New Document









เหตุการณ์รุนแรงที่อุดรฯและบุรีรัมย์

เหตุการณ์รุนแรงที่อุดรฯและบุรีรัมย์

โพสต์โดย med_pharm » 25 ก.ค. 2008, 14:25

ขอแสดงความเสียใจ แก่ ผู้ที่บาดเจ็บ

และขอแสดงความเสียใจ แก่ประชาธิปไตยของไทย

ที่โดยเนื้อหาประชาธิปไตย ไม่เคยก้าวไกลไปไหน

เพราะถูกครอบงำ จากความคิดที่ถูกขีดกรอบให้

หากใครมีความคิดเห็นแตกต่าง

กลับใช้วิธีการอนารยะ เยี่ยงเดรัจฉานทั่วไป ในการตัดสินแก่มนุษย์ทั้งหลาย

ประเทศชาติก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไร

หากผู้คนในชาติยังยึดติดแต่การใช้กำลัง เข้าห้ำหั่น เพียงเพราะคิดต่าง

เวรกรรม
ภาพประจำตัวสมาชิก
med_pharm
 
โพสต์: 96
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ธ.ค. 2006, 19:34







Re: เหตุการณ์รุนแรงที่อุดรฯและบุรีรัมย์

โพสต์โดย med_pharm » 25 ก.ค. 2008, 14:52

ชมภาพเหตุการณ์ที่อุดรธานีได้ที่

http://www.manager.co.th/Multimedia/Default.html

ทำให้นึกถึงกลยุทธ์มวลชนทำร้ายมวลชน ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

ที่มีกลุ่มกระทิงแดง และกลุ่มอื่นๆ เข้าใช้ศาลเตี้ย ตัดสินให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดีที่ พ.ศ. นี้ ไม่มีใครเสียชีวิต

แต่ไม่แน่ครั้งหน้า กลุ่มใช้ความรุนแรง อาจหยิบยื่นให้แม้แต่ความตาย

อย่าลืมว่า กลียุค ใช่ว่าไม่เคยเกิดในประเทศไทย
ภาพประจำตัวสมาชิก
med_pharm
 
โพสต์: 96
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ธ.ค. 2006, 19:34

Re: เหตุการณ์รุนแรงที่อุดรฯและบุรีรัมย์

โพสต์โดย เภสัชทุง » 25 ก.ค. 2008, 19:32

ไม่น่าเชื่อว่า บุคคลเพียง 2 คน จะทำให้คนไทยแตกแยกจนห้ำหั่นกันได้ขนาดนี้ และวิธีการก็พลิกแพลงสลับซับซ้อนมากขึ้นทุกที

ขนาดคุณสุริยะใส ยังเคยให้คำปราศรัยในเวทีพันธมิตรว่า รู้สึกหนักใจ ที่ฝ่ายตรงข้าม ใช้กลยุทธ์มวลชนตำราเดียวกับเรา การต่อสู้จึงยากลำบากขึ้น

เพราะเมื่อฝ่ายพันธมิตรใช้ยุทธศาสตร์ดาวกระจาย กลุ่มต่อต้าน ก็ใช้ยุทธศาสตร์ตีกระจุย

ฝ่ายพันธมิตรจ้างคน ตจว.มาร่วมม็อบ ฝ่ายต่อต้าน ก็จ้างเหมือนกัน

ฝ่ายพันธมิตรใช้การข่าว สร้างกระแส มา 10 รายงาน 100 ฝ่ายต่อต้านก็เช่นกัน

ยกตัวอย่าง คราวล่าสุด มีม๊อบไล่พันธมิตรที่นครพนม ก็ถูกจ้างมาจากอำเภอทางเหนือ หัวละ 500 ประมาณ 30 คน แต่ไปตีข่าวว่ามาสัก 500 คน (สงสัยรวมไทยมุง)

ส่วนฝ่ายพันธมิตร ม๊อบไล่เหลิมที่ชัยภูมิมาแค่ 30 แต่ผู้จัดการรายงานว่ามาเป็น 100 คน

