New Document









ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย azzuri » 07 ก.ค. 2008, 23:14

เฮ้ออออ...............ไปซะแล้ว
เภสัชกร = เภสัชกรรม + กรรมกร
อยากให้โลกนี้ไม่มีโชคร้าย
Welcome to My Life
Casa di AzzurRi = บ้านของนาย อัซซูร์รี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร







Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย เภสัชทุง » 08 ก.ค. 2008, 00:13

นึกไม่ออกว่า หากจะบริหารการท่องเที่ยวเฉพาะตัวปราสาท จะทำอย่างไร ..... นักท่องเที่ยวคงต้องปีนขึ้นหน้าผา เดินได้จำกัด หากจะเข้ามาชมบริเวณรอบๆ ก็ต้องขออนุญาตผ่านแดนไทย

พรุ่งนี้ ก็ติดตามว่า ศาลรัฐธรรมนุญจะวินิจฉัยว่า ข้อตกลงร่วมเข้าข่ายสนธิสัญญาหรือไม่

ถ้าเป็นจริง รัฐบาลก็ดูไม่รอดแน่ๆ สาธุ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย med_pharm » 08 ก.ค. 2008, 16:48

งานนี้เหมือนถูกขโมยของครับ

ลูกจ้างที่จ่ายค่าจ้างมันด้วยภาษีของเรา

มันดันขโมยขายกรรมสิทธิ์  ที่ยังกำกวม  ให้แก่คนอื่นไป

แล้วยังหน้าด้านบอกว่าเราไม่เสียอะไร

อุตส่าห์สงวนสิทธิ์ไว้ตั้งแต่ปี 2505  เผื่อวันหน้าอาจได้ทวงคืน

เจอไอ้ลูกจ้างเวร  ดันโกงให้คนอื่นหน้าตาเฉย

คงต้องใช้คำนี้จริงๆ  "พวกเนรคุณ"
ภาพประจำตัวสมาชิก
med_pharm
 
โพสต์: 96
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ธ.ค. 2006, 19:34

Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย เภสัชทุง » 09 ก.ค. 2008, 01:53

ดูรายการตาสว่างแล้วอึ้ง เหมือนกันกับข้อมูลที่อาจารย์เทพมนตรี ลิมปพยอม และสถาบันไทยคดีศึกษานำมาเปิดเผยว่า

ไทยจะเสียพื้นที่ทับซ้อนรอบปราสาทพระวิหารในอีก 2 ปีข้างหน้าตามแผนการจัดการสภาพแวดล้อมของแหล่งมรดกโลก

ภายใต้การร่วมมือกันของเขมรกับอีก 5 ประเทศ จะทำให้ไทยเสียพื้นที่ไปค่อนข้างแน่

และมีการเปิดเผยข้อตกลงลับๆ 5 ข้อที่นพดลไปเซ็นต์รับรองให้เขาในนามประเทศไทย

อืมม  น่าเป็นห่วงครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย เภสัชทุง » 10 ก.ค. 2008, 00:45

รายละเอียดของเอกสารสำคัญทั้ง 3 ชิ้น จากที่ประชุมครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551

หลังการพิจารณาเอกสารการนำเสนอขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของทางการกัมพูชา ตามวาระการประชุมที่ 8บี.102 ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ มีมติ 16 ประการดังคำแปลอย่างไม่เป็นทางการต่อไปนี้

1) หลังจากได้ตรวจสอบเอกสารที่ WHC-08/32.COM/INF.8B.Add2 (เอกสารนำเสนอเพิ่มเติมเพื่อการพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา)

2) สืบเนื่องจากคำตัดสินที่ 31 COM 8B.24 ซึ่งให้คำรับรองว่า "แหล่งศักดิ์สิทธิ์ของปราสาทพระวิหาร นั้นมีความสำคัญอันยิ่งใหญ่ในระดับนานาชาติ และมีคุณค่าอันเป็นสากลที่โดดเด่น ซึ่งเข้าข่ายตามหลักการพื้นฐานข้อ (i), (ii) และ (iv) และเห็นพ้องกันในหลักการที่ว่า ปราสาทพระวิหาร ควรได้รับการขึ้นทะเบียนบรรจุไว้ในรายชื่อมรดกโลก"

