หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เภสัชกร สสจ.ไม่อันตราย

โพสต์โพสต์แล้ว: 11 ส.ค. 2006, 19:28
โดย kohboy
บทความต่อไปนี้
ผู้เขียนจะเล่าจากประสปการณ์ที่มีอยู่ บอกเล่าให้ เภสัชกร สสจ. ได้รู้ถึงวิธีการที่จะไม่ต้องถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย, ไม่ถูกฟ้องร้อง, ปลอดภัยจากการได้รับคำสั่งที่ไม่ชอบ จากผู้บริหาร


ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้เภสัช สสจ. นำสิ่งที่ได้รับจากบทความนี้ ไปพิจารณาประยุกต์ใช้กับการ ทำงานของตัวเองอย่างปลอดภัย และอย่างมีความสุข



"โปรดค่อยๆติดตามด้วยดวงใจพลัน"

เภสัชกร สสจ.ไม่อันตราย

โพสต์โพสต์แล้ว: 11 ส.ค. 2006, 19:49
โดย kohboy
แรกสุดเลย
เภสัช สสจ. ต้องได้รับคำสั่งจาก นพ.สสจ. ให้รับผิดชอบในงานอะไรบ้าง
ที่เราเรียกว่า"Job Description" นั่นแหละครับ

เราต้องมีคำสั่งนี้ติดตัวไว้
แล้วทำงานให้ตรงตามที่กำหนดไว้ เป็นหลัก

Job Description ที่ดี ควรลงรายละเอียดให้มากที่สุด
ถ้างานใหนมีการทำต่อเนื่อง ก็ต้องกำหนดไว้ด้วยว่าใครจะทำอะไร ตอนไหน

หากมีการเปลี่ยนแปลงJob Description ก็ต้องให้ นพ.สสจ ลงนามแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เรียบร้อย ก่อนที่จะทำงานใหม่

"Job Description" ถือเป็นกรอบสำคัญ ที่จะทำให้เรารู้ว่าเราต้องทำงานอะไร

เภสัชกร สสจ.ไม่อันตราย

โพสต์โพสต์แล้ว: 11 ส.ค. 2006, 20:50
โดย kohboy
พอรู้หน้างานของตัวเอง
ก็ต้องมาดูว่ามีระเบียบ กฏเกณฑ์ หรือกฏหมายใดเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง
ถึงแม้อ่านไม่จบ(ซึ่งควรอ่านจนจบ)
ก็ต้องมีไว้ให้คว้ามาประกอบการทำงานได้

เภสัชเก่า จะได้เปรียบเภสัชใหม่ เพราะเคยผ่านหูผ่านตามาแล้วบ้าง
หรือรู้มาบ้างแล้วว่าจะถามใคร

การประชุม/อบรม ที่เกี่ยวข้องกับหน้างานของเรา เราควรไปร่วม
ถ้าไปไม่ได้ ก็ต้องติดตามถามเนื้อหาสำคัญของการประชุม/อบรม นั้น ตลอดจนขอเอกสารการประชุม/อบรม นั้นมาศึกษาและเก็บไว้ใช้ด้วย

"การเก็บเอกสารที่จำเป็นในการใช้งาน เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดของการทำงาน สสจ. ครับ"


ปล.ถ้าอยู่อีสานบน ผู้ที่เก็บเอกสารได้ดี ผมเดาว่าน่าจะเป็นเภสัช สสจ. ที่นครพนม กับ กาฬสินธุ์ (กลัวเดาผิดเหมือนกันนะเนี่ย :lol: :lol: )

เภสัชกร สสจ.ไม่อันตราย

โพสต์โพสต์แล้ว: 12 ส.ค. 2006, 02:24
โดย SpeedUp
โธ่ ตอนแรกคิดว่าพี่หมายความว่า เภสัชสสจ.ไม่ใช่บุคคลอันตรายอย่างที่คิด :lol:

เภสัชกร สสจ.ไม่อันตราย

โพสต์โพสต์แล้ว: 12 ส.ค. 2006, 10:05
โดย kohboy
ทำไมต้องเริ่มที่การหาหน้างานของตัวเองก่อน?

