New Document









พี่ไทยจ๋าตาสว่างได้แล้ว....จากน้องลาว1 ตอน เจ้าอนุวงศ์

บทความทางเภสัชศาสตร์ และบทความทั่วไป

Re: พี่ไทยจ๋าตาสว่างได้แล้ว....จากน้องลาว1 ตอน เจ้าอนุวงศ์

โพสต์โดย doraemon » 04 พ.ย. 2006, 14:43

เจ้าราชบุตรโย่ :D ชื่อนี้จริงๆเหรอคะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
doraemon
 
โพสต์: 445
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 มี.ค. 2004, 19:53
ที่อยู่: สมุทรสงคราม







Re: พี่ไทยจ๋าตาสว่างได้แล้ว....จากน้องลาว1 ตอน เจ้าอนุวงศ์

โพสต์โดย azzuri » 06 พ.ย. 2006, 01:12

doraemon เขียน:เจ้าราชบุตรโย่ :D ชื่อนี้จริงๆเหรอคะ


น่าจะชื่อ โย่ และเป็นราชบุตร (ลูก) ของเจ้าอนุวงศ์ครับ
เภสัชกร = เภสัชกรรม + กรรมกร
อยากให้โลกนี้ไม่มีโชคร้าย
Welcome to My Life
Casa di AzzurRi = บ้านของนาย อัซซูร์รี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร

Re: พี่ไทยจ๋าตาสว่างได้แล้ว....จากน้องลาว1 ตอน เจ้าอนุวงศ์

โพสต์โดย azzuri » 11 พ.ย. 2006, 10:27

ความจริงที่เรารู้กันว่า..เจ้าอนุวงศ์แพ้ คุณหญิงโม....................

กองทหารเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ รุกราน

ลุปี พ.ศ.๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ซึ่งมีความขุ่นเคืองและคิดแค้น ได้วางแผนทำศึกกับ กรุงเทพฯ ได้ วางแผนแล้ว ให้ยกกำลังกองทัพข้ามดขงมาตั้งที่บ้านพันพร้าว ฝึกทหารและช้างม้า จนถึงเดือนยี่ แรม ปีจอ พ.ศ.๒๓๖๙ ปลายปี จึงสั่งให้เจ้านครจำปาศักดิ์ (เจ้าราชบุตร โย้) ยกกองทัพจากนครจำปาศักดิ์ เข้ายึดหัวเมืองตะวันออก (อุบลฯ เดิมชื่อดอนมดแดง ได้ชื่อใหม่จากเมืองเขื่อนขันธ์กาบแก้หนองบัวบาน เป็นเมืองอุบล เมื่อพระอนุชา ร.๕ มาปกครอง จึงเป็นอุบลราชธานี)

สั่งให้เจ้าอุปราชติสสะ (น้องชายเจ้าอนุวงศ์) ยกทัพมายึดหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยเอ็ด) เอาไว้ กันหัวเมือง ทางใต้จะต่อสู้

สั่งให้เจ้าราชวงศ์เหง้า บุตรคนที่ ๒ ยกทัพจากบ้านพันพร้าว เป็นทัพหน้าลงมาทางบ้านเดื่อหมากแข้ง (อุดรธานี) ล่วงหน้า ไปก่อน ๒ วัน แล้วเจ้าอนุวงศ์กับเจ้าสุทธิสาร (โป้) บุตรคนโต ยกทัพหลวงตามมา โดย ออกข่าวลวงว่าทางกรุงเทพฯ มีศุภอักษรแจ้งว่า อังกฤษจะยกทัพเรือมาตีกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าอนุวงศ์เกณฑ์กองทัพจากเวียงจันทน์ไปช่วย เจ้าเมืองกรมการเมืองรายทางไม่รู้เท่าทัน และเห็นว่า เจ้าอนุวงศ์ไปกรุงเทพฯ บ่อยๆ ก็เชื่อว่าจริง จึงช่วยจ่ายเสบียงให้

กองทัพหน้าของเจ้าราชวงศ์เหง้า ได้มาถึงบ้านโคกสูง รายทัพมาถึงบ้านจอหอน (จอหอ) สามแยกทางเกวียน หน้าเมือง นครราชสีมา เมื่อวันพุธ เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙ เวลาบ่าย ๓ โมง ออกข่าวแพร่ สะพัดไปว่าจะไปช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ

วันรุ่งขึ้น เจ้าราชวงศ์เหง้าทำหนังสือให้ทหารถือมาขอเบิกเสบียงอาหารจากในเมืองนครราชสีมา ขณะนั้น เจ้าพระยา กำแหงสงคราม (ทองอินท์) เจ้าเมืองนครราชสีมา และพระยาสุริยเดช (ทองคำ) ปลัดเมืองไม่อยู่ นำทหารส่วนมากไป ราชการที่เมืองขุขันธ์บุรี (เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างพระยาไกรสงครามเจ้าเมืองขุขันธ์ กับหลวงยกกระบัตรผู้น้อง ซึ่ง เกิดวิวาทแย่งสมบัติและความเป็นใหญ่กันในเมืองขุขันธ์บุรี) จึงเหลือพระยา พรหมภักดี ยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา เป็นผู้รักษาราชการ พระณรงค์สงครามเป็นที่ปรึกษาฝ่ายทหาร คุณหญิงโม ภริยาปลัดทองคำ เป็นผู้ดูแลครอบครัว ผู้ไปราชการ และมีข้าราชการผู้น้อยเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบ้าง เมื่อได้รับหนังสือขอเบิกเสบียงอาหารของเจ้าราชวงศ์เหง้า จึงหันหน้าเข้าปรึกษาหารือกัน มีความเห็นเป็น หลายทาง

๑. สงสัยพฤติการณ์ของเจ้าอนุวงศ์ว่าจะหลอดลวง เพราะถ้าเกิดเหตุร้ายจริงๆ ทางกรุงเทพฯ จะต้องบอกเมือง นครราชสีมาก่อน เพราะอยู่ต้นทาง เหตุใดจึงไปบอกเวียงจันทน์ก่อน

๒. อาจจะเป็นความจริงตามที่เจ้าอนุวงศ์ให้ออกข่าวมา เพราะเจ้าอนุวงศ์ไปพักในกรุงเทพฯ บ่อยๆ มีความ สนิทชิดเชื้อกับในหลวง (ร.๓) ดี อาจจะมีพลนำสารพิเศษโดยตรง ไปแจ้งแก่เจ้าอนุวงศ์ ถ้าเป็นความจริง และ เราไม่ต้อนรับก็จะเป็นความผิดต่อกรุงเทพฯ ด้วย

๓. จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม เมืองนครราชสีมาก็ต้องให้การต้อนรับ จะต่อสู้ขัดขืนมิได้ เพราะทหารเมือง นครราชสีมาเหลืออยู่น้อย ไม่พอรักษาหน้าที่เชิงเทิน ส่วนทหารเวียงจันทน์ยกมาจำนวนมาก (ความจริงมี ประมาณสามหมื่น แต่เจ้าอนุวงศ์ออกข่าวว่ามีมาเป็นแสน)

ตกลงดังนั้นแล้วจึงจ่ายเสบียงให้แก่ทหารของเจ้าราชวงศ์เหง้า รับและตักเตือนประชาชนให้อยู่ในความสงบ อย่า ตื่นกลัว และอย่าก่อเหตุร้ายใดขึ้น

ขณะนั้นกองทัพหลวงของเจ้าอนุวงศ์ถึงลำเซิน พักพลอยู่ใกล้ชัยภูมิ เมื่อได้ข่าวว่าทัพหน้ามาถึงเมือง นครราชสีมาแล้ว ไม่มีใครขัดขวาง เจ้าอนุวงศ์ก็เคลื่อนทัพหลวงมาถึงเนินดินทางตะวันออก ข้างเมือง นครราชสีมา (เดี๋ยวนี้เป็นวัด ทุ่งสว่าง) เมื่อวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๖๙ แล้วใช้ทหารถือหนังสือมาเชิญ เจ้าเมืองนครราชสีมาให้ออกไปพบเพื่อปรึกษาราชการในการ จะยกทัพไปช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ

พระยาพรหมภักดี ยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา จึงออกไปแทนเข้าพบเจ้าอนุวงศ์ทำความเคารพโดยอ่อนน้อม แล้วแจ้งว่าเจ้าเมืองนครราชสีมาและพระยาปลัดเมืองฯ ไม่อยู่ ไปราชการเมืองขุขันธ์บุรี เหลือแต่ข้าราชการ ผู้น้อย กับทหารเล็กน้อยอยู่รักษาเมือง เจ้าอนุวงศ์ได้ฟังดังนั้นก็ดีใจเพราะจะเข้าเมืองโดยง่าย ไม่ต้องรบ จึงพูดจาเกลี้ยกล่อม พระยาพรหมยกกระบัตร ให้เชื่อฟังคำบอกเล่า และขอเข้าพักในเมืองด้วย พระยาพรหม ยกกระบัตรเห็นจวนตัว ไม่อาจ ปฏิเสธได้จำเป็นต้องเชื้อเชิญเจ้าอนุวงศ์เข้าเมือง

เจ้าอนุวงศ์เข้าเมืองนครราชสีมาแล้ว เห็นว่าเมืองนครราชสีมามั่นคง แข็งแรก มีกำแพง คู ประตู หอรบ และเสบียง อาหารพร้อม ตั้งเป็นฐานทัพได้ ถ้าหากทัพหน้าแตกมา ก็จะตั้งรับที่เมืองนครราชสีมา ยึดเอา เมืองนครราชสีมาไว้ จะได้ปกครองดินแดนแถบนี้ทั้งหมด

วันรุ่งขึ้นเจ้าอนุวงศ์ จึงไม่ยอมออกจากเมือง ได้สั่งให้ทัพหน้าโดยเจ้าราชวงศ์เหง้า ยกไปปากเพรียว (สระบุรี) เพื่อ เตรียมการเข้าตีกรุงเทพฯ และกวาดต้อนครอบครัวเวียงจันทร์ (สมัยก่อน) เอาคืนไปเวียงจันทร์ และสั่งให้ทัพหลวง ทั้งหมดตั้งค่ายชักปีกกาทางทิศเหนือเมืองจากสามแยกทางเกวียน (จอหอ) มาประชิดกำแพงเมืองด้านเหนือ และตั้ง กำแพงเมืองด้านใต้ออกไปทางทิศอาคเนย์ ตะวันออกทุ่งทะเลหญ้า ทำค่าย คู ประตู หอรบ รวม ๗ ค่าย ทำมูลดินสูงขึ้น (เดียวนี้ยังอยู่ เรียกว่าบ้านหัวถนน บ้านดอนขวาง และบ้านโนนฝรั่ง)

ชาวเมืองนครราชสีมา เห็นกองทัพลาวไม่ยอมออก และตั้งค่ายประชิดเมืองดังนั้น ก็รู้ว่าเจ้าอนุวงศ์ทรยศแล้ว ไม่เหมือนที่ บอกว่าจะไปช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ ก็แสดงอาการกระด้างกระเดื่องด่าว่าทหารลาว รุ่งขึ้น อีกวันหนึ่ง เจ้าอนุวงศ์รู้สึก ไม่ไว้วางใจเกรงชาวเมืองจะลุกฮือขึ้นทำร้าย จึงสั่งทหารลาวออกตรวจค้นริบอาวุธ ต่างๆ ทุกบ้านเรือน เป็นการแน่ชัดว่า เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฎ เป็นศัตรู

รุ่งขึ้นอีก ๒ วัน เจ้าอนุวงศ์สั่งให้คณะกรมการเมืองนครราชสีมาเข้ามาอยู่ในกองบัญชาการเพื่อเป็นที่ปรึกษา แต่ความจริง เพื่อเอาเป็นตัวประกันไว้ แล้วสั่งให้ชาวเมืองออกไปอยู่นอกเมืองให้หมด ขุนโอฐ กรมการเมือง จึงอพยพชาวเมือง นครราชสีมาออกไปอยู่บ้านหมื่นไวย ทางเหนือเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙ (ปลายปี)

ฝ่ายเจ้าพระยานครราชสีมา และพระยาปลัดทองคำ ได้ทราบข่าวว่าเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมา ไว้แล้ว จึงได้ วางอุบายผละจากเมืองขุขันธ์บุรี โดยให้เจ้าพระยานครราชสีมานำกำลังส่วนมากไปรายงาน เรื่องราวในกรุงเทพฯ และขอให้ยกทัพไปช่วยกู้เมืองนครราชสีมา ส่วนพระยาปลัดทองคำจะนำกำลังส่วนน้อย เข้าไปในเมืองนครราชสีมา เพื่อคิดการ แก้ไขต่อไป

ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ยึดเมืองนครราชสีมาอยู่จนปลายเดือนกุมภาพันธ์ สะดุ้งใจได้คิดว่าชาวเมืองนครราชสีมา ไปรวมกลุ่มอยู่ นอกเมืองอาจจะก่อความวุ่นวายทำอันตรายได้ และถ้ากองทัพจากกรุงเทพฯ ยกมาได้รบพุ่งกัน ชาวเมืองนครราชสีมา ก็จะช่วยกองทัพกรุงเทพฯ เข้าตีกระหนาบ กองทัพลาวก็จะเป็นอันตรายได้ง่าย ครั้นวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์ก็ให้เชิญคณะกรมการเมืองนครราชสีมา ที่มีอยู่ทั้งหมดมาประชุม แล้วบอกว่า เกรงจะเกิดสงครามใหญ่ สงสารพวกครอบครัวชาวนครราชสีมาจะเป็นอันตราย จึงคิดจะอพยพ ครอบครัวในเมืองนี้ ไปอยู่เมืองเวียงจันทน์ให้พ้นภัย จึงให้พระยาพรหมยกกระบัตรนำคณะกรมการเมือง สำรวจทำบัญชีครอบครังที่จะไป อนุญาตให้อยู่เฉพาะคนแก่ คนป่วย คนแม่ลูกอ่อนที่ลูกยังไม่หย่านม และพระสงฆ์สามเณร พระยาพรหมยกกระบัตรและคณะฯ ก็ไปดำเนินการตามสั่ง ดำเนินการเสร็จแล้วก็เอา บัญชีจำนวนคนมาเสนอ เจ้าอนุวงศ์เห็นบัญชีคนจำนวนมากมีผู้ชาย ๘,๐๐๐ เศษ ผู้หญิงหมื่น เศษ ถ้าอพยพ ไปพร้อมกันจะลำบากควบคุมดูแลไม่ทั่วถึง จึงสั่งแยกเป็น ๔ ขบวนเดินทาง ให้เดินขบวนละวันตาม คือ

ขบวนที่ ๑ นำโดยคุณหญิงโม ออกเดินทางวันที่ ๑ มีนาคม ๒๓๖๙

ขบวนที่ ๒ นำโดยพระพิทักษ์โยธา ออกเดินทางวันที่ ๒ มีนาคม ๒๓๖๙

ขบวนที่ ๓ นำโดยพระณรงค์สงคราม ออกเดินทางวันที่ ๓ มีนาคม ๒๓๖๙

ขบวนที่ ๔ นำโดยพระยาพรหมยกกระบัตร ออกเดินทางวันที่ ๔ มีนาคม ๒๓๖๙

มีทหารลาวชั้นนายฮ้อยเป็นผู้ควบคุมแต่ละขบวน มีทหารลาวคุมไปขบวนละ ๕๐๐ คน รวมทหารลาวมี ๒,๐๐๐ คน ให้ เพี้ยรามพิชัยเป็นแม่กองควบคุมการกวาดต้อนทั้งหมด ซึ่งเพี้ยรามพิชัยไปพร้อมขบวนหน้า

ฝ่ายพระยาปลัดทองคำ เร่งรีบเดินทางทั้งกลางวันกลางคืนหลายวัน จึงถึงเมืองนครราชสีมาเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๓๖๙ ตอนกลางวัน ขบวนกวาดต้อนไปหมดแล้ว จึงพักทหารไทย ๕๐ ไว้นอกเมือง แล้วเข้าไปหาเจ้าอนุวงศ์ ด้วยมือเปล่า

ขณะนั้นเจ้าอนุวงศ์กำลังตรวจค่ายและสั่งงานอยู่ที่ค่ายบึงทะเลหญ้า พระยาปลัดฯ ก็เข้าไปกราบกราน อย่างอ่อนน้อม และ กราบทูลว่าข้าพระพุทธเจ้ากับเจ้าเมืองนครราชสีมาไปราชการที่เมืองขุขันธ์ยังไม่เสร็จธุระ พอได้ทราบว่าเจ้าย่ำ กระหม่อมเหยียบเมืองนครราชสีมา เจ้าเมืองนครราชสีมามีความเกรงกลัวพระบารมี จึงพอทหารจำนวนมากหลบหนี ไปทางสวายจีก คงจะไปพึ่งดินแดนเขมร ส่วนข้าพระพุทธเจ้าห่วงใยครอบครัว และเกรงว่าพระยาพรหมยกกระบัตร จะต้อนรับเจ้าย่ำกระหม่อมไม่สมพระเกียรติจึงรีบมาเฝ้า เพื่อรับใช้ เจ้าย่ำกระหม่อมตามแต่จะมีบัญชาใช้ และขอฝากเนื้อ ฝากตัวไปรับใช้รับราชการในเวียงจันทน์จนกว่า ชีวิตจะหาไม่

เจ้าอนุวงศ์เห็นกิริยาพระยาปลัดทองคำแสดงความนอบน้อม พูดจาน่าฟังก็ยินไต่ถามทุกข์สุขตามสมควร รับปากจะให้ ไปอยู่รับราชการในเวียงจันทน์ด้วยกัน "ตอนนี้ครอบครัวชาวเมืองได้อพยพไปแล้ว ให้ลุงติดตาม ไปเถิด" แล้วเจ้าอนุวงศ์ ก็ทำหนังสืออนุญาตเข้าขบวนให้พระยาปลัดทองคำถือไปด้วย พระยาปลัดฯ ออกมาสั่ง ให้ทหารของตน ๕๐ คน แยกย้าย กันไปตามบ้านนอก ให้บอกแก่คนทั้งหลายที่พบเห็นว่าจะช่วยกันกู้อิสรภาพ ของเมืองเราเร็วๆ นี้ ให้คอยฟังข่าว และมา ร่วมมือกับคุณหญิงโม ส่วนตัวพระยาปลัดหาม้าได้ตัวหนึ่ง ก็รีบติดตามขบวนอพยพไปโดยด่วน
แก้ไขล่าสุดโดย azzuri เมื่อ 11 พ.ย. 2006, 10:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
เภสัชกร = เภสัชกรรม + กรรมกร
อยากให้โลกนี้ไม่มีโชคร้าย
Welcome to My Life
Casa di AzzurRi = บ้านของนาย อัซซูร์รี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร

Re: พี่ไทยจ๋าตาสว่างได้แล้ว....จากน้องลาว1 ตอน เจ้าอนุวงศ์

โพสต์โดย azzuri » 11 พ.ย. 2006, 10:33

ศึกใหญ่ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์

ครั้นวันที่ 19 มีนาคม 2369 วันพุธเดือน 4 แรม 9 ค่ำ ตอนสาย เห็นทหารม้าของเจ้าปาน ดาหน้า เข้ามา ทหารกองหน้าของพระณรงค์สงครามก็หมอบลง ปล่อยให้ทหารถือปืนของพระยาปลัดยิงปืนใส่ ทหารม้าข้าศึกจนเสียขบวนพอเข้ามาระยะใกล้ปืนหยุดยิงทหารกองหน้าของพระณรงค์สงครามก็ลุกขึ้น ฟันแทงทหารลาวทันทีทำให้ทหารม้าลาวร่นถอย แตกเสียขบวน เจ้าสุทธิสารและเจ้ากำพร้าเดินทัพ มาข้างหลัง เห็นทหารม้าแตกร่นถอยมาเช่นนั้น จึงรีบเข้าช่วย โดยแยกเป็นสองขบวน เข้าตีโต้ตอบ ทั้งปีกซ้ายและปีกขวาของไทย

ครัวไทยแม้จะมีกำลังน้อยกว่าก็ต่อสู้เต็มที่แต่ทหารลาวหนุนเนื่องเข้ามาไม่หยุดหย่อนไทยต้องต่อสู้ หลายต่อหลายทอด จึงอ่อนแรงปีกทั้งสองต้องถอยอ่อนลู่ พระยาปลัดทองคำก็แบ่งทหารถือปืน ช่วยยิงสกัดทั้งสองปีกแต่ไม่ทันการณ์ กองกลางจะถูกล้อม จะแพ้แก่ข้าศึกได้ง่าย ขณะนั้น พระศุภมาตรา ขี่ม้าออกรบตัดเอาศีรษะนายทหารม้าลาวมาได้ นายหนึ่ง คุณหญิงโมเห็นสถานการณ์ เช่นนั้นจึงสั่งให้เอาหอกเสียบศีรษะนายทหารลาวชูขึ้นแล้วนำผู้หญิง 400 คน ออกวิ่งไปทางขวา กันหน้ากองขวาเอาไว้ พร้อมกับช่วยกันร้องว่าทหารลาวตายแล้วทหารลาวแพ้แล้ว ทหารลาวแตกแล้ว พวกทหารลาวตกใจมองเห็นศีรษะนายถูกเสียบอยู่ปลายหอกก็ใจหายไม่มีกำลังใจสู้รบก็ร่นถอยไม่เป็นขบวน คุณหญิงโมจึงนำทัพผู้หญิงตามตี และอ้อมสกัดกองซ้ายอีกทางหนึ่ง พระณรงค์สงครามก็พาทหาร ติดตามฟันแทงทหารลาวเป็นระยะๆ พวกลาวเสียกำลังใจ แตกหนีไปสิ้น ครัวไทยก็ถอยเข้าค่าย สำรวจดูมีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากเกือบ 300 คน ส่วนทหารลาวตายเกือบพันคน พระยา ปลัดทองคำให้เก็บศพคนไทยฝัง และทำเครื่องหมายไว้เพื่อจะมาเก็บ ไปประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล ภายหลัง ส่วนศพทหารลาวบรรทุกเกวียนไปทิ้งที่หนองน้ำ (หนองหัวลาว) แล้วช่วยกันซ่อมแซมค่าย ซ่อมแซมอาวุธเก็บอาวุธของลาวมาไว้เตรียมต่อสู้อีกเพราะคาดว่าเจ้าอนุวงศ์คงจะยกกองทัพมารบอีก และคงจะเป็นศึกใหญ่

วันที่ 20 มีนาคม 2369 ทัพเจ้าอนุวงศ์ทราบว่า ครอบครัวไทยได้กำลังหนุนจากเมืองต่างๆ จึงมีกำลัง มากขึ้นเพราะพระยาปลัดทองคำสามารถเรียกกำลังสนับสนุนจากเมืองต่างๆ ได้ หรือกองทัพของ เจ้าพระยานครราชสีมายกมาสมทบ เจ้าอนุวงศ์เห็นว่าจะรอช้ามิได ้ครอบครัวไทยจะมีกำลังมากขึ้น จึงสั่งให้เตรียมกำลังให้พร้อม ไว้จะยกทัพใหญ่ไปตีทุ่งสัมฤทธิ์อีก

และวันที่ 20 มีนาคม นั้น กองทัพเจ้าราชวงศ์เหง้า ซึ่งถอยจากปากเพรียว (สระบุรี) ก็มาถึงเมือง นครราชสีมา เข้าหาเจ้าอนุวงศ์ผู้บิดาแจ้งข่าวศึกว่าทางกรุงเทพฯจัดกำลังออกขับไล่ เป็นสามทัพ เกรงจะถูกล้อมจึงต้องถอยกลับเพียงแต่กวาดต้อนครอบครัวลาว ไทย จีน จากสระบุรีมาด้วย เจ้าอนุวงศ์ก็ตกใจ หากจะมัวเสียเวลาทำศึกกับครอบครัวไทยที่ทุ่งสัมฤทธิ์ก็จะถูกศึกตีกระหนาบ จะหนีไม่ทันจำจะต้องถอนตัวไปก่อน คิดแล้วจึงสั่งดำเนินการเป็นขั้นๆ ดังนี้

วันที่ 21 มีนาคม กองทัพเจ้าราชวงศ์เหง้า ยกออกไปทางทิศเหนือ ผ่านเมือง บัวชุม ไชยบาดาน เพชบูร (เดิมเขียนอย่างนี้แปลว่าเมืองแห่งพืชผลมาเพี้ยนเป็น เพชรบูรณ์ คงอยากมีเพชรมากๆ) จนถึงเมืองหล่ม กวาดต้อนผู้คนไปทุกเมืองถึงเมืองหล่ม ตั้งทัพอยู่นอกเมือง แล้วให้ทหารไปเรียกตัว พระสุริยวงศ์ เจ้าเมืองมาพบและเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองหล่มไม่กล้าขัดขืน เจ้าราชวงศ์เหง้าจึงเข้าไป ตั้งทัพในเมืองหล่ม เพื่อป้องกันทัพไทยจากพิษณุโลก วันที่ 21 นี้ ทัพเจ้ามหาอุปราชติสสะ (น้องชายต่างมารดาของเจ้าอนุวงศ์) ยกทัพไปสู่เมืองสุวรรณภูมิ ป้องกันกองทัพไทย ที่จะมาจาก กบินทร์บุรี และให้เจ้าโอโถง (หลานของเจ้าอนุวงศ์) ยกไปตั้งที่เมืองพิมาย เป็นทัพหนุนกองหนึ่ง

วันที่ 22 มีนาคม ทัพเจ้าสุทธิสาร (โป้) บุตรคนโตของเจ้าอนุวงศ์ ยกไปทางเหนือ ตั้งทัพใกล้เมือง ภูเขียว แล้วเรียกตัวเจ้าเมืองภูเขียวมาพบ แต่ท้าวนาค เจ้าเมืองภูเขียวรู้ว่าลาวเป็นกบฏจึงไม่ออกมา เจ้าสุทธิสารจึงคุมพลพันเศษเข้าตี เมืองภูเขียวเป็นเมืองเล็ก ผู้คนมีน้อย จึงสู้ไม่ได้ เท้านาคและบุตรหลานถูกจับมา เจ้าสุทธิสารให้ประหารเสียสิ้น แล้วยึดเมืองภูเขียวไว้

เมืองนครราชสีมาถูกทำลาย แล้วได้อิสรภาพ วันที่ 23 มีนาคม 2369 ตรงกับวันศุกร์ แรม 11 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ เจ้าอนุวงศ์จะถอยทัพออกจากเมืองนครราชสีมา ก่อนไปได้ถอนเสาหลักเมืองออก เพื่อให้เป็นเมืองร้างเสียก่อน และเจ้าอนุวงศ์ได้สั่งให้ทหารกองหลังรื้อกำแพงออกเสียให้สิ้น ให้ตัดต้นไม้ที่มีผลออกให้เหลือแต่ตอ ให้เผาประตูเมืองและสถานที่สำคัญๆ ในเมืองด้วย เพราะ เจ้าอนุวงศ์ คิดว่าจะกลับมายึดเมืองานครราชสีมาอีก ก็จะตีได้สะดวก สั่งเสร็จแล้วกองทัพหลวงของ เจ้าอนุวงศ์ ก็ยกออกไปทาง เหนือ เพื่อสมทบกับทัพของเจ้าสุทธิสาร จะได้ยกไปหนองบัวลำพูด้วยกัน หน่วยทหารกองหลังก็ทำตามคำสั่งของ เจ้าอนุวงศ์ พวกหนึ่งตัดไม้มีผลให้เหลือแต่ตอ พวกหนึ่งรื้อกำแพงเมืองเริ่มจากมุมทิศอีสานกำแพงด้านตะวันออก รื้อได้หมด รื้อกำแพงด้านทิศใต้มาถึงหลังวัดสระแก้ว พวกหนึ่งรื้อกำแพงจากมุมอีสานมาทางตะวันตก รื้อกำแพง ด้านทิศเหนือได้หมด แล้วรื้อด้านทิศตะวันตกได้ส่วนหนึ่งเหลือสองส่วน เผาประตูเมืองแล้ว 3 ประตู ชาวนครราชสีมา ผู้เฒ่าผู้แก่ที่ไม่ถูกกวาดต้อนไป ก็ออกข่าวว่ากองทัพกรุงเทพฯ เดินทางมาถึงทุ่งโพธิ์เตี้ยแล้ว (อีก10 กม.) จะเข้า เมืองได้เย็นวันนี้ ทหารลาวรู้ข่าวก็ตกใจกลัว รีบพากันหนีตามกองทัพเจ้าอนุวงศ์ไปสิ้น จึงรื้อกำแพงยังไม่เสร็จ เผาเมืองได้เล็กน้อย ชาวเมืองก็ ดับเสียได้ ฝ่ายกองทัพหลวงของเจ้าอนุวงศ์ ถอยออกจากเมืองนครราชสีมา ผ่านเมืองจตุรัส และภูเขียว ทราบว่าเมืองจตุรัสและชัยภูมิได้ส่งกำลังไปช่วยคุณหญิงโมรบกับทัพเจ้าสุทธิสารที่ ทุ่งสัมฤทธิ์เจ้าอนุวงศ์ก็โกรธ เพราะเจ้าเมืองชัยภูมิคนนี้ คือ  ขุนภักดีชุมพล (แล) ซึ่งเคยเป็น พี่เลี้ยงเจ้าอนุวงศ์ อยู่ในนครเวียงจันท์ตั้งแต่เด็กๆ ครอบครัวไทยกลับบ้าน ฝ่ายครอบครัวไทย และทหารที่ทุ่งสัมฤทธิ์เมื่อรู้ว่าเจ้าอนุวงศ์ ยกออกจากเมืองนครราชสีมาแล้ว ก็อพยพกันกลับ เข้าเมืองโดยด่วน
เมื่อจัดการบ้านเมืองพออยู่ได้แล้ว พระยาปลัดทองคำพระยาพรหม ยกกระบัตร พระณรงค์สงคราม และจางวางส่วยทองคำ จึงเข้าชื่อกันทำใบบอก เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่เมืองนครราชสีมา มอบให้หลวงบุรินทร์ และขุนชนะไพรี เป็นนายกองม้า นำกำลังทหารม้า 30 ถือใบบอกไปวางยัง ศาลาเวรมหาดไทย เพื่อนำขึ้นกราบบังคมทูล ร.3 ให้ทรงทราบ ผู้นำชาวเมืองนครราชสีมา ปรึกษากัน เห็นว่ากองทัพเจ้าอนุวงศ์ล่าถอยไปแล้วนั้น จะไปที่ใดเราควรคิดติดตาม ได้โอกาสก็โจมตีเอาบ้าง อย่างน้อยก็เป็นการเกาะข้าศึก เพื่อคอยกองทัพจากกรุงเทพฯ ปรึกษาตกลงแล้ว จึงมอบให้ พระณรงค์สงคราม กับ หลวงพลอาสา นายด่านนครจันทึก นำกำลังทหาร 500 คน ยกไปพักแรม อยู่ที่ตำบลลำพี้ ใกล้หนองบัวลำพู คอยติดตาม ข่าวศึก (ทหารเหล่านี้เรียกจากนครจันทึก นางรอง บ้านตะคุ ด่านเกวียน ด่านกระโทก ด่านสะแกราช) กองทัพกรุงเทพฯ ออกศึก

ฝ่ายกองทัพกรุงเทพฯ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ยกทัพจากกรุงเทพฯ เมื่อวันเสาร ์ที่ 3 มีนาคม ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ พ.ศ.2369 โดยทางเรือ เดินทาง 15 วัน ขึ้นบกที่พระพุทธบาท สระบุรี เมื่อ 18 มีนาคม 2369 เพื่อรวมกำลัง กองทัพลาวของเจ้าราชวงศ์เหง้าหนีไปก่อน 7 วันแล้ว จึงจัดกำลังที่มี อยู่เป็นทัพหน้าติดตามไปก่อน ประกอบด้วย พระยาจ่าแสนยากร พระยากลาโหม ราชเสนา พระยาวิไชยอินทรา พระณรงค์วิไชย เป็นกองทัพที่ 1 กรมหมื่นนเรศโยธี กรมหมื่นเสนีย์ บริรักษ์ เป็นกองทัพที่ 2 กรมหมื่นเสนีย์เทพ เป็นยกกระบัตร กรมหมื่นธิเบศร์บวร เป็นจเร กองทัพกรมหมื่นเทพพลภักดี เป็นเกียกกาย พระนเรนทร์ราชา เป็น ทัพหลัง ยกขึ้นมาทางดง พระยาไฟ มาถึงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2370 พระยาปลัดทองคำ จึงให้ หลวงพิทักษ์โยธา เป็นผู้ติดต่อและนำกองทัพหน้าไปพบกับกองกำลังของพระณรงค์สงคราม ที่ตำบลลำพี้ เพื่อโจมตี ทัพลาวต่อไป ฝ่ายกองทัพน้อยทางซ้าย ของเจ้าพระยาอภัยภูธร ประชุมพล ที่พิษณุโลก แล้วยกไปเมืองหล่ม ตีทัพของเจ้าราชวงศ์เหง้าแตก เจ้าราชวงศ์เหง้าหนีไปหา เจ้าอนุวงศ์ที่ช่องเขาสาร เจ้าพระยาอภัยภูธรนำทัพตีหัวเมืองขึ้น ของเวียงจันทน์ ทางตะวันออกหลายเมือง แล้วยึดอยู่ที่เมืองหล่ม ฝ่ายทัพน้อยทางขวาของพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ตั้งชุมพลที่เมืองปราจีนบุรี มาสมทบด้วยกำลังของเจ้าพระยากำแหงสงคราม (ทองอินท์) เจ้าเมืองนครราชสีมา ที่เมือง กบินทร์บุรี แล้วยกขึ้นไปนครราชสีมาทางช่องเรือแตก (ช่องสะแกราช) แล้วยกออกจากนครราชสีมาไปทางตะวันออก เฉียงเหนือ รบกับทัพของเจ้าโอโถง (หลานเจ้าอนุวงศ์) ณ เมืองพิมาย รบถึงขั้นตะลุมบอนทัพเจ้าโอโถงแตกไปสิ้น หนีไปเมืองสุวรรณภูมิ เข้าหาเจ้า อุปราชติสสะ ฝ่ายกองทัพของพระยาราชสุภาวดีเข้าเมืองขอนแก่น ไปตีค่ายเวียงคุก ที่เมืองยโสธรแตก แล้วยกไปปราบเจ้านครจำปาศักดิ์ (ป่าสัก) หรือเจ้าราชบุตรโย้ ที่เมืองศรีสะเกษ เจ้าราชบุตรโย้ หนีไปตั้งรับที่ดอนมดแดง (อุบล) ทัพไทยตามตีแตก เจ้าราชบุตรโย้ พาพวกหนีไป นครจำปาศักดิ์ ทัพไทยตามตีถึงนครจำปาศักดิ์แตก จับตัวเจ้าราชบุตรโย้ เจ้าปาน เจ้าสุวรรณ ใส่กรงส่งไปกรุงเทพฯ แล้วทัพพระยาราชสุภาวดี ไปตั้งอยู่นครพนม ฝ่ายพระณรงค์สงคราม นำ กองทัพหน้าของกรุงเทพฯ ไปตั้งประจันหน้าค่ายชั้นนอกหนองบัวลำพู ซึ่งพญานรินทร์รักษาอยู่

วันที่ 1 พฤษภาคม 2370 ทัพหน้าของไทยก็เข้าตีค่ายหนองบัวลำพู พญานรินทร์ทำการ ต่อสู้รักษาค่ายเป็นสามารถ จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม ค่ายหนองบัวลำพูจึงแตก จับตัวพญานรินทร์ได้ ส่งไปถวายสมเด็จ กรมพระราชวังบวรฯ กองทัพหน้าของไทยยึดค่ายหนองบัวลำพ ูแล้วไม่มีกำลังพอ ที่จะตีค่ายที่ทุ่งส้มป่อยอีก 5 ค่าย จึงรออยู่ ฝ่ายกองทัพหลวงของกรุงเทพฯ รวมพลพร้อมแล้วก็ยกจาก สระบุรีมาถึงานครราชสีมา เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2370 สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ได้รับตัวพญานรินทร์ สอบสวนดูเห็นว่า เป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถมากผู้หนึ่ง จึงทรงเกลี้ยกล่อม จะเอาตัวไว้ใช้ราชการ แต่พญานรินทร์ไม่ยอมอยู่ เมื่อแพ้แล้วก็ยอมตาย จึงให้ช้างแทงตาย (แบบชายชาตินักรบ) แล้วยกทัพจากนครราชสีมาไปถึงหนองบัวลำพู เมื่อ 15 พฤษภาคม 2370 จัดเตรียมกำลังเป็น 5 กองรบ แล้วเข้าตีค่ายทุ่งส้มป่อยทั้ง 5 ค่ายพร้อมกัน แตกทั้ง 5 ค่าย เจ้าหน่อคำหนีไปหาเจ้า อนุวงศ์ที่ค่ายช่องเขาสาร เจ้าอนุวงศ์ทราบว่าค่ายต่างๆ ทั้งชั้นนอก ชั้นกลาง แตกหมดแล้ว ก็ตกใจคิดว่าถ้าค่ายช่องเขาสารถูกทำลาย ตนก็จะไม่มีทางรอด จึงสั่งให้ พญาศุโภและพญาชานนท์ ขุนนางผู้ใหญ่ อยู่รักษาค่ายช่องเขาสาร

ต่อสู้กับกองทัพไทยให้ถึงที่สุด อย่าถอยเป็นอันขาด ส่วนตัวเจ้าอนุวงศ์ เจ้าสุทธิสาร และเจ้าราชวงศ์เหง้า จะไปนำกำลัง จากเวียงจันทน์มาเพิ่มเติมอีก สั่งแล้วเจ้าอนุวงศ์และบุตรทั้งสอง ก็หลบออกทางด้านหลังช่องเขาสาร ไปยังเวียงจันทน์ กองทัพหลวงของไทยเคลื่อนกำลังไปอีก 250 เส้น ตีค่ายรักษาต้นทางที่บ้านนาด่านแตกก็ติดตามเข้าไปพบค่ายช่องเขาสาร ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่คับขัน ตรวจดูแล้วเป็นทางแคบไม่สามารถจะยกกำลังจำนวนมากเข้าไปได้ กำลังน้อยก็ไม่สามารถ เข้าตีได้จำเป็นจะต้องใช้วิธีเผา โดยจัดหน่วยกล้าตายเข้าบุกกลางคืน ขณะนั้น นายนรินทร์ภักดี ซึ่งเป็นคู่หมั้นของนางสาว บุญเหลือ และไปอยู่กรุงเทพฯ ได้เป็นนายกองเดินเท้า อาสามาใน กองทัพหลวงด้วยความเป็นห่วง เมื่อถึงนครราชสีมา แล้วก็ตื้นตันใจยิ่งนักสัญญาใจว่าจะต่อสู้ศัตรู โดยเต็มกำลังและแก้แค้นให้สุดที่รักจนได้ จึงได้ออกต่อสู้ในสนามรบทุกแห่ง เรื่อยมา บัดนี้ทราบ แผนการว่าจะต้องจู่โจมเข้าค่ายข้าศึกในเวลากลางคืน จึงขันอาสาทำงานนี้ตั้งใจว่าจะแก้แค้น ให้สำเร็จจนได้ (ตรงนี้ตามหนังสือ "ท้าวสุรนารี" ของพันตรีหลวงศรีโยธาและคณะ เขียนเล่าไว้) เมื่อแผนการเป็นที่ จึงให้ทหารบุกป่าปีนขึ้นไปทั้งสองฟากค่ายช่องเขาสาร แอบซุ่มอยู่จำนวนมาก เวลากลางคืนตกดึกก็ใช้ธนูไฟยิงเข้าไป ในค่ายลาว ทหารลาวอลหม่านดับไฟหลายแห่ง นายนรินทร์ ภักดี ได้โอกาสก็นำหน่วยกล้าตายปีนค่าย เข้าเปิดประตูค่าย ได้สำเร็จ กองทัพไทยก็เข้าตีในค่าย ทหารลาวตายมาก ที่ยอมจำนนก็มีที่หนีไปก็มี การแก้แค้นสำเร็จลงเมื่อ18 พฤษภาคม 2370 แต่นายนรินทร์ภักดีก็ต้องพลีชีวิตเพื่อชาติในที่รบนั้น เจ้าอนุวงศ์ทราบว่า ค่ายช่องเขาสารแตกแล้ว จึงรวบรวมทรัพย์สมบัติ ครอบครัว หนีไปอาศัยญวนอยู่ที่เมืองล่าน้ำ หรือน้ำไฮ เชิงเขาไก่ เจ้าอนุวงศ์ สัญญาว่าจะยก เมืองพวนให้ญวนเป็นการตอบแทน (เรื่องนี้เป็นเหตุให้ฝรั่งเศสอ้างได้ เมื่อฝรั่งเศส ได้ญวนแล้วก็ยึดเมืองพวนด้วย อ้างว่าเมืองพวนขึ้นแก่ญวน เพราะเจ้าอนุวงศ์ยกให้ญวนแล้ว)

ทัพหลวงของไทยยึดได้ช่องเขาสารแล้ว ก็มีใบบอกไปยัง ทัพน้อยซ้าย-ขวา ให้ไปรวมกำลัง กันที่บ้านพันพร้าว (ตรงข้าวเวียงจันทน์) เมื่อพร้อมแล้ว จึงยกทัพข้ามโขงไปยึดนคร เวียงจันทน์ได้ เมื่อ 23 พฤษภาคม 2370 ไม่มีการต่อสู้เพราะเจ้าอนุวงศ์และบริวารหนีไปก่อน 5 วันแล้ว เมื่อจัดการ บ้านเมืองเรียบร้อยแล้วก็เกณฑ์ไพร่พลทำอิฐมาคนละ 2 แผ่น ข้ามโขงกลับมาก่อเจดีย์ไว้ที่บ้าน พันพร้าวมีฐานกว้าง ยาวด้านละ 5 วา สูง 8 วา 2 ศอก ตั้งชื่อว่า "พระเจดีย์ปราบเวียงจันทน์" จารึก เรื่องเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ อันเชิญพระเสริม จากวัดยอดเขาแก้ว มาบรรจุในพระเจดีย์นั้น แล้วจัด พลเมืองส่วนน้อยมอบให้เพี้ยเมืองจันทน์อยู่รักษาเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญพระบาง กับจับตัวเจ้าอุปราช ติสสะ มาพร้อมกับกวาดต้อนชาวเมืองเป็นส่วนมาก แล้วกองทัพทั้ง 3 ก็กลับ มาพักทัพที่เมือง นครราชสีมา

เมื่อกองทัพทั้ง 3 พักรวมกันอยู่ที่เมืองนครราชสีมาคิดเห็นร่วมกันว่า ควรจะทำบุญ กุศลอุทิศให้แก่ เพื่อนทหารที่เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ จึงตกลงร่วมกันสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง นอกเมืองด้านเหนือ ตรงประตูพลแสน (ประตูท่าน้ำหรือประตูน้ำ) ตั้งชื่อ "วัดสามัคคี" สร้างเมื่อเดือนกรกฎาคม 2370 แล้วกองทัพหลวง โดยสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ และกองทัพซ้าย โดย เจ้าพระยาอภัยภูธรได้ยกกลับกรุงเทพฯ ส่วน กองทัพน้อยทางขวาโดยพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ยังตั้งอยู่ที่เมืองนครราชสีมาเพื่อดูแลจัดการบ้านเมืองและฟังข่าว ทางนครเวียงจันทน์ด้วย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) โปรดเกล้าให้อัญเชิญ "พระบาง" (เวียงจันทน์) ไปไว้วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส ส่วนเจ้าอุปราชติสสะและบริวาร ให้ไปอยู่บ้านของเจ้าอนุวงศ์ที่บางยี่ขัน พวกเวียงจันทน์ ที่กวาดต้อนมาให้ไปอยู่เมืองลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี และนครไชยศรี พวกมาจากนครพนมให้ไปอยู่เมืองพนัสนิคม
เภสัชกร = เภสัชกรรม + กรรมกร
อยากให้โลกนี้ไม่มีโชคร้าย
Welcome to My Life
Casa di AzzurRi = บ้านของนาย อัซซูร์รี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร

บทสรุปเรื่องเจ้าอนุวงศ์

โพสต์โดย azzuri » 11 พ.ย. 2006, 10:37

หนังสือเล่มหนึ่งที่คนไทยน่าจะหามาอ่าน คือเรื่อง "ประวัติศาสตร์ ฉบับ กระทรวงศึกษาธิการฯ ลาว" ถอดความเป็นภาษาไทย โดย สมชาย นิลอาธิ เป็นตำราเรียนสำหรับนักเรียนลาว ชั้นอุดม 3 เทียบเท่าชั้นมัธยมปีที่ 6 ของไทย อ่านแล้วจะเข้าใจว่า ประวัติศาสตร์ในเรื่องเดียวกัน แต่ในมุมมองของแต่ละประเทศ มันแตกต่างกันชนิดขาวเป็นดำ ตัวอย่างเช่น เจ้าอนุวงศ์ ที่คนไทยเหยียดหยามว่าเป็นกบฏนั้น สำหรับลาว เจ้าอนุวงศ์กลับเป็นวีรบุรุษที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกู้ชาติ ซึ่งอ่านในหนังสือเล่มนี้แล้ว จะเห็นความแตกต่างนั้นอย่างชัดเจน

เจ้าอนุวงศ์สิ้นพระชนม์ลงอย่างน่าอเนจอนาถ และพระศพของพระองค์ ถูกเสียบประจานไว้ในฐานะหัวหน้าขบถ ผู้เขียนพื้นเวียงน่าจะทราบพฤติการณ์ของผู้ชนะที่กระทำต่อผู้แพ้ แต่ด้วยความเคารพนับถือในวีรกรรมที่พระองค์ได้ต่อสู้เพื่อปกป้องชาวพื้นเมือง จนพระองค์ต้องสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไปนั้น ทำให้ผู้แต่งได้พรรณนาถึงความตายอันยิ่งใหญ่ของเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเป็นความงามของกวีที่มีต่อบุคคลที่รักอย่างสุดซึ้ง
"แต่นั้น ยั้งขม่อมเจ้า ลดชั่วสารมรณ์
พระก็ ลาสงสาร สู่ไตรพดึงส์แก้ว
เขาก็ แปลงศพสร้าง ประนมอวนถวาย พระองค์นั้น
คำและแก้ว แสงเลื่อมเฮื่อเฮือง
ยาบๆ สร้อย ในศรีเกาะไคว่
ลมพัดต้อง ปลิวเปลื้องแกวหาง
ริจนาแต้ม กินรี เยาะหย่อง
ห่างก่องค้อม แขนส้อย ค่องคือ
ตาคมคิ้ว คงคางเหลียวเหลือด
พือปีกฟ้อน อรอ้วนอ่อนทวย
มีทั้ง ฮูปเทวดาเจ้า ถือธุงเดียรดาษ
พรหมสี่หน้า หยายไว้สู่มุม
เขาก็ งั้นคาบเจ้า บริบวรณ์แล้วจูด
ไฟใส่ขึ้น ประนมแก้วมุ่งคง
ฝูงหมู่สัง โฆเจ้ายวงบุญ บนบอก
เททอดน้ำ ลงเทส่งบุญ
ให้เจ้า เมืออยู่สร้าง เมืองสวรรค์สนุกยิ่ง จริงเทอญ
โลกนี้ บ่เที่ยงแท้ อย่าได้ท่องเที่ยว พระเอย
ศุกทุกข์นั้น ไผบส่องตาเห็น แท้แล้ว
เปนดังกง เกียนผันปิ่นเวียน เลิงเลื้อย"
(พื้นเวียง)
ภาพที่บรรยายไว้ในพระราชพงศาวดารไทย กับภาพที่ปรากฎในวรรณกรรมพื้นเวียง แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ที่มา : ประทีป ชุมพล
ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศิลปากร
เภสัชกร = เภสัชกรรม + กรรมกร
อยากให้โลกนี้ไม่มีโชคร้าย
Welcome to My Life
Casa di AzzurRi = บ้านของนาย อัซซูร์รี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร

Re: บทสรุปเรื่องเจ้าอนุวงศ์

โพสต์โดย azzuri » 16 พ.ย. 2006, 06:52

azzuri เขียน:"แต่นั้น ยั้งขม่อมเจ้า ลดชั่วสารมรณ์
พระก็ ลาสงสาร สู่ไตรพดึงส์แก้ว
เขาก็ แปลงศพสร้าง ประนมอวนถวาย พระองค์นั้น
คำและแก้ว แสงเลื่อมเฮื่อเฮือง
ยาบๆ สร้อย ในศรีเกาะไคว่
ลมพัดต้อง ปลิวเปลื้องแกวหาง
ริจนาแต้ม กินรี เยาะหย่อง
ห่างก่องค้อม แขนส้อย ค่องคือ
ตาคมคิ้ว คงคางเหลียวเหลือด
พือปีกฟ้อน อรอ้วนอ่อนทวย
มีทั้ง ฮูปเทวดาเจ้า ถือธุงเดียรดาษ
พรหมสี่หน้า หยายไว้สู่มุม
เขาก็ งั้นคาบเจ้า บริบวรณ์แล้วจูด
ไฟใส่ขึ้น ประนมแก้วมุ่งคง
ฝูงหมู่สัง โฆเจ้ายวงบุญ บนบอก
เททอดน้ำ ลงเทส่งบุญ
ให้เจ้า เมืออยู่สร้าง เมืองสวรรค์สนุกยิ่ง จริงเทอญ
โลกนี้ บ่เที่ยงแท้ อย่าได้ท่องเที่ยว พระเอย
ศุกทุกข์นั้น ไผบส่องตาเห็น แท้แล้ว
เปนดังกง เกียนผันปิ่นเวียน เลิงเลื้อย"
(พื้นเวียง)
ภาพที่บรรยายไว้ในพระราชพงศาวดารไทย กับภาพที่ปรากฎในวรรณกรรมพื้นเวียง แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง


ปล.ถ้าอ่านเปนสำเนียงอีสานถึงจะเข้าใจความหมายนะครับ
เภสัชกร = เภสัชกรรม + กรรมกร
อยากให้โลกนี้ไม่มีโชคร้าย
Welcome to My Life
Casa di AzzurRi = บ้านของนาย อัซซูร์รี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร

Re: พี่ไทยจ๋าตาสว่างได้แล้ว....จากน้องลาว1 ตอน เจ้าอนุวงศ์

โพสต์โดย plepod..Rx19 » 16 พ.ย. 2006, 08:42

สนุกมากค่ะ..ได้ความรู้อีกต่างหาก ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ..มานั่งอ่านแต่เช้าเลย.. :D
ultraman ปล่อยพลัง เพี้ยงๆ ฮ่าๆๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
plepod..Rx19
 
โพสต์: 209
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2006, 16:50


Re: พี่ไทยจ๋าตาสว่างได้แล้ว....จากน้องลาว1 ตอน เจ้าอนุวงศ์

โพสต์โดย azzuri » 07 มิ.ย. 2007, 08:52

ปลายเดือนนี้ จะไปเวียงจันทร์อีกครั้ง
มีโอกาสได้ไป หอพระแก้วด้วยครับ
ไปครั้งนี้ จะไปเก็บรายละเอียด หอพระแก้ว
ทุกซอก ทุกมุม ให้มากที่สุด เพื่อรวบรวมเป็น วัตถุดิบ
เป็นวัตถุดิบ ในการ เขียนบทความเรื่อง....พระแก้วมรกต
เภสัชกร = เภสัชกรรม + กรรมกร
อยากให้โลกนี้ไม่มีโชคร้าย
Welcome to My Life
Casa di AzzurRi = บ้านของนาย อัซซูร์รี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร

Re: พี่ไทยจ๋าตาสว่างได้แล้ว....จากน้องลาว1 ตอน เจ้าอนุวงศ์

โพสต์โดย spras77 » 07 มิ.ย. 2007, 16:22

ติดตามด้วยความระทึก
ใน
ดวงหทัย

พลั๊น!
แนบไฟล์
Resize_of_DSCN3408.JPG
Resize_of_DSCN3385.JPG
Resize_of_DSCN3417.JPG
แก้ไขล่าสุดโดย นิวัช เมื่อ 25 มิ.ย. 2008, 14:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
spras77
 
โพสต์: 182
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ม.ค. 2007, 14:53

Re: พี่ไทยจ๋าตาสว่างได้แล้ว....จากน้องลาว1 ตอน เจ้าอนุวงศ์

โพสต์โดย azzuri » 07 มิ.ย. 2007, 21:30

วันนี้โดนตั้งคำถามครับ
ตอนไปเอาพาสปอร์ต
ว่าทำไมไปลาว บ่อยจัง

เอ้า! ไม่ให้ไปลาวแล้วจะไปไหน
เภสัชกร = เภสัชกรรม + กรรมกร
อยากให้โลกนี้ไม่มีโชคร้าย
Welcome to My Life
Casa di AzzurRi = บ้านของนาย อัซซูร์รี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร

ย้อนกลับ

ย้อนกลับไปยัง อาราบิก้า

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document