New Document









Optimal tablet press operation : Machine versus granulation

บทความทางเภสัชศาสตร์ และบทความทั่วไป

Optimal tablet press operation : Machine versus granulation

โพสต์โดย jusuran » 21 ก.ค. 2006, 18:52

วันนี้มีโอกาสว่างเนื่องจากกลับบ้านเร็ว แถมยังเข้าบ้านไม่ได้เพราะกุญแจบ้านติดกับกุญแจรถที่เอาไปเข้าอู่ เลยนั่งฆ่าเวลาในร้านเน็ต รอน้องชายที่แสนดีมาเปิดบ้านให้ ตอนนี้กรุงเทพและนนทบุรีกำลังมีฝนประปรายค่ะ เลยมีเวลามานั่งพิมพ์หัวข้อใหม่

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณสำหรับกำลังใจทุกท่านนะคะ หัวข้อนี้เราจะพูดถึงความสำคัญของแกรนูลที่ส่งผลต่อการตอกยากันค่ะ

Optimal tablet press operation : Machine versus granulation
M.T. (อยากรู้ว่า M.T. เป็นใครกลับไปอ่านกระทู้แรกนะคะ)

ในการตอกยา ขั้นตอนการตอกถือเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในการผลิตยา สิ่งที่จะทำให้การตอกดำเนินไปอย่างไม่มีปัญหา ก็คือการลดอุปสรรคใดใดก็ตามที่จะไปขัดขวางการตอก ปัจจุบันมีบริษัทที่ผลิตเครื่องตอกมากกว่า 18 แห่งทั่วโลก เครื่องตอกทุกบริษัทก็จะมีหลักการพื้นฐานคล้ายๆกัน ยกเว้นความแตกต่างเล็กๆน้อยๆ ที่เป็นจุดเด่นของแต่ละบริษัท ในประเทศไทยเราเท่าที่รู้จักก็มีอย่างน้อย 2-3 แล้วมั๊ง แต่ในบทความภาษาอังกฤษบอกว่าทั่วโลกแค่ 18 โดยข้อเท็จจริงแล้ว รายละเอียดในการออกแบบสร้างเครื่องตอกและอุปกรณ์พวก punches&dies จะมีคู่มือที่ชื่อว่า Tablet specification manual (TSM) เป็นของ The American Pharmaceutical Association ดังนั้นจะถือเอามาตรฐานของ TSM เป็นที่ตั้งเกี่ยวกับคุณสมบัติของเครื่องตอก โดยบทความนี้จะเป็นเรื่องราวที่ว่า เราจะตอกยาให้ดีได้อย่างไร โดยปรับความเหมาะสมระหว่างคุณสมบัติของแกรนูลและการปรับตั้งเครื่องตอก โดยโฟกัสไปที่ คุณสมบัติการไหล compression and ejection ความจำเป็นในการบำรุงรักษาเครื่องจักรและ การตรวจสอบคุณภาพในระหว่างการผลิต

