New Document









กินยาสมินแล้วเป็นไมเกรน?

สนทนาวิชาการและปัญหาการใช้ยา
กรณีที่ผู้ถามไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ กรุณาแจ้งเพื่อการตอบคำถามที่เหมาะสมกับท่าน

กินยาสมินแล้วเป็นไมเกรน?

โพสต์โดย Wicharn » 08 ก.ย. 2011, 13:15

แฟนกินYasminมาเกือบ2ปีแล้วครับ แต่เพิ่งมาเป็นไมเกรนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในฉลากยาระบุว่าผู้เป็นไมเกรนไม่ควรใช้ยา ก็ปรึกษากันว่าจะหยุดยา มีคำถามดังนี้ครับ
1. สามารถหยุดยาได้ทันทีไหมครับ? เพราะในแผงขณะนี้เหลือยาอีกประมาณ15เม็ด
2.จริงหรือไม่ที่Yasminทำให้เกิดไมเกรน และถ้าฝืนกินต่อไปจะมีผลอะไรไหม?
3.มียาคุมตัวอื่นที่ไม่มีผลกระทบต่อไมเกรนไหมครับ?

ขอบคุณทุกท่านครับ
Wicharn
 
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2011, 12:51







Re: กินยาสมินแล้วเป็นไมเกรน?

โพสต์โดย white-blue » 10 ก.ย. 2011, 12:30

Wicharn เขียน:แฟนกินYasminมาเกือบ2ปีแล้วครับ แต่เพิ่งมาเป็นไมเกรนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในฉลากยาระบุว่าผู้เป็นไมเกรนไม่ควรใช้ยา ก็ปรึกษากันว่าจะหยุดยา มีคำถามดังนี้ครับ
1. สามารถหยุดยาได้ทันทีไหมครับ? เพราะในแผงขณะนี้เหลือยาอีกประมาณ15เม็ด
2.จริงหรือไม่ที่Yasminทำให้เกิดไมเกรน และถ้าฝืนกินต่อไปจะมีผลอะไรไหม?
3.มียาคุมตัวอื่นที่ไม่มีผลกระทบต่อไมเกรนไหมครับ?

ขอบคุณทุกท่านครับ


1. ถ้าไม่ได้มีอะไรกับแฟนคุณมาหลายวันแล้วก็หยุดได้เลย แต่ถ้าเพิ่งมีมาเมื่อวันสองวันนี้ก็กินต่อไปอีกหน่อยสัก 2 -3 วัน
2. ยาสมินไม่ได้ทำให้เกิดไมเกรนเพียงแต่อาจกระตุ้นให้เกิดในบางคนและไม่ใช่เฉพาะยาสมินแต่ยาคุมทุกชนิดที่มี เอสโตรเจนก็สามารถกระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้ ฝืนกินต่อไปก็ปวดหัวปล่าวๆเปลี่ยนยี่ห้อซิครับ
3. ไม่มีครับ ที่ไม่มีผลเลย มีแต่มีผลกระทบมากหรือน้อยลง ถ้าจะเปลี่ยนยี่ห้อก็ลองพวกฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำๆเช่น มาลิแอน เมอซิลอน แยส ดู

คำแนะนำนี้สำหรับกรณีที่คุณแน่ใจว่าคุณปวดหัวจาก ไมเกรน แน่ๆนะครับ
เพราะแสวงหา...มิใช่เพราะรอคอย

เพราะเชี่ยวชาญ...มิใช่เพราะโอกาส

เพราะสามารถ...มิใช่เพราะโชคช่วย

ดังนี้แล้ว "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"
white-blue
 
โพสต์: 350
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ค. 2009, 11:32

Re: กินยาสมินแล้วเป็นไมเกรน?

โพสต์โดย shynotme » 21 ต.ค. 2011, 13:41

ขอเพิ่มเติมรายละเอียดข้อมูลยาคุม Yasmin และโรคไมเกรนนะค่ะ

ยาคุม Yasmin มีส่วนประกอบคือ Ethinylestradiol 0.03 mg และ Drospirenone 3 mg ซึ่ง Drospirenone เป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มีฤทธิ์ antiandrogenic ทำให้มีฤทธิ์ลดการเกิดสิว หน้ามัน ขนดก รวมถึงมีฤทธิ์ antimineralocorticoid ทำให้ไม่เกิดการบวมน้ำจึงทำให้น้ำหนักตัวไม่เพิ่ม แต่อาจทำให้เกิด Hyperkalemia ได้จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคไต,ต่อมหมวกไต และโรคหัวใจ

