New Document









ออกกำลังกายและจิตเพื่อพิชิตอาการความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ

บทความทางเภสัชศาสตร์ และบทความทั่วไป

ออกกำลังกายและจิตเพื่อพิชิตอาการความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ

โพสต์โดย weerapong_rx » 10 มิ.ย. 2007, 23:24

โครงสร้างและการทำงานของสมองย่อมเกิดความเสื่อมตามวัยสังขาร และหากถือตามหลักแนวคิด ?use it or loss it? ประสิทธิภาพการทำงานของสมองอาจลดลงเรื่อยๆ หากเราไม่ได้ใช้งาน ในปัจจุบันจึงมีกลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองมากมายในตลาดสินค้าโดยอาศัยข้อมูลการค้นพบบางส่วนจากงานวิจัยทางประสาทวิทยาสาตร์ ในบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยออกกำลังจิตซึ่งวางตลาดแล้วทั่วโลก และรายงานวิจัยด้านบทบาทการออกกำลังกายและจิตในการเพิ่มการทำงานของสมองด้านการรู้คิด

ทุกวันนี้ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากอายุขัยเฉลี่ยคนเรามากขึ้นซึ่งเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาด้านวิทยาศาตร์การแพทย์ แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วยก็คือ โรคภัยไข้เจ็บที่มากับอายุที่มากขึ้นโดยเฉพาะปัญหาด้านความจำและการรู้คิด (cognitive function) รัฐบาลของหลายประเทศจึงรณรงค์ให้ประชากรผู้สูงอายุมีสุขภาพดีถ้วนหน้า เช่น สหรัฐอเมริกาซึ่งคาดว่าภายในปี ค.ศ. 2030 จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 85 ขึ้นไปประมาณ 13 ล้านคน จึงได้ออกนโยบายกระตุ้นให้ประชาชนให้ความสำคัญกับอาหารการกิน การออกกำลังกาย และกิจกรรมเสริมอื่นๆ เพื่อให้มีชีวิตยืนยาวและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บซึ่งถือเป็นภาระทางการแพทย์ของประเทศอย่างหนึ่ง

การออกกำลังจิต (cognitive training) จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากมีสินค้าจำพวกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่โฆษณาถึงประสิทธิภาพในการเพิ่มระดับการรู้คิดในผู้สูอายุและชะลออาการสมองเสื่อมอันเนื่องมาจากวัย
? ?Brain AgeTM: Train Your Brain in Minutes a Day? ของบริษัท Nintendo เป็นโปรแกรมที่ได้รับแรงบัลดาลใจจากงานวิจัยของ Dr. Ryuta Kawashima ซึ่งเป็นนักประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscientist) คนสำคัญของประเทศญี่ปุ่น โดยเขาได้ศึกษาผลของการอ่านและการทำแบบฝึกหัดทางคณิตศาสตร์ในการกระตุ้นการทำงานของสมอง กิจกรรมภายในโปรแกรมนี้ประกอบด้วย เกมการคำนวณทางคณิตศาสตร์, Stroop task และเกมเติมตัวเลขยอดฮิตซูโดกุ (Sudoku)

? ?Brain GamesTM? ของบริษัท Radica เป็นโปรแกรมเกมที่เกิดจากการศึกษาวิจัยของศาสตราจารย์ Gary Small ซึ่งดำรงตำแหน่ง Professor of Psychiatry and Biobehavioral Sciences และเป็นผู้อำนวยการของ University of California at Los Angeles Center of Aging รวมทั้งเป็นเจ้าของหนังสือด้านความจำและการมีอายุยืนยาว เช่น Memory Bible, The Memory Prescription และ The Longevity Bible

โดยกิจกรรมภายในโปรแกมนี้ประกอบด้วย
Sequence ? จดจำลำดับตัวเลข
Flash Card ? การคำนวณทางคณิตศาสตร์
Mind Games ? เกมทางเชาว์ปัญญา
Word Hunt ? การค้นหาคำศัพท์
Recall ? จดจำคำศัพท์ที่ได้แสดงแล้วให้ระลึก

? นอกจากนี้ยังมีอีกหลายบริษัทที่วางตลาดโปรแกรมออกกำลังจิตที่ว่า เช่น MindFit ซึ่งมีกิจกรรม คือ ให้จดจำภาพนามธรรมที่อยู่ด้านขวาแล้วนำองค์ประกอบย่อยของภาพดังกล่าวที่อยู่ด้านซ้ายมาต่อให้เหมือนกับภาพที่สมบูรณ์ด้านขวา เป็นต้น

จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (environmental factors) เช่น การเสริมการรู้คิด (cognitive enrichment) หรือ การรออกกำลังกาย อาจมีผลต่อการรู้คิดและช่วยชะลอความแก่ได้ หนูทดลองที่ถูกเลี้ยงภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เสริมการเสริมการรู้คิดเพิ่มการสร้างกิ่งก้านของใยประสาทนำเข้าหรือเดนไดรต์ (dendrite) และเพิ่มการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ (neurogenesis) แต่อย่างไรก็ตามชีวิตคนเราอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เสริมการเสริมการรู้คิดไม่มากก็น้อยมาตลอดทั้งชีวิตเมื่อเทียบกับหนูทดลอง ดังนั้นผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวข้างต้นจะเพิ่มเติมการพัฒนากระบวนการรู้คิดได้มากน้อยเพียงใดยังไม่สามารถตอบได้

ผลของการออกกำลังกายในสัตว์ทดลองได้แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงที่สมองส่วนเดนเตตไจรัส (dentate gyrus) ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) และที่บริเวณนี้เองก็เป็นแหล่งสร้างเซลล์ประสาทใหม่จากเซลล์ต้นกำเนิดประสาท (neural stem cells) ที่มีอยู่ตลอดอายุขัยของคนเรา เนื่องจากสมองบริเวณนี้เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้ โดยเฉพาะความจำด้านความรู้ ข้อเท็จจริง (facts)  และเหตุการณ์ในชีวิต (event) และมีนักวิจัยหลายกลุ่มเชื่อว่าเซลล์ประสาทที่เกิดใหม่นี้เกี่ยวข้องกับการบันทึกความจำให้เป็นรหัสประสาท ซึ่งเซลล์ประสาทแต่ละกลุ่มที่เกิดใหม่ก็จะรับผิดชอบบันทึกเหตุการณ์ที่แตกต่างกันออกไป

มีการวิเคราะห์เอกสารวิจัยแบบวิธี Meta-analysis โดยเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายแบบ aerobic fitness training ในผู้สูงอายุ พบว่ามีผลต่อการรู้คิด (cognition) อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการทดสอบที่ใช้สมองส่วนหน้ามากเป็นพิเศษซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการควบคุมชั้นสูง (executive control) เมื่อไม่นานมานี้ก็มีการศึกษาในระดับคลินิกแบบ randomized clinical trial โดยแบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ออกกำลังกายแบบ aerobic  กลุ่มที่สองให้ออกกำลังกายแบบ nonaerobic หลังจากศึกษาเป็นเวลา 6 เดือนพบว่ากลุ่มที่ออกกำลังกายแบบ aerobic  มีการเพิ่มปริมาตรของเนื้อสมองทั้งชั้นที่มีเซลล์ประสาทอยู่ คือ gray matter และชั้นของใยประสาทนำออก คือ white matter แต่อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรสมองที่เพิ่มขึ้นกับความสามารถด้านการรู้คิดยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดในปัจจุบัน

มีการศึกษาในระดับคลินิกโดยใช้การฝึกให้รู้คิด (cognitive training)  ในผู้สูงอายุจำนวน 2832 คนที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 73.6 ปี  โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายนปี ค.ศ. 1998 จนถึงเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2004 พบว่าแม้เพียงการฝึกแค่ 10 รอบก็สามารถเพิ่มสมรรถนะการทดสอบการรู้คิดได้นานถึงห้าปี นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมการทดลองยังรู้สึกมั่นใจในตนเองว่าสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างอิสระและไม่ต้องพึ่งพาหรือเป็นภาระต่อผู้อื่น

ถึงแม้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อออกกำลังจิตฝึกการรู้คิดยังไม่ได้มีการพิสูจน์ให้เห็นเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีผลงานตีพิมพิ์ใดๆ แต่อย่างไรก็ตามผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยได้จ่ายเงินซื้อยาวิเศษแนวใหม่โดยไม่ได้รอให้เห็นผลวิจัยจากโปรแกรมดังกล่าวในเมื่ออายุคนเราก็แก่ลงทุกวันๆ ตามสังขารที่ร่วงโรย เนื่องจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวคงไม่ได้ทำให้สุขภาพเสื่อมเสียมากนักนอกจากดูดเงินออกไปจากกระเป๋า

สำหรับผู้ที่ต้องการได้สุขภาพดี เสริมการทำงานสมอง และไม่เสียสตางค์ ก็ต้องรับประทานอาหารที่หลากหลาย เน้นผักผลไม้เป็นหลัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ คำนวณคณิตศาสตร์ ฝึกเกมซูโดกุ และเกมค้นหาคำ เป็นต้น

หมายเหตุ จากภาพประกอพแสดงเกมซูโดกุ ซึ่งเป็นเกมที่ช่วยฝึกความจำ โดยผู้เล่นต้องเติมตัวเลข 1-9 ในทั้งแถวแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ตัวเลขในแถวรวมทั้งในบล็อกสีเขียวต้องไม่ซ้ำกัน

เอกสารอ้างอิง
1. Nat Neurosci, volume 10, no.3, 2007, p263
2. Colcombe, S.J. et al, Psychol. Sci., volume 14, 2003, p125-130
3. Colcombe, S.J. et al, J.Gerontol. A Biol. SciSci. Med. Sci., volume 61, 2006, p1166-1170
4. Willis, S.L. et al, JAMA, volume 296, 2006, p2805-2814
5. Ana, C.P. et al, PNAS, volume 104, 2007, p5638-5643
6. Mahncke, H.W. et al, PNAS, volume 103, 2006, p12523-12528
7. Salthouse, T.A., Perspect. Psycho. Sci., volume 1, 2006, p68-87
8. http://www.nintendo.com/gamemini?gameid ... Z63_CjS_9F
9. http://brain-games.radicagames.com/
10. http://www.e-mindfitness.com/
แนบไฟล์
sudoku.png
แก้ไขล่าสุดโดย นิวัช เมื่อ 25 มิ.ย. 2008, 14:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
weerapong_rx
 
โพสต์: 57
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2006, 17:04
ที่อยู่: London, UK







Re: ออกกำลังกายและจิตเพื่อพิชิตอาการความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ

โพสต์โดย sukanya_rx19 » 11 มิ.ย. 2007, 09:16

วันๆออกกำลังแต่นิ้ว คลิ๊กๆ เม้าท์ ทั้งวัน  :lol: :lol: :lol:
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
sukanya_rx19
Global Moderator
 
โพสต์: 2148
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2005, 16:06
ที่อยู่: ยโสธร

Re: ออกกำลังกายและจิตเพื่อพิชิตอาการความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ

โพสต์โดย apotheker » 11 มิ.ย. 2007, 09:24

เกมซุโดกุ เห็นภรรยาเอามาชวนให้เล่นอยู่

หรือว่า.... :shock: :neutral: :? :) :D :lol:
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
apotheker
Global Moderator
 
โพสต์: 2435
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2004, 11:48
ที่อยู่: simcity

Re: ออกกำลังกายและจิตเพื่อพิชิตอาการความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ

โพสต์โดย PHARMA » 11 มิ.ย. 2007, 11:29

ยุ้ยเล่นอยู่ Sudoku เนีย่ไม่จบเล่มสักที
** ความรักทำให้โลกอ่อนหวาน ** <==Click
อยากให้เข้าใจว่าโลกมีอยู่ 3 โลก คือ โลกของคุณ โลกของฉัน และโลกของเรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
PHARMA
Global Moderator
 
โพสต์: 537
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 20:55
ที่อยู่: กรุงเทพฯ-ปทุมธานี

Re: ออกกำลังกายและจิตเพื่อพิชิตอาการความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ

โพสต์โดย weerapong_rx » 12 มิ.ย. 2007, 06:15

ตอนนี้ก็เล่นซูโดกุเช่นกันครับ แต่ว่าใช้เวลานานมากกว่าเติมได้แต่ละกระดาน หนึ่งเล่มคงเล่นได้นานหลายเดือนครับ :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
weerapong_rx
 
โพสต์: 57
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2006, 17:04
ที่อยู่: London, UK


ย้อนกลับไปยัง อาราบิก้า

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document