3) ที่ประชุมได้บันทึกรับทราบถึง ความคืบหน้าของการดำเนินงานของประเทศภาคีกัมพูชา ในส่วนของพัฒนาการของแผนบริหารจัดการทรัพย์สินดังกล่าวนี้ ตามที่ที่ประชุมสมัยที่ 31 วาระที่ 8บี.24 ร้องขอไว้ในคำตัดสินที่เมืองไครสท์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์

4) ที่ประชุมแสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลของ เบลเยียม, สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส และอินเดีย ที่เอื้อประโยชน์ในการสนับสนุนการดำเนินงานของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายในความพยายามเพื่อการนี้ และต่อรัฐบาลของประเทศจีนและญี่ปุ่น เช่นเดียวกับศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาด้านอนุรักษ์และปฏิสังขรณ์มรดกทางวัฒนธรรม (ไอซีซีอาร์โอเอ็ม) สำหรับการให้ความช่วยเหลือด้านความเชี่ยวชาญในกระบวนการดังกล่าวนี้ด้วย

5) ที่ประชุมได้รับทราบว่า จำต้องเพิกเฉยต่อแถลงการณ์ร่วมซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2008 โดยตัวแทนของรัฐบาลกัมพูชาและไทย เช่นเดียวกับยูเนสโก ซึ่งรวมอยู่ในร่างการนำเสนอซึ่งถูกอ้างถึงอย่างผิดพลาดว่า มีการลงนามเมื่อวันที่ 22 และ 23 พฤษภาคม 2008 ในเอกสารที่ WHC-08/32.COM/INF.8B.Add2 ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามการตัดสินใจของรัฐบาลไทยในอันที่จะระงับผลกระทบผูกพันจากแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวนี้เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งให้ความคุ้มครองชั่วคราวแห่งศาลปกครองกลางของไทย

6) บันทึกรับทราบว่า ประเทศภาคีกัมพูชา ได้ยื่นแผนผังของทรัพย์สิน (อาร์จีพีพี) ซึ่งได้รับการปรับปรุงใหม่ ที่ผนวกอยู่ในเอกสารที่ WHC-08/32.COM/INF.8B.Add2 (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า อาร์จีพีพี) อันแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงขอบเขตของอาณาบริเวณที่นำเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

7) มีคำตัดสินชี้ขาด ภายใต้หลักการพื้นฐานการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ โดยเห็นแก่กระบวนการพหุภาคีอันนำไปสู่การจัดทำรายงานเพิ่มเติมอย่างประณีตซึ่งยื่นประเทศภาคีกัมพูชานำเสนอเมื่อเดือนพฤษภาคม 2008 ตามคำขอของศูนย์มรดกโลกแห่งยูเนสโก ในอันที่จะยอมรับข้อมูลซึ่งนำเสนอโดยรัฐภาคีที่เลยกำหนดเส้นตายที่กำหนดไว้ในย่อหน้าที่ 148 ของแนวทางเพื่อการดำเนินการ ยื่นขอขึ้นทะเบียน

8) ที่ประชุมรับทราบว่า ประเทศไทย ได้แสดงออกซ้ำแล้วซ้ำอีกถึงความปรารถนาที่จะมีส่วนในการนำเสนอปราสาทพระวิหารและอาณาบริเวณโดยรอบขึ้นเป็นมรดกโลกร่วมกับกัมพูชา

9) ที่ประชุมบันทึกไว้ว่า ทรัพย์สินซึ่งนำเสนอเพื่อการขึ้นทะเบียน ถูกปรับลดและมีองค์ประกอบเพียงจำเพาะตัวปราสาทพระวิหารและมิได้รวมถึงส่วนเพิ่มเติมอื่นอันประกอบด้วยผาและถ้ำต่างๆ

10) พิจารณาสืบเนื่องว่า การวิจัยเชิงโบราณคดีในพื้นที่ดังกล่าวยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในเวลานี้ อันอาจบังเกิดผลให้มีการค้นพบใหม่ที่มีนัยสำคัญซึ่งอาจอำนวยให้เกิดข้อควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการนำเสนอใหม่ในแบบข้ามพรมแดน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรับรู้ร่วมทั้งจากไทยและกัมพูชา