คำตอบคือ
"เภสัช สสจ. ทำงานหลายหน้ามากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ"
จึงมักจะพบการหลงออกจากหน้างานของตัวเองอยู่บ่อยๆ
โดยเฉพาะงานฝากจากหัวหน้ากลุ่มงาน,งานฝากจากเพื่อนๆเภสัช สสจ. ที่มักจะไหว้วานกันเป็นประจำ และงานที่เภสัช รพช./รพท. ขอความช่วยเหลือมา(ในฐานะเภสัชส่วนกลางของจังหวัด ก็ต้องช่วยเหลือเป็นธรรมดา)




พิมพ์มาถึงตรงนี้แล้ว ผมนึกออกหนึ่งเรื่องสำคัญ ของบทความนี้
คือ บทความนี้ผมจะนำเสนอ[size=24px]ในพื้นฐานที่ว่า.. หัวหน้ากลุ่มงานเภสัช สสจ. เห็นด้วยกับผม[/size] นะครับ

เภสัชกร สสจ.ไม่อันตราย

โพสต์โพสต์แล้ว: 12 ส.ค. 2006, 11:50
โดย kohboy
หลังจากรู้หน้างานของตัวเองแล้ว
ก็ต้องระลึกอยู่เสมอว่า งานนั้นเป็นเรื่องที่เรารับผิดชอบ

ตื่นเช้ามา เข้าไปทำงาน ต้องตรวจดูทะเบียนหนังสือเข้าฝ่ายทุกครั้งที่เข้าสำนักงาน
ทำให้เป็นนิสัย
จะให้ดี ดูทั้งตอนเช้า กับตอนบ่าย
ดูว่าเรื่องใหนเกี่ยวกับเรา ก็ตามต่อให้เจอ
หลายครั้งที่ หน.ฝ่าย ก็แทงหนังสือผิดคน หรือบางทีก็ไม่แทงผู้รับผิดชอบ ยื่นให้กับมือ
หรือ มากกว่านั้น คือ หน.ฝ่าย ไม่อยู่ ก็ไม่ได้แทงหนังสือให้ พวกที่อยู่ฝ่าย ก็คว้าเอาตามใจชอบ

"หนังสือที่ไม่ผ่านการกเษียณ(แทง)โดย หนฝ. เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติได้"

เช่นเดียวกัน สำหรับ หนฝ.
"หนังสือที่ไม่ผ่านการกเษียณ(แทง)โดย นพ.สสจ./รอง สสจ. ผู้ปฏิบัติราชการแทน ก็เป็นอันตรายต่อ หนฝ.ได้เหมือนกัน"

คำถามคือ "ทำยังไงกับหนังสือที่ไม่ได้แทง?"
คำตอบคือ "ก็ส่งกลับ หรือ ถือไปให้แทงหนังสือ โดยเร็ว ทันทีที่มีโอกาส"


โดยเฉพาะ นพ.สสจ. มือเก๋า เวลาจะสั่งให้ทำอะไรที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาในอนาคต
จะไม่แทงคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร จะสั่งการด้วยวาจา

"ถ้าเจออย่างนี้ แล้วหาโอกาสให้แทงคำสั่ง(ที่ไม่ชอบนั้น) ยังไงก็ไม่ได้
ทำไง?"
โปรดติดตาม
:D :D

เภสัชกร สสจ.ไม่อันตราย

โพสต์โพสต์แล้ว: 13 ส.ค. 2006, 10:45
โดย kohboy
ถุย!ชีวิต`` เขียน:ผม น้องใหม่ เภสัชกร สสจ. ..
...
ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ...

พอดีไม่รู้ว่าน้องอยู่จังหวัดไหน

ถ้า..อยู่อีสาน
ช่วงแรกนี้พยายามไปประชุม,ไปเจอพี่ๆ เภสัช สสจ.บ่อยๆนะครับ
ทางอีสานเค้ามีธรรมเนียมการช่วยเหลือกัน...สูงมาก

เภสัชกร สสจ.ไม่อันตราย

โพสต์โพสต์แล้ว: 13 ส.ค. 2006, 11:22
โดย kohboy
ผมได้มาจาก
http://syllabus.swu.ac.th/47_1/16191650 ... llabus.htm

เอามาแปะไว้ให้ดู
เผื่อใครสนใจอยากหาตำราเกี่ยวกับกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเภสักรที่รับราชการอยู่ครับ

1) ขบวน พลตรี. มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2537.
2) คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาฯ. สังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
3) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 11. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2530.
4) วัชรา คลายนาทร. สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์วัฒนาพานิช, 2530.
5) สุพัตรา สุภาพ. สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2537.
6) กลุ่มนิติการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รวมกฎหมายอาหารและยา. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 2537.
7) ธวัชชัย สัตยสมบูรณ์ (บรรณาธิการ). กฎหมายสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : บริษัทประชุมช่างจำกัด, 2542.
8) ธีระ ศรีธรรมรักษ์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2540.
9) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 18. นนทบุรี :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2535.
10) ยุทธนา พูนทอง. กฎหมายกับชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. พระนครศรีอยุธยา : สำนักพิมพ์นิติยุทธ์, 2535.
11) สุนทร มณีสวัสดิ์, สงวน สุทธิเลิศอรุณ และฐิติพงษ์ ธรรมานุสรณ์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ
กฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดทิพยวิสุทธิ์, 2543.
12) สุนทรี ท.ชัยสัมฤทธิ์โชค และคณะ (บรรณาธิการ). ประมวลกฎหมายสำหรับเภสัชกร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
13) สุวงศ์ ศาสตรวาหา และ สุรชาติ ณ หนองคาย. กฎหมายสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์, 2533.

