New Document









บทความ ดร.อุกฤษ การแก้ รธน.

บทความ ดร.อุกฤษ การแก้ รธน.

โพสต์โดย pharmakop » 24 ก.ย. 2008, 13:50

คำให้สัมภาษณ์บางส่วนของศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวินข้างล่างนี้เป็นความเห็นของท่านเกี่ยวกับความไม่ชอบธรรมและหลักคิด ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550

รัฐธรรมนูญฉบับนี้(ปี2550)ต้อง แก้เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ ต้องการสร้างความอ่อนแอให้กับพรรคการเมือง สร้างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมาด้วยการรังเกียจนักการเมือง สร้างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมาโดยการดูถูกประชาชน โดยแบ่งประชาชนเป็นประเภทที่ชนชั้นสูงกับชนชั้นล่างธรรมดา ไม่ได้คิดถึงแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยเนี่ยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน เราจะไปบอกว่าเรามีความคิดอย่างนี้ถูกต้องโดยไม่ฟังเสียงประชาชนไม่ได้ ?ประชาชนตาสี ตาสาอะไรก็ตาม หรือมีอายุ 18ปีขึ้นไป 42 ล้านคน 42 ล้านเสียงคือเสียงที่เป็นใหญ่ในแผ่นดินเพราะฉะนั้นใครจะมากำหนดกฏเกณฑ์อะไร ไม่ได้

เพราะฉะนั้นที่บอกว่า รธน. ฉบับนี้สร้างสมมติฐานขึ้นมาโดยต้องการสร้างให้พรรคการเมืองมีความอ่อนแอ สร้างขึ้นมาด้วยการรังเกียจนักการเมืองว่าเป็นคนที่ควรจะกำจัดไปให้หมดโดย เฉพาะนักการเมืองที่เขาเล่นการเมืองมาเป็นเวลานานเป็นสิบๆปี ทำประโยชน์ให้กับบ้านเมืองก็มาก คนเราไม่ใช่ว่าทำอะไรดีทั้งหมด มีส่วนเสียก็มีแต่เมื่อเทียบเคียงส่วนดีกับส่วนเสียที่เค้าก็ช่วยกันประคับ ประคองพยุงบ้านเมืองมาจนถึงบัดนี้ สร้างพรรคการเมืองขึ้นมาจนเป็นปึกแผ่น สร้างนักการเมืองมาเป็นปึกแผ่น เราต้องการจะทำลายล้างพวกนี้ไปหมดนี่คือหลักคิดของรธน. ฉบับนี้และข้อสำคัญคนที่เอาตั้งขึ้นมาเป็นที่กำหนดว่าควรจะยุบ-ไม่ยุบ ผิด-ไม่ผิดต้องถามเสียก่อนว่าเราคือใคร 4 คน 5 คน กกต. องค์กรอิสระต่างๆนี่มาจากใคร ประชาชนเขาให้การรับรองไหม อำนาจของ 4-5 คนนี้มาจากใคร มาจากคณะปฏิวัติใช่หรือไม่


แม้ว่าพรรคพลังประชาชนจะมีมติในเบื้องต้นให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพื่อลดแรงกดดันจากกระแสสังคมที่ต่อต้านกระบวนการรื้อกติกาบ้านเมืองเพื่อผล ประโยชน์ของตัวเองแล้วก็ตาม

แต่ดูเหมือนผู้หลักผู้ใหญ่ที่คร่ำหวอด การเมืองไทยทั้งในทางทฤษฎีและ ปฏิบัติอย่าง ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน อดีตประธานวุฒิสภาหลายสมัย จะยังคงฟันธงว่า นั่นไม่ใช่ทางออกจากวิกฤติที่อาจนำไปสู่เหตุการณ์ ?นองเลือด? ในบ้านเมืองดังที่มีโหรบางรายทำนายทายทัก

?แก้รัฐธรรมนูญไม่ว่าจะแก้ 2-3 มาตราหรือ 10 มาตรา ก็ทะเลาะกันไม่จบและยืดเยื้อ มาแก้ทีละมาตราก็ทะเลาะกัน เดี๋ยวก็นองเลือด จะแก้ทั้งฉบับ 50 ประเด็น อยากถามว่ากี่ปีจึงจะจบ ก็เถียงกันอยู่นั่น แล้วใครจะเป็นคนตัดสิน บรรยากาศตอนนี้แก้มาตราไหนก็ไม่เอาทั้งนั้น? ดร.อุกฤษ เริ่มต้นวิเคราะห์อย่างคนที่มองธรรมชาติการเมืองไทยได้ทะลุ