Tablet press and granulation แกรนูลกับการตอก สัมพันธ์กันอย่างไร
พูดกันว่า "พนักงานตอกเก่งๆ สามารถที่เอาแกรนูลอะไรก็ตามมาตอกเป็นเม็ดได้ และก็จะบอกกับเราได้ว่า "ที่ตอกไม่ได้อันนี้ตั้งเครื่องปรับเครื่องได้ครับ" หรือ "ที่ตอกไม่ได้อันนี้มาจากแกรนูลครับ" ปัญหาของแกรนูลหลายๆ ประการสามารถที่จะแก้ไขได้โดยการปรับเครื่องตอก ทำให้สามารถดำเนินการตอกได้อย่างต่อเนื่องและไม่พบปัญหา ติดสาก (picking), แยกฝา(capping), น้ำหนักวิ่ง ( weight variation), ความแข็งไม่สม่ำเสมอ ( hardness variation) แต่อย่างไรก็ตาม หากเราต้องการผลิตเม็ดยาที่ดี ใช้เวลาในการผลิตน้อยลง สิ่งที่หัวหน้างานอย่างเราๆท่านๆ ต้องคำนึงถึงก็คือ ทำได้ไหม และ ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้มันเกิดขึ้นได้
สิ่งแรกที่ต้องคำนึงที่จะทำให้การตอกยาดำเนินไปได้ก็คือ ความสะอาด ค่ะ เครื่องตอกของคุณยังสะอาดเอี่ยมดีหรือไม่ มีคราบสนิมหรือเศษฝุ่นยาจับเขรอะอยู่หรือเปล่าน้า นอกจากเครื่องจะสะอาดแล้ว เครื่องตอกติดตั้งอย่างถูกต้องหรือไม่ แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็ไม่ควรมองข้ามนะคะ เพราะว่า 2 ใน 3 ที่เครื่องตอกทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพก็เพราะเรื่องความสะอาดและการติดตั้ง อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงและต้องคิดถึงอย่างแน่นอนก็คือ ความแตกต่างของแกรนูล และ ความต่างยี่ห้อของเครื่องตอก

หน้าที่ของเครื่องตอก
ในการตอกมีหลักพื้นฐาน 3 อย่าง คือ แกรนูลไหลสู่เบ้า---> เกิดการตอก ---> ถูกเตะออกจากเครื่อง มีรูปประกอบรูปที่ 1 ค่ะ แต่ยังแปะไม่ได้ต้องกลับไปทำที่บ้าน ชุดอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับกระบวนการตอกก็คือ feed system, compression station และ ชุดตัวเตะเม็ดยาที่ทำให้เม็ดยาหลุดออกจาก die อย่างปลอดภัย

เอาไว้มาต่อวันหลังค่ะ น้องชายโทรตามแล้ว

กลับมาแปะรูปกับแก้ไขคำผิดค่ะ
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก







Optimal tablet press operation : Machine versus granulation

โพสต์โดย jusuran » 21 ก.ค. 2006, 20:43

ลำดับในการทำงานของเครื่องตอกเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาในการแก้ปัญหาต่างๆ ตัวอย่างเช่น สิ่งสำคัญในการตอกเม็ดยาต้องได้น้ำหนักคงที่ มีความแข็งที่ดี สุดท้ายการปรับตั้งความเร็วในการตอกจึงนำมาใช้เพื่อที่จะให้การตอกทำได้ไวยิ่งขึ้น การไหลของแกรนูลต้องดีอย่างไร สมมติว่า เราตอกยาที่ความเร็วเฉลี่ย 3000 เม็ด/นาที แสดงว่า 1 วินาทีจะได้ยา 50 เม็ด แล้วถ้าน้ำหนักยา 50 เม็ดคือปริมาณแกรนูล ก็จะคำนวณได้ว่าการไหลควรเป็นเท่าใด คิดย้อนกลับ ถ้าเราทราบการไหลคร่าวๆ ของแกรนูล เราก็จะใช้เป็นข้อมูลในการปรับความเร็วในการตอกยาได้ ( ในเครื่องตอกที่ไม่มี ตัวใบพัด อาศัยการไหลจากแรงโน้มถ่วงอย่างเดียว เช่นพวก ZP19 ทั้งหลาย ดังนั้นส่วนใหญ่แกรนูลที่ถูกพัฒนาและใช้ได้กับเครื่องตอกในแล็บ บางครั้งจะไม่สามารถตอกได้ดีในเครื่องตอกประเภท high speed machine ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนเรื่องความสามารถในการไหลของแกรนูล แต่มีเครื่องตอกบางแบบที่มีข้อดีก็คือ มีชุดอุปกรณ์ช่วยเพิ่มการไหลของแกรนูล ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้บ้าง แต่ไม่เสมอไปนะคะ

การไหล นอกจากแรงโน้มถ่วง จะควบคุมได้อย่างไร?

