New Document









ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

สนทนาวิชาการและปัญหาการใช้ยา
กรณีที่ผู้ถามไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ กรุณาแจ้งเพื่อการตอบคำถามที่เหมาะสมกับท่าน

ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย pmc » 26 พ.ค. 2006, 12:16

ขอความคิดเห็นหน่อย
อย่ากังวลในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง แต่จงเตรียมพร้อมที่จะรับมือ
pmc
 
โพสต์: 116
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2006, 12:27
ที่อยู่: HOSPITAL







ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย lucky_ou » 26 พ.ค. 2006, 13:05

เท่าที่เรียนมา การเตรียมยามะเร็งควรทำในระบบปิดเพราะอาจเกิดการฟุ้งกระจายของสารบางประเภทได้ ? :roll: ตอนเราไปฝึกงานที่โรงพยาบาลอุดรนะ งานผสมยามะเร็ง มีระบบดีมากเลยมีการวนเจ้าหน้าที่ปฎิบัติ กำหนดระยะเวลาการรับใบสั่ง ที่สำคัญนะมีการป้องกันการส่งยาด้วยการเช็คซ้ำ ของ จพง., เภสัชกร , พยาบาลที่วอร์ด มีห้องเฉพาะนะ ตู้ระบบปิด เข็ม,หลอดฉีดยา,จุกปิดหลอดยาที่ผสมแล้ว ด้วยนะ

ไม่แน่ใจผู้ตั้งกระทู้เป็นเภสัชที่ PMK ? เคยเห็นส่วนของที่ PMK พยาบาลเป็นผู้ผสมที่วอร์ดหรือเปล่าคะ เท่าที่ทราบมาบางทีก็เป็นแพทย์ประจำบ้าน เคยถามเพื่อนกันว่าที่วอร์ดมีตู้ระบบปิดหรือไม่แต่ดูเหมือนไม่มีนะ :roll:
เราจะเป็นคนอ่อนโยนแต่จะไม่อ่อนแอ
เราจะเป็นเข้มแข็งแต่จะไม่แข็งกระด้าง
ภาพประจำตัวสมาชิก
lucky_ou
 
โพสต์: 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 พ.ย. 2004, 21:39
ที่อยู่: bangkok

ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย pmc » 26 พ.ค. 2006, 15:05

PMK คือร.พ พระมงกุฏหรือเปล่าครับ
ผมอยู่ร.พชุมชน มีCase ใช้ยามะเร็งแต่ร.พ ศูนย์ไม่ยอมรับส่งต่อ ให้ฝ่ายเภสัชผสมยาให้ก็ไม่ยอมทำอ้างให้ ร.พ ผสมเอง ผมบอกว่า ทางโรงพยาบาลไม่มี LAminar Air Flow เภสัช ร.พ
ศูนย์กลับบอกว่า ผสมโดยไม่ต้องใช้LAminar Air Flow ได้ ผมรู้สึกตลก แต่ขำไม่ออก ไม่คิดว่าคำพูดนี่จะออกมาจากปากเภสัช
อย่ากังวลในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง แต่จงเตรียมพร้อมที่จะรับมือ
pmc
 
โพสต์: 116
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2006, 12:27
ที่อยู่: HOSPITAL

ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย lucky_ou » 26 พ.ค. 2006, 23:52

โอ้ ... ขอโทษคะ เข้าใจผิดเล็กน้อย :oops:
แต่ก็นะคะ ถ้าเป็น เคสนี้ เคยเจอเหมือนกันนะคะ
เห็นพี่ ๆ บอกว่าถ้าผู้ป่วยต้องรับยาเป็น คอร์สการรักษา ให้ผู้ป่วยเข้ามาตามนัดเองคะ
แต่เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางได้ก็ผสมให้โดยต้องพิจารณายาจะหมดอายุหรือเปล่า

แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ก็ยังเห็นด้วยกับให้ผู้ป่วยรับยาที่ศูนย์การรักษา และมีการผสมตามมาตราฐานเหมือนกันคะ

แต่เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้คงน้อยมาก ๆ เพราะ
1 ผู้ป่วยไม่ชอบเดือนทางไกลเพราะต้องเสียค่าใช้จ่าย
2 เมื่อเข้ามารับยาแต่ละครี้งต้องเสียเวลาประมาณ 1 วันเป็นอย่างน้อย
3 ต้องมีญาติมาด้วยและต้องเสียรายได้อีก

พอดูรวม ๆ ก็นะ น่าเห็นใจ

เอาเท่าที่เป็นไปได้ ระวังที่สุด ทำให้ปลอดเชื้อที่สุด จนกว่าเราจะสามารถทำได้ตามมาตราฐาน
แล้วกันนะคะ

