New Document









ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

บทความทางเภสัชศาสตร์ และบทความทั่วไป

ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

โพสต์โดย jusuran » 03 ก.ย. 2006, 20:06

ไปยืมมาจากเวบ www.colorcon.com

สีไม่สม่ำเสมอ ( color variation)

สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ------> แนวทางแก้ไข

1. สูตรเคลือบน้อยเกินไป ----> เพิ่มปริมาณสูตรเคลือบ  ซึ่งอาจจะเพิ่มทั้งสูตรไปเลย หรือเพิ่มเฉพาะสารละลายก็ได้ถ้าปริมาณของแข็งเพียงพออยู่แล้ว 
2.  เม็ดยาในแพนกลิ้งไม่ดี แบบสไลด์ๆ หรือไม่เกิดการพลิกตัวของเม็ดยาในแพน -----> เพิ่มความเร็วรอบแพน หรือไม่ก็ปรับปรุง baffle ของแพน
3.  สารทึบแสงน้อยเกินไป มักพบในยาเม็ด core tablet ที่มีสีอยู่แล้ว  ------> เพิ่ม Titanium dioxide ในสูตร อาจเป็นเทคนิคอื่นๆ ก็ได้ที่เพิ่มความทึบแสง เช่น subcoatสีขาวก่อน  หรือใช้สีกลุ่ม Iron oxide บดบังสีของยาเดิม (มันเข้มดี)
4. ปริมาณ solid content ในสูตรมากเกินไป ---> เติมสารละลายเพิ่ม 
5.  จำนวนปืนสเปร์ยไม่เพียงพอ เลยพ่นไม่ทั่ว ----> เพิ่มปืนสเปร์ยซะ
6.  รูปแบบการพ่นสเปร์ยแคบ ทำให้สเปร์ยไม่กระจายไปทั่วๆ -----> เช็คตำแหน่งปืน  ปรับรูปแบบการพ่นที่หัวปืนสเปร์ย, ระยะห่างระหว่างปืน ( กรณีมากกว่า 1 หัว)  ให้มันพ่นทั่วๆ เท่าๆ กัน  อาจใช้ไฟฉาย ส่องดูฝอยละอองสเปร์ยในแพน ว่าทั่วหรือเปล่า หรืออาจใช้กระดาษเช็คฝอยละอองสเปร์ยแต่ละหัวปืนขณะพ่นว่าไปถึงไหนก็ได้ค่ะ
7.  ความเร็วรอบแพนน้อยเกินไป คล้ายๆ กับข้อ 2 -------> เพิ่มความเร็วรอบแพนให้เม็ดยากลิ้งเร็วๆ
แก้ไขล่าสุดโดย jusuran เมื่อ 03 ก.ย. 2006, 21:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก







Re: ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

โพสต์โดย jusuran » 03 ก.ย. 2006, 20:16

เม็ดแฝด ( twinning)

1.  พ่นน้ำยาเคลือบมากไป  spray rate มากไป ----->  ลด spray rate  หรือ เพิ่ม atomizing pressure ให้ droplet เล็กลง จะได้แห้งไวขึ้น
2. ความเร็วรอบแพนช้า -------> เพิ่มความเร็วรอบแพน  กลิ้งเร็วขึ้น แรงขึ้น จะได้แยกจากกันเร็ว ก่อนมันแห้ง
3.  รูปร่างเม็ดยา  --------> แบบรูปข้างล่างเนี่ยแหล่ะ  เกิดเม็ดแฝดง่ายนักแฮ  ทางแก้ที่ไม่อาจเป็นไปได้หรือเป็นไปได้ยากมาก คือ ทำชุดสากใหม่เปลี่ยนรูปร่างมันซะ ให้มีส่วนเว้าโค้งเพิ่มขึ้น ลดโอกาสให้เม็ดยามาอยู่ติดกัน
4.  สูตรมันหนืด เหนียวหนึบหนับ  ------>  เพิ่ม Talc  หรือไม่ก็เปลี่ยนสูตร polymer ซะ (ถ้าเป็นไปได้)
5.  ระยะปืนสเปร์ยกับเม็ดยาในแพนใกล้เกินไป ---------> ขยับปืนให้มีระยะห่างมากขึ้น 
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Re: ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

โพสต์โดย jusuran » 03 ก.ย. 2006, 20:32

แคร้ก  ผิวฟิล์มมันแตก  (cracking)

1.  สูตรเคลือบมี mechanical strangth ต่ำ  พลาสติกไซเซอร์ไม่เพียงพอ หรือ มีสารแต่งสีมากเกินไป -------->  ให้ RD ของคุณไปทำสูตรใหม่มาซะ 555  อาจเปลี่ยนพอลิเมอร์ หรือ ผสมพอลิเมอร์ชนิดเดิมที่มีสายความยาวโซ่สั้นลง  หรือ เติมพลาสติกไซเซอร์เพิ่มสัก 5-10%  w/w ของปริมาณพอลิเมอร์ในสูตร หรือ ลดปริมาณสารอื่นๆ เช่น พวกสี  titanium dioxide ให้น้อยลง
2.  เม็ด core tablet มีการขยายตัวขณะเคลือบ  -------->  หลีกเลี่ยงการใช้ filler พวกที่เป็น mineral type เช่น  dicalcium phosphate,  calcium carbonate, calcium sulfate , magnesium carbonate  เคยเจอแบบว่า พอตอกเสร็จปุ๊บเอาไปเคลือบเลย เม็ดยามันขยายตัวอ่ะ ทิ้งไว้แป้บนึงในตู้ร้อน มันแตกเลย  เลยมีเทคนิคอันหนึ่งสำหรับสูตรนั้นคือ บ่มเม็ดยาไว้หลังการตอกสักวันสองวันค่อยเคลือบจะปลอดภัยกว่า
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Re: ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

โพสต์โดย jusuran » 03 ก.ย. 2006, 20:44

เม็ดลอก เคลือบไม่ติด ( peeling)



1. สูตรเคลือบมี mechanical strangth ต่ำ  ----->  เปลี่ยนชนิดพอลิเมอร์
2.  พอลิเมอร์มีแรงยึดระหว่างตัวมันเองมากกว่าตัวมันเองกับผิวเม็ดยา  ------> เปลี่ยนชนิดพอลิเมอร์ หรือผสมพอลิเมอร์ที่ช่วยเพิ่ม adhesion ระหว่างผิวเม็ดยากับสูตรเคลือบ
3.  ใช้สารหล่อลื่นในสูตรเม็ด core มากเกินไป -----> ลดปริมาณสารหล่อลื่นในสูตร core
4.  ลักษณะ API มีความคล้ายกับ Wax หรือเป็น Oily type ------->  เทคนิคส่วนตัวนะคะ ใช้พอลิเมอร์ที่มี adnesion สูงๆ ทำ subcoat  ใช้ organic solvent เป็นตัวทำละลายสูตร subcoat   
แก้ไขล่าสุดโดย jusuran เมื่อ 03 ก.ย. 2006, 21:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Re: ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

โพสต์โดย jusuran » 03 ก.ย. 2006, 20:49

ผิวหยาบ ผิวส้ม ( Orange peel)

1.  น้ำยาเคลือบฟิล์มมันหนืด ข้นมากไป  ------> ลด solid content , เติมตัวทำละลาย
2.  Atomizing air pressure น้อยไป ขนาด droplet เลยใหญ่ไปหน่อย  -------->  ปรับเพิ่ม atomizing air pressure
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Re: ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

โพสต์โดย jusuran » 03 ก.ย. 2006, 21:00

โลโก้ หาย  Logo bridging

1. adhesion ของสูตรเคลือบไม่เพียงพอ  --------->  เปลี่ยนพอลิเมอร์ หรือ ผสมพอลิเมอร์ที่ไปช่วยเพิ่ม adhesion ของสูตร
2.  มีสารหล่อลื่นมากเกินไป หรือ ผิวเม็ดยาเป็นมันๆ หรือ API เป็นพวกไม่ชอบน้ำ  ------>  เพิ่มสารช่วยในสูตรให้เป็นกลุ่มที่ชอบน้ำมากขึ้น (ถ้าเป็นไปได้) หรือไม่ก็เพิ่มความพรุนที่ผิวเม็ด core  เพื่อให้ฟิล์มเกาะได้ง่ายขึ้น
3.  ลักษณะโลโก้ไม่ดี  (มีรายละเอียดมากไป หรือ ช่องอักษรแคบ หรือ เล็กมาก)  ------> ออกแบบโลโก้ใหม่ 
4.  สารเพิ่มความยืดหยุ่นของฟิล์มไม่พอ
5.  droplet ของน้ำยาที่พ่นใหญ่ไป  --------------> เพิ่ม atormizing air pressure  เพิ่ม drying rate
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Re: ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

โพสต์โดย jusuran » 03 ก.ย. 2006, 21:21

เม็ดมันดึงกัน ผิวฟิล์มหลุดเป็นหลุมๆ  เม็ดติดแพน  ( picking, sticking)

เม็ดยามันแห้งไม่ทัน ก็มาจากสาเหตุ

1.  พ่นน้ำยามากไป --------------------> ลด spray rate
2.  ระบบการทำแห้งไม่พอ เช่น อุณหภูมิลมที่ให้ระบบน้อยไป  ------> เพิ่มอุณหภูมิหรือระบบทำแห้ง
3.  แพนกลิ้งช้าไป ----------> กลิ้งแพนให้เร็วขึ้น
4.  droplet ของน้ำยาใหญ่ไป atomizing air pressure ต่ำไป --------> เพิ่ม Atom. air pressure


ทั้งหมดสามารถแก้โดยปรับระบบการทำแห้ง  ซึ่งโดยส่วนตัวจะชอบทำตามลำดับนี้ค่ะ
1.  เช็คอุณหภูมิ tablet bed  ให้อยู่ในช่วงที่ต้องการก่อน
2.  เพิ่ม atomizing air pressure
3. เพิ่มรอบแพน 
4.  ลดปริมาณน้ำยาที่พ่น
5.  เติม talcum ในสูตรเพิ่ม ( R&D only  :wink:)
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Re: ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

โพสต์โดย jusuran » 03 ก.ย. 2006, 21:31

เม็ดพรุน ( core erosion )

1.  เม็ด core นิ่ม ความแข็งน้อย ความกร่อนเยอะ ------> ทำไงก็ได้ ตอกให้แน่นขึ้น  8) เพิ่มแรงในการตอก,  เปลี่ยน diluent , เปลี่ยน process การผสมใหม่
2. รอบแพนเร็วเกินไป ------>  ลดรอบแพนใช้ช้าลง
3.  spray rate น้ำยาเคลือบน้อยเกินไป ไม่เกิดฟิล์มที่ผิว  ------> เพิ่ม spray rate
4. solid content ในสูตรต่ำไป  -----> เพิ่ม solid ในสูตร หรือ ลดปริมาณของของเหลวในสูตร
5.  มี super disintegrant ในสูตร ดูดน้ำแล้วพองง่าย  -------> เปลี่ยนตัว disintegrant ในสูตร
แก้ไขล่าสุดโดย jusuran เมื่อ 03 ก.ย. 2006, 21:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Re: ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

โพสต์โดย jusuran » 03 ก.ย. 2006, 21:43

แตกขอบ  รั่วที่ขอบ  ขอบบิ่น ( edge chipping / erosion)

1. สูตรเคลือบมี mechanical strangth ต่ำ  ----->  เปลี่ยนชนิดพอลิเมอร์
2.  รอบแพนเร็วเกินไป ------>  ลดรอบแพนใช้ช้าลง
3. solid content ในสูตรต่ำไป  -----> เพิ่ม solid ในสูตร หรือ ลดปริมาณของของเหลวในสูตร
4.  spray rate น้ำยาเคลือบน้อยเกินไป ไม่เกิดฟิล์มที่ผิว  ------> เพิ่ม spray rate
5. เม็ดยาที่ตอกมามีขอบที่กร่อนง่าย  มีมุมขอบที่โดนกระทบแล้วกร่อนง่าย ------> ทำรูปร่างชุดสากที่มีขอบตัดเล็กน้อย  ลบมุมเล็กน้อย
6. punch ไม่เรียบ --------> ปรับแต่งให้เรียบ หรือเปลี่ยน
7. สูตรเม็ด core ไม่ดี  ความกร่อนสูง ความแข็งน้อยไป ---------> เพิ่มแรงในการตอก,  เปลี่ยน diluent , เปลี่ยน process การผสมใหม่ , หรือทำ subcoat
แก้ไขล่าสุดโดย jusuran เมื่อ 03 ก.ย. 2006, 21:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Re: ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

โพสต์โดย jusuran » 03 ก.ย. 2006, 22:37

การเคลือบผิวเม็ดยา  ศาสตร์และศิลป์บนเม็ดยา

การเคลือบผิวเม็ดยามีมานานกว่า 100 ปี เริ่มจากการเคลือบด้วยน้ำตาล จนกระทั่งปี 1970 การเคลือบด้วยพอลิเมอร์ที่เรียกว่าการเคลือบฟิล์มจึงได้เกิดขึ้น  ในการผลิตกระบวนการเคลือบมักก่อให้เกิด defect ของการผลิตบ่อยครั้งซึ่งสร้างความน่าปวดหัวและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการ reprocess การเคลือบก็สูง  ดังนั้นในการเคลือบจึงเรียกได้ว่า อาศัยศิลป์มากกว่าศาสตร์  แต่ความเป็นวิทยาศาสตร์บอกกับเราว่า "ทำไมไม่กำหนดปัจจัยที่เกี่ยวข้องและควบคุมมันให้ได้หล่ะ?"  แต่ความเป็นจริงแล้ว เราจะเห็นได้ว่า ความเป็นวิทยาศาสตร์ใช้ในการพัฒนาสารพอลิเมอร์ที่เป็นตัวใหม่ๆ  เตรียมได้ง่ายกว่าเดิม เคลือบได้เร็วกว่าเดิม ลดต้นทุนกว่าเดิม เพิ่มแรง adhesion มากขึ้น  ปรับปรุงความสามารถในการซึมผ่านของความชื้นหรือออกซิเจนให้น้อยลง เพิ่มความเงางามของผิวฟิล์ม  ทำกระบวนการผลิตให้เหมือนๆ เดิมทุกครั้งที่ทำ  แต่สุดท้าย "จะเคลือบยาสวยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับศิลปะและความชำนาญของผู้เคลือบ" อยู่ดี
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Re: ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

โพสต์โดย rxkku » 13 พ.ย. 2007, 21:11

พี่เพิ่งมาอ่านเจอ บทความนี้ดีมากๆครับ
rxkku
 
โพสต์: 41
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2006, 13:04

Re: ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

โพสต์โดย kohboy » 13 พ.ย. 2007, 23:09

rxkku เขียน:พี่เพิ่งมาอ่านเจอ บทความนี้ดีมากๆครับ


:roll:
ยังดีที่ได้มีเวลามาเห็น
เพราะได้ข่าวว่าแต่งงานอีกครั้งกับโรงงานใหม่
ไม่รู้จริงป่าว

อิอิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: ปัญหาที่พบบ่อยจากการเคลือบฟิล์มกับการแก้ไข

โพสต์โดย plepod..Rx19 » 14 พ.ย. 2007, 18:31

บทความนี้ดีมากๆเลยค่ะ พี่น่าจะเขียนตั้งแต่ตอนน้องเรียนอยู่จะได้เอาไปใช้.......... สอบ :lol:
จะบอกว่าตอนเรียนไม่เคยเห็นภาพชัดเจนเหมือนที่พี่เจนถ่ายมาให้ดูค่ะ อ่านแล้วตื่นเต้นมากๆ จริงๆนะค่ะ เพราะไม่เคยเห็นของจริงชัดๆเท่าไหร่
ยังไงก็ขอบคุณมากค่ะ...
ultraman ปล่อยพลัง เพี้ยงๆ ฮ่าๆๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
plepod..Rx19
 
โพสต์: 209
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2006, 16:50


ย้อนกลับไปยัง อาราบิก้า

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document