หน้า 1 จากทั้งหมด 1

Aspirin 81 mg Enteric coat บดได้ไหม

โพสต์โพสต์แล้ว: 05 ก.ค. 2011, 17:58
โดย Jaaaaai
อยากอยากข้อมูล Aspirin 81 mg Enteric coat ว่าบดได้ไหม
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถกลืนยาเป็นเม็ดได้ และให้อาหารทางสายยาง
หรือสามารถบดยาให้พร้อมอาหารไปได้เลยอ่าครับ เพราะร.พ.มีรูปแบบเดียว

Re: Aspirin 81 mg Enteric coat บดได้ไหม

โพสต์โพสต์แล้ว: 05 ก.ค. 2011, 18:01
โดย apotheker
บดได้ครับ บางยี่ห้อเป็นเม็ดเคี้ยวก็มี

Re: Aspirin 81 mg Enteric coat บดได้ไหม

โพสต์โพสต์แล้ว: 05 ก.ค. 2011, 18:25
โดย Jaaaaai
คือโรงพยาบาลมีแต่แบบ enteric coat อ่าครับ ถ้าบดไปมันยังจะมีประสิทธิภาพเท่าเดิมไหมอ่าครับ

Re: Aspirin 81 mg Enteric coat บดได้ไหม

โพสต์โพสต์แล้ว: 05 ก.ค. 2011, 19:49
โดย zartingtong
พิจารณาตามเหตุผลแล้วบดได้ครับ หรือจะทุบนิดหน่อยแล้วละลายน้ำไปเลยจะง่ายกว่า ในเวลาที่ทำแล้วใช้ยาไม่เสียแน่นอน

Re: Aspirin 81 mg Enteric coat บดได้ไหม

โพสต์โพสต์แล้ว: 05 ก.ค. 2011, 20:19
โดย Barrios
55
ถามแบบคนไม่มีความรู้เลยนะ
ถ้าบดไม่ได้จะทำยังไงต่อ
:lol:

Re: Aspirin 81 mg Enteric coat บดได้ไหม

โพสต์โพสต์แล้ว: 05 ก.ค. 2011, 20:36
โดย Philosophos
Barrios เขียน:55
ถามแบบคนไม่มีความรู้เลยนะ
ถ้าบดไม่ได้จะทำยังไงต่อ
:lol:


ก็แช่ในสารละลายที่เป็นด่างเลียนแบบสภาวะในสำไส้เล็กไงครับ

Re: Aspirin 81 mg Enteric coat บดได้ไหม

โพสต์โพสต์แล้ว: 06 ก.ค. 2011, 08:41
โดย Barrios
Philosophos เขียน:
ก็แช่ในสารละลายที่เป็นด่างเลียนแบบสภาวะในสำไส้เล็กไงครับ


ขอบคุณมากครับ ไม่รู้จริง ๆ
ขอถามเพิ่ม เราสามารถหาสารที่ว่าหรือเตรียมเองได้ง่าย ๆ ได้เลยรึเปล่า อันนี้ไม่กวนนะ ถ้าเกิดมันทำได้ง่าย ๆ จะได้เอาไว้แนะนำญาติคนไข้ที่มาซื้อยาที่ร้านน่ะ

ปล. สงสัยว่า เราไปซื้อทัมใจมาให้คนไข้แทนได้มั้ย ไม่ต้องเสียเวลาบดด้วย แต่เสียเวลาชั่งนะ :mrgreen:

Re: Aspirin 81 mg Enteric coat บดได้ไหม

โพสต์โพสต์แล้ว: 06 ก.ค. 2011, 12:26
โดย zartingtong
ทุบเปลือกแตกก็ไม่ต้องไปแช่ด่างแล้ว น้ำก็เหลือเฟือ :mrgreen:
ใช้ Aspirin ธรรมดา แบ่ง 4 ก็ไม่น่าผิดอะไร เพราะ action เกินกว่าวันอยู่แล้ว จะได้ไม่ต้องติด "ยาควบคุมพิเศษ" :P

Re: Aspirin 81 mg Enteric coat บดได้ไหม

โพสต์โพสต์แล้ว: 06 ก.ค. 2011, 13:51
โดย Jaaaaai
ขอบคุณนะครับสำหรับคำแนะนำ

Re: Aspirin 81 mg Enteric coat บดได้ไหม

โพสต์โพสต์แล้ว: 30 ก.ค. 2011, 16:02
โดย LINHUI
ยา aspirin ที่เป็น enteric coated นั้นกระบวนการผลิตให้ออกฤทธิ์ที่ลำใส้เกิดจากการ เคลือบผิวยาด้วย film ที่มีคุณสมบัติละลายได้ดีในสภาวะเป็นด่าง ดังนั้นหากผู้ป่วยไม่สามารถกลืนยาได้และจำเป็นต้องบดยา ก็สามารถบดได้เลย เพราะเมื่อเม็ดยาแตกและ film ที่ coated ถูกทำลาย ยาก็จะมีคุณสมบัติไม่แตกต่างจากยาเม็ดเปลือยธรรมดา

