ถูกคุกคามสวัสดิภาพจากผู้เสียผลประโยชน์)
ระดับรองลงมา ? ความเสี่ยงภัยที่ป้องกันได้ เช่น การถูกเข็มตำ (มี UP เป็น
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันความเสี่ยงอยู่แล้ว)[/quo
นี่คือผลการประชุมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาหรือเปล่าครับ ผมรู้สึกโดนมากๆ เลยครับ กับข้อเสนอที่พี่เภสัชได้เสนอในที่ประชุม เพราะเภสัชเราทำงานมากมายหลายอย่างจนเรียบเรียงไม่ถูกไม่รู้จะเริ่มที่ตรงไหน แต่พอให้พรีเซนต์กลับไม่รู้จะเอาตรงส่วนไหนไปพูดให้วิชาชีพอื่นได้รับทราบ มันเหมือนกับเป็นงานที่ธรรมดาปกติมากๆ จนเราไม่เห็นว่ามันสำคัญน่ะครับ แต่เมื่อพี่ pharmakop เอามาบอกผมถึงได้เล็งว่างานที่เราทำก็สำคัญนี่ หากเภสัชเราได้เข้าร่วมประชุมอยากให้ได้นำเรื่องราวเหล่านี้ไปเสนอทุกคราวไปนะครับ และผมอยากจะเสนอเพิ่มเติมในส่วนของงาน คบส. เพราะเภสัชเราเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแทบทุกฉบับเลย และรู้สึกจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ชัดเจนที่สุดด้วยรับผิดชอบอยู่นั่นคนเดียว แล้วก็งานตามนโยบายเร่งด่วน ปัจจุบันก็เรื่องเกลือไอโอดีน ที่เราต้องไปคอยตักเตือนผู้ผลิตเกลือให้ปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัดน่ะครับ การออก pcu ตาม รพ.สต.ต่างๆ ที่หมอไม่ยอมออกไปตรวจคนไข้dm htn แต่ให้พยาบาลเวชและเภสัชตะลอนออกตรวจแทน ที่เภสัชเราต้องใช้ความรู้ในการประเมินการสั่งใช้ยาจากพยาบาลมากกว่าปกติ อันนี้ก็เสี่ยงนะครับ หากเกิดความผิดพลาดขึ้น
pharmakkk
 
โพสต์: 26
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2008, 18:05

Re: เภสัชเรามีใครได้เข้าร่วมพิจารณาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่บ้

โพสต์โดย เภสัช ชนบท » 05 ก.พ. 2011, 21:25

เอาใจช่วยตัวแทนเภสัชที่เข้าร่วมพิจารณานะครับ มีเรื่องใดเรียกใช้ยินดีนะครับ...เภสัชด้วยกันอยู่แล้ว
เภสัช ชนบท
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 12:29

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง คาปูชิโน

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document