11) กระตุ้นส่งเสริมให้กัมพูชาร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับไทยเพื่อปกป้องรักษาคุณค่าของทรัพย์สินนี้ โดยเห็นแก่ข้อเท็จจริงที่ว่าประชาชนทั้งหลายในอาณาบริเวณโดยรอบได้ยึดถือพระวิหารเป็นสมบัติล้ำค่ามายาวนาน และเพื่อให้เห็นพ้องว่า น่าจะเป็นเรื่องพึงปรารถนาในอนาคตในอันที่จะได้สะท้อนถึงคุณค่าอย่างเต็มเปี่ยมของปราสาทและภูมิทัศน์โดยรอบ ผ่านความเป็นไปได้ในอันที่จะมีการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพิ่มเติม เพื่อให้แหล่งมรดกโลกนี้เข้าข่ายตามเกณฑ์ที่ (iii) และ (iv) ตามที่เคยได้รับการรับรองไว้ในคำชี้ขาดของการประชุมคณะกรรมการสมัยที่ 31 วาระที่ 8บี.24

12) ให้นำปราสาทพระวิหาร, กัมพูชา รวมเข้าเป็นหนึ่งในรายการทรัพย์สินที่เป็นมรดกโลก ภายใต้เกณฑ์ที่ (i)

13) กำหนดให้ใช้ถ้อยแถลงดังต่อไปนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าอันเป็นสากลที่โดดเด่น

ปราสาทพระวิหาร อันเป็นเอกในเชิงสถาปัตยกรรมของกลุ่มโบราณสถานที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยทางเดินและบันไดอันมีแกนกลางเป็นระยะทาง 800 เมตร คือสถาปัตยกรรมเขมรที่มีความโดดเด่นระดับมาสเตอร์พีซ ในแง่ของการวางผัง, การประดับตกแต่งและความสัมพันธ์กับภูมิทัศน์แวดล้อมที่พิเศษจำเพาะ

ตามเกณฑ์ที่ i ปราสาทพระวิหารจึงถือเป็นงานสถาปัตยกรรมเขมรชิ้นเอกที่มีความโดดเด่น มีความ "พิสุทธิ์" อย่างยิ่งทั้งในด้านการวางผังและรายละเอียดของการประดับตกแต่ง

ความเป็นจริง

การตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ความถ่องแท้ ในแง่ของกลุ่มปราสาทและวัสดุที่เป็นองค์ประกอบซึ่งดำเนินการไปแล้วได้สะท้อนคุณค่าของทรัพย์สินแห่งนี้ออกมาอย่างชัดแจ้ง ทรัพย์สินแหล่งนี้ประกอบด้วย กลุ่มวิหาร ความสมบูรณ์พร้อมของทรัพย์สินนี้ถูกลดทอนลงในระดับหนึ่งเนื่องจากการขาดหายไปในส่วนเพิ่มเติมภายในอาณาบริเวณโดยรอบของทรัพย์สิน มาตรการเพื่อการคุ้มครองวิหารนี้ ในแง่ของการคุ้มครองเชิงกฎหมายถือว่าเหมาะสมเพียงพอแล้ว ความคืบหน้าในการจำแนกปริมณฑลสำหรับแผนการบริหารจัดการได้มีการดำเนินการแล้วและจำเป็นต้องมีการปรับปรุงรวบรวมเพื่อนำไปสู่แผนการบริหารจัดการฉบับเต็มที่ผ่านการเห็นชอบต่อไป

14) เรียกร้องต่อประเทศภาคีกัมพูชา ภายใต้ความร่วมมือกับยูเนสโก ให้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่อให้ความคุ้มครองและพัฒนาทรัพย์นี้ไม่เนิ่นช้าเกินกว่า เดือนกุมภาพันธ์ 2009 ให้ผู้ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประกอบด้วยรัฐบาลไทยและหุ้นส่วนระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เหมาะสมอีกไม่เกิน 7 ชาติ ทำหน้าที่ตรวจสอบสารัตถะเชิงนโยบายทั่วไป ในอันที่เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์คุณค่าสากลอันโดดเด่นของทรัพย์สินนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการการอนุรักษ์ที่เป็นสากล