ส่งกำลังใจไปแล้วกัน
:wink:
เราจะเป็นคนอ่อนโยนแต่จะไม่อ่อนแอ
เราจะเป็นเข้มแข็งแต่จะไม่แข็งกระด้าง
ภาพประจำตัวสมาชิก
lucky_ou
 
โพสต์: 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 พ.ย. 2004, 21:39
ที่อยู่: bangkok

Re: ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย zartingtong » 15 พ.ค. 2008, 13:33

นึกว่าเป็นยาสูดแก้ลมดมแก้หวัดมั้งครับ แต่เอสงสัยว่าเชื้อโรคจะตายไปด้วยหรือเปล่า
:lol: :lol: :lol:
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14

Re: ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย ShioMi » 07 ก.ค. 2008, 12:47

ผสมใน Laminar Air Flow เซฟได้แต่ยาครับ ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ แต่ไม่ได้เซฟผู้เตรียมเลย เนื่องจากลมพัดผ่านยาออกมาหาตัวเรา รับไปเต็มๆครับ เตรียมข้างนอกยังปลอดภัยกว่าอีก

ตู้ที่ใช้ผสมยาเคมีบำบัด น่าจะเป็นตู้ BSC(Biological Safety Cabinet) Type 2B จะเหมาะสมกว่า หรือ Isolator ก็ได้ แต่ราคาก็แพงขึ้นละนะ

หากผมอยู่ รพ.ชุมชน ผมคงเคลียร์พื้นที่ทำเป็น Clean area แล้วผสมเองดีกว่าครับ ไม่อยากทำในตู้ Laminar เลยจริงๆ

ปล.เตรียมยาเคมีบำบัด อย่าลืมใช้เทคนิค negative pressure นะครับ เดี๋ยวยามันจะพุ่งออกมาเป็นอันตรายอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
ShioMi
 
โพสต์: 88
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.พ. 2007, 14:34

Re: ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย NorthPhar » 07 ก.ค. 2008, 18:34

ShioMi เขียน:ผสมใน Laminar Air Flow เซฟได้แต่ยาครับ ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ แต่ไม่ได้เซฟผู้เตรียมเลย เนื่องจากลมพัดผ่านยาออกมาหาตัวเรา รับไปเต็มๆครับ เตรียมข้างนอกยังปลอดภัยกว่าอีก

ตู้ที่ใช้ผสมยาเคมีบำบัด น่าจะเป็นตู้ BSC(Biological Safety Cabinet) Type 2B จะเหมาะสมกว่า หรือ Isolator ก็ได้ แต่ราคาก็แพงขึ้นละนะ

หากผมอยู่ รพ.ชุมชน ผมคงเคลียร์พื้นที่ทำเป็น Clean area แล้วผสมเองดีกว่าครับ ไม่อยากทำในตู้ Laminar เลยจริงๆ

ปล.เตรียมยาเคมีบำบัด อย่าลืมใช้เทคนิค negative pressure นะครับ เดี๋ยวยามันจะพุ่งออกมาเป็นอันตรายอีก


ขอปรับความเข้าใจหน่อยครับ BSC เป็น Laminar air flow ชนิดหนึ่งครับ ที่มีการไหลเวียนของอากาศในแนวดิ่ง (Vertical air flow) เพราะฉะนั้นคำว่า "ผสมใน Laminar Air Flow เซฟได้แต่ยาครับ ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ แต่ไม่ได้เซฟผู้เตรียมเลย เนื่องจากลมพัดผ่านยาออกมาหาตัวเรา รับไปเต็มๆครับ เตรียมข้างนอกยังปลอดภัยกว่าอีก" ไม่น่าจะถูกต้องซะทีเดียวครับ  :lol:
รับโปรแกรมบริหารร้านยาฟรี !!! เพียงสมัครสมาชิกห้อง ThaiPharmasoft
NorthPhar
 
โพสต์: 1091
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2004, 15:14

Re: ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย ShioMi » 09 ก.ค. 2008, 12:52

Services: สาระน่ารู้
คุณรู้หรือไม่ 

ตู้ปลอดเชื้อ (Biological safety cabinets)

