New Document









จากSPA ถึง CPG คนละเรื่องเดียวกัน HA ของแท้ ต้องเพิ่มคุณภาพ

บทความทางเภสัชศาสตร์ และบทความทั่วไป

จากSPA ถึง CPG คนละเรื่องเดียวกัน HA ของแท้ ต้องเพิ่มคุณภาพ

โพสต์โดย GPE » 13 ธ.ค. 2009, 08:50

:evil: จากSPA ถึง CPG คนละเรื่องเดียวกัน
HA ของแท้ ต้องเพิ่มคุณภาพ ไม่ใช่ สร้างภาพ
จากSPA ถึง CPG คนละเรื่องเดียวกัน
ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม
เป็น ที่น่าสังเกต จากการทำงานจ่ายยาในโรงพยาบาล มานานหลายปีพบว่า หลายครั้ง ยาบางตัว ที่ คนไข้จำเป็น ต้องได้รับ แต่แพทย์ ไม่ยอมสั่งยา เช่น ยาในกลุ่มโรคหัวใจ ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดเป็นต้น ความคลาดเคลื่อนทางยา แบบนี้ เราเรียกว่า untreated drug indication ซึ่งก็คือ การไม่ให้ยา ในการรักษาทั้งๆ ที่มีข้อบ่งใช้ ในกรณี โรคเรื้อรังที่มีความรุนแรงสูง การไม่ได้ยาที่จำเป็น อาจส่งผลเสียต่อคนไข้อย่างรุนแรง คนไข้บางรายเสียชีวิต จากความคลาดเคลื่อนนี้ สำหรับประเทศไทย ในโรงพยาบาลถือว่าแพทย์เป็นใหญ่และมีอำนาจสูงสุด ทำให้เภสัชกรส่วนใหญ่ ไม่กล้าทักท้วงแพทย์ หากแพทย์ ไม่ยอมสั่งยาที่จำเป็น ให้ผู้ป่วย โดยไม่มีเหตุผลก็ตามที
หากมองในมุมกลับ เมื่อ เภสัชกร หรือสมาชิกในครอบครัว เราเป็น คนไข้เสียเอง เภสัชกรก็คงไม่ยินยอม ให้แพทย์ละเลย การสั่งยาที่จำเป็น ให้เราหรือครอบครัวเราแน่นอน ผู้เขียนของยกตัวอย่าง คนไข้รายหนึ่ง เป็นโรคหัวใจขาดเลือด แพทย์สั่งจ่ายยาดังนี้ aspirin,isodril,clopidogrel, simvastatin แค่นั้น ทั้งที่ความจริงแล้ว คนไข้ ควรได้ยากลุ่ม beta blocker และยากลุ่ม ACEI ที่ยืนยันพิสูจน์แล้ว ว่าช่วยลดอัตราการตาย และลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจขาดเลือดซ้ำ แต่ก็ไม่มีกลุ่มคนใด ในสังคมไทยออกมาเรียกร้อง ให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ทบทวนความผิดพลาดข้อดี ผู้เขียน ขอเรียกระบบนี้ว่า การรักษาตามอัธยาศัย หรือ การักษาแบบสุดแท้แต่วาสนา
ในการรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ จำเป็นต้องยึดถือ สิ่งที่เรียกว่า clinical practice guideline ซึ่งเป็นมาตราฐาน ที่ ออกมาเพื่อเป็นแนวทางในการรักษาผู้ป่วย clinical practice guideline จะถูกสร้างขึ้น จากการสังเคราะห์ข้อมูล จากงานวิจัยทางการแพทย์ต่างๆ ว่าแนวทางใดได้ประโยชน์คุ้มค่ากับการรักษาผู้ป่วย สำหรับประเทศไทย ไม่มีการบังคับใช้ clinical practice guideline ในการรักษาผู้ป่วยโดยเฉพาะในระดับสายการบังคับบัญชาในระบบราชการ แต่อย่างไรก็ตาม สปสช. ได้มีการส่งเสริมให้มีการใช้ยา ตาม clinical practice guideline ในปีงบประมาณ 2553 นี้ได้แก่ การส่งเสริมการใช้ยา aspirin ในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด การสนับสนุนให้มีการตรวจการทำงานของไตในผู้ป่วยเบาหวานทุกปี การส่งเสริมให้ใช้ยากลุ่ม ACEI ในผู้ป่วยที่มีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะ
สำหรับ สรพ. นั้น ได้นำหลักการของ SPA มาใช้ประเมินคุณภาพโรงพยาบาล โดย SPA มีหลักดังนี้ S = standard คือ การทำงานต้องมีมาตราฐาน เปรียบได้กับการใช้ clinical practice guideline ในการรักษาโรคนั่นเอง ต่อมา P=practice ซึ่งก็คือเมื่อมี standard แล้ว ต้องนำมาตราฐานไปปฎิบัติ หรือนำไป practice ในส่วนสุดท้าย คือ A= assessment คือการประเมินผลว่า การนำมาตรฐานไปปฏิบัตินั้น ได้ผลดีหรือไม่ นั่นก็คือ การประเมิน Sกับ P นั่นเอง หลักการ SPA ของ สรพ. จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นหลักการที่ใช้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกว่า standard ตัวใด จำเป็นต้องมีในสถานพยาบาล standard ใด มีผลต่อคุณภาพสถานพยาบาลมากเป็นอันดับแรก standard ต้องถูกนำมาแปลงเป็น เข็มมุ่งขององค์กร ไม่ใช่ การที่ผู้เยี่ยมสำรวจ จะหว่านแหให้ทำทุก standard มั่วไปหมด โรงพยาบาลเองจำเป็น ต้องเข้าใจว่า standard เรื่องใด ที่จำเป็นที่สุด และไม่อาจละเลยได้โดยแบ่ง standard เป็น 2 ระดับคือ 1 minimum level คือ มาตรฐานขั้นต่ำสุด ที่สถานพยาบาลต้องมีขาดไม่ได้ 2 unit levelคือ standard ที่สอดคล้องกับบริบท และวิสัยทัศน์ ขององค์กร เป็น standard ที่ทุกองค์กรต้องมีแต่แตกต่างกันในรายละเอียดเท่านั้น ว่าองค์กรแต่ละแห่งจะมีบริบทและวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกันนั่นเอง
หมวดหมู่: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
คำสำคัญ: ha km patient care
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: จ. 16 พ.ย. 2552 @ 22:45 แก้ไข: จ. 16 พ.ย. 2552 @ 22:46
ความเห็น
1.
P
คุณระพี
เมื่อ อ. 17 พ.ย. 2552 @ 00:30
#1679252 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะคุณ "ศุภรักษ์"

