New Document









ปรึกษาเรื่องท้องผูกครับ

สนทนาวิชาการและปัญหาการใช้ยา
กรณีที่ผู้ถามไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ กรุณาแจ้งเพื่อการตอบคำถามที่เหมาะสมกับท่าน

ปรึกษาเรื่องท้องผูกครับ

โพสต์โดย pharmb » 03 พ.ย. 2012, 00:23

ผู้ป่วยมีปัญหาท้องผูก ทานยาไรก็ไม่หาย
ทำยังไงดีครับ หรือมีอาหารเสริมตัวไหน ช่วยได้ไหมครับ
:biggrin: :biggrin:
pharmb
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 03:52







Re: ปรึกษาเรื่องท้องผูกครับ

โพสต์โดย zartingtong » 03 พ.ย. 2012, 09:22

สวนถ่ายสบายกว่า กินอาหารมีกากเยอะๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14

Re: ปรึกษาเรื่องท้องผูกครับ

โพสต์โดย Typhoon » 05 พ.ย. 2012, 00:42

ลองไปปรึกษาแพทย์ดูรึยังครับ
Typhoon
 
โพสต์: 16
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2010, 00:01

Re: ปรึกษาเรื่องท้องผูกครับ

โพสต์โดย Kanokwan_c » 17 พ.ย. 2012, 12:56

อาการท้องผูก (Constipation) หมายถึง อาการที่ผู้ป่วยมีการถ่ายอุจจาระแข็ง หรือเป็นลำเล็กลง หรือจำนวนความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนั้นหากถามประวัติผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเพิ่มเติม อาจจะได้ประวัติว่ามีอาการอื่นๆร่วมด้วยได้แก่ อาการเจ็บที่ทวารหนักเวลาถ่ายอุจจาระ มีอาการเรอ ท้องอืด และความรู้สึกเหมือนว่าถ่ายอุจจาระไม่สุด [1]

สาเหตุของท้องผูก แบ่งเป็น 2 ประเด็นหลัก [2] คือ
1. เกิดจากความผิดปกติในการบีบตัวของลำไส้
2. เกิดจากความผิดปกติของโครางสร้างและการทำงานของร่างกาย
ความผิดปกติในการบีบตัวของลำไส้ จะมีความเชื่อมโยงกับ
1. ได้รับสารอาหารจำเป็นไม่เพียงพอ
o กินใยอาหารน้อย (< 25 gm / วัน)
o ดื่มน้ำน้อย (< 1ลิตร / วัน)
2. การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ
o ลำไส้บีบตัวน้อย
o อาหารเคลื่อนตัวช้า
o โรคลำไส้แปรปรวน (IBS)
o ยา
o ความผิดปกติของระบบประสาท
3. ภาวะผิดปกติทางจิต
o โรคจิตซึมเศร้า
o เพศสัมพันธ์ผิดปกติ
o ความเชื่อที่ผิด เกี่ยวกับอาหารและทางเดินอาหาร
ความผิดปกติจากโครงสร้างและการทำงานของร่างกาย
1. กระดูกเชิงกรานผิดปกติ
2. กล้ามเนื้อหูรูดผิดปกติ
3. ไส้เลื่อน
4. ลำไส้ยื่นย้อยเข้าไปในอวัยวะใกล้เคียงหรือยื่นออกมานอกทวารหนัก
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องผูก
1. การขาดสารอาหารจำเป็น (น้ำ-ใยอาหาร)
2. การจำกัดการเคลื่อนไหว (ขาดการออกกำลังกาย)
3. การกลั้นอุจจาระ
4. การเดินทาง
5. ผลกระทบจาก ยาต่าง ๆ
6. การใช้ยาระบายไม่เหมาะสม
7. การตั้งครรภ์ในระยะสุดท้าย
8. ชา, กาแฟ ทำให้ท้องผูกได้ เนื่องจากสาร TANNIN ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวช้าลง ทำให้เกิดท้องผูก และคาเฟอีนยังระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะ ทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหาร

ขั้นตอนในการรักษาอาการท้องผูก
1. Change lifestyle and diet ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตและการกิน
2. Stop medications which cause constipation หยุดยาที่มีผลทำให้ท้องผูก
3. Bulk – forming agents สารเพิ่มมวลอุจจาระ
4. Osmotic laxatives สารดูดน้ำ
5. ถ้าหากรักษาตามข้อต่างๆ ข้างต้นแล้วไม่หาย ให้รักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้ Contact laxatives เป็นสารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้, Enema ยาสวน, หรือ ใช้ Prokinetics เป็นยาควบคุมการทำงานของทางเดินอาหาร