The press feed system เป็นอุปกรณ์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการไหลของแกรนูลและความเร็วในการตอกยาประกอบด้วย hopper, feeder, fill cam, weight cam, scrapper blade และ recirculation channel ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องตอก อยู่ในตอนแรก จะไม่เขียนซ้ำนะคะ ส่วนอื่นๆ ก็คือ
การควบคุมอนุภาคฝุ่น ฝุ่นยาในการตอกมีศัพท์ที่เรียกว่า fines ไอ้เจ้า fines ที่ว่านี้ก็คือ fine particles ที่ง่ายต่อการเปลี่ยนเป็น airborne ถ้ามีไอ้เจ้า fines มากๆ แบบมีทั้งแกรนูลใหญ่เล็ก แถม %fines สูงๆ ข้อบกพร่องของการตอกที่พบบ่อยๆ ก็คือ น้ำหนักวิ่ง ความแข็งไม่สม่ำเสมอ แยกฝา ติดหน้าสาก(picking) ติดเบ้า ( sticking) บางทีก็ content uniformity ไม่ดี เพราะว่าแกรนูลเล็กใหญ่มันไหลไม่เท่ากัน

รูปแบบการไหลของแกรนูล ( flow pattern)
ในขั้นตอนการวนรอบตอกใหม่ การทำงานของอุปกรณ์ตัว scrapper blade มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอนุภาคแกรนูล เช่น ถ้าแกรนูลเปราะง่ายๆ ปาดทีก็แตกที รอบต่อๆไปของการตอกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดแกรนูล ซึ่งส่งผลต่อความหนาแน่น รูปแบบการไหลก็จะเปลี่ยนแปลงเพราะบางทีแกรนูลมันไม่เหมือนเดิมมี fines มากขึ้น หรือไม่ ไอ้เจ้า fines ที่ว่าก็ดูดความชื้นจากบรรยากาศ จับเป็นก้อนๆ ดังนั้นถ้าเราเลือกลูกเบี้ยวที่ทำให้เกิด overfill ได้เหมาะสม ประมาณ 10-30% ก็จะเกิดปัญหาเรื่องเปลี่ยนรูปแบบการไหลได้น้อย

รูปแบบการกระจายขนาดอนุภาค
อย่างที่เราๆท่านๆ ร่ำเรียนมาว่า
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Optimal tablet press operation : Machine versus granulation

โพสต์โดย jusuran » 23 ก.ค. 2006, 09:42

Compression ตอก ตอก และ ตอก

คิดว่าทุกคนคงเคยตอกยาด้วยเครื่องตอกเม็ดยาแบบสากเดี่ยว ที่สมัยเรียนใช้มือหมุนทีละเม็ดออกมา หรือบางมหาวิทยาลัยอาจมีมอเตอร์ กดปุ๊ง แต๊ก แต๊ก แต๊ก ออกมาทีละเม็ดแบบไม่เหนื่อยแรง สำหรับโรงงานยา เครื่องตอกสมัยใหม่นอกจากจะมีแค่ main compression rolls ที่เป็นตัวที่ทำให้เกิดการตอกอัดแบบเครื่องตอกสากเดี่ยวแล้ว ยังมีชุดอุปกรณ์ที่เรียกว่า precompression rolls เพิ่มขึ้นอีก อยากจะตะโกนบอกว่า precompression rolls ถ้าใช้ดีๆ มีประโยชน์มากเลยค่ะ

Precompression rolls ทำงานอย่างไรและเพื่ออะไร

รูปประกอบ รูปที่ 4,5,6
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Optimal tablet press operation : Machine versus granulation

โพสต์โดย jusuran » 23 ก.ค. 2006, 09:50

แปะรูปต่อ เมื่อตะกี้กดผิด
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Optimal tablet press operation : Machine versus granulation