15) เรียกร้องต่อประเทศภาคีกัมพูชา ให้ยืนเอกสารดังต่อไปนี้ต่อศูนย์กลางมรดกโลก ภายใน 1 กุมภาพันธ์ 2009 นี้ ดังต่อไปนี้

a) แผนที่ชั่วคราวที่ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้รับการขึ้นทะเบียน และแผนที่ที่จำแนกแยกแยะพื้นที่กันชนที่กำหนดไว้ในอาร์จีพีพี

b) ปรับปรุงแฟ้มข้อมูลสำหรับการนำเสนอเพื่อขอขึ้นทะเบียนให้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่มีขึ้นต่ออาณาบริเวณของทรัพย์สิน

c) เอกสารเพื่อยืนยันว่า พื้นที่บริหารจัดการของทรัพย์สินนี้ จะรวมถึงทรัพย์สินซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนและพื้นที่เขตกันชนที่บ่งชี้ไว้ตามอาร์จีพีพี

d) เอกสารเพื่อรายงานความก้าวหน้าของการเตรียมแผนบริหารจัดการ


16) เรียกร้องเพิ่มเติมให้ประเทศภาคีกัมพูชา ให้ยื่นแผนการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ได้รับการขึ้นทะเบียนฉบับเต็ม รวมถึงแผนที่อันเป็นที่ยุติ ต่อศูนย์กลางมรดกโลกภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก สมัยประชุมที่ 34 ในปี 2010 ต่อไป

หลักฐานจากที่ประชุม ซึ่งกัมพูชาสามารถจัดการทรัพย์สินที่ได้จากการขึ้นทะเบียน และ พื้นที่เขตกันชน ภายในปี 2010 ภายใต้กรรมการร่วม 7 ประเทศ ซึ่งไทยคงต้องยอมให้อีก 6 ประเทศมาร่วมกันแบ่งเค้กในพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งเป็นดินแดนของไทย แบบเสียค่าโง่จากรัฐบาลปัจจุบัน
แก้ไขล่าสุดโดย เภสัชทุง เมื่อ 10 ก.ค. 2008, 00:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย py106 » 18 ก.ค. 2008, 03:00

เราวิจารณ์โดยปราศจากข้อมูลหรือองค์ความรู้อะไรหรือเปล่าครับ...
ลองทำใจให้เย็นลงแล้วคิดใหม่อีกทีท่าจะดีนะนี่ :shock:
คนที่ทำงานในงานระหว่างประเทศจริงๆ นั้น จะรู้เลยว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร และอะไรคือสาเหตุของความเข้าใจผิดและความสับสนวุ่นวายในทุกวันนี้... :cry:
แวะไปเยี่ยมชมกันได้ครับ
http://py106travel.blogspot.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
py106
 
โพสต์: 103
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2005, 11:16
ที่อยู่: FDA, Thailand

Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย azzuri » 18 ก.ค. 2008, 12:19

แล้วเราจะหาองค์ความรู้ หรือข้อมูลที่ว่าได้ที่ไหนครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร

Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย py106 » 18 ก.ค. 2008, 13:52

เด๋วผมจะลองหาดูให้ครับ :baby:
พอดีที่ไม่ได้เขียนรายละเอียดไว้เพราะไปบอร์ดไหนก็เห็นมีแต่คนพูดเรื่องนี้....เบื่อ... :lol:

เริ่มด้วยอันนี้ก่อนนะครับ คาดว่าเป็นมุมมองและองค์ความรู้ที่หมู่เราไม่ค่อยจะได้รับทราบกันนัก...มุมมองกฎหมายระหว่างรัฐ...ผมชอบมากครับ...
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... ionid=0130

จากนั้นขอให้อ่านบทความของท่าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ราชบัณฑิต ศาสตราภิชาน คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ยาวเหยียด 3 ตอนครับ
1) แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา: การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร กับมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ (1)
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... ionid=0133
2) แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา: การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารฯ กับมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ (จบ)
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... ionid=0133
3) บทวิเคราะห์ทางวิชานิติศาสตร์ ต่อคำสั่งศาลปกครองกลางกำหนดวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราว ฯ ในคดีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... ionid=0130