ตู้ปลอดเชื้อ Biological safety cabinet (BSC) บางครั้งก็เรียก biohazard hood , biohazard safety cabinet , microbiological safety cabinet เป็นอุปกรณ์ สำคัญสำหรับการทำงานกับ biohazard ใน BSL2-4 ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำงานกับ biohazard โดยตรง อากาศที่ไหลเวียนอยู่ภายในตู้จะมาจากอากาศจากภายนอกตู้ (room air) ที่ถูกดูดเข้าทางด้านหน้าตู้ ไหลผ่านตัวผู้ปฏิบัติงานที่นั่งอยู่หน้าตู้เข้าไป ส่วนอากาศที่ถ่ายเทออกสู่ภายนอกตู้จะถูกกรองผ่าน Hepa filter ที่สามารถดักจับอนุภาคที่มีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอน (เศษหนึ่งส่วนล้านของเมตร) ได้ถึง 99.97% ซึ่งไม่มีจุลชีพใด ๆ เท่าที่รู้จักสามารถผ่านไปได้ อากาศที่ผ่าน Hepa Filter จึงสะอาด มีตู้ปลอดเชื้ออีกสองชนิดที่ได้ยินกันบ่อย ๆ คือ Horizontal laminar air flow และ Vertical laminar air flow ทั้งสองอย่างนี้ไม่เป็น biological safety cabinet เพราะอากาศที่ไหลผ่านพื้นที่ทำงานในตู้จะไหลเข้าหาผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ทำให้ไม่สามารถใช้ทำงานกับ biohazard ได้ จึงเหมาะสมที่จะใช้กับงานอย่างอื่นที่ไม่เป็นอันตรายกับคน เช่น งานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

ตู้ BSC จะดูดอากาศจากภายนอกเข้าไปในตู้ครับ แล้วแต่ type อีกทีว่าจะกรองอากาศก่อนไหม ลมจะเข้าไปหมุนเวียนภายในตู้

ตู้ BSCs มีด้วยกัน 3 แบบ คือ (class I - III)

BSC Class I : อากาศที่ไหลเข้าสู่ภายในตู้จะไหลเวียนอยู่เหนือพื้นที่ทำงาน และถูกกรองผ่าน Hepa Filter ก่อนจะออกสู่ภายนอก กลับเข้าสู่อากาศภายในห้องปฏิบัติการอีกครั้ง อากาศที่ไหลผ่านพื้นที่ทำงานจึงอาจจะไม่สะอาด อาจทำให้งานเกิดการปนเปื้อน (Contaminate) จากเชื้อภายนอกตู้ได้ เรียกว่า " ป้องกันคน แต่ไม่ป้องกันงาน "

ฺBSC Class II : อากาศจากภายนอกจะไม่ผ่านพื้นที่ทำงานโดยตรงแต่จะถูกกรองผ่าน Hepa Filter ก่อน อากาศที่ผ่านการกรองแล้วส่วนหนึ่งจะไหลย้อนพ่นลงสู่พื้นที่ปฏิบัติงาน อีกส่วนจะปล่อยออกภายนอกตู้ อากาศที่ไหลผ่านพื้นที่ทำงานจึงเป็นอากาศที่สะอาด แบบนี้เรียกว่า " ป้องกันทั้งคนและงาน "

BSC Class III : เป็นตู้ปิด ด้านหน้าตู้จะเป็นช่องให้สอดมือเข้าไปในถุงมือที่จะเชื่อมติดอยู่กับผนังตู้ด้านใน อากาศภายนอกจะเข้าตู้ผ่านทางช่อง Supply air เท่านั้น ซึ่งจะมี Hepa Filter ติดอยู่ด้วย ส่วนอากาศที่ปล่อยออกจะถูกกรองผ่าน Hepa Filter ถึง 2 ชั้น แรงดันอากาศภายในตู้จะน้อยกว่าภายนอก (negative pressure) ชิ้นงานและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะนำ เข้า - ออก จากตู้จะต้องผ่านทาง double ended autoclave ที่ติดอยู่ด้านข้างของตู้ ซึ่งมีประตูปิด - เปิด สองด้าน ของจะถูกฆ่าเชื้อก่อนจะนำออกจากตู้

ซึ่ง type 2 ก็แบ่งย่อยออกไปได้อีกตามระบบการกรอง การหมุนเวียนอากาศ ซึ่งมีความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อได้เหมือน  ต่างกันที่ความ
สามารถในการจัดการกับสารระเหยที่เป็นพิษ 

ตู้ Laminar Air Flow ผมใช้ผสมเตรียม TPN , PPN , ยาตาต่างๆ , น้ำยาผ่าตัดหัวใจ เป็นต้น

ปล. ทั้ง Laminar Air Flow และ BSC ก็คือตู้ปลอดเชื้อครับ แต่เหมาะสำหรับงานคนละแบบกัน

ปล.2 ความเข้าใจของผมเป็นประการนี้ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัย พร้อมรับฟังเหตุผลชี้แจงครับ ^^