โพสต์โดย jusuran » 23 ก.ค. 2006, 11:38

ในรูปที่ 4 เราจะเห็นการทำงานของทั้ง precompression rolls และ main compression rolls ก็อย่างที่เรารู้ๆกันนะคะ ว่าถ้าเราทำแกรนูลขนาดใหญ่ เปรียบเทียบเป็นก้อนกรวด กับเม็ดทราย เติมลงไปในบีคเกอร์ ก้อนกรวดก็จะเรียงตัวกันแบบมีช่องว่างของอากาศเยอะกว่าจริงไหมค่ะ อากาศเหล่านี้เป็นต้นเหตุแห่งยาแคปทั้งหลาย เพราะตอนตอกด้วยการตอกแบบสากเดี่ยวในแล็บ เราจะเห็นทันทีว่า อากาศมันลอยออกมาที่ด้านบนของเม็ดยา เพราะถ้าเอาเม็ดยาตัดตามขวางดูด้วย กล้องจุลทรรศน์แบบสะท้อนแสง จะเห็นความพรุนที่แตกต่างกัน เคยทำเล่นๆในแล็บดูมาแล้วค่ะ ตัว precompression rolls จะเป็นการตอกด้วยแรงเบาๆ ตุ้ง! ครั้งแรก แกรนูลจะก่อตัวเป็นเม็ดแต่ไม่แข็งนะคะ แค่เป็นเม็ด ไล่เอาอากาศบางส่วนออกมา ก่อนเกิดการตอกจริงด้วย main compression rolls ให้เม็ดยาเกิดความแข็งตามต้องการ

อีกอย่างหนึ่งที่ใช้แก้ปัญหาเรื่อง capping ก็คือ การลดเส้นผ่าศูนย์กลางของ ตัว สากบน หรือ upper punches ให้เล็กกว่าเบ้า เล็กน้อย แบบในรูปที่ 6 ค่ะ เพื่อเป็นช่องว่างให้อากาศถูกไล่ออกมาระหว่างเกิดการตอก อันนี้ทำได้จริงแต่ปัญหาก็คือถ้าชุดสากใช้งานแบบนานๆ ครั้งใช้ที มีการถอดเข้าถอดออก ทำความสะอาดไม่ถูกต้องแบบใช้กระดาษทรายขัด สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เม็ดยาของคุณก็จะเกิดขอบเหลือหลังจากตอก ขอบเม็ดยาที่เหลือทำให้ลักษณะยาออกมาไม่สวย เคลือบฟิล์มแล้วฟิล์มหลุดที่ขอบได้ง่าย เคลือบเอนเทอริคไม่ผ่าน ความกร่อนสูง สารพันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเพราะขอบเม็ด พี่ๆน้องๆ อาจเคยประสพมาแล้ว ใช่ไหมคะ


Dwell time คืออะไร


Dwell time คือ ระยะเวลาที่สากทำงานอยู่ภายใต้แรงอัด M.T. บอกว่า แกรนูลที่เป็น dwell-sensitive จะมีความแข็งเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่ม dwell time การจะบอกว่ายาตัวไหนหรือสูตรไหนเป็น dwell-sensitive ให้ทดลองปรับน้ำหนักและความแข็งให้ได้ตามสเปคก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มความเร็วในการตอก ดูความสามารถในการควบคุมน้ำหนักของเครื่องที่ถูกตั้งไว้แล้ว ถ้าความแข็งลดลงอย่างรวดเร็วขณะที่เพิ่มความเร็ว ยาตัวนั้นหรือสูตรนั้นเป็น dwell-sensitive