ถ้าอ่านจบแล้วค่อยอ่านความเห็นของผมนะครับ...
(ผมไป post ไว้ในอีก webboard นึงอ่ะนะ...)
ผมว่าเรื่องแบบนี้ถ้าสงบใจลงแล้วคิดดูจะรู้ว่า ดินแดนคาบสมุทรทองคำนี้มิได้เป็นของผู้ใดมาก่อน มนุษย์เราต่างหากที่มาจับจองและเปลื่ยนมือเปลี่ยนเจ้าของกันไปตามแต่ใครจะมีอำนาจมากกว่าในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง...

หากคิดให้ดีดินแดนของไทยเองก็มิใช่ของคนไทย เพียงแต่ในสมัยก่อน คนไทยมีความสามารถเลยมีผืนแผ่นดินอยู่ และขยายจนกว้างใหญ่ ซึ่งหากมองย้อนนนนไปขณะนั้น....คำถามจำเกิดขึ้นว่า....แล้วก่อนที่คนไทยจะมาอยู่ตรงนี้ ใครเป็นเจ้าของแผ่นดิน.... สมมติว่าเป็นเผ่า A แล้วกัน... และก่อนที่เผ่า A จะมาอยู่เล่า... ใครเป็นเจ้าของแผ่นดิน... เผ่า B ยังงั้นหรือ.... มันก็จะเป็นแบบนี้โยงไปเรื่อยๆ...ใช่ไหมครับ...

การสูญเสียดินแดนในช่วงที่ผ่านมา ก็เป็นแบบเดียวกับการที่เผ่า A มาอยู่แทนเผ่า B และคนไทยมาอยู่แทนเผ่า A ... การสูญเสียแต่ละครั้ง ล้วนเป็นที่น่าสลดใจยิ่ง... แต่สิ่งที่เราควรภูมิใจมากเป็นลำดับหนึ่งคือ การที่ประเทศเราสามารถธำรงค์องค์หลักของประเทศให้อยู่กับประเทศเรามาจนทุกวันนี้ ไม่โดนยึดไปโดยเผ่า C หรือเผ่า D ... เพราะการใช้การแก้ปัญหาด้วยการเมืองอย่างเฉลียวฉลาดของพระเจ้าแผ่นดินแบบที่ประเทศอื่นไม่สามารถทำได้มาก่อน... ไม่ว่าจะเป็นการยอมสูญเสียดินแดนบางส่วนตามการกล่าวอ้างของประเทศมหาอำนาจระดับโลก (สมมติเราเป็นประเทศมหาอำนาจระดับภูมิภาคตามแผนที่สมัยก่อนนะครับ), การดำเนินการพัฒนาประเทศให้มีระบบการปกครองที่เป็นที่ยอมรับ และไม่สามารถกล่าวอ้างได้เพิ่มเติม, การส่งทูตไปในหลายๆมหาอำนาจระดับโลก เพื่อประสงค์ในการสร้างมิตรทางการทหารและคานอำนาจไปในตัว... การมีมติรเป็นมหาอำนาจระดับโลกมากมาย ย่อมทำให้ประเทศของเราถูกรุกรานได้ยากขึ้น... ไม่ใช่อยากยึดก็ยึด... นี่คือสาเหตุของการเสียดินแดงหลายๆครั้งของเรา โดยเฉพาะในช่วงที่มหาอำนาจระดับโลก เอางวงเอางาชนกัน แย่งกันยึดครองพื้นที่บนโลกที่ใบนี้... แต่เราก็อยู่รอดมาได้...

การที่เราสูญเสียดินแดนไปในอดีต ย่อมเกิดจากการที่คิดแล้วว่าเป็นผลดีกับประเทศในองค์รวม ถ้าคิดตามหลักศาสนาพุทธแล้ว จะรู้ว่าไม่ว่าแผ่นดินนั้นจะเป็นของใคร จะสับเปลี่ยนเจ้าของไปบ่อยแค่ไหน... แต่แผ่นดินก็ยังเป็นแผ่นดิน... มนุษย์ต่างหากที่อ้างสิทธิเหนือแผ่นดิน... การเสียดินแดนของประเทศหนึ่งให้ประเทศหนึ่งก็เป็นไปตามวัฏสังสารของมุนษย์ที่มีความหลงใหลในอำนาจ มีความละโมบ... แต่แผ่นดิน ก็ยังเป็นแผ่นดิน...ตลอดไป...