เห็นหัวข้อ..รีบแวะเข้ามาอ่านทันที..

เพราะฉะนั้นถ้ามีทางเลือกเราต้องเสนอเลือกทางที่ดีที่สุดให้ผู้ป่วย(ใช่ไหมคะ)










2.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อ. 17 พ.ย. 2552 @ 07:15
#1679441 [ ลบ ]

ถูกต้องครับ เราในฐานะที่เป็นข้าราชการ

ต้อง ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

อย่าทำงาน ตาม ยถากรรม ครับ
3.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อา. 22 พ.ย. 2552 @ 13:05
#1690000 [ ลบ ]

ปัจจุบัน สปสช. ได้นำแนวคิด SPA หรือ นำ CPG มาส่งเสริม ใช้

ในการใช้ยา ในผู้ป่วยเบาหวาน + ความดันโลหิตสูง หาก รพ. ใด

หาก ทำตามแนวทางการสั่งยาที่ สปสช แนะนำ ก็ จะได้ เงินเพิ่มพิเศษอีก

ปล. หากรอ ระบบราชการแบบเดิมสั่ง ให้ รพ. ทำ ไม่รู้ ต้องรอกัน นานแค่ไหนครับ


:biggrin: idea:
TENS LG 7000 --- TENS LG 7000 ... |
เลิกบุหรี่ -เว็บเลิกบุหรี่ ... |
ภาพประจำตัวสมาชิก
GPE
 
โพสต์: 201
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2004, 11:08
ที่อยู่: จ.ขอนแก่น







Re: จากSPA ถึง CPG คนละเรื่องเดียวกัน HA ของแท้ ต้องเพิ่มคุณ

โพสต์โดย dharma » 10 พ.ค. 2010, 19:14

ฟังดู มันคล้ายๆ กับ medication reconciliation เลย
แต่สิ่งนี้ ก็ไม่ควรละเลยเช่นกัน อย่างเช่น โรคเบาหวาน และความดัน
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับยาต่อเนื่อง ปัญหาเหล่านี้มักเกิดได้ในช่วง admit
หากแพทย์ไม่สั่ง เภสัชกรก็ควรมองย้อนกลับไปว่าลืม หรือเพราะอะไร
และนี่ก็เป็นอีกบทบาทหนึ่ง ที่เภสัชกร ควรทำ
......... ผมอยากเป็น expert .........
ภาพประจำตัวสมาชิก
dharma
 