ยาเม็ดใหญ่จะให้ dwell time ที่นานกว่า แน่นอนอยู่แล้วว่า เราต้องใช้แรงตอกยาเม็ดใหญ่มากกว่ายาเม็ดเล็ก ดังนั้นการตอกยาเม็ดใหญ่แต่ละเม็ดจึงทำได้ช้ากว่ายาเม็ดเล็ก ต้องชี้แจงแถลงไขให้ผู้บริหารทราบดีๆ นะคะว่า บริษัทที่ขายเครื่องตอกบอกว่าเครื่องตอกเค้าตอกได้เท่าโน้นเท่านี้ต่อนาที เค้าเอาอะไรมาตอก และไอ้ที่ตอกน่ะเม็ดแค่ไหน ทำยาจริงน่ะมันไม่ได้อย่างที่โฆษณาหรอกนะคะ

มีคนเปรียบเทียบว่าการตอกเม็ดก็เหมือนกับการทำ snowball ลูกบอลหิมะ บ้านเราคงไม่มีให้เห็น เอาอะไรเปรียบเทียบดีน้า... เขาบอกว่า เด็กๆ รู้ดีว่า ถ้าเกล็ดหิมะเปียกๆ ใหญ่ๆ จะทำลูกบอลหิมะได้ง่ายและเร็ว แต่ถ้ามันแห้งๆ เบาๆ และเด็กๆ ใช้แรงอัดเท่ากับที่ใช้กับหิมะเปียกๆ นั้น ลูกบอลหิมะที่ถูกขว้างออกไปจะไม่ไปถึงเป้าหมาย ดังนั้นถ้าเกล็ดหิมะเบาๆ ต้องใช้เวลาในการปั้นนาน (เพิ่ม dwell time) เช่นเดียวกับแกรนูล ถ้าอนุภาคแกรนูลแห้ง เบา เมื่อถ้าให้แรงตอกมากๆ เกินไป แกรนูลก็จะแตกแกิดการแยกชั้น (laminate) ดังนั้นในการตอกยาอะไรก็ตาม คุณต้องทราบคุณสมบัติของสูตรนั้นๆ ก่อน

บางครั้งเราจะพบว่าในแกรนูลรุ่นการผลิตเดียวกันมีความชื้นในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน บางที่ชื้น บางที่แห้ง บางรุ่นอาจมีแบบ 3 กะษัตแบบหุงข้าว ก้นแฉะ กลางพอดี บนแห้ง อันนี้สำคัญนะคะ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาในการตอกที่เราไม่สามารถระบุสาเหตุได้

บทความนี้บอกว่า การจะตอกยาอะไร คนตอกยากับคนผสมแกรนูลต้องสื่อสารกันให้เข้าใจว่า ปัญหาในการตอกเกิดจากแกรนูลจริงหรือไม่ ดังนั้นคนกลางอย่างหัวหน้างานจึงเป็นคนสำคัญที่จะสื่อสารระหว่าง 2 แผนกให้เข้าใจตรงกัน

Ejection ชู๊ตให้กระเด็น

หลังจากเกิดการตอก สากล่างเลื่อนขึ้นเพื่อขับเม็ดยาออกจากเบ้า และถูกเตะไปสู่เครื่องกำจัดฝุ่นบนเม็ดยา สิ่งที่เกี่ยวข้องก็คือ ejection cam ความยาวของสากล่าง สภาพของสากล่าง take-off blade ความเร็วในการตอก และ สารหล่อลื่นในสูตร

ปัญหาที่พบจากการ ejection คือ ติดเบ้า (stricking) กับ ติดสาก (pcking) ซึ่งพบมากถ้าแกรนูลมันไม่แห้งพอ การเติมสารหล่อลื่นแบบแห้งจะช่วยลดการเกิดปัญหาทั้งสองนี้
อีกประการหนึ่งก็คือ ตัว take-off blade ซึ่งเป็นตัวเตะเม็ดออกหลังจากยาเลื่อนออกมาจากเบ้า ต้องสะอาดและได้ระดับ เพราะถ้าตั้งให้สูงเกินไปเม็ดยาจะเลื่อนกระเด็นผิดทิศทางหรือบางครั้งก็จะแตกออก

