New Document









บางเรื่องของการทดสอบการละลายกับยาที่มีเจลาตินหุ้ม

บทความทางเภสัชศาสตร์ และบทความทั่วไป

บางเรื่องของการทดสอบการละลายกับยาที่มีเจลาตินหุ้ม

โพสต์โดย zartingtong » 22 ส.ค. 2007, 14:05

http://www.pharmtech.com/pharmtech/data/articlestandard//pharmtech/132002/14096/article.pdf
รูปภาพ
ผู้ผลิตยามีความรับผิดชอบ ไม่เพียงแต่ทำการตลาดหรือตามจรรยาบรรณ แต่ยังรวมถึงด้านกฎหมายที่บังคับใช้อีกด้วย  เพื่อที่จะทำให้มั่นใจยิ่งขึ้นที่ผลิตภัณฑ์จะมีการละลายตรงกับข้อกำหนดในสภาวะการเก็บรักษาที่ระบุไว้บนฉลาก สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะการละลายคืออัตราที่จะตัดสินการดูดซึมและชีวปริมาณออกฤทธิ์ของยาในร่างกาย
รูปภาพ
โชคร้ายที่มีบางรูปแบบของยา (dosage form) ได้มีปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำโดยมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการละลาย  สูตรตำรับยาที่ประกอบด้วย gelatin เป็นเปลือกชั้นนอก (ตัวอย่างเช่น hard gelatin capsules และ soft gelatin capsules) เช่นเดียวกันกับยาเม็ดเคลือบน้ำตาลเป็นตัวอย่างที่รวมอยู่ในรูปแบบเดียวกัน  ปัญหาที่นี้ได้มีการลงความเห็นว่าเนื่องมาจาก cross-linking ของ gelatin ซึ่งจะเกิดขึ้นตามอายุของยา เพราะแนวโน้มนี้การใช้เจลาตินในสูตรตำรับยาได้ทำให้เกิดปัญหา  แต่ถึงกระนั้นวัสดุนี้ได้นิยมใช้อย่างกว้างขวางแม้จะมีความพยายามที่จะให้ใช้วัสดุอื่นแทน
รูปภาพ
สำหรับบทความนี้ได้บรรยายถึงปัญหาที่แผ่ขยายออกไปในของการลดลงของอัตราการละลายของผลิตภัณฑ์ที่มีเจลาตินเป็นส่วนประกอบและวิจารณ์ถึงการเฝ้าสังเกตผลที่เกิดขี้นทั้งในการทดลองด้วยเครื่องมือกับการทดลองในสิ่งมีชีวิต  การถกเรื่องนี้รวมถึงการแนะนำตัวเจลาติน รายงานที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการละลาย หลักเคมีของการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยที่มีผล วิธีการทดสอบที่แนะนำและรายงานถึงการแก้ปัญหา
รูปภาพ
ปัญหาของการเกิด gelatin cross-liking และการเปลี่ยนแปลงผลการทดสอบการละลาย
ปัญหาใหญ่ของสูตรตำรับยาที่มีเจลาตินคือการลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อผลิตภัณฑ์ถูกทิ้งไว้นานขึ้น เนื่องมาจากคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่มีเจลาตินในสภาวะแวดล้อมที่บีบคั้น  cross-linking จะทำให้เกิดเยื่อเหนียวแผ่บานที่บางมากแข็งแกร่งคล้ายยางไม่ละลายน้ำ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า pellicle  ตัว pellicle นี้มีบทบาทในการกีดขวางและจำกัดการปลดปล่อยตัวยา  เยื่อนี้ไม่ฉีกขาดง่ายๆโดยการกวน และค่าการละลาย (Q values) ลดลงซึ่งจะลดลงจนถึงขั้นที่ยาตกมาตรฐานการละลายได้บ่อยมาก
รูปภาพ
ยาเม็ดเคลือบน้ำตาล ในยาเม็ดเคลือบน้ำตาล เจลาตินจะเป็นส่วนของ subcoat ซึ่งถูกใช้ส่วนใหญ่เป็นตัวประสาน และตัวทำให้เกิดเป็นแผ่นฟิล์ม และเป็นตัวเคลือบ ระหว่างการเคลือบชั้น subcoat สารละลายที่ใช้เคลือบจะถูกใช้สลับกับ dusting powder ซึ่งจะเคลือบลงไปบนเม็ดยาที่เป็นแก่น ขั้นตอนเหล่านี้จะก่อให้เกิดเป็นโครงสร้างที่เป็นชั้นบางหรือหนาเป็นแบบแซนวิชประกบสลับกันระหว่างตัวประสาน(binder)กับผงsubcoat  ชั้นต่างๆเหล่านี้จะทำให้เม็ดเรียบมนปิดบังเหลี่ยมคมของเม็ดยาเริ่มแรกและขั้นสุดท้ายจึงมีการเคลือบสีซึ่งจะหุ้มเม็ดยาไว้ทั้งหมด
รูปภาพ
ชีวปริมาณออกฤทธิ์และพฤติกรรมทางคลีนิคของ cross-linking gelatin formulation และผลของ enzymes ในกระเพาะลำไส้ (GIT)