สามารถเข้าไปโหลดรายละเอียด มาตรฐานการปฏิบัติงานผสมยาเคมีบำบัด หัวข้อ สถานที่และตู้ปลอดเชื้อสำหรับการผสมยาเคมีบำบัด ได้ที่

http://www.thaihp.org/index.php?option=viewhome&lang=th&id=82&sub=-1&layout=0

ที่มา :
http://www.labservicethailand.com/new/f ... r=service1
http://www.thaihp.org/
แก้ไขล่าสุดโดย ShioMi เมื่อ 09 ก.ค. 2008, 13:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
ShioMi
 
โพสต์: 88
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.พ. 2007, 14:34

Re: ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย NorthPhar » 09 ก.ค. 2008, 15:47

ShioMi เขียน:Services: สาระน่ารู้
คุณรู้หรือไม่ 

ตู้ปลอดเชื้อ (Biological safety cabinets)

ตู้ปลอดเชื้อ Biological safety cabinet (BSC) บางครั้งก็เรียก biohazard hood , biohazard safety cabinet , microbiological safety cabinet เป็นอุปกรณ์ สำคัญสำหรับการทำงานกับ biohazard ใน BSL2-4 ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำงานกับ biohazard โดยตรง อากาศที่ไหลเวียนอยู่ภายในตู้จะมาจากอากาศจากภายนอกตู้ (room air) ที่ถูกดูดเข้าทางด้านหน้าตู้ ไหลผ่านตัวผู้ปฏิบัติงานที่นั่งอยู่หน้าตู้เข้าไป ส่วนอากาศที่ถ่ายเทออกสู่ภายนอกตู้จะถูกกรองผ่าน Hepa filter ที่สามารถดักจับอนุภาคที่มีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอน (เศษหนึ่งส่วนล้านของเมตร) ได้ถึง 99.97% ซึ่งไม่มีจุลชีพใด ๆ เท่าที่รู้จักสามารถผ่านไปได้ อากาศที่ผ่าน Hepa Filter จึงสะอาด มีตู้ปลอดเชื้ออีกสองชนิดที่ได้ยินกันบ่อย ๆ คือ Horizontal laminar air flow และ Vertical laminar air flow ทั้งสองอย่างนี้ไม่เป็น biological safety cabinet เพราะอากาศที่ไหลผ่านพื้นที่ทำงานในตู้จะไหลเข้าหาผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ทำให้ไม่สามารถใช้ทำงานกับ biohazard ได้ จึงเหมาะสมที่จะใช้กับงานอย่างอื่นที่ไม่เป็นอันตรายกับคน เช่น งานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

ตู้ BSC จะดูดอากาศจากภายนอกเข้าไปในตู้ครับ แล้วแต่ type อีกทีว่าจะกรองอากาศก่อนไหม ลมจะเข้าไปหมุนเวียนภายในตู้

ตู้ BSCs มีด้วยกัน 3 แบบ คือ (class I - III)

BSC Class I : อากาศที่ไหลเข้าสู่ภายในตู้จะไหลเวียนอยู่เหนือพื้นที่ทำงาน และถูกกรองผ่าน Hepa Filter ก่อนจะออกสู่ภายนอก กลับเข้าสู่อากาศภายในห้องปฏิบัติการอีกครั้ง อากาศที่ไหลผ่านพื้นที่ทำงานจึงอาจจะไม่สะอาด อาจทำให้งานเกิดการปนเปื้อน (Contaminate) จากเชื้อภายนอกตู้ได้ เรียกว่า " ป้องกันคน แต่ไม่ป้องกันงาน "

ฺBSC Class II : อากาศจากภายนอกจะไม่ผ่านพื้นที่ทำงานโดยตรงแต่จะถูกกรองผ่าน Hepa Filter ก่อน อากาศที่ผ่านการกรองแล้วส่วนหนึ่งจะไหลย้อนพ่นลงสู่พื้นที่ปฏิบัติงาน อีกส่วนจะปล่อยออกภายนอกตู้ อากาศที่ไหลผ่านพื้นที่ทำงานจึงเป็นอากาศที่สะอาด แบบนี้เรียกว่า " ป้องกันทั้งคนและงาน "

BSC Class III : เป็นตู้ปิด ด้านหน้าตู้จะเป็นช่องให้สอดมือเข้าไปในถุงมือที่จะเชื่อมติดอยู่กับผนังตู้ด้านใน อากาศภายนอกจะเข้าตู้ผ่านทางช่อง Supply air เท่านั้น ซึ่งจะมี Hepa Filter ติดอยู่ด้วย ส่วนอากาศที่ปล่อยออกจะถูกกรองผ่าน Hepa Filter ถึง 2 ชั้น แรงดันอากาศภายในตู้จะน้อยกว่าภายนอก (negative pressure) ชิ้นงานและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะนำ เข้า - ออก จากตู้จะต้องผ่านทาง double ended autoclave ที่ติดอยู่ด้านข้างของตู้ ซึ่งมีประตูปิด - เปิด สองด้าน ของจะถูกฆ่าเชื้อก่อนจะนำออกจากตู้