Re: Aspirin 81 mg Enteric coat บดได้ไหม

โพสต์โพสต์แล้ว: 30 ก.ค. 2011, 18:20
โดย white-blue
LINHUI เขียน:ยา aspirin ที่เป็น enteric coated นั้นกระบวนการผลิตให้ออกฤทธิ์ที่ลำใส้เกิดจากการ เคลือบผิวยาด้วย film ที่มีคุณสมบัติละลายได้ดีในสภาวะเป็นด่าง ดังนั้นหากผู้ป่วยไม่สามารถกลืนยาได้และจำเป็นต้องบดยา ก็สามารถบดได้เลย เพราะเมื่อเม็ดยาแตกและ film ที่ coated ถูกทำลาย ยาก็จะมีคุณสมบัติไม่แตกต่างจากยาเม็ดเปลือยธรรมดา


คำว่า " ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ " หมายความว่าอย่างไรครับ

Re: Aspirin 81 mg Enteric coat บดได้ไหม

โพสต์โพสต์แล้ว: 21 ต.ค. 2011, 13:44
โดย chompoo Pinky
Enteric - coated tablet เป็นรูปแบบยาที่ป้องกันการแตกตัวในกระเพาะอาหาร แต่ให้แตกตัวและดูดซึมในลำไส้เล็ก ซึ่งสารที่ใช้เคลือบนิยมใช้ cellulose actate ,phthalate และ shellac เพื่อ
- ป้องกันยาระคายเคืองเยื่อบุในปากและ ทางเดินอาหาร
- ป้องกันยาถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะ อาหาร
- เพื่อให้ยาเริ่มออกฤทธิ์ช้า (delay onset of action)

ซึ่ง Aspirin เป็นยาในกลุ่ม NSAIDs นิยมใช้มากที่สุดในการต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดมีการับรองการใช้ยา aspirin ในการป้องกันแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยยาสามารถลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจซ้ำได้ร้อยละ 25

กลไกการออกฤทธิ์ของ aspirin คือ ยับยั้งการเกิด acetylation ของเอนไซม์ cyclooxygenase (COX) โดยเอนไซม์ COX จะทำหน้าที่เปลี่ยน arachidonic acid เป็นสาร ecosanoids ซึ่งได้แก่ leukotrienes, prostaglandins, thromboxane A2 (TXA2) และ prostacyclin (PGI2) ดังนั้นด้วยฤทธิ์ดังกล่าวของ aspirin ทำให้ไม่มีการสร้าง TXA2 ส่งผลให้การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดถูกยับยั้ง ทั้งนี้พบว่า aspirin จะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ COX ตลอดอายุของเกล็ดเลือด โดยพบว่า Aspirin สามารถยับยั้งเอนไซม์ COX-1 มากกว่า COX-2 ประมาณ 100 - 160 เท่า ดังนั้นจึงมีผลเด่นในการยับยั้งการสร้าง TXA2 และมีผลในการยับยั้งการสร้าง PGI2
กลไกการเกิดแผลในทางเดินอาหาร :เกิดจากมีการยับยั้งการสร้าง Prostaglandin บริเวณเยื่อบุทางเดินอาหาร โดย PGE2 และ PGI2 ช่วยยับยั้งการหลั่งกรดและเคลือบกระเพาะอาหาร การเกิดแผลในทางเดินอาหารเนื่องจากการใช้ NSAIDs มาจาก 2 กลไกหลัก ได้แก่ NSAID-medeated direct (and indirect) acidic damage และการยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin

ซึ่งการทำ Aspirin ในรูป Enteric ? coated (EC) นั้นเพื่อป้องกันยาระคายเคืองทางเดินอาหาร จึงไม่ควรที่จะหักแบ่งบดเคี้ยว เนื่องจากจะทำให้สูญเสียคุณสมบัติในการป้องกันการระคายเคืองไป แต่หากมีความจำเป็นที่จะทำการหักแบ่งบด เม็ดยา สามารถทำได้ เนื่องจากมีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่าง Aspirin Enteric coated และ Aspirin uncoated พบว่าประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน

เอกสารอ้างอิง
1. J Karha , V Rajagopal , K Kottke-Marchant , DL Bhatt . Lack of effect of enteric coating on aspirin-induced inhibition of platelet aggregation in healthy volunteers. Am Heart J. [online].2006 May[11 Oct 20];151(5):976.e7-11. ที่มา: URL: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16644316
2. AT Cole , N Hudson , LC Liew , FE Murray , CJ Hawkey , S Heptinstall . Protection of human gastric mucosa against aspirin-enteric coating or dose reduction. Aliment Pharmacol Ther. [online]. 1999 Feb [11 Oct 20] ;13(2):187-93. ที่มา: URL:
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10102949
3. เนาวคุณ คำแก้ว และ เนติ สุขสมบูรณ์. กลไกการออกฤทธิ์และการดื้อต่อฤทธิ์ของยาแอสไพรินและโคลพิโดเกรลในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal. [online]. 2006Jan. - Apr. [11 Oct 20] : 49 ? 53. ที่มา: URL: http://pharm.swu.ac.th/psi/content/cont ... stance.pdf

โดย นักศึกษาเภสัชศาสตร์ กรรณิกา เสนะโห