โพสต์: 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 18:57

Re: จากSPA ถึง CPG คนละเรื่องเดียวกัน HA ของแท้ ต้องเพิ่มคุณ

โพสต์โดย pharmakop » 27 ต.ค. 2010, 11:59

จากการทำงานจ่ายยาในโรง พยาบาล มานานหลายปีพบว่า หลายครั้ง ยาบางตัว ที่ คนไข้จำเป็น ต้องได้รับ แต่แพทย์ ไม่ยอมสั่งยา เช่น ยาในกลุ่มโรคหัวใจ ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดเป็นต้น ความคลาดเคลื่อนทางยา แบบนี้ เราเรียกว่า untreated drug indication ซึ่งก็คือ การไม่ให้ยา ในการรักษาทั้งๆ ที่มีข้อบ่งใช้ ในกรณี โรคเรื้อรังที่มีความรุนแรงสูง การไม่ได้ยาที่จำเป็น อาจส่งผลเสียต่อคนไข้อย่างรุนแรง คนไข้บางรายเสียชีวิต จากความคลาดเคลื่อนนี้ สำหรับประเทศไทย ในโรงพยาบาลถือว่าแพทย์เป็นใหญ่และมีอำนาจสูงสุด ทำให้เภสัชกรส่วนใหญ่ ไม่กล้าทักท้วงแพทย์ หากแพทย์ ไม่ยอมสั่งยาที่จำเป็น ให้ผู้ป่วย โดยไม่มีเหตุผลก็ตามที
หากมองในมุมกลับ เมื่อ เภสัชกร หรือสมาชิกในครอบครัว เราเป็น คนไข้เสียเอง เภสัชกรก็คงไม่ยินยอม ให้แพทย์ละเลย การสั่งยาที่จำเป็น ให้เราหรือครอบครัวเราแน่นอน


ถ้าทุกคนทำแบบนี้ นี่แหละบทบาทวิชาชีพที่แจ่มชัด คนอื่นทำแทนไม่ได้ คุณค่าของงานบริการผู้ป่วยของเภสัชกร อยู่ตรงนี้ หวังว่า ทุกท่านคงช่วยกันนะครับ (อย่างเข้มแข็ง)
ภาพประจำตัวสมาชิก
pharmakop
 
โพสต์: 227
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2006, 15:41
ที่อยู่: ร้อยเอ็ด

Re: จากSPA ถึง CPG คนละเรื่องเดียวกัน HA ของแท้ ต้องเพิ่มคุณ

โพสต์โดย rockyeak » 22 ก.พ. 2011, 16:01

pharmakop เขียน:จากการทำงานจ่ายยาในโรง พยาบาล มานานหลายปีพบว่า หลายครั้ง ยาบางตัว ที่ คนไข้จำเป็น ต้องได้รับ แต่แพทย์ ไม่ยอมสั่งยา เช่น ยาในกลุ่มโรคหัวใจ ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดเป็นต้น ความคลาดเคลื่อนทางยา แบบนี้ เราเรียกว่า untreated drug indication ซึ่งก็คือ การไม่ให้ยา ในการรักษาทั้งๆ ที่มีข้อบ่งใช้ ในกรณี โรคเรื้อรังที่มีความรุนแรงสูง การไม่ได้ยาที่จำเป็น อาจส่งผลเสียต่อคนไข้อย่างรุนแรง คนไข้บางรายเสียชีวิต จากความคลาดเคลื่อนนี้ สำหรับประเทศไทย ในโรงพยาบาลถือว่าแพทย์เป็นใหญ่และมีอำนาจสูงสุด ทำให้เภสัชกรส่วนใหญ่ ไม่กล้าทักท้วงแพทย์ หากแพทย์ ไม่ยอมสั่งยาที่จำเป็น ให้ผู้ป่วย โดยไม่มีเหตุผลก็ตามที
หากมองในมุมกลับ เมื่อ เภสัชกร หรือสมาชิกในครอบครัว เราเป็น คนไข้เสียเอง เภสัชกรก็คงไม่ยินยอม ให้แพทย์ละเลย การสั่งยาที่จำเป็น ให้เราหรือครอบครัวเราแน่นอน


ถ้าทุกคนทำแบบนี้ นี่แหละบทบาทวิชาชีพที่แจ่มชัด คนอื่นทำแทนไม่ได้ คุณค่าของงานบริการผู้ป่วยของเภสัชกร อยู่ตรงนี้ หวังว่า ทุกท่านคงช่วยกันนะครับ (อย่างเข้มแข็ง)


ชอบมาก และโดน ใจครับ
rockyeak
 


ย้อนกลับไปยัง อาราบิก้า

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document