อะไรคือเม็ดยาที่ดี (good tablets)


1. น้ำหนักดี สามารถควบคุมน้ำหนักในการตอกได้อย่างสม่ำเสมอตลอดการตอก ต้องทำให้ได้เป็นอย่างแรกในการตอกยา
2. ความแข็งดี สม่ำเสมอ ปัจจัยในการควบคุมความแข็งคือ น้ำหนัก,ความหนา,ความยาวของสาก,ความเร็วในการตอก, upper-punch penatration (ไม่รู้จะเรียกอะไรดี) และสภาพของเบ้า อย่าพึ่งแก้ปัญหาเรื่องความแข็ง ถ้าคุณยังปรับน้ำหนักให้ดีไม่ได้
3. ความหนาและความยาวของสาก ควรมีการตรวจสอบสภาพและความยาวของสากตั้งแต่รับเข้า และหลังการใช้งานทุกครั้ง ว่ายังคงมีความยาวเท่าเดิม สภาพปกติหรือไม่ บทความนี้บอกว่า สากชุดใหม่จากโรงงานผู้ผลิต มีช่วงความยาวที่ยอมรับได้คือทุกสากเบี่ยงเบนจากค่าต่ำสุดได้ไม่เกิน 0.001 นิ้ว ในบางบริษัทแนะนำว่าถ้าใช้งานแล้ว มีความเบี่ยงเบนมากกว่า 0.004 นิ้ว ก็จำหน่ายทิ้งได้แล้ว
4. Dwell time ก็อย่างที่บอกไว้ตอนต้นแล้วว่า สัมพันธ์กับแรงตอกและความเร็วในการตอก ยาแต่ละตัวแตกต่างกัน
5. Upper-punch penatateion คือระยะที่สากบนเลื่อนเข้าไปในเบ้าขณะเกิดการตอก เครื่องตอกรุ่นเก่าจะไม่สามารถปรับได้ ระยะจะคงที่ที่ประมาณ 6 มม. แต่เครื่องจักรรุ่นใหม่สามารถปรับได้ เพราะถ้าระยะ 6 มม. ลึกเกินไป อากาศที่อยู่ในแกรนูลขณะตอกอัดจะใช้ระยะทางในการหนีออกจากเม็ดมากกว่า อย่างรูปที่ 6 เมื่อเกิดการตอก อากาศจะไหลออกมาถ้าระยะสากบนเข้าไปลึกระยะการหนีของอากาศจะมาก หรือคือ มันหนีไม่ทันนั่นเอง การตั้งสากบนให้มีระยะน้อยกว่า 6 มม. มีข้อดีอีกอย่างคือ เพิ่มความเร็วในการชักสากออก ซึ่งก็คือเพิ่มอัตราเร็วในการตอกนั่นเอง
6. สภาพของเบ้า สะอาด เรียบและเงา คือเป้าหมายในการผลิตยาเม็ดที่ดี

เกือบจบแล้วค่ะ ต่อไปคือบทบาทของหัวหน้างานและพนักงาน
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Optimal tablet press operation : Machine versus granulation

โพสต์โดย jusuran » 23 ก.ค. 2006, 23:20

บทบาทของหัวหน้างานและพนักงาน

สิ่งที่ผู้ที่เป็นหัวหน้างานและพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการตอกควรทำ มีดังนี้