ซึ่ง type 2 ก็แบ่งย่อยออกไปได้อีกตามระบบการกรอง การหมุนเวียนอากาศ ซึ่งมีความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อได้เหมือน  ต่างกันที่ความ
สามารถในการจัดการกับสารระเหยที่เป็นพิษ 

ตู้ Laminar Air Flow ผมใช้ผสมเตรียม TPN , PPN , ยาตาต่างๆ , น้ำยาผ่าตัดหัวใจ เป็นต้น

ปล. ทั้ง Laminar Air Flow และ BSC ก็คือตู้ปลอดเชื้อครับ แต่เหมาะสำหรับงานคนละแบบกัน

ปล.2 ความเข้าใจของผมเป็นประการนี้ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัย พร้อมรับฟังเหตุผลชี้แจงครับ ^^

สามารถเข้าไปโหลดรายละเอียด มาตรฐานการปฏิบัติงานผสมยาเคมีบำบัด หัวข้อ สถานที่และตู้ปลอดเชื้อสำหรับการผสมยาเคมีบำบัด ได้ที่

http://www.thaihp.org/index.php?option=viewhome&lang=th&id=82&sub=-1&layout=0

ที่มา :
http://www.labservicethailand.com/new/f ... r=service1
http://www.thaihp.org/


เข้าใจถูกแล้วครับเพียงแต่ขออนุญาตให้ความเห็นในส่วนของการให้คำว่า laminar air flow ในกระทู้แรกครับ หากเฉพาะเจาะจงให้ชัดว่าเป็นชนิดไหนก็จะชัดเจนขึ้นครับ
ปล.ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาขยายความให้สมาชิกท่านอื่นๆเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้นครับ  :lol:
รับโปรแกรมบริหารร้านยาฟรี !!! เพียงสมัครสมาชิกห้อง ThaiPharmasoft
NorthPhar
 
โพสต์: 1091
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2004, 15:14

Re: ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย py106 » 18 ก.ค. 2008, 02:35

ไม่เห็นด้วยครับกับการใช้คำว่า Laminar Air Flow Hood ในการเรียก Bio-Safety Cabinet เนื่องจาก BSC ไม่ได้เป็น subset ของ LAF Hood ครับ ดังนั้นอย่าเข้าใจผิดนะครับ... เด๋วจะพาลรุ่นน้องๆ เค้างงกันไปใหญ่

LAF Hood อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือเป็น Hood ที่มีการ supply อากาศสะอาดเป็นลำเส้นตรงผ่าน HEPA filter
ส่วน BSC นั้นเป็นสถานีปฏิบัติการสำหรับการปฏิบัติการกับเชื้อโรคต่างๆครับ สำหรับ type ต่างๆ ของ BSC ประกอบด้วย Type I, IIa, IIb, IIc และ III ซึ่งจะไม่ขอลงละเอียดไปมากกว่านี้นะครับ

อันนี้สำคัญมาก BSC และ LAF นั้น สร้างมาเพื่อใช้งานกับ biohazards products ครับ การนำมาประยุกต์ใช้กับยามะเร็งนั้น ถือว่าอาจจะมี หรือไม่มีความปลอดภัยตามหลักมาตรฐานได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของสารรังสีที่อยู่ใน product เนื่องจาก BSC ของท่านแม้จะกันฝุ่นผงกัมมันต์ได้แต่ก็อาจจะไม่สามารถกัน radiation ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นคลื่น บางชนิดที่มีความสามารถในการทะลุทะลวงสูงได้ โดยเฉพาะในจุด operating site เช่น arm glove เป็นต้น

สุดท้ายนี่ผมไม่แน่ใจเพราะว่าไม่ได้ดูมานานพอควรแล้ว แต่ผมรู้สึกว่า type IIb ที่ทั่นๆ แนะนำกันจะไม่เพียงพอนะครับ เพราะแม้จะป้องกันได้ แต่รู้สึกว่าจะมีการ recirculate 30% มังครับ... cabinet ที่ใช้กับยา radioactive นั้นไม่ควร recirculate อากาศครับ...(เรื่อง validation of waste air ก็อย่าลืมด้วยนะครับ)... อย่างน้อยๆน่าจะเป็น type IIc หรือ III ครับ อย่างไรก็ตาม อย่าลืมเรื่องการป้องกันรังสีด้วยนะครับ...
แวะไปเยี่ยมชมกันได้ครับ
http://py106travel.blogspot.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
py106
 
