New Document









Tablet press operation

บทความทางเภสัชศาสตร์ และบทความทั่วไป

Tablet press operation

โพสต์โดย jusuran » 10 ก.ค. 2006, 19:28

Tablet press operation
Michael D. Tousey


การตอกยาเม็ดในโรงงาน พบว่ามีปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็น ความไม่สม่ำเสมอของน้ำหนักเม็ด การที่เม็ดยามีการติดที่ผิวหน้าของสาก การที่มีผงหรือแกรนูลยาหลุดออกจากผิวเม็ดยา การแยกชั้น การแยกฝา ความแข็งไม่สม่ำเสมอ จุดดำ เม็ดยาแตก ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ถ้าทราบสาเหตุ ก็สามารถที่จะป้องกันและแก้ไขได้ไม่ยากนัก

ผลิตภัณฑ์ยาแต่ละตัวมีพฤติกรรมในการตอกเม็ดที่แตกต่างกันไป ซึ่งหมายความได้ว่า ในการตอกยาแต่ละวันผลิตภัณฑ์เดียวกันก็อาจส่งผลการตอกได้แตกต่างกัน การเปลี่ยนแหล่งของวัตถุดิบไม่ว่าจะเป็นสาระสำคัญหรือสารช่วย ก็ส่งผลกระทบต่อผลการตอกของยา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในการผลิตยาเราพยายามที่จะลดความเบี่ยงเบนหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดความเบี่ยงเบนเหล่านี้ให้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม พนักงานตอกไม่ใช่คนที่จะไปควบคุมปัจจัยเกี่ยวกับสูตรและการทำแกรนูล เขามีหน้าที่ในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายและตอกยาให้ดีที่สุดในแต่ละวัน วันแล้ววันเล่า

น้ำหนักเม็ด และสาเหตุของความเบี่ยงเบน

ถ้าคุณเป็นฝ่ายผลิตยาเม็ด คำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดที่คุ้นเคยหรือไม่
พนักงานตอก [i]
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก







Tablet press operation

โพสต์โดย kb007 » 12 ก.ค. 2006, 20:04

อ่านแล้วนึกถึงตอนเรียนแมนนู...จัง!

ซีหนุก...จิงจิง :lol:
สู้ต่อไป...! ไอ้มดแดง
ภาพประจำตัวสมาชิก
kb007
 
โพสต์: 43
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2004, 01:10

มาทดลองแปะรูปจากสแกนเนอร์ใหม่

โพสต์โดย jusuran » 13 ก.ค. 2006, 02:13

เป็นรูปแสดงการทำงานของเครื่องตอก
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Tablet press operation

โพสต์โดย jusuran » 13 ก.ค. 2006, 02:57

โอเช ชัดแจ๋วด้วยสแกนเนอร์ Epson stylus cx3500 มาต่อที่การปรับตั้งเครื่องตอกต่อนะคะ

พนักงานตอกทุกคนพยายามที่จะทำงานของตนเองให้ดี เพื่อให้ได้เม็ดยาที่ดี แน่นอนว่าไม่มีใครที่จะตั้งใจตอกยาที่ไม่ดีออกไป แต่มีบางสิ่งที่คุณอาจคาดไม่ถึง ที่จะทำให้เกิดปัญหาความไม่สม่ำเสมอของน้ำหนักเม็ด

1. Head pressure ปัจจัยนี้มีความสัมพันธ์กับปริมาณของแกรนูลที่อยู่ใน feed system หรือ hopper ถ้าเครื่องจักรมีัปัญหา Head pressure ไม่นิ่ง ก็จะทำให้น้ำหนักเม็ดยามีปัญหาไม่สม่ำเสมอ

2. ระดับของแกรนูลใน Hopper เพื่อที่จะรักษาความนิ่งของ head pressure ก็จะต้องรักษาระดับของแกรนูลใน hopperให้คงที่ ยิ่งอยู่ในระดับเดิมและรักษาระดับอย่างตลอดเวลาก็จะทำให้การปัญหาน้ำหนักเปลี่ยนได้น้อยลง พนักงานตอกจะรู้อยู่แล้วว่า น้ำหนักยาที่อยู่ในช่วงท้ายๆ มักจะน้อยกว่าในตอนแรกๆ ที่เริ่มรันเครื่อง เพราะว่า head pressure จะลดลงเรื่่อยๆ เมื่อ แกรนูลลดระดับต่ำลง ถ้าคุณสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักเม็ดกับระดับแกรนูลใน hopper คุณก็จะรู้ว่า เครื่องตอกของคุณมีความสภาพเป็นอย่างไร และเมื่อแกรนูลใน hopper ถึงระดับใดที่ต้องปรับตั้งน้ำหนักเม็ดใหม่

3. Feeder clearance โดยทั่วไปในการตั้งค่าช่องระหว่าง feeder กับ die table จะขึ้นอยู่กับขนาดอนุภาคของแกรนูล ถ้าอนุภาคเล็กก็ควรตั้งให้ระยะชิดๆ เช่นเดียวกันขนาดอนุภาคใหญ่ขึ้นเราอาจปรับให้สูงขึ้นนิดหน่อย แต่ไม่เสมอไป เพราะยาบางตัว เป็น wax หรือ ดูดความชื้นได้ดี การปรับตั้งระยะ feeder กับ die table ที่ไม่ถูกต้องจะทำให้ผงยาจับตัวบน die table ซึ่งถ้าเกิดกรณีดังกล่าวทางเดียวที่ดีที่สุดคือ ทดลองปรับไปเรื่อยๆ จนได้ระยะที่ดีที่สุด

4. Feeder speed feeder เป็นตัวนำแกรนูลจาก hopper เข้าสู่ die table และมีใบพัดเป็นตัวควบคุม อัตราการไหลของแกรนูลเข้าสู่วงจรการตอกอัด feeder สามารถทำให้เกิดการแยกผสมของผงยา และใบพัดสามารถที่จะทำลายสภาพแกรนูล ดังนั้นกลยุทธในการปรับตั้งก็คือ ปรับให้ช้าที่สุดที่จะดำรงไว้ซึ่งเม็ดยาที่มีน้ำหนักเม็ดที่ดี การปรับ feeder speed เร็วเกินไป ก็จะทำให้เกิด overfilling อย่างรูปที่ 2

วันนี้พอก่อนค่ะ ดึกแล้ว มาทดลองสแกนเนอร์กับลองแปะภาพดู
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Tablet press operation

โพสต์โดย Wiz@rd. » 13 ก.ค. 2006, 20:17

จะมีปัจจัยเรื่อง

พนักงานฝ่ายผลิต
เภสัชกรฝ่ายผลิต
หัวหน้าเภสัชกรฝ่ายผลิต
เภสัชกรฝ่าย R&D ที่ต้องไปทำงานฝ่ายผลิต <--- เอ๊ะ ใคร คุ้นๆ
ผู้จัดการบริษัท
อื่นๆ

ด้วยไม๊ จะคอยอ่าน !!!

555
ภาพประจำตัวสมาชิก
Wiz@rd.
Global Moderator
 
โพสต์: 942
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2004, 20:15
ที่อยู่: โลก

Tablet press operation

โพสต์โดย jusuran » 16 ก.ค. 2006, 18:48

เภสัชกรฝ่าย R