ในฐานะที่ทำงานใน รพ.เอกชน บอกได้คำเดียวว่า หมอนั่งยิ้ม เพราะรัฐขยับขึ้น...เอกชนก็ต้องขยับขึ้นตาม (ปั่นกันขึ้นไป ไล่เท่าไหร่ก็ไล่ไม่ทันหรอกครับ) ผลลัพธ์ไปขยับขึ้น DF ให้คนไข้ สุดท้ายใครลำบาก... ก็ประชาชนลำบาก ญาติพี่น้องเราที่ต้องไปรักษาลำบาก
การขึ้นครั้งละมากๆ ส่วนของรัฐก็ไปเบียดบังภาษีส่วนรวม... ส่วนเอกชนก็เอาภาระไปให้คนไข้ ให้สังคม
วิชาชีพพวกเราทั้งแพทย์ เภสัชฯ และพยาบาลควรทำเพื่อสังคมมากกว่า อาจมีปรับขึ้นบ้างตามสภาพเศรษฐกิจ ส่วนใครอยากได้มากขึ้นหน่อยก็ไปทำกับเอกชน หรือไปทำธุรกิจส่วนตัวซะ เอกชนสมัยนี้ก็แพงมากเพราะต้องมาแข่งจ่ายผลตอบแทนแพทย์ เภสัชฯ และพยาบาล นี่แหละ... นึกถึงอนาคตของลูกหลานเราหรือญาติเราหากเจ็บป่วยต้องเข้า รพ.เอกชน บ้างสิ...
วิชาชีพแพทย์ เภสัช พยาบาล ควรอยู่ด้วยคุณธรรม จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ตามที่ได้เรียนมา ตามคำสอนของพระบิดา เป็นที่เคารพรักของชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป...
วิชาชีพไหนขาดแคลน... ก็ควรผลิตเพิ่ม... เพิ่มระยะเวลาการใช้ทุน... เพิ่มทุนที่ต้องเสียหากออกจากราชการ และแสดงความสมัครใจที่จะเรียนเพื่อกลับไปดูแลสังคม (ไม่ใช่เงิน) ตั้งแต่ก่อนเรียน
วิชาชีพไหนล้นก็ลดการผลิตเสียบ้าง... ไม่ใช่ผลิตไม่ลืมหูลืมตา... ออกมาเป็นภาระสังคม ภาระวิชาชีพ แล้วก็ไม่มีคุณภาพ (หากล้น ก็ควรลด และเน้นคุณภาพให้มากขึ้น)
รัฐควรเข้ามาควบคุม DF หรือค่าหัตถการของเอกชนบ้าง ให้มีกรอบมาตรฐาน (ไม่ให้ตั้งตามใจชอบหรือแพงเกินไป) ไม่ให้แพงเกินไป
เก็บภาษีแพทย์ภาคเอกชนให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะหมอสมัยนี้ เลี่ยงภาษีเก่ง ได้ทั้งเงินเดือนได้ทั้งค่าตรวจ แต่ไม่ยอมเสียภาษีแบบอัตราก้าวหน้า หากภาคเอกชนถูกตีกรอบเงื่อนไขมากขึ้นก็จะอยู่ภาครัฐมากขึ้น
อีกอย่างหนึ่งก็ปล่อยให้สมองไหลไป...ตามกลไกของมันเถอะ มันจะได้สะท้อนภาพความเป็นจริง แต่ผมคิดว่าจริงๆไหลไปได้ไม่เยอะหรอกครับ
1. ผมเคยชวนเพื่อนที่เป็นหมอหลายต่อหลายคนให้ลาออกมาทำงานเอกชน ส่วนใหญ่ไม่กล้าลาออก... เพราะกลัวการเปลี่ยนแปลง ความไม่มั่นคง มีความเสี่ยงสูง สวัสดิการก็ไม่ได้เหมือนราชการ เงินเกษียณเงินบำนาญก็ไม่มี (เอกชนส่วนที่ได้เพิ่มก็ต้องเก็บเองไว้ใช้ตอนชรา) ทำให้ดูเหมือนขาดแคลน (ที่จะมาอยู่ประจำ) ส่วนใหญ่แพทย์ชอบทำงานเป็น Past time
