Neuropathic pain เกิดเมื่อระบบประสาทมีพยาธิสภาพ หรือทำหน้าที่ผิดปกติ และ/หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดมี activity ผิด[*]ปกติขึ้นเอง (spontaneous) หรือไขสันหลังบริเวณ dorsal horn เกิด hyperexcitability
สาเหตุของ neuropathic pain ได้แก่
• มะเร็งกดทับหรือแพร่กระจายมายังเส้นประสาท กลุ่มประสาท หรือไขสันหลัง
• การรักษามะเร็ง เช่น เคมีบำบัดทำให้เกิด neuritis รังสีรักษาทำให้เกิด plexopathy และการผ่าตัดทำให้เกิด post-surgical symdrome (post-mastectomy,post-amputation เป็นต้น)
• งูสวัด และ postherpetic neuralgia
อาการแสดงทางคลินิค ได้แก่
• ปวดแบบปวดแสบร้อน
• ปวดเหมือนเข็มทิ่มตำ
• การสัมผัสก่อให้เกิดความปวด (allodynia)
• การรับรู้ความรู้สึกเจ็บเล็กน้อยเป็นเจ็บปวดมากขึ้น (hyperalgesia), เมื่อมีการกระตุ้นซ้ำ ๆ ทำให้ปวดมากขึ้น (hyperpathia) โดยอาจปวดตลอดเวลา (continuous)
•ปวดเป็นพัก ๆ ขึ้นมาเอง (paroxysmal , spontaneous)
ข้อมูลจาก The international association for the study of pain ในปี ค.ศ. 2007 แบ่งยารักษา neuropathic pain เป็น 3 ระดับที่แนะนำคือ1.
First-line medication (grade A recommendation) ได้แก่
• Tricyclic antidepressants/TCAs e.g. amitriptyline , nortriptyline,
desipramine
• SNRIs e.g. duloxetine, venlafaxine
• SSRIs e.g. fluoxetine , paroxetine
2.
Second-line medication (grade A recommendation)ได้แก่
• Tramadol ยาในกลุ่ม opioids ตัวอื่นมีประสิทธิภาพในการรักษาน้อย
3.
Third-line medication (grade B recommendation) ได้แก่
• Antiepileptic medications calcium channel alpha2-delta ligands e.g. gabapentin,pregabalin
• Antidepressant medications อื่น ๆ เช่น mexiletine,NMDA receptor antagonist และ topical capsaicin
ซึ่งยาในกลุ่ม
Tricyclic antidepressants(TCAs) มีกลไกในการ enhance descending inhibitory pathway เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการแก้ปวดจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการต้านการซึมเศร้า
TCAs แบ่งออกเป็น3º amine : amitriptyline , imipramine , clomipramine , trimipramine , doxepine
2º amine : nortriptyline , desipramine การ metabolite ของ 3ºamine เป็น 2º amine โดยผ่านการ demethylation คือ
demethylation
amitriptyline

nortriptyline
ดังนั้นการใช้ nortriptyline สามารถใช้รักษา Neuropathic pain ได้เช่นเดียวกัน เพราะ nortriptyline ไม่ต้องผ่านการ metabolite สามารถไปออกฤทธิ์บรรเทาปวดได้เลย แต่ amitriptyline เข้าสู่ร่างกายจะมีการ metabolite ผ่าน phase I เป็น nortriptyline โดยกระบวนการ demethylation แล้วไปออกฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดได้เอกสารอ้างอิง1. Lacy CF,Armstong LL,Glodman MP,Lance LL.Drug information handbook with international trade name index 2010-2011.19th ed. USA:Lexi-comp;2010.P 1183-89
2.Phimaimedicine.Nociceptive pain VS Neuropathic pain/Thai DN4[Internet].2010[cited 2012 May 8].Available from:http://www.phimaimedicine.org/2010/01/258-nociceptive-pain-neuropathic-pain.html
3. Pasutharnchat Nath,Nimnuan Chaichana.Pearl and Pitfall in management of pain and depression : Medical perspective[Internet].[cited 2012 May 8].Available from:http://www.medicthai.com/picture/news/1727242Pfizer1.pdf
โดย นศภ.ฐิติมา หงษา