โพสต์: 103
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2005, 11:16
ที่อยู่: FDA, Thailand

Re: ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย NorthPhar » 18 ก.ค. 2008, 09:10

py106 เขียน:ไม่เห็นด้วยครับกับการใช้คำว่า Laminar Air Flow Hood ในการเรียก Bio-Safety Cabinet เนื่องจาก BSC ไม่ได้เป็น subset ของ LAF Hood ครับ ดังนั้นอย่าเข้าใจผิดนะครับ... เด๋วจะพาลรุ่นน้องๆ เค้างงกันไปใหญ่


การจัดแบ่งประเภทของตู้ปลอดเชื้อแบ่งได้หลายแบบ
1. แ่บ่งตามประเภทการไหลของลม
1.1 ตู้ปลอดเชื้อชนิดที่ลมไหลเป็นทิศทางเดียวหรือเป็นระนาบ (laminar airflow) ได้แ่ก่
1.1.1 Horizontal laminar airflow hood
1.1.2 Vertical laminar airflow hood
1.2 ตู้ปลอดเชื้อชนิดที่ลมไหลไม่เป็นทิศทางเดียวหรือไม่เป็นระนาบ (Turbulent airflow)
2. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
2.1 ตู้ปลอดเชื้อสำหรับการใช้งานทั่วไป มีทั้งแบบ horizontal และ vertical airflow
2.2 ตู้ปลอดเชื้อสำหรับงานที่ต้องการความระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากวัตถุนั้นอาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานหรือสิ่งแวดล้อม ตู้ประเภทนี้เรียกว่า biological safety cabinet (BSC) ซี่งมีทั้งแบบที่มีการไหลของอากาศเป็นแบบ laminar (vertical airflow เท่านั้น) และ turbulent airflow ซึ่งส่วนใหญ่แล้วที่ใช้ในการผสมยาในเมืองไทยจะเป็น ฺBSC ที่มีการไหลของอากาศแบบ vertical laminar airflow

ดังนั้นการ BSC ส่วนใหญ่ที่พบเห็นในการผสมยาในประเทศไทยจึงเป็นตู้ปลอดเชื้อที่มีการไหลเวียนของอากาศแบบ vertical laminar airflow ส่วนการเรียกชื่อคงอยู่ที่เรากำลังให้ความสนใจในเรื่องของการไหลของอากาศหรือลักษณะการใช้งานครับ

เนื้อหานี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ "คู่มือเภสัชกร:การผสมยาเคมีบำบัดและการจัดการเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย" (ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการตีพิมพ์) ผู้ที่สนใจติดตามได้ในการประชุมวิชาการกลางปี ของกลุ่มเภสัชกรสาขาโรคมะเร็ง สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลแห่ง(ประเทศไทย) วันที่ 24-25 กรกฎาคม 2551 ครับ
NorthPhar
 
โพสต์: 1091
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2004, 15:14

Re: ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย py106 » 18 ก.ค. 2008, 13:26

หนังสือเขียนยังงั้นก็ไม่ผิด แต่ถ้าเขียนแล้วคุณพี่เข้าใจแบบนั้น งั้นผมว่าไม่พี่ก็หนังสือมีปัญหาแล้วครับ รบกวนช่วยกันแก้ความเข้าใจผิดด้วย ยืนยันว่า BSC คือ BSC ไม่ใช่ LAF Hood เพราะจะสื่อความผิดกันได้

สิ่งที่ทำให้ไม่สามารถเรียกแทนกันได้คือ เป้าประสงค์ในการผลิตอุปกรณ์นั้นต่างกัน LAF hood นั้นสร้างขึ้นมาตาม product protection concept ส่วน BSC สร้างขึ้นมาตาม personnel protection concept โดยหากไปดูประวัติศาสตร์ biosfety regulation ของ US of America แล้วจะเห็นได้ว่ามีการกล่าวถึง personnel protection concept ไว้อย่างชัดเจน แต่ไม่มีอะไรเลยที่เกี่ยวกับ product protection ดังนั้น หาก BSC นั้น ไม่มี LAF ก็ไม่ได้หมายความว่าผิดหลักการของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายของ US of America แต่อย่างใด

เห็นอะไรไหมครับ... หมายความว่า BSC ในโลกนี้ที่ไม่จำเป็นต้องมี LAF และไอ่ BSC ที่ไม่มี LAF จะจัดเป็น LAF Hood ตามที่คุณพี่ว่าได้อย่างไร ดังนั้น มันไม่ใช่ subset ของกันและกันแน่นอนครับ

อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน ด้วยมาตรฐานที่เพิ่มขึ้น เทคโนโลยีการผลิต BSC มักจะนำ GxPs (GMP, GPP, GHP, GAMP, ...) for sterile products มาใช้ ทำให้มีการเพิ่มเติมในส่วนของ LAF เข้าไปเพื่อ protect the product และได้มี type ต่างๆ ออกมา 3 types ใหญ่ และ type II ยังมีอีก 3 types ย่อย

เอาเป็นว่า ถ้าตอบคำถามว่าการทำงานกับ biohazard medicinal products ทำใน LAF hood ข้อนี้สมควรให้ 0 คะแนนครับ เหมือนกับการตอบคำถามที่ว่าการผลิตยาโดยเทคนิคปราศจากเชื้อต้องผลิตในสภาวะใด .....ตอบ = clean room นั่นล่ะ <-- อันนี้อาจจะยังให้ 1 จาก 10 นะ

Laminar Flow Hoods & Biological Safety Cabinets
What are HEPA Filters?

HEPA stands for High Efficiency Particulate Air
they consist of a thin pleated sheet of boron silicate microfibres with aluminum separators
they are particulate filters which retain airborne particles and microorganisms (gases pass freely through)
filtration occurs by five distinct methods (*primary mechanisms):
1) sedimentation
2) electrostatic attraction
3) interception*
4) inertial impaction*
5) diffusion*

How are HEPA filters rated?

HEPA filters are rated on their ability to retain particles of 0.3 microns in size
tested with PAO (poly alpha olefin) which produces particles of 0.3 microns in size
>99.97% of these particles are retained by the HEPA filter
most aerosol droplets are greater than 0.3 microns

Do you know the difference between a laminar flow hood and a biological safety cabinet?

Laminar Flow Hoods
provide product protection only and must not be used when working with any form of biohazard or chemical hazard
any potentially infectious aerosol that is created will lead to exposure of the operator and the environment
horizontal-flow clean-air bench used for cell cultures can expose the researcher to aerosols of allergenic or infectious materials.
vertical-flow clean-air bench also blows air out into the room

Biological Safety Cabinets
provide personnel and environmental protection and commonly product protection
infectious agents must be used in a biological safety cabinet NOT a laminar flow hood

Do you know the difference between Class I, II, & III Biological Safety Cabinets?

Class I Biological Safety Cabinet:

a ventilated cabinet which provides personnel and environmental protection only
air flow is directed away from the researcher, but is not HEPA filtered, therefore there is no product protection
similar to a fume hood with a HEPA filter on the exhaust system to protect against the release of biohazards
inward air flow ranges from 75-125 linear feet per minute (lfpm)
can be used with radioisotopes and some toxic chemicals

Class II Biological Safety Cabinet:

provides personnel, product and environmental protection
there are supply air and exhaust air HEPA filters
two general types: IIA cabinets have a minimum inward air flow of 75 lfpm and recirculates 70% of the air; IIB cabinets have a minimum inward air flow of 100 lfpm and exhaust either 70% (type B1) or 100% (type B2)
most of the biological safety cabinets at UVic are Class II

Class III Biological Safety Cabinet:

these cabinets provide personnel, product and environmental protection
they are hermetically sealed and all procedures are conducted through arm-length rubber gloves
used in high level (Level 4) containment labs
there are two HEPA filters on the exhaust system

Are you sure you are using your Biological Safety Cabinet correctly?

Procedures for Using Biological Safety Cabinets:

the cabinet must be turned on at least 5 minutes before starting work in order to purge the air and remove any particulates
the researcher should wear a closed-front lab coat (or surgical gown) and gloves
the gloves should overlap the cuffs
all materials needed for the manipulations should be placed in the cabinet before the work is initiated to minimize in-and-out motions
do not cover the air intake grill
the researcher should work well into the cabinet and not out close to the front (at least four inches from the front grill)
when in use, the entry door to the lab (particularly in small rooms) must be kept closed and traffic minimized
do not have electric fans blowing in the room when the biological safety cabinet is in use; this will seriously effect the air flow of the unit
develop procedures for the collection and decontamination of waste materials to avoid clutter and minimize in-and-out motions
the cabinet must be decontaminated with an appropriate disinfectant at the end of each work operation
periodic use of 1-10% household bleach in water is acceptable, but chlorine is corrosive (70% ethanol or quaternary ammonium compounds may also be used if effective against agent)
all biological safety cabinets must be certified for use when first installed, any time the unit is moved or repaired, and on an annual basis
all cabinets will have a certification sticker indicating the last date of testing on the front face of the cabinet