- ตรวจสอบทุกชิ้นส่วนและทุกพื้นที่ของเครื่องจักร สะอาดดีไหม ชิ้นส่วนที่เป็นโลหะยังสมบูรณ์อยู่หรือไม่ ยังดูเป็นมันเงาอยู่หรือเปล่า เพราะชิ้นส่วนโลหะที่อยู่ในสภาพไม่ดีจะมีการสึกหรอ ผิวด้านหยาบ ดูทึมๆ ไม่เงางาม และอาจเปลี่ยนสี
- ตรวจสอบสากและเบ้าทุกชิ้น ตรวจสอบช่องใส่สากล่างโดยใช้ไฟฉายและกระจกส่องมองดูคราบยาที่อาจไปจับอยู่ภายใต้ช่องใส่สาก
- ถ้าเครื่องตอกพ้นระยะประกันไปแล้ว อย่ารันเครื่องตอกเปล่าๆ แม้ว่าผู้ผลิตเครื่องจะบอกว่าทำได้ก็ตาม มันไม่ปลอดภัยกับเครื่องถ้าไม่มียาหรือแป้งอยู่ในระบบ
- ในการตั้งเครื่องตอกช่วงแรกให้หมุนเครื่องช้าๆ ฟังเสียงการตอก ถ้ามีเสียงเหมือนโลหะกระทบกัน ให้หยุดเครื่องทันที นี่แหล่ะปัญหา ต้องแก้ให้เสร็จก่อนนะคะ แล้วค่อยคิดจะตอก อันนี้บอกไม่ได้เหมือนกันค่ะ ฟังบ่อยๆ ก็จะรู้ไปเองว่า ปกติหรือเปล่า บางครั้งการฟังเสียงเครื่องตอกเราจะทราบได้ทันทีว่าแกรนูลมันแห้งไปหรือชื้นไปหรือไม่ แรงอัดมากไปหรือเปล่า แกรนูลแข็งเวลาตอกเสียงการตอกก็จะดูหนักๆ แบบใช้แรงอัดเยอะๆ มากกว่าแกรนูลที่อ่อนๆ แต่อันหลังนี้ไม่เคยสังเกตแฮะ
- เช็คน้ำหนักเม็ดยาบ่อยๆ และทำเป็นประจำอาจจะทุก 20-30 นาที/ครั้ง
- ตรวจสอบที่เม็ดยา มีจุดสีดำหรือสีเทาหรือไม่ การเปลี่ยนสีเหล่านี้อาจเกิดจากการเสียดสีของแกรนูลกับ Die table , สารหล่อลื่นไม่เพียงพอ, ใส่สากไม่เข้าชุดกับเบ้า, หรือเกิดจากโลหะกระทบเสียดสีกันเอง

พนักงานตอกยามืออาชีพ ส่วนใหญ่จะรู้ว่า ควรจะปรับตั้งเครื่องตอกอย่างไรเพื่อให้การตอกที่ดีที่สุด และ พนักงานที่ดีก็จะรู้ว่า ฝุ่นยาที่เกิดจากแกรนูล หรือเกิดจากการตอกก่อให้เกิดปัญหาอย่างไร เมื่อใดที่ควรจะทำความสะอาดเครื่อง เมื่อเกิดปัญหาจะเรียบแก้ไขโดยไม่ปล่อยปัญหาให้เกิดขึ้นในการทำงานครั้งต่อไป ฝึกให้เกิดการสังเกตและเฝ้าดูการตอกอย่างเป็นประจำตั้งแต่การทำความสะอาดเริ่มต้น การติดตั้งเครื่องที่ถูกต้อง การตรวจสอบน้ำหนัก ความแข็งและความหนาของเม็ด และการดูแลให้เกิดฝุ่นในการตอกให้น้อยที่สุดในระบบการตอก

ในห้องตอกคุณอาจได้ยินคำพูดเหล่านี้
[i]
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Optimal tablet press operation : Machine versus granulation

โพสต์โดย jusuran » 27 ก.ค. 2006, 21:12

ได้ยินว่ามีคนติดตามอ่านอยู่ก็ดีใจแล้วค่ะ เจอหัวข้อที่น่าสนใจต่อแล้วค่ะ ว่าจะเขียนเรื่อง The granulation 101 : Basic technologies for tablet making
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก


ย้อนกลับไปยัง อาราบิก้า

ผู้ใช้งานขณะนี้

cron
New Document