Johnson et al. ศึกษาชีวปริมาณออกฤทธิ์ของยา digoxin บรรจุในแคปซูลเจลาตินนิ่มซึ่งเก็บไว้ 10 เดือนที่ 37 องศาเซลเซียส แม้ว่าอัตราการละลายจะลดลง แต่ว่าอัตราการดูดซึมของยากลับไม่ลดลง คล้ายๆกันนั้น Chafetz et al. ไม่สามารถหาความสัมพันธ์ของการละลายโดยใช้เครื่องมือทดสอบการละลายกับปริมาณของยาที่มีในร่างกาย  การศึกษาของเขาเหล่านี้พบว่ายา gemfibrozil capsuleที่เกิดชั้นฟิล์ม(pellicle)มีชีวสมมูลเท่ากับยาในสภาพถูกทำให้ละลายไว้แล้ว  อย่างไรก็ตาม Martin et al พบว่าการทิ้งให้ยา Phenytoin capsule อยู่ในสภาพชื้นมากๆจะทำลายประสิทธิภาพของยาที่จะออกฤทธิ์ที่ตรวจได้ทางคลีนิค  ต่อมา Mohamad et al. ได้รายงานถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของชีวสมมูลย์ของ tetracycline capsules เมื่อเก็บไว้ 42 เดือน แม้ว่าผลการละลายจะลดลงจากการวัดด้วยเครื่องมือก็ตาม
(หมายเหตุของผู้แปล แม้ว่ายาที่มีชั้นเจลาตินหุ้มเหล่านี้จะมีการทดสอบการละลายด้วย dissolution apparatus ลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ปริมาณยาที่ดูดซึมเข้าร่างกายกลับไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญนอกจากจะทิ้งในที่ชื้นมากจริงๆเท่านนั้น นี่แสดงให้เห็นถึงว่าแม้ยาเหล่านี้ตกมาตรฐานการละลายแต่กลับไม่สัมพันธ์กับการศึกษาในมนุษย์ดังนั้นวิธีการทดสอบการละลายจึงมีปัญหา ซึ่งข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งคือในร่างกายมี enzyme ในขณะที่ การทดสอบการละลายก่อนที่จะมี USP 25 จะไม่มีการใช้ enzyme ช่วยเลย)
รูปภาพ
บทบาทของ enzymes ในกระเพาะลำไส้ เพราะว่าผลร้ายที่เกิดกับการละลายนี้ไม่พบจากการเฝ้าสังเกตได้จากในสิ่งมีชีวิต(in vio)  ใครก็ตามก็อาจสรุปได้ว่า enzymesในกระเพาะลำไส้เป็นตัวย่อยเจลาตินที่เกิดเปลี่ยนแปลงไปเป็นเยื่อเหนียว นี่บางทีเป็นเหตุผลเดียวกับที่ก่อนปี ค.ศ. 1960 ในขณะที่ ของเหลวที่เลียนแบบในกระเพาะและของเหลวที่เลียนแบบของเหลวในลำไส้เล็กได้มีการผสม enzyme ลงไปด้วย และผลของ enzymes นี้จึงเกือบไม่มีรายงานความล้มเหลวของการละลาย
ของยาที่มี gelatin เป็นส่วนประกอบในระหว่างการเก็บรักษา นอกจากนี้ก่อนหน้านี้ได้มีรายงานบ่งชี้ว่าpepsin ใน gastric fluidทำให้ยา capsules ที่มีการละลายช้าละลายได้เร็วขึ้น  และยังมีการศึกษาเพิ่มเติมโดย Murthy et al. เพื่อที่จะศึกษาอิทธิพลของ enzymes ใน dissolution media ในการทดสอบการละลายด้วยเครื่องมือของสูตรตำรับ 2 ตำรับที่เก็บไว้ในสภาพที่บีบคั้นอย่างสูง การศึกษาของเขายืนยันว่า ผลร้ายจากที่เพิ่มขึ้นจากสภาพความชื้นสูงและแสงเสมือนถูกกำจัดไปเมื่อผลิตภัณฑ์ได้รับการทดสอบโดยใช้ enzymes
รูปภาพ
การทดสอบการละลายแบบสองลำดับขั้นของเภสัชตำรับแห่งสหรัฐ USP ที่เกี่ยวข้องกับ enzymes
บนพื้นฐานของการหาการทดสอบการละลายเพื่อหาผลชีวปริมาณออกฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์โดยการเติม GIT enzymes (pepsin หรือ pancreatin)ลงในตัวกลางที่ทดสอบการละลาย  ได้มีการเรียกร้องให้มีการรวม enzymes เข้าในตัวกลางที่ใช้ทดสอบการละลายของ USP สำหรับการการหาค่าการละลาย.ที่เจาะจงใช้กับพวกผลิตภัณฑ์ที่มีเจลาติน คำแนะนำมีพื้นฐานบนตรรกที่ว่า เพราะ enzyme จะสามารถทำลายสิ่งที่กีดขวางตัวโมเลกุลของยาที่เกิดจาก cross-linked บนผนังเจลาตินแคปซูล การทดสอบเช่นนี้จะช่วยลดการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการศึกษาชีวสมมูล

ตามที่ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1993  คณะอนุกรรมการของ USP ที่ทำงานด้านการทดสอบการละลายและการหาชีวปริมาณออกฤทธิ์ (DBA) ได้เสนอให้จัดให้มีการทดสอบการละลายในขั้นที่ 2โดยใช้ตัวกลางที่มี enzyme สำหรับยาแคปซูลที่เก็บไว้นานและล้มเหลวในการผ่านมาตรฐานการทดสอบการละลายในขั้นแรก อย่างไรก็ตามในข้อเสนอนี้ได้รวมเงื่อนไขว่าไม่ควรมีหลักฐานพยานที่ว่าชีวปริมาณออกฤทธิ์ของยาแคปซูลได้เปลี่ยนแปลงลดลง ข้อเสนอนี้ได้ผ่านไปปรากฎใน Pharmacopeial
รูปภาพ
Forum ในต้นปี ค.ศ. 1994 ในเวลาไร่เรี่ยกันนั้น ได้มีการตั้งคณะทำงาน FDA's Industry Gelatin Capsule Working Group ซึ่งทาง USP ก็ได้ร่วมด้วย และทาง DBA ได้ตัดสินใจที่จะผัดผ่อนการออกระเบียบจากข้อเสนอนี้จนกว่าคณะทำงานศึกษาชีวปริมาณออกฤทธิ์-ชีวสมมูลเสร็จสิ้นสมบูรณ์  ในต้นปี ค.ศ. 1997 Pharmacopeial Forum ได้นำเสนอการทดสอบสองลำดับขั้นสำหรับเจลาตินแคปซูล ในสถานการณ์ที่สูตรตำรับล้มเหลวที่จะผ่านการทดสอบการละลายตามวิธีในเภสัชตำรับ  ในตอนเริ่มต้นได้มีการเสนอให้รวมข้อกำหนดในการทำการทดสอบสอบการละลายขั้นที่สองนี้ในแต่ละ monograph  ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 1997 ได้มีการออก Pharmacopeial Form แต่ว่าได้รวม second dissolution-test medium ไว้ใน General Chapter <711> "Dissolution
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14







Re: บางเรื่องของการทดสอบการละลายกับยาที่มีเจลาตินหุ้ม

โพสต์โดย jusuran » 23 ส.ค. 2007, 08:13

เป็นบทความที่น่าสนใจมากค่ะ 
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Re: บางเรื่องของการทดสอบการละลายกับยาที่มีเจลาตินหุ้ม

โพสต์โดย zartingtong » 23 ส.ค. 2007, 12:13

รูปภาพ

ผลสุดท้าย USP ก็นำมาลง แล้วปัญหาหลายอย่างก็ถูกแก้ไป เพราะก่อนหน้านี้มีการตกอกตกใจยาตกมาตรฐานกันใหญ่โต พยายามหาสาเหตุกันทุกเรื่องตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ ไม่ได้คิดถึงชั้นบางๆที่แสนร้ายนี้เลย ขนาดที่ว่า FDA อเมริกันต้องตั้งคณะทำงานขนาดใหญ่มาแก้ทีเดียวไม่ใช่เรื่องกระจอกๆ
หรือนั่งเทียนเขียนวิธีแก้เหมือนประเทศซิมบับเบ้ หรือทำพิธีวูดูแก้อย่างประเทศคองโก
Pharmacopeial Forum

Vol. 24, No. 5 Sept.-Oct. 1998


Collaborative Development of Two-Tier Dissolution Testing for Gelatin Capsules and Gelatin-Coated Tablets using Enzyme-Containing Media
Members of the Gelatin Capsule Working Group Mark Aikman National Pharmaceutical Alliance, Schwarz Pharma
Larry Augsburger University of Maryland at Baltimore
Ira Berry National Association of Pharmaceutical Manufacturers, Wockhardt Americas Inc.
John Bodenmiller Hoechst Marion Roussel
Stan Brandon Shinoqi Qualicaps, Inc.
Carey Bottom Banner Pharmacaps/Chase Pharmaceutical Co.
Nicholas Buhay Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Michael Dunn Gelatin Manufacturers Institute of America, Kind & Knox Gelatine, Inc.
Florence Fang Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Dean Cirotta Pfizer Pharmaceutical Group
Ewart Cole Capsugel
Michael Ganey Pfizer Pharmaceutical Group
Greg Guyer Merck & Co.
Hal Goff Capsugel USA, Morris Plains, NJ 07950
Vivian A. Gray DuPont-Merck Pharmaceutical Company
Deborah Grelle Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Paul L. Hepp Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Charles Hoiberg Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Charles S. Kumkumian Retired, Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Larry Lesko Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Todd Light Hoechst Marion Roussel
Henry J. Malinowski Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Ramakant M Mhatre Retired, Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Justina Molzon Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Hoianhon Nguyen Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Carol Noory Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Clyde Ofner Philadelphia College of Pharmacy and Sciences
Robert A. Rippere Center for Drug Evaluation and Research, FDA
David Scarpetti Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Roger Schwede Generic Pharmaceutical Industry Association, Apothecon, Inc.
Norman Schmuff Center for Drug Evaluation and Research, FDA
John Schwier Eli Lilly
Vinod P. Shah Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Norman Stroud R.P.Scherer, North America
Gerald K. Shiu Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Lloyd L. Tilman ISIS
Jin Tsai Wang Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Thomas White Pharmaceutical Research and Manufacturers of America
Bradford Williams Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Roger L. Williams Center for Drug Evaluation and Research, FDA
Rebecca Wood Center for Drug Evaluation and Research, FDA

Abstract

A Gelatin Capsule Working Group was formed to assess the noncompliance of certain gelatin capsule products with the required dissolution specifications and the potential relationship to changes in bioavailability. Available information indicated that satisfactory dissolution might be obtained for bioavailable products upon the addition of pepsin or pancreatin enzymes to the dissolution medium. In vitro studies were conducted using pepsin in simulated gastric fluid and in water, or using Pancreatin USP (1X) in simulated intestinal fluid. The Working Group developed a protocol using differentially stressed gelatin capsules to determine the relationship of in vitro to in vivo performance. Stressed capsules were also compared to unstressed capsules in two bioequivalence studies. The research showed that moderately stressed capsules
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14


ย้อนกลับไปยัง อาราบิก้า

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document