2. แพทย์มีการกระจุกตัวในเขตเมืองสูง กว่าครึ่งอยู่ในภาคกลาง กว่า 50% อยู่ในเขตอำเภอเมือง ทำให้ตามอำเภอชุมชนดูเหมือนจะขาดแคลน ปัญหาก็คือรัฐไม่สามารถกระจายแพทย์ไปต่างจังหวัดและต่างอำเภอได้ และแพทย์ตามโรงพยาบาลของรัฐมักเปิดคลินิกโดยใช้ฐานคนไข้โรงพยาบาลไปคลินิก พอคนไข้คลินิกมากขึ้นก็เบียดบังเวลาของรัฐไปตรวจทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย ทำให้คนไข้ดูแออัดใน รพ.รัฐ และจะหนีไปตรวจที่คลินิก คนไข้คลินิกมากเท่าไหร่หมอก็จะเบียดบังเวลาของรัฐมากขึ้นเท่านั้น และดูเหมือนรัฐจะขาดแคลน(เวลา)หมอ
3. ภาคเอกชนจริงๆ ก็ขาดแคลนหมอไม่มาก แต่หมอมักไม่กล้าลาออกถ้าไม่จำเป็น จึงเป็นกลไกต้องจ้างหมอแพงๆให้ลาออก ซึ่ง รพ.เอกชนจริงๆ เค้าก็ต้องการหมอประจำไม่มาก ต้องการจริงๆก็ 2-3 คน เพราะค่าจ้างหมอก็เป็นภาระองค์กรมากเหมือนกัน รับมากเกินองค์กรก็อยู่ไม่ได้ (หาเงินจากคนไข้ไม่พอจ่ายให้หมอ

) สังเกตุให้ดีสิ... ช่วงเศรษฐกิจไม่ดี มีโรงพยาบาลเอกชนปิดไปอีกแห่ง (อยู่ไม่ได้หรอก) นี่ก็เป็นอีกปัญหาที่หมอไม่กล้าออกมาอยู่เอกชนเต็มตัว
เป็นอีกมุมมองของคนที่อยู่ภาคเอกชนนะ ซึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง แต่ก็อยากเห็นทั้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาล ทำงานด้วยกัน ด้วยความรัก ความสามัคคี อย่าจุดประเด็นความแตกแยก วิชาชีพเราทำเพื่อสังคม... ไม่ใช่เพื่อเงินสูงเกินงานที่ทำ ไปเบียดบังเงินภาษีหรือยกภาระให้คนไข้ อย่าทำให้รู้สึกว่าเมืองไทยเป็น "สังคมทุนนิยม... พูดจากันด้วยเงินทอง"
สุดท้ายอยากฝากเพื่อนเภสัชกรที่เกี่ยวข้องร่วมกันศึกษา และควบคุมสถาบันที่จะผลิตเภสัชกรกันหน่อย... ตอนนี้ทั้งสถาบันรัฐและเอกชนผลิตกันไม่ลืมหูลืมตา (จบมาก็คุณภาพลดลง-โดยเฉพาะมหา'ลัยเอกชน)... ลองคำนวณดูว่าถ้าเราไม่ควบคุม อีกสิบปีข้างหน้าเภสัชกรจะมากวาดขยะข้างถนน และเดินแตะฝุ่น... เราต้องช่วยกันแล้วล่ะ ผมเคยคุยกับเพื่อนที่เป็นอาจารย์เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน ว่าต่อไปเภสัชกร
จะเริ่มล้นแล้วนะ แต่เค้าบอกว่ายังขาดอีกเยอะต้องรับเพิ่มอีก ผมล่ะงง..เพราะคนที่เป็นอาจารย์ส่วนใหม่จะอยู่กับทฤษฎีและตำราไม่ค่อยออกมาหาประสบการณ์จริงด้านสังคม อยากให้กลุ่มอาจารย์เข้ามาศึกษาและแก้ไขปัญหาของวิชาชีพด้วยครับ ... ด้วยความเคารพ