New Document









TCA กับ neuropathic pain

สนทนาวิชาการและปัญหาการใช้ยา
กรณีที่ผู้ถามไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ กรุณาแจ้งเพื่อการตอบคำถามที่เหมาะสมกับท่าน

TCA กับ neuropathic pain

โพสต์โดย planetaro » 17 มิ.ย. 2011, 21:34

AMITRIPTYLINE มีข้อบ่งใช้ สำหรับ neuropathic pain แล้วยา TCA ในกลุ่มเดียวกันเช่น nortriptyline สามารถใช้รักษา neuropathic pain ได้เช่นเดียวกันหรือไม่
ภาพประจำตัวสมาชิก
planetaro
 
โพสต์: 150
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 22:34







Re: TCA กับ neuropathic pain

โพสต์โดย SinWiSuth » 18 มิ.ย. 2011, 13:36

ส มั น ต ภั ท ร ::: เภ สัช ม อ นอ รุ่น เก้า
SinWiSuth
 
โพสต์: 319
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 06:27
ที่อยู่: Phisanulok

Re: TCA กับ neuropathic pain

โพสต์โดย planetaro » 18 มิ.ย. 2011, 16:46

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
planetaro
 
โพสต์: 150
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 22:34

Re: TCA กับ neuropathic pain

โพสต์โดย puy_thitima Rx » 08 พ.ค. 2012, 20:02

Neuropathic pain เกิดเมื่อระบบประสาทมีพยาธิสภาพ หรือทำหน้าที่ผิดปกติ และ/หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดมี activity ผิด[*]ปกติขึ้นเอง (spontaneous) หรือไขสันหลังบริเวณ dorsal horn เกิด hyperexcitability
สาเหตุของ neuropathic pain ได้แก่
• มะเร็งกดทับหรือแพร่กระจายมายังเส้นประสาท กลุ่มประสาท หรือไขสันหลัง
• การรักษามะเร็ง เช่น เคมีบำบัดทำให้เกิด neuritis รังสีรักษาทำให้เกิด plexopathy และการผ่าตัดทำให้เกิด post-surgical symdrome (post-mastectomy,post-amputation เป็นต้น)
• งูสวัด และ postherpetic neuralgia
อาการแสดงทางคลินิค ได้แก่
• ปวดแบบปวดแสบร้อน
• ปวดเหมือนเข็มทิ่มตำ
• การสัมผัสก่อให้เกิดความปวด (allodynia)
• การรับรู้ความรู้สึกเจ็บเล็กน้อยเป็นเจ็บปวดมากขึ้น (hyperalgesia), เมื่อมีการกระตุ้นซ้ำ ๆ ทำให้ปวดมากขึ้น (hyperpathia) โดยอาจปวดตลอดเวลา (continuous)
•ปวดเป็นพัก ๆ ขึ้นมาเอง (paroxysmal , spontaneous)
ข้อมูลจาก The international association for the study of pain ในปี ค.ศ. 2007 แบ่งยารักษา neuropathic pain เป็น 3 ระดับที่แนะนำคือ
1.First-line medication (grade A recommendation) ได้แก่
• Tricyclic antidepressants/TCAs e.g. amitriptyline , nortriptyline,
desipramine
• SNRIs e.g. duloxetine, venlafaxine
• SSRIs e.g. fluoxetine , paroxetine
2. Second-line medication (grade A recommendation)ได้แก่
• Tramadol ยาในกลุ่ม opioids ตัวอื่นมีประสิทธิภาพในการรักษาน้อย
3. Third-line medication (grade B recommendation) ได้แก่
• Antiepileptic medications calcium channel alpha2-delta ligands e.g. gabapentin,pregabalin
• Antidepressant medications อื่น ๆ เช่น mexiletine,NMDA receptor antagonist และ topical capsaicin
ซึ่งยาในกลุ่ม Tricyclic antidepressants(TCAs) มีกลไกในการ enhance descending inhibitory pathway เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการแก้ปวดจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการต้านการซึมเศร้า
TCAs แบ่งออกเป็น
3º amine : amitriptyline , imipramine , clomipramine , trimipramine , doxepine
2º amine : nortriptyline , desipramine

การ metabolite ของ 3ºamine เป็น 2º amine โดยผ่านการ demethylation คือ
demethylation
amitriptyline :arrow: nortriptyline
ดังนั้นการใช้ nortriptyline สามารถใช้รักษา Neuropathic pain ได้เช่นเดียวกัน เพราะ nortriptyline ไม่ต้องผ่านการ metabolite สามารถไปออกฤทธิ์บรรเทาปวดได้เลย แต่ amitriptyline เข้าสู่ร่างกายจะมีการ metabolite ผ่าน phase I เป็น nortriptyline โดยกระบวนการ demethylation แล้วไปออกฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดได้
เอกสารอ้างอิง
1. Lacy CF,Armstong LL,Glodman MP,Lance LL.Drug information handbook with international trade name index 2010-2011.19th ed. USA:Lexi-comp;2010.P 1183-89
2.Phimaimedicine.Nociceptive pain VS Neuropathic pain/Thai DN4[Internet].2010[cited 2012 May 8].Available from:http://www.phimaimedicine.org/2010/01/258-nociceptive-pain-neuropathic-pain.html
3. Pasutharnchat Nath,Nimnuan Chaichana.Pearl and Pitfall in management of pain and depression : Medical perspective[Internet].[cited 2012 May 8].Available from:http://www.medicthai.com/picture/news/1727242Pfizer1.pdf

โดย นศภ.ฐิติมา หงษา
puy_thitima Rx
 
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 เม.ย. 2012, 16:42


ย้อนกลับไปยัง มอคค่า

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document