...การปลุกระดมให้รักชาตินั้น ย่อมเป็นเรื่องที่ดี ผมมีความเห็นด้วยในทุกประการ... แต่การให้สติก็เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งอีกเรื่องเช่นกัน... การเสียดินแดนให้มหาอำนาจระดับโลก ทั้งหลายจะไม่เกิดประโยชน์เลยหากมีการปลุกระดมให้รักชาติแบบขาดสติ... อย่าลืมว่าที่พระเจ้าแผ่นดินของเราในอดีตยอมสูญเสียดินแดนบางส่วนนั้น เพื่อการดำรงคงอยู่ของประเทศในองค์รวม... ดังนั้น หากท่านจะปฏิบัติการใดๆ ด้วยความรักชาติ ก็ขอให้ใช้สติพิจารณาร่วมด้วย... หากไม่เป็นผลเสียต่อประเทศชาติในองค์รวม... ผมก็สนับสนุนด้วยอย่างเต็มที่...



ปล. แถมท้าย...ใครอยากรู้ว่าประเทศไทยเราเสียดินแดนไปทั้งหมดกี่ครั้ง...ดูได้ที่นี่ครับ...ถึงมันจะดูปลุกระดมเกินไปหน่อยเทียบกับที่ผมให้ความเห็นไว้ แต่ดูไว้เป็นความรู้ การรู้ย่อมดีกว่าการไม่รู้นะครับ... แต่รู้แล้วจะเลือกคิดเลือกปฏิบัติอย่างไร... นั่นแล้วแต่ท่าน ผมเคารพความเห็นของทั้งท่านที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับผม... เพราะนั่นคือวิถีทางของประชาธิปไตยครับ
http://www.soccersuck.com/soccer/viewto ... sc&start=0
แวะไปเยี่ยมชมกันได้ครับ
http://py106travel.blogspot.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
py106
 
โพสต์: 103
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2005, 11:16
ที่อยู่: FDA, Thailand

Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย API » 18 ก.ค. 2008, 15:17

ได้อ่านองค์ความรู้ที่คุณ py106 แล้ว ก็ไม่ได้เห็นว่าความคิดของสมาชิกที่นำเสนอจะขัดกับองค์ความรู้ที่ให้มา

หากแต่ยังสงสัยอยู่ว่าคุณ py106 คิดว่าการสูญเสียเขาพระวิหารครั้งนี้จะเป็นความจำเป็นต้องสูญเสียเพื่อชาติมหาอำนาจเพื่อแลกกับความสงบสุขของประเทศชาติเหมือนในอดีต..... ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องสูญเสียต่อไปอีกในอนาคตหรือไม่
ภาพประจำตัวสมาชิก
API
 
โพสต์: 371
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ธ.ค. 2006, 21:02
ที่อยู่: สวรรค์

Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย chotto » 18 ก.ค. 2008, 19:25

การตัดสินใจของรัฐบาลในอดีต อยู่บนหลักการที่ว่า " จำต้องเสียสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต"


แต่การตัดสินใจของรัฐบาลในสมัยนี้ ขึ้นอยู่กับหลักการอะไร ก็ไม่ทราบ เหมือนกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
chotto
Global Moderator
 
โพสต์: 31
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2008, 19:46
ที่อยู่: kalasin

Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย azzuri » 18 ก.ค. 2008, 21:21

chotto เขียน:

แต่การตัดสินใจของรัฐบาลในสมัยนี้ ขึ้นอยู่กับหลักการอะไร ก็ไม่ทราบ เหมือนกัน

ใครรู้บอกด้วยครับ.....หรือเค้าใช้องค์ควมรู้ หรือ ข้อมูลไรตัดสินใจ

อยากรู้ครับ...แบบว่าขี้สงสัยอะนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร

Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย azzuri » 18 ก.ค. 2008, 21:25

py106 เขียน:เด๋วผมจะลองหาดูให้ครับ :baby:
พอดีที่ไม่ได้เขียนรายละเอียดไว้เพราะไปบอร์ดไหนก็เห็นมีแต่คนพูดเรื่องนี้....เบื่อ... :lol:

เริ่มด้วยอันนี้ก่อนนะครับ คาดว่าเป็นมุมมองและองค์ความรู้ที่หมู่เราไม่ค่อยจะได้รับทราบกันนัก...มุมมองกฎหมายระหว่างรัฐ...ผมชอบมากครับ...
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... ionid=0130

จากนั้นขอให้อ่านบทความของท่าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ราชบัณฑิต ศาสตราภิชาน คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ยาวเหยียด 3 ตอนครับ
1) แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา: การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร กับมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ (1)
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... ionid=0133
2) แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา: การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารฯ กับมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ (จบ)
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... ionid=0133
3) บทวิเคราะห์ทางวิชานิติศาสตร์ ต่อคำสั่งศาลปกครองกลางกำหนดวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราว ฯ ในคดีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... ionid=0130



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมหลายประเด็นนะครับที่

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews. ... 0000073783

http://www.manager.co.th/Politics/ViewN ... 0000080917


เอาข้อมูลหลายทางครับ...จะได้วิเคราะห์ถูก(ถ้าอยากวิเคราะห์นะครับ)
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร

Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย azzuri » 18 ก.ค. 2008, 21:30

[ijigg]http://www.ijigg.com/songs/V2C47BB4PB0[/ijigg]
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร

Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย py106 » 18 ก.ค. 2008, 23:44

azzuri เขียน:
chotto เขียน:

แต่การตัดสินใจของรัฐบาลในสมัยนี้ ขึ้นอยู่กับหลักการอะไร ก็ไม่ทราบ เหมือนกัน

ใครรู้บอกด้วยครับ.....หรือเค้าใช้องค์ควมรู้ หรือ ข้อมูลไรตัดสินใจ

อยากรู้ครับ...แบบว่าขี้สงสัยอะนะครับ

...ใจเย็นๆ ครับ ที่ผมขออนุญาตให้ความเห็นก็ไม่ได้หมายจะให้ความเห็นอันใดที่ขัดกับท่านอื่นๆในบอร์ด การแสดงความเห็นสามารถแสดงได้ทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือทางอื่นๆก็ได้นี่ครับ...หรือบอร์ดนี้ผมไมม่ได้ติดตามแป๊บเดียวกลายเป็นที่ต้องเลือกข้างก่อนตอบคำถามไปแล้วเหรอครับ...

อ่อ...แล้วก็พี่ที่ถามว่า "การสูญเสียเขาพระวิหารครั้งนี้จะเป็นความจำเป็นต้องสูญเสียเพื่อชาติมหาอำนาจเพื่อแลกกับความสงบสุขของประเทศชาติเหมือนในอดีต..... ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องสูญเสียต่อไปอีกในอนาคตหรือไม่" นั้น ผมยังไม่ได้พิเคราะห์ถึงขนาดนั้นหรอกนะครับ เพราะเป็นเรื่องที่เท่าที่ข้อมูลที่ได้รับมา ไม่ว่าจะเป็นเอกสารการขึ้นทะเบียนของ UNESCO (ฉบับภาษาอังกฤษ) หรืออื่นๆ ก็มิได้แสดงออกมาถึงขั้นที่เราจะต้องสูญเสียเขาพระวิหารแต่อย่างใด (เขานะครับ มิใช่ปราสาท) ดังนั้น...หากพี่ๆ มีข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ก็ขอความกรุณาด้วยครับ... ถ้ามีข้อมูลดิบยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ได้จะดีมากๆครับ... ขอบคุณครับ

ปล. ขอออกตัวนิดนึงนะครับว่าส่วนตัวค่อนข้างไม่ชอบ ฯพณฯ และ รมตหลายๆคน รวมถึงไม่ได้เป็นคนเลือกเขาเหล่านั้นเข้าไปด้วย... ผมแค่พูด แค่คิดไปตามความเห็นของผม ซึ่งคิดโดยไม่ได้เอา object ไหนๆ มา influence แต่อย่างใด... แม้ว่าใครจะเป็นรัฐบาล ใครจะเป็นฝ่ายค้าน...ผมก็คิดแบบนี้ล่ะ...ดังนั้น ขออย่าล่อเป้าผมเลยนะครับ เด๋วบานก่อนวัยอันควรงิ :mrgreen: :mrgreen:
แวะไปเยี่ยมชมกันได้ครับ
http://py106travel.blogspot.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
py106
 
โพสต์: 103
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2005, 11:16
ที่อยู่: FDA, Thailand

Re: ว่าด้วยผลการคัดเลือกมรดกโลกและปราสาทเขาพระวิหาร

โพสต์โดย เภสัชทุง » 19 ก.ค. 2008, 00:31

การที่ยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้น ยังไม่ทำให้ไทยเสียดินแดนในตอนนี้หรอก แต่จะเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งในอีก 2 ปีข้างหน้า ในการบริหารจัดการพื้นที่กันชน

ซึ่งขณะนี้ ก็เริ่มมีเค้าลางความขัดแย้งแล้ว เมื่อสมเด็จฮุนเซน อ้างสิทธิในพื้นที่ทับซ้อน ที่ 3 คนไทยเข้าไปป่วนในพื้นที่นั้น โดยให้ไทยถอนทหารออก ขณะที่นายกฯ สมัคร ก็ยืนยันว่า พื้นที่ทับซ้อน ซึ่งคนกัมพูชาไปตั้งรกรากนั้น เป็นของไทย และเราได้ประท้วงไป 5 ครั้งแทนการใช้กำลังทหารขับไล่ เพราะกัมพูชาถืออภิสิทธิ์ กั้นลวดหนาม และปล่อยให้คนกัมพูชาเข้ามาใช้สิทธิในพื้นที่ทับซ้อน

ตามหลักทั่วไปแล้ว กรณีพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเป็นพื้นที่สีเทา ไม่ชัดเจนว่าเป็นของฝ่ายไหนแล้ว หากไม่มีสิทธิ ก็ย่อมไม่มีสิทธิทั้ง 2 ฝ่าย แต่หากมีสิทธิแล้ว ก็ต้องมีสิทธิร่วมกัน

ดังนั้น กรณีนี้ ผมว่า มันเกิดปัญหาตั้งแต่ช่วงที่ ยูเนสโก อนุญาตให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนตัวปราสาทฝ่ายเดียวแล้ว หากให้ขึ้นทะเบียนตัวปราสาทและพื้นที่ทับซ้อนร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาร่วมกันแล้ว ปัญหาย่อมไม่เกิด

และมันยิ่งผิดทื่ รัฐมนตรีต่างประเทศของเรา แทนที่จะแก้ปัญหาด้วยการล็อบบี้ ให้แต่ละภาคีของยูเนสโก ยอมรับการขึ้นทะเบียนร่วมกัน กลับไปเลือกวิธีให้กัมพูชาไปขึ้นทะเบียนตัวปราสาท ซึ่งย่อมเกิดปัญหาในการจัดการพื้นที่ทับซ้อน ที่จะเป็นประเด็นความขัดแย้งในอนาคต

และเมื่อบวกกับความไม่ไว้วางใจ กับสไตล์การบริหารของผู้นำระบอบทักษิณ ที่มักมีปัญหาพัวพันเรื่อง การทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งก็มีข้อมูลเกี่ยวกับแผนการลงทุนอย่างมหาศาลในกัมพูชาของท่านทักษิณ กับการที่ทนายคู่บุญไปเป็นเจ้ากระทรวงต่างประเทศ ทำการโยกย้ายอดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญา ซึ่งคัดค้านตลอดกรณีให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียวแล้ว

ผมว่า ฝ่ายที่คิดต่อต้านรัฐบาลกรณีการดำเนินการเรื่องปราสาทพระวิหารนั้น ย่อมไม่ผิดครับ และเป็นภาระท้าทายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับประเทศขณะนี้ เพื่อพิสูจน์ฝีมือของรัฐบาล ซึ่งได้แถลงนโยบายว่า จะเป็นรัฐบาลแห่งความสมานฉันท์ ???
คุณไม่มีสิทธิ์ที่จะทำการดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง เหตุบ้าน การณ์เมือง

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document