ยาระบาย หรือยาถ่ายที่ใช้รักษาอาการท้องผูก[3,4] (Laxative Purgative)
อาหารที่มีกากและใยอาหารเพียงพอเป็นสิ่งที่จะช่วยให้มีการขับถ่ายอุจจาระได้ตามปกติโดยไม่ต้องอาศัยยาระบาย การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารเป็นเป็นสิ่งที่ผู้ที่มีอาการท้องผูกบ่อยๆพึงจะปฏิบัติมากกว่าการใช้ยาระบายเป็นประจำ การใช้ยาระบายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นต่อลำไส้ติดต่อกันนาน จะทำให้เกิด Cathartic colon ซึ่งเป็นภาวะที่ลำไส้ใหญ่จะเฉื่อย ลดการบีบตัว เนื่องจากมีการอักเสบและการทำลายของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อของลำไส้ แบ่งยาออกเป็น 4 กลุ่ม
1. ยาระบายที่เพิ่มมวล (Bulk-forming or hydrophilic laxatives)
ยาในกลุ่มนี้ไม่ว่าจะมีที่มาจากธรรมชาติเช่น psyllium หรือ มาจากการสังเคราะห์ เช่น polycarbophil เป็นสารที่พองตัวได้เมื่อมีนํ้า ไม่ถูกย่อยสลายในทางเดินอาหาร เมื่อรับประทานเข้าไปจึงสามารถเพิ่มมวลอุจจาระได้ ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ช้ากว่ายากลุ่มอื่นๆ อาจต้องรับประทานติดต่อกันสองสามวันกว่าจะเห็นผล การรับประทานผงยาที่ยังไม่ผสมนํ้าอาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดอาหารได้ ดังนั้นจึงต้องผสมผงยากับนํ้าก่อนเสมอ และผู้ที่ใช้ยานี้ควรจะดื่มนํ้าอย่างพอเพียง รับประทานยากลุ่มนี้ก่อนอาหารจะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง
2. ยาระบายที่มีแรงดันออสโมติก (Osmotic laxatives)
ยาในกลุ่มนี้เป็นอนุมูล เช่น แมกนีเซียมซึ่งจะถูกดูดซึมได้ประมาณ 7% จากทางเดินอาหาร หรือสารอื่น เช่น lactulose, sorbitol ไม่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารจึงมีแรงดันออสโมติกดึงนํ้าให้อยู่ในทางเดินอาหาร ผู้ที่ใช้ยาระบายกลุ่มนี้ควรจะดื่มนํ้าให้เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ dehydration
Lactulose เป็น disaccharide ที่สังเคราะห์ขึ้นมามีลักษณะเป็นของเหลวข้นเหนียวที่ไม่ถูก hydrolyzed ที่ลำไส้เล็ก แต่จะถูกแบคทีเรียที่ลำไส้ใหญ่เปลี่ยนเป็นกรดแลคติก ฟอร์มิกและอเซติก (ซึ่งไม่สามารถถูกดูดซึมได้จากลำไส้ใหญ่) พร้อมๆกับที่อาจเกิดแก๊สและลมทำให้ลำไส้โป่งพอง แน่นอึดอัดได้ เนื่องจาก lactulose สามารถลดการดูดซึมแอมโมเนียจากระบบทางเดินอาหารได้ ดังนั้นจึงมีประโยชน์ใช้สำหรับผู้ป่วย hepatic encephalopathy ได้อีกกรณีหนึ่ง สำหรับ sorbitol นั้นมีฤทธิ์ในการระบายท้องใกล้เคียงกับ lactulose แต่มีราคาถูกกว่า
3. ยาระบายซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นต่อลำไส้ (Secretagoues and stimulant laxatives)
ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์กระตุ้นโดยตรงต่อกล้ามเนื้อและ/หรือ ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร หรืออาจออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการดูดซึม หรือเพิ่มสิ่งคัดหลั่งของเยื่อบุทางเดินอาหาร ซึ่งในที่สุดจะทำให้ระบบทางเดินอาหารมีสิ่งคัดหลั่งเพิ่มขึ้นและบีบตัวมากขึ้น ดังนั้นจึงอาจทำให้เกิดอาการปวดเกร็งท้อง (cramp) และถ้าใช้ติดต่อกันนานจะทำให้ลำไส้ใหญ่เฉื่อยไม่ทำงานที่เรียกกันว่า atonic หรือ cathatic colon ยาในกลุ่มนี้มีหลายชนิด ยาในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันได้แก่ bisacodyl และสารจากธรรมชาติในกลุ่ม antraquinones ได้แก่ มะขามแขก (senna) และ cascara sagrada
Bisacodyl