ที่มา...University of Victoria

ปล...ที่ผมเขียนนี่มันยังเป็นคนละเรื่องกับ suitability ในการใช้ BSC ในการผสมยามะเร็งนะครับ เพราะตอบไปแล้วข้างบน
ปล2...ยืนยันครับ....BSC ไม่ใช่ LAF, period!!! ผมไม่ได้มาเสนอความเห็นแต่มาแจ้งความจริง :lol:
แวะไปเยี่ยมชมกันได้ครับ
http://py106travel.blogspot.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
py106
 
โพสต์: 103
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2005, 11:16
ที่อยู่: FDA, Thailand

Re: ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย NorthPhar » 18 ก.ค. 2008, 14:27

NorthPhar เขียน:
2.2 ตู้ปลอดเชื้อสำหรับงานที่ต้องการความระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากวัตถุนั้นอาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานหรือสิ่งแวดล้อม ตู้ประเภทนี้เรียกว่า biological safety cabinet (BSC) ซี่งมีทั้งแบบที่มีการไหลของอากาศเป็นแบบ laminar (vertical airflow เท่านั้น) และ turbulent airflow ซึ่งส่วนใหญ่แล้วที่ใช้ในการผสมยาในเมืองไทยจะเป็น ฺBSC ที่มีการไหลของอากาศแบบ vertical laminar airflow



biological safety cabinet (BSC) ซี่งมีทั้งแบบที่มีการไหลของอากาศเป็นแบบ laminar (vertical airflow เท่านั้น) และ turbulent airflow
ผมไม่ได้บอกว่า ถ้าไม่ใช่ laminar airflow แล้วจะไม่ใช่ ฺBSC แต่สำหรับการทำงานกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความปราศจากเชื้อ จะนิยมใช้ชนิดที่เป็น larminar มากกว่า turbulent airflow เพราะช่วยลดการปนเปื้อนของอนุภาคและเชื้อโรคที่จะเข้าไปปนเปื้อนในยา

และถ้าอ่านดูดีๆ ผมไม่เคยบอกให้ใครใช้ laminar airflow hood ในการผสมยาเคมีำบำบัดเลย :?
NorthPhar
 
โพสต์: 1091
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2004, 15:14

Re: ยามะเร็งปลอดภัยจริงหรือถ้าไม่ผสมในระบบปิด

โพสต์โดย py106 » 18 ก.ค. 2008, 23:30

NorthPhar เขียน:
NorthPhar เขียน:
2.2 ตู้ปลอดเชื้อสำหรับงานที่ต้องการความระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากวัตถุนั้นอาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานหรือสิ่งแวดล้อม ตู้ประเภทนี้เรียกว่า biological safety cabinet (BSC) ซี่งมีทั้งแบบที่มีการไหลของอากาศเป็นแบบ laminar (vertical airflow เท่านั้น) และ turbulent airflow ซึ่งส่วนใหญ่แล้วที่ใช้ในการผสมยาในเมืองไทยจะเป็น ฺBSC ที่มีการไหลของอากาศแบบ vertical laminar airflow



biological safety cabinet (BSC) ซี่งมีทั้งแบบที่มีการไหลของอากาศเป็นแบบ laminar (vertical airflow เท่านั้น) และ turbulent airflow
ผมไม่ได้บอกว่า ถ้าไม่ใช่ laminar airflow แล้วจะไม่ใช่ ฺBSC แต่สำหรับการทำงานกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความปราศจากเชื้อ จะนิยมใช้ชนิดที่เป็น larminar มากกว่า turbulent airflow เพราะช่วยลดการปนเปื้อนของอนุภาคและเชื้อโรคที่จะเข้าไปปนเปื้อนในยา

และถ้าอ่านดูดีๆ ผมไม่เคยบอกให้ใครใช้ laminar airflow hood ในการผสมยาเคมีำบำบัดเลย :?

ดูจากที่คุณพี่ตอบมา ก็แสดงว่าตอนนี้ความเห็นของพี่กับของผม เป็นแบบเดียวกันแล้วนะครับ... เรื่องเล็กน้อยๆ แบบว่าคุณพี่ป่าวบอกยังงั้น ผมไม่ได้หมายความว่ายังงี้ผมขอจบไว้ก็แล้วกัน...โหสิ โหสิ
แวะไปเยี่ยมชมกันได้ครับ
http://py106travel.blogspot.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
py106
 
โพสต์: 103
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2005, 11:16
ที่อยู่: FDA, Thailand

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง มอคค่า

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document