ซึ่งยาคุมที่มี Ethinylestradiol ทุกตัวสามารถกระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้ โดยมีการศึกษาพบว่า estrogen ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งสัมพันธ์กับ serotonin และ glutamate โดย serotonin มีผลต่อการหลั่งของ calcitonin gene-related peptide และ substance P จาก trigeminal nerves และจะทำให้เกิดหลอดเลือด intracranial หดตัว ส่งผลต่อหลอดเลือด extra cranial ให้ขยายตัว ทำให้เกิดการปวดไมเกรนได้ หากต้องการใช้ยาคุมกำเนิด ก็แนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดที่มี estrogen ต่ำ เช่น
- Yaz มีปริมาณ Ethinylestradiol 0.02 mg และ Drospirenone 3 mg
- Mercilon มีปริมาณ Ethinylestradiol 0.02 mg และ Desogestrel 0.15 mg

ส่วนโรคไมเกรน เป็นโรคที่มีอาการเป็นหายๆ โดยอาจมีการปวดศีรษะข้างเดียว หรือเริ่มปวดข้างเดียวก่อนแล้วจึงปวดทั้งสองข้าง แต่บางครั้งก็อาจจะปวดทั้งสองข้างขึ้นมาพร้อมๆ กันตั้งแต่แรก ลักษณะอาการปวดมักจะปวดตุบๆ เป็นระยะ ๆ แต่ก็มีบางคราวที่ปวดแบบตื้อ ๆ ส่วนมากจะปวดรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก โดยจะค่อย ๆ ปวดมากขึ้นและ มักจะมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วย ระยะเวลาปวดมักจะนานหลายชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่จะนานไม่เกิน 1 วัน ในบางรายอาจจะมีอาการเตือนนำมาก่อนหลายนาที เช่น สายตาพร่ามัว หรือ มองเห็นแสงกระพริบ ๆ
ปัจจัยเสี่ยง(Predisposing factor)และ ปัจจัยกระตุ้น(Precipitating factor) ในการเกิดโรค ได้แก่
1)เพศหญิง โดยเฉพาะ วัยเจริญพันธุ์
2)ภาวะกดดันทางอารมณ์ เช่น ภาวะเครียด
3)เครื่องดื่มอัลกอฮอลล์

ผู้ป่วยไมเกรนมีความหลากหลายของอาการรวมทั้งความความรุนแรงและความถี่ของการเกิดโรค ทั้งนี้นอกจากขึ้นกับปัจจัยภายในระบบประสาทของผู้ป่วยยังขึ้นกับปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ สามารถแบ่งปัจจัยการกระตุ้นการเกิดอาการของผู้ป่วยดังนี้

1) ปัจจัยกระตุ้นภายใน(Endogenous precipitating factor) ได้แก่ สภาวะทางอารมณ์ การนอนหลับ สภาวะฮอร์โมนของร่างกาย ภาวะอดอาหาร เป็นต้น
2) ปัจจัยกระตุ้นภายนอก(Exogenous precipitating factor) ได้แก่ อาหารบางชนิด(เครื่องดื่มคาเฟอีน, ไวน์แดง เป็นต้น) สภาพแวดล้อมที่มีการกระตุ้นประสาทสัมผัส(แสงจ้า เสียงดัง อากาศที่เปลี่ยนแปลง กลิ่น)

ดังนั้นให้ลองสังเกตอาการของตนเองว่าเกิดการปวดไมเกรนจากสิ่งกระตุ้นใดได้บ้าง และควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นนั้นๆ จะสามารถป้องกันการเกิดอาการได้ค่ะ

เอกสารอ้างอิง
1. ผศ.นพ.รังสรรค์ ชัยเสวิกุล. โรคไมเกรน [Online].[cite 20 Oct 11]; ที่มา: URL: http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e- ... /105_1.pdf
2.นพ.สุรัตน์ ตันปรเวช. Update in Practical Management of Headache Disorders. [Online]. [cite 20 Oct 11]; ที่มา: URL:http://openneurons.com/index.php?option=com_content&view=article&id =59:headache-clinical-approach&catid=40:symptomatology&Itemid=73
3. C.Anne H. Estrogen-associated migraine [Online].[cite 20 Oct 11]; ที่มา: URL: http://www.uptodate.com/contents/estrog ... d-migraine
4. B.Marie-Germaine. Estrogens, Migraine, and Stroke. American Heart Association
2004. [Serial Online] 2004 Sep [cite 20 Oct 11]; 2004(35):Available from: URL: http://stroke.ahajournals.org/content/3 ... 2.full.pdf
5. Gerald K. McEvoy,Pharm.D.AHFS Drug Information 2008:3128

โดยนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ศุภกานต์ ทรงเจริญ
shynotme
 
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ต.ค. 2011, 20:56


ย้อนกลับไปยัง มอคค่า

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document