มีใช้ทั้งในรูปแบบของยารับประทานและยาแท่งสำหรับเหน็บทางทวารหนัก bisacodyl มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมของนํ้าและมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ bisacodyl ในรูปแบบของยาเม็ดขนาด 10 มก. จะออกฤทธิ์หลังจากรับประทานยาแล้ว 6-8 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นยาเหน็บจะออกฤทธิ์ภายใน 15-30 นาที
Antraquinones
antraquinones จะถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารที่ออกฤทธิ์โดยอาศัยการทำงานของแบคทีเรียที่ลำไส้ใหญ่ และมี rhein จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นจึงออกฤทธิ์กระตุ้นสิ่งคัดหลั่งทั้งที่ลำไส้เล็กส่วน jejunum และลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตามฤทธิ์ในการเป็นยาระบายของ antraquinones มาจากฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เป็นส่วนใหญ่ และจะออกฤทธิ์ ภายในเวลา 6-8 ชั่วโมง
4. ยาที่ทำให้อุจจาระนิ่มและขับถ่ายออกง่าย (Stool softeners and lubricating agents)
Glycerin ถูกดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหาร ดังนั้นจึงไม่มีฤทธิ์เป็นยาระบายถ้าให้โดยการรับประทาน แต่จะออกฤทธิ์เป็น osmotic laxative ได้ถ้าให้ในรูปแบบของยาเหน็บทางทวารหนักโดยจะออกฤทธิ์ภายในเวลา 30 นาที เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย นิยมใช้ในเด็ก
Mineral oil เป็น lubricant laxative สามารถให้โดยการรับประทานหรือในรูปของ enema ในขนาด 15-45 ซีซี mineral oil จะเข้าไปผสมอยู่ในมวลอุจจาระและทำหน้าที่เคลือบผนังของลำไส้ตรง (rectum) ยับยั้งการดูดซึมนํ้าจากบริเวณนั้น ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มมวลอุจจาระและช่วยหล่อลื่นให้การถ่ายอุจจาระง่ายขึ้น โดยปกติแล้วจะให้ผลทางการรักษาในเวลา 2-3 วัน
เอกสารอ้างอิง:
1. อ.นพ.กิติพล นาควิโรจน์. Constipation in Palliative Care [Internet]. [cited 2012 Dec 17]. Available from : http://www.ra.mahidol.ac.th/dpt/FM/doctorpalliative12th
2. Pharmanet. constipation [Internet]. [cited 2012 Dec 17]. Available from : http://pharmanet.co.th/articles.php?action=1&article_no=84
3. รองศาสตราจารย์ ภญ.ดร.มยุรี ตันติสิระ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ยาออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร (DRUGS ACTING ON THE GASTROINTESTINAL TRACT) [Internet]. [cited 2012 Dec 17]. Available from : http://www.ra.mahidol.ac.th/dpt/FM/doctorpalliative12th
4. DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey LM. Pharmacotherapy A Pathophysiologic Approach. 7th ed. United States of America: The McGraw-Hill Companies Icn; 2009.

ตอบโดย นศภ.กนกวรรณ ชูชมชื่น
Kanokwan_c
 
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ย. 2012, 01:08

Re: ปรึกษาเรื่องท้องผูกครับ

โพสต์โดย Pnkberry » 07 ธ.ค. 2012, 23:18

pharmb เขียน:ผู้ป่วยมีปัญหาท้องผูก ทานยาไรก็ไม่หาย
ทำยังไงดีครับ หรือมีอาหารเสริมตัวไหน ช่วยได้ไหมครับ
:biggrin: :biggrin:

ไม่ใช่เภสัชกรนะคะ แต่ประสบการณ์ตรง เป็นคนถ่ายยาก ทานน้ำน้อยแบบวันละ 2-3แก้ว ตอนหลังลองเปลี่ยนพฤติกรรม กินน้ำมากขึ้น นึกได้ก็กิน กินมะละกอวันละ 2ถุง ช่วยได้มากค่ะ ถ่ายทุกวันแล้ว ^^
Pnkberry
 
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มี.ค. 2011, 23:00


ย้อนกลับไปยัง มอคค่า

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document