ด้วยเหตุ นี้เขาจึงเสนอให้ทำประชามติอีกรอบ โดยโยนโจทย์ให้ประชาชนเลือกเองว่า ระหว่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กับรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ถูกฉีกทิ้งไปจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 ประชาชนจะเลือกฉบับไหน

?อย่าไปห่วงเรื่องเสียเงินเสียทอง ควรจะทำประชามติไปเลย ถ้าประชาชนเอารัฐธรรมนูญปี 2550 ก็จบ แต่ถ้าจะเอาปี 2540 ก็บอกไว้ก่อนว่าจะมีการแก้ไขให้เหมาะสมทีหลัง อย่าไปคิดแก้เป็นมาตรา เพราะเถียงกันไม่จบ เมื่อลงประชามติแล้วเป็นอย่างไร ทุกฝ่ายต้องยอมรับให้เป็นไปตามนั้น?

ดร.อุกฤษ อธิบายว่า สาเหตุที่เสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นตัวเลือก ก็เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากประชาชนอย่างแท้จริง และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายว่าดีจริง ฉะนั้นหากใครที่มองว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ดีกว่า ก็ต้องอธิบายให้ประชาชนลงคะแนนให้

เขาบอกด้วยว่า กระบวนการลงประชามติครั้งนี้ ฝ่ายที่ได้รับชัยชนะจะไม่ใช่ฝ่ายที่ได้คะแนนสนับสนุนมากกว่าเท่านั้น แต่ต้องได้คะแนนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ

?เรา ต้องตั้งเกณฑ์แบบนี้ถึงจะเป็นประชามติจริงๆ ไม่ใช่ใช้แค่เสียงข้างมาก และกระบวนการก่อนลงคะแนนจะให้โอกาสเท่าเทียมกันในการแสดงข้อมูลข้อคิดเห็น โดยให้เวลา 3 เดือน หากฝ่ายไหนได้คะแนนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงก็จะถือว่าเป็น เด็ดขาด?

ส่วนเรื่องคดีความที่บางคนบางพรรคโดนเล่นงานอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญของการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ดร.อุกฤษ ก็เสนอทางออกเอาไว้เช่นกัน

?คดีความต่างๆ จะไม่กระทบ แต่ให้ดำเนินการต่อไปตามหลักนิติธรรมสากล แค่นั้นก็จบ จะไม่มีการล้มคดี เพียงแต่ต้องเปิดทางให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ต่อสู้ตามหลักการนิติธรรมสากล ขณะที่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ก็ให้เขียนบทเฉพาะกาลเอาไว้ว่าให้มีผลกับการเลือกตั้งคราวหน้า?

อย่าง ไรก็ดี เป็นที่ชัดเจนว่า เหตุผลของฝ่ายคัดค้านยังคงพุ่งเป้าไปที่มาตรา 237 ซึ่งระบุให้การกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใด หากกรรมการบริหารพรรครู้เห็นหรือไม่ระงับยับยั้ง ก็ให้ถือเป็นความผิดของพรรคการเมืองด้วย ซึ่งมีโทษร้ายแรงถึงขั้นยุบพรรคนั้น แน่นอนว่าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะแก้ทั้งฉบับหรือบางมาตรา ก็ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องถอดสลักมาตรา 237 ทิ้งไป เพราะเป็นผลร้ายของฝ่ายการเมือง

แต่ ดร.อุกฤษ พยายามชี้ชวนให้สังคมมองในมุมตรงกันข้ามบ้าง

?มาตรา 237 ได้มาจากอะไร? เขาตั้งคำถาม และว่า ?ทีคุณไปฉีกรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่มาจากประชาชนทิ้ง ทำไมไม่กลับไปหาจุดนั้น ของดีคุณไปฉีก แล้วคุณรับของโจร พอเขาจะมาแก้ไขของโจร คุณบอกแก้ไขไม่ได้ มันก็ประหลาด คุณต้องกลับไปหาของดีสิ แต่นี่มาร่างกันใหม่ แล้วบอกว่าใครมาแตะต้องไม่ได้ อย่างนี้ถูกต้องหรือไม่ เพราะสิ่งที่ดีกว่านี้ ศักดิ์สิทธิ์กว่า คุณยังฉีกทิ้งได้เลย รัฐธรรมนูญ 2540 ดีกว่าแน่นอนเพราะมาจากประชาชนอย่างแท้จริง?

?คุณฉีกของดีกว่า แล้วคุณมาใช้ของไม่ดี เมื่อเขาจะมาแก้ไข ก็ห้ามแก้ บอกว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว แล้วกัน?องค์กรต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาตรวจสอบก็เป็นปฏิปักษ์มุ่งแต่จะทำลายคนบางกลุ่ม หรือพรรคการเมืองบางพรรคทั้งนั้น ฉะนั้นควรให้ประชาชนตัดสิน?

เมื่อ ขอความเห็นในฐานะอาจารย์สอนกฎหมายที่มีลูกศิษย์ลูกหาเต็มบ้านเต็ม เมือง โดยให้มองรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งเป็นกติกาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลหลังการรัฐประหารสู่รัฐบาลจากการ เลือกตั้ง ดร.อุกฤษ พูดตรงๆ อย่างไม่เกรงใจว่า ?รับไม่ได้จริงๆ?

?เรา ไม่ได้มีอคติอะไรเลยนะ แต่รับไม่ได้ เพียงแค่มาตรา 309 มาตราเดียวก็รับไม่ได้แล้ว ไม่เคยมีรัฐธรรมนูญฉบับไหนกำหนดให้ลบล้างการกระทำความผิดของตนเองทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญปี 2550 เน้นมากเรื่องหลักนิติธรรม?

ดร. อุกฤษ กางรัฐธรรมนูญแล้วชี้ให้ดูเรียงมาตรา พร้อมทั้งบอกว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ได้รับรองหลักนิติธรรมเอาไว้มากมายหลายแห่ง เช่น ในมาตรา 3 ระบุว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม

?คำว่าหลักนิติธรรม ปรากฏอยู่ในหลายมาตรา รวมทั้งหลักเรื่องความเป็นธรรม เรื่องสิทธิเสรีภาพ และกระบวนการยุติธรรมด้วย เป็นการบัญญัติเอาไว้อย่างถูกต้อง งดงาม สวยหรู แต่ขณะเดียวกันในมาตราอื่นๆ กลับไม่ได้เป็นไปตามนั้น เช่น มาตรา 309 ก็ขัดกับมาตรา 3 ไปในตัว เพราะไม่ได้เป็นไปตามหลักนิติธรรม?

ในความ เห็นของ ดร.อุกฤษ ซึ่งเป็นทั้งผู้ก่อตั้งและอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า การดำเนินการต่างๆ ขององค์กรอิสระหรือองค์กรตรวจสอบที่ตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร ไม่ได้เป็นตามหลักนิติธรรมสากล แม้จะเป็นไปตามคำสั่งหรือประกาศของคณะปฏิวัติ แต่คำสั่งและประกาศเหล่านั้นก็ขัดกับหลักนิติธรรมสากลอยู่ดี ฉะนั้นเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ออกมาใช้บังคับแล้ว ต้องถือว่าคำสั่ง ประกาศต่างๆ นั้นสิ้นผลไป ต้องกลับมาดำเนินการตามหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ

?คณะ บุคคลและองค์กรต่างๆ ที่ได้รับอำนาจ หรือได้ดำเนินการใช้อำนาจตามประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิวัติ โดยมารยาทแล้วจะต้องสลายตัวไป ปล่อยให้องค์กรอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมาดำเนินการต่อตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ไม่ควรมาต่ออายุหรือรับรองให้องค์กรเดิมมีอำนาจต่อไปอีก ไม่เช่นนั้นก็จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีหรือต่อต้านกันไม่สิ้นสุด? ดร.อุกฤษ กล่าว

ท่ามกลางบรรยากาศของความสับสนวุ่นวายในบ้านเมือง จากปัญหาการตีความกฎหมายเข้าข้างตัวเอง หรือกลุ่มพวกของตัวเอง ดร.อุกฤษ ยังขอให้ทุกฝ่ายตั้งสติ และย้อนคิดไปถึงเจตนารมณ์เบื้องแรกของการมีกฎหมายในสังคมมนุษย์

?กฎหมาย ที่เขาบัญญัติขึ้นนั้น โดยหัวใจก็คือเพื่อความสงบเรียบร้อยและความยุติธรรมของบ้านเมือง ซึ่งความสงบเรียบร้อยนั้นรวมถึงเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมด้วย การตีความกฎหมายจึงหนีไม่พ้นที่จะต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านั้น เพราะนั่นคือความยุติธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่ความยุติธรรมตามลายลักษณ์อักษร?

ทั้ง นี้และทั้งนั้น ประเด็นที่ ดร.อุกฤษ ย้ำหลายครั้งตลอดการสนทนาก็คือ ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จึงต้องคำนึงถึงความประสงค์ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ

?อย่างเช่น มีการแจ้งข้อหาว่าทุจริตซื้อเสียง ส.ส.ระบบสัดส่วน? เขายกตัวอย่าง ?ในหน่วยนั้นมีประชาชนมีสิทธิเลือกตั้ง 8 ล้านคน แต่มีข้อกล่าวหาน่าเชื่อว่ามีการซื้อเสียงจากคน 10 คน ได้เงินไปคนละ 2 หมื่นบาท กรณีอย่างนี้ถ้ามีหลักฐานจริงต้องลงโทษ แต่ถ้าเพียงเชื่อว่า ไม่ควรจะเอาเป็นเอาตาย เพราะเหตุว่าเงิน 2 แสนบาท มันแทบไม่กระทบกระเทือนกับผลการเลือกตั้งของคน 8 ล้านคนเลย?

และว่า สิ่งสำคัญที่สุดของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพคือ ต้องมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ

?การ ไม่ต้องการให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ ซึ่งเป็นความชัดเจนของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผมบอกได้เลยว่าคิดแค่นี้ก็ผิดแล้ว เป็นการทำลายชาติ รัฐบาลที่ตั้งขึ้นก็ทำอะไรก็ไม่ได้ ถูกยื้อ ถูกคัดค้าน ถูกตรวจสอบ นักการเมือง อย่างนี้มันผิดหมด เพราะคนร่างรัฐธรรมนูญไม่เคยสัมผัสกับการเมือง ใช้จินตนาการในการร่างเพื่อกำจัดพรรคการเมืองประชานิยมบางพรรคออกไปจากเวที เท่านั้นเอง?

ในมุมของ ดร.อุกฤษ เขามองว่าการยุบพรรคไม่ได้แก้ปัญหาการเมือง แต่เป็นเรื่องที่สู้กันไม่ได้ในกติกาเดิม แล้วก็รื้อเวที สร้างกติกาใหม่ โดยไม่ฟังเสียงคนดู แถมยังไล่แชมป์ลงจากเวทีหมด เพื่อไม่ให้มีโอกาสลงแข่ง ทว่าสุดท้ายมันจะไม่ช่วยอะไร

อดีตประธานวุฒิสภาหลายสมัยซึ่งเป็นมือ กฎหมายระดับประเทศ กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า การตีความกฎหมายต้องตีตามลายลักษณ์อักษร เจตนารมณ์ของผู้ร่าง และจารีตประเพณี ถ้าตีความตามนี้จะไม่มีปัญหา แต่เหตุที่มีปัญหาคือตีความโดยใช้อคติเป็นที่ตั้ง ตีความแบบมีธงล่วงหน้า อย่างนี้ทะเลาะกันไม่จบ

?ไม่อย่างนั้นต่อไปการบัญญัติกฎหมายคงต้องมี คำอธิบายหรือนิยามกันทุกคำ ว่าความยุติธรรมคืออะไร ความเป็นธรรมก็ต้องขอนิยามไว้ด้วย หรือประชาธิปไตยที่ถูกต้องคืออะไร อาจจะแปลกกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่นในโลก แต่ต้องทำเพื่อความชัดเจน จะได้ไม่ต้องมาทะเลาะกันอีก?

เป็นเสียงให้สติทิ้งท้ายจากผู้หลักผู้ใหญ่อีกคนในบ้านเมือง!

bangkokbiznews
ภาพประจำตัวสมาชิก
pharmakop
 
โพสต์: 227
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2006, 15:41
ที่อยู่: ร้อยเอ็ด







ย้อนกลับไปยัง เหตุบ้าน การณ์เมือง

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document