ดูแล้วมันก็พอๆ กันทั้งน้านนน เฮ้อ !!!! Siam Wars นี่ ซับซ้อนกว่า สามก๊ก เสียอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุการณ์รุนแรงที่อุดรฯและบุรีรัมย์

โพสต์โดย med_pharm » 26 ก.ค. 2008, 18:06

สิ่งที่ไม่เท่ากันของ 2 ฝ่ายคือ

ฝ่ายหนึ่งมีอาวุธ อีกฝ่ายไม่มี

ฝ่ายหนึ่งรุก อีกฝ่ายเพียงตั้งรับ

หากเป็นการทำร้ายกันเพียงสงครามน้ำลาย หรือสงครามความคิด ก็แล้วไป

แต่การใช้กำลังทำร้ายกันทางกายภาพ

ก็เวรกรรม

แสดงถึงการแสดงความนึกคิดในการแก้ปัญหา เพียงแต่ใช้กำลัง แก้ปัญหา

พวกที่เคยปฏิเสธ การยึดอำนาจโดยปลายกระบอกปืน

แต่กลับใช้วิธีอันธพาล ในการแก้ปัญหา
ภาพประจำตัวสมาชิก
med_pharm
 
โพสต์: 96
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ธ.ค. 2006, 19:34

Re: เหตุการณ์รุนแรงที่อุดรฯและบุรีรัมย์

โพสต์โดย med_pharm » 26 ก.ค. 2008, 20:02

ในสมัย 6 ตุลาคม 2519 คนที่เป็นรมต.มหาดไทย ชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช

ผมลองเข้าไปดูใน http://www.2519.net/autopage/show_page. ... 30&d_id=25 เจอสิ่งนี้ครับ

ประกาศกระทรวงมหาดไทย

เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามผู้ใดมีไว้ครอบครอง



ด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อไปนี้ เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ซึ่งเสนอข่าวสาร บทความ และข้อเขียนแสดงความคิดเห็นอันส่อไปในทางก่อให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในชาติ หรือชี้นำผู้อ่านให้เกิดความนิยมเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน หรือให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน คือ (click ที่ชื่อเรื่องเพื่อดูรายละเอียดของหนังสือ)



1. การเมืองเรื่องของประชาชน เขียนโดย แนวร่วมประชาชาติกันทรารมย์

2. เกาอี้เป่า เขียนโดย เกาอี้เป่า

3. การ์ตูนปฏิวัติจากจีนใหม่ กองทหารหญิงแดง จดหมายขนไก่ สงครามอุโมงค์ เขียนโดย หวาซาน หลิวจี้อิ่ว

4. การปฏิวัติของจีน เขียนโดย กองบรรณาธิการ สังคมศาสตร์ปริทัศน์

5. การศึกษาปฏิวัติประชาชนลาว เขียนโดย ไกรสร พรหมวิหาร

6. ก่อนไปสู่ภูเขา แปลโดย สถาพร ศรีสัจจัง

7. กาพย์กลอนเหมาเจ๋อตุง แปลโดย ประไพ วิเศษธานี

8. เข้าโรงเรียน เขียนโดย กวั่นหวา

9. ข้อขัดแย้งระหว่างสหภาพโซเวียต กับ จีน เขียนโดย กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เหยินหมิน ยึเป้า และกองบรรณาธิการนิตยสารหงฉี

10. คติพจน์ประธานเหมาเจ๋อตุง ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน แต่พิมพ์ที่สำนักพิมพ์ต่างประเทศ ปักกิ่ง และสุนทรการพิมพ์ หจก.จรัลสนิทวงศ์ บางพลัด กรุงเทพมหานคร

11. คัมภีร์นักปฏิวัติ เขียนโดย กลุ่มอิสานปฏิวัติ

12. คาร์ลมาร์กซ์ ผู้สร้างทฤษฎีนิรันดร เขียนโดย วิตาลี ไวกอดสกี

13. ความชัดเจนทางประวัติศาสตร์ของเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ ไม่ปรากฏผู้เขียน แต่พิมพ์ที่สุวิทย์การพิมพ์ ซอยอรรถสิทธ์ สาธรใต้ กรุงเทพฯ

14. เคียงข้างกันสร้างสรรค์โลก เขียนโดย แสงเสรี

15. ความคิดของเหมาเจ๋อตุง เขียนโดย สุรัฐ โรจนวรรณ

16. โจวเอินไหล ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน แต่พิมพ์ที่วัชรินทร์การพิมพ์ 364 ถนนพระสุเมรุ กรุงเทพฯ

17. จะวิเคราะห์ชนชั้นในชนบทอย่างไร เขียนโดย กลุ่มเยาวชนรับใช้ชาติ

18. จากโฮจิมินห์ ถึง เปลื้อง วรรณศรี เขียนโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี

19. จรยุทธ-ใต้ดิน เขียนโดย ตะวันฉาย

20. จีนคอมมิวนิสต์ เขียนโดย สนอง วิริยะผล

21. จิตใจปฏิวัติ ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน แต่พิมพ์ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน

22. จีนแผ่นดินแห่งการปฏิวัติตลอดกาล เขียนโดย Jan Myrdal & Gun Kessle

23. ลัทธิสังคมนิยมแบบเพ้อฝันและแบบวิทยาศาสตร์ แปลโดย อุทิศและโยธิน

24. ลัทธิวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ เขียนโดย ตะวันฉาย

25. ลัทธิเลนิน กับลัทธิแก้สมัยใหม่ เขียนโดย ชมรม 13

26. ลัทธิเลนินจงเจริญ เขียนโดย กองบรรณาธิการนิตยสารหงฉี

27. ลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ว่าด้วยทฤษฎีสังคมนิยมที่เป็นวิทยาศาสตร์ แปลโดย ศูทร ศรีประชา

28. ว่าด้วยรากฐานทางสังคมกลุ่มหลินเปียวที่ค้านพรรค เขียนโดย เหยาเหวินหยวน

29. วิจารณ์คำแถลงของพรรคคอมมิวนิสต์อเมริกา กระจกส่องพวกลัทธิแก้ ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน แต่พิมพ์ที่ธเนศ วรการพิมพ์ 489 ถนนบำรุงเมือง กรุงเทพฯ

30. วิพากษ์ลัทธิแก้ ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน แต่พิมพ์ที่ สมชายการพิมพ์ 270/77 ซอยวิมลสรกิจ บางยี่ขัน กรุงเทพมหานคร

31. วัฒนาการความคิดสังคมนิยม เขียนโดย ชาญ กรัสนัยปุระ

32. ว่าด้วยรัฐบาลรวม เขียนโดย เหมาเจ๋อตุง

33. วิเคราะห์การต่อสู้ของพรรคลาวด๋อง เขียนโดย ธีรยุทธ บุญมี

34. วิวัฒนาการของมาร์กซิสม์ เขียนโดย น.ชญานุตม์

35. วัฒนธรรมจีนใหม่ เขียนโดย ไจ๋เปียน

36. วี.ไอ.เลนิน-รัฐ เขียนโดย ชมรมหนังสือแสงดาว

37. วีรบุรุษสู้รบ เขียนโดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาอีสานแห่งประเทศไทย

38. ว่าด้วยประชาธิปไตยรวมศูนย์ แปลโดย เศรษฐวัฒน์ ผดุงรัฐ

39. ลัทธิวัตถุนิยมวิภาษและวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ เขียนโดย โจเซพ สตาลิน ประกาย สุชีวิน แปล

40. ภาวะของศิลปะใต้ระบอบเผด็จการฟาสซีสม์ เขียนโดย จิตติน ธรรมชาติ

41. หลักลัทธิเลนิน เขียนโดย บำรุง ไพรัชวาที

42. หนทางการปฏิวัติไทย ไม่ปรากฏผู้แต่ง และไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์

43. 50 ปี พรรคคอมมิวนิสต์คิวบา 50 ปี สหพันธ์สตรีคิวบา ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง แต่พิมพ์ที่ ประจักษ์การพิมพ์ กรุงเทพฯ

44. เดินทางทัพทางไกลไปกับประธานเหมา เขียนโดย เฉินชางเฟิ่ง

45. เดินทางไกลครั้งที่ 2 เขียนโดย เหยิน จางหลิน

46. หยางกึนซือวีรชนอมตะ เขียนโดย ว่างเฮา

47. เหมาเจ๋อตุง ผู้นำจีนใหม่ เขียนโดย เทิด ประชาธรรม

48. นอร์แมน เบทูน แปลโดย ศรีนรา

49. บนเส้นทางไปสู่สังคมนิยมจีน เขียนโดย ธีรยุทธ บุญมี

50. บทกวีเพื่อผู้ถูกกดขี่ เขียนโดย วิทยากร เชียงกูล

51. คาร์ลมาร์กซ์ ค่าจ้าง ราคา และกำไร แปลโดย ประสาท ลีลาเธียร

52. บันทึกของไพ่ฉวิน ม่านเทียนเสื่อ แปลโดย แจ่ม จรัสแสง

53. ประวัติศาสตร์ 30 ปี ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เขียนโดย หูเฉียวมุ เจอดจำรัสแปล

54. ถังเหล่ยเวียดนาม เขียนโดย อุดร ทองน้อย

55. ทหารน้อยจางก่า เขียนโดย สีกวงเย่า

56. แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ เขียนโดย คาร์ล มาร์กซ์ เฟรเดอริค เองเกลส์

57. บทวิเคราะห์วรรณกรรมยุคศักดินา เขียนโดย จิตร ภูมิศักดิ์

58. ปัญหาลัทธิเลนินในยุคของเรา เขียนโดย ชมรม ดาวรุ่ง

59. แนวร่วมปลดแอกของโฮจิมินห์ เขียนโดย บัณฑูร เวชสาร

60. นิพนธ์ปรัชญา 4 เรื่องของประธานเหมาเจ๋อตุง แปลโดย ชมรมหนังสือรวงข้าว

61. แนวทางแห่งการต่อสู้ แนวทางแห่งชัยชนะ เขียนโดย กลุ่มพลังชน

62. นักศึกษาจีนแนวหน้าของขบวนการปฏิวัติสังคม แปลโดย เทิด ธงธรรม วรรณา พรประเสริฐ

63. ด้วยเลือดและชีวิต เขียนโดย จิตร ภูมิศักดิ์

64. แนวร่วมเอกภาพเพื่อการปลดแอกแห่งชาติ เขียนโดย ชมรมหนังสืออิสรภาพ

65. ทฤษฎีการเมืองว่าด้วยเศรษฐศาสตร์การเมือง สำหรับชนชั้นกรรมาชีพ แปลโดย เมธี เอี่ยมเจริญ

66. ชีวทัศน์หนุ่มสาว ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน แต่พิมพ์ที่บริษัทบพิธการพิมพ์ 70 ถนนราชบพิธ กรุงเทพมหานคร

67. ชีวทัศน์เยาวชน ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน และไม่ปรากฏที่พิมพ์

68. ชาวนาไทยกับการเปลี่ยนแปลง แปลโดย สุเทพ สุนทรเภสัช

69. เช กูวารา นายแพทย์นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ เขียนโดย ศรีอุบล

70. ชีวิตในคอมมูน เขียนโดย สันติสุข

71. ชนกรรมาชีพทั่วโลก จงสามัคคีกันคัดค้านศัตรูร่วมกับเรา เขียนโดย สำนักพิมพ์เข็มทิศ

72. ซ้ายทารก เขียนโดย วี.ไอ.เลนิน

73. สืบทอดภารกิจปฏิวัติ เขียนโดย ชมรมดาวรุ่ง

74. สุนทรพจน์ของประธานเหมาเจ๋อตุง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง แต่พิมพ์ที่ศรีเพ็ชรการพิมพ์ 169/120 ตรอกวัดดีดวด บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

75. สงครามปฏิวัติ เขียนโดย ชมรมดาวรุ่ง

76. สงครามกองโจรของ เช กูวารา แปลโดย ฤตินันทน์

77. สรรนิพนธ์ โฮจิมินห์ แปลโดย วารินทร์ สินสูงสุด ปารวดี วรุณจิต

78. เสียงร้องของประชาชน แปลโดย จิรนันท์ พิตรปรีชา

79. สงครามยืดเยื้อ เขียนโดย เหมาเจ๋อตุง

80. สรรนิพนธ์เลนิน คอมมิวนิสต์ปีกซ้าย โรคไร้เดียงสา แปลโดย นพคุณ ศิริประเสริฐ

81. สรรนิพนธ์เลนิน เพื่อคนจนในชนบท แปลโดย พัลลภา ปั้นงาม

82. สงครามอุโมงค์ เขียนโดย เจ๋อเหมย ปี้เหลย

83. สตรีกับภารกิจแห่งการปฏิวัติ เขียนโดย จินดา ไชยโยทยาน

84. ยืนหยัดเคียงบ่าเคียงไหล่ ต่อสู้กับคลื่นลม ไม่ปรากฏผู้เขียน และไม่ปรากฏที่พิมพ์

85. ระลึกคอมมูนปารีสครบร้อยปี เขียนโดย ชมรมหนังสือตะวันแดง

86. ศัพทานุกรมปรัชญา เขียนโดย เมธี เอี่ยมเจริญ

87. สาธารณรัฐประชาชนจีน แปลโดย ถ่องแท้ รจนาสัณห์

88. เมาเซตุง เขียนโดย ศิรวิทย์

89. ยูโกสลาเวีย เป็นสังคมนิยมจริงหรือ ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน แต่พิมพ์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

90. ปัญหาปฏิวัติประเทศไทย เขียนโดย กลุ่มชนภูเขา

91. เอกสารสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 10 ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน เขียนโดย กลุ่มเยาวชนรักชาติ

92. โฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ไทย เขียนโดย สายใย เทอดชูธรรม

93. พระเจ้าอยู่ที่ไหน เขียนโดย นายผี

94. พระสงฆ์ลาวกับการปฏิวัติ เขียนโดย คำตัน

95. แล้วเราก็ปฏิวัติ ไม่ปรากฏผู้เขียน แต่พิมพ์ที่ เจริญวิทย์การพิมพ์ บ้านพานถม กรุงเทพมหานคร

96. รัฐกับการปฏิวัติ เขียนโดย วี.ไอ.เลนิน

97. เลนินจักรวรรดินิยมชั้นสูงสุดของทุนนิยม แปลโดย ประสาท ลีลาเธียร

98. ว่าด้วยปัญหาที่ดินและชาวนาของประธานเหมาเจ๋อตุง ไม่ปรากฏผู้เขียน และไม่ปรากฏที่พิมพ์

99. วีรสตรีจีนปฏิวัติหลิวหูหลาน แปลโดย วีรจิตร

100. อัลเยนเด้วีรปฏิวัติ เขียนโดย สูรย์ พลังไทย



อาศัยอำนาจตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 43 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519 ข้อ 2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าเอกสารสิ่งพิมพ์ รวม 100 ฉบับ ตามรายชื่อข้างต้นซึ่งต้องห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ครอบครอง



ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม 2520



สมัคร สุนทรเวช

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย


สังเกตดูว่า การประกาศอาศัยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองฯ ในสมัยนั้น

แต่ปี พ.ศ.นี้ กลับพยายามไม่ยอมรับ ปชช. (ที่บอกว่ามีที่มาจาก คณะปฎิรูปฯ) และพยายามอ้างประชาธิปไตย แบบ......

และคำพูดสมัยนี้ที่บอกว่า 6 ตุลาคม 2519 มีคนตายเพียงคนเดียว
ภาพประจำตัวสมาชิก
med_pharm
 
โพสต์: 96
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ธ.ค. 2006, 19:34

Re: เหตุการณ์รุนแรงที่อุดรฯและบุรีรัมย์

โพสต์โดย med_pharm » 26 ก.ค. 2008, 20:14

และเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ที่คล้ายกับสมัยนี้

http://www.2519.net/newweb/doc/histry/1.doc

27 มิถุนายน 2519

กิตติวุฒโฑภิกขุ ให้สัมภาษณ์ น.ส.พ.จัตุรัส ว่า ?การฆ่าคนเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือเป็นบุญกุศลเหมือนฆ่าปลาแกงใส่บาตรพระ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
med_pharm
 
โพสต์: 96
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ธ.ค. 2006, 19:34

Re: เหตุการณ์รุนแรงที่อุดรฯและบุรีรัมย์

โพสต์โดย midnite » 29 ก.ค. 2008, 00:14

มีแหล่งข่าวจากอุดร บอกผมว่า คนและกลุ่มคนที่เข้าทำการที่ถูกมองว่าป่าเถื่อนและเข้าข่ายการพยายามฆ่านั้น
เป็นคน และกลุมคนที่ถูกนำเข้าจากที่อื่นที่ไม่ใช่อุดร บนความเชื่อที่ว่าอย่างไรเสียคนอุดร ก็ไม่ฆ่าคนอุดร

แต่แหล่งข่าวก็ไม่ได้ยืนยันว่าคน และกลุ่มคนที่ถูกตี ปางตายนั้นเป็นคน และกลุ่มคนที่ถูกนำเข้าด้วยหรือไม่

ไม่ว่ากลุ่มคนนั้นๆจะมาจากไหนก็ตามผมไม่เห็นด้วยกับวิธีที่เข้าข่าย"ม็อบ สลาย ม็อบ"

และแหล่งข่าวของผมบอกว่างานนี้นายใหญ่นั่งหัวเราะ.....อิอิ ด้วย

เขาบอกว่านายใหญ่ชอบใช้วิธีนี้ และใช้มาหลายครั้งแล้ว

แต่มุมมองของผมมองว่าครั้งนี้เป็นครั้งที่น่าเกลียดที่สุด

ปล.ผมไม่ได้เข้าข้างกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "พันธมิตรฯ" และ กลุ่มต่อต้านพันธมิตรที่มีสารพัดชื่อนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
midnite
 
โพสต์: 26
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2007, 18:05

Re: เหตุการณ์รุนแรงที่อุดรฯและบุรีรัมย์

โพสต์โดย YOUNGMAN » 01 ส.ค. 2008, 14:14


ฟังเสียงคนทะเลาะกันแล้วหมั่นเขี้ยว
แค่เรื่องเดียวที่รู้พูดอยู่ได้
เหตุการณ์ที่อุดรฯว่าอย่างไร
พูดเฉไฉไปเรื่องอื่นไม่ชื่นทรวง

ความรุนแรงที่แจ้งสำแดงเดช
เพราะมีเปรตมาป่วนกวนประท้วง
เขาจะพูดปราศรัยใช่หลอกลวง
เป็นสิทธิ์พื้นฐานปวงแห่งประชา

ต้องแสดงแจ้งผลถูกหรือผิด
ใช้ความคิดสติตรองข้องปัญหา
คุณธรรมเป็นฐานวัดมาตรา
บอกคุณค่าสมองตนแห่งคนดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
YOUNGMAN
 
โพสต์: 133
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 มิ.ย. 2006, 15:40
ที่อยู่: Siam

Re: เหตุการณ์รุนแรงที่อุดรฯและบุรีรัมย์

โพสต์โดย tayrx9 » 22 ส.ค. 2008, 08:28

ถ้าผมเปนตำรวจจาดูอญุ่ห่างๆ อิอิ กลัวลูกหลง สงสารตำรวจไม่รู้จายืนตรงไหน
tayrx9
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2008, 21:14


ย้อนกลับไปยัง เหตุบ้าน การณ์เมือง

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document