เภสัชกร สสจ.ไม่อันตราย

โพสต์โพสต์แล้ว: 13 ส.ค. 2006, 11:34
โดย kohboy
รายชื่อหนังสือหนังหาที่ควรมีใน สสจ.
มีอีกที่นึง
จัดเป็นหมวดไว้ให้เลย

ที่นี่ครับ
http://www.pha.nu.ac.th/practice/Law/law44.pdf

เภสัชกร สสจ.ไม่อันตราย

โพสต์โพสต์แล้ว: 13 ส.ค. 2006, 14:24
โดย kohboy
kohboy เขียน:...
โดยเฉพาะ นพ.สสจ. มือเก๋า เวลาจะสั่งให้ทำอะไรที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาในอนาคต
จะไม่แทงคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร จะสั่งการด้วยวาจา

"ถ้าเจออย่างนี้ แล้วหาโอกาสให้แทงคำสั่ง(ที่ไม่ชอบนั้น) ยังไงก็ไม่ได้
ทำไง?"
โปรดติดตาม
:D :D


กรณีเราได้รับคำสั่ง ให้ทำอะไรที่ไม่ชอบ
แต่ ด้วยความที่เราเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ที่จำเป็นต้องทำตามสั่ง

เทคนิค ที่ง่ายและปลอดภัยที่สุด
ทำงี้ครับ

ทำบันทึกเสนอไปยังเจ้านาย((ที่ออกคำสั่งต่อเรา) ว่าเราจะทำอะไรบ้าง
ยกตัวอย่างการทำบันทึก ดังต่อไปนี้ครับ..

"
เรื่อง การปฏิบัติงาน.......
เรียน นพ.สสจ....

ตามที่ท่านได้มีบัญชาให้ข้าพเจ้า นาย..........ดำเนินการ.............................นั้น
ข้าพเจ้า ขอเรียนท่านเพื่อทราบถึงวิธีการดำเนินการ.......................ดังนี้
1........................
2........................
3.......................
......
.......
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาสั่งการเพิ่มเติม


ลงชื่อ นาย....(ชื่อเรา)..............

"


-บันทึกฉบับนี้ จะเป็นเกราะกำบังให้เราได้ดีมั่กๆๆ
-หากเป็น ลูกฝ่าย ก็ให้ หนฝ.เซ็นต์ผ่านบันทึก ก่อนนำเสนอ นพ.สสจ.ด้วย
-หากเร่งด่วน หรือ นพ. สสจ.ไม่อยู่ ก็ให้เลขาหน้าห้อง ลงชื่อรับบันทึกไว้ (เพราะหน้าห้องรับหนังสือ เทียบเท่ากับ นพ.สสจ.รับหนังสือ)

Re: เภสัชกร สสจ.ไม่อันตราย

โพสต์โพสต์แล้ว: 01 ก.ย. 2006, 10:17
โดย PR
หนับหนุนอย่างยิ่ง

    สมัยที่ยังทำงาน  Premarketing ของฝ่าย
    เต้นแอโรบิคเองอยู่ดีๆ    พอมายุคหมอหน่อย    นายก็ให้ไปนำเต้นแอโรบิคของ สสจ.และงานที่มีการรณรงค์
    สักพัก      แม่บ้านสา'สุข เชิญไปเป็นพิธีกรประจำงานของแม่บ้าน
   
    ลาไปเลี้ยงลูกกลับมา  ได้ทำงาน Post
      ออกไปตรวจจับ  กับ ตชด.
    งานส่งเสริมก็เชิญไปเป็นพรีเซนเตอร์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
    งานประกันก็แต่งตั้งให้เป็นคณะผู้เจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของ  สนง.
    งานตัวเองก็เตรียมไปศาล  ขอหมายค้นคลินิกทำแท้ง
    ว่าแล้วอาทิตย์หน้าศาลากลางจังหวัดก็ให้ไปไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของ สคบ.อีก
   
    ชักจะหลงๆ ลืมๆไปว่ายังเป็นเภสัช สสจ.อยู่

Re: เภสัชกร สสจ.ไม่อันตราย

โพสต์โพสต์แล้ว: 05 ก.ย. 2006, 10:14
โดย chaoya
แหม  อยากได้งานอย่างน้อง  PR มั่งจัง

ทำได้ทุกอย่างเลย  นอกจากงานในหน้าที่

Re: เภสัชกร สสจ.ไม่อันตราย

โพสต์โพสต์แล้ว: 10 ก.ย. 2006, 18:21
โดย azzuri
วันนี้สำเร็จไปหนึ่งเคล็ดวิชา

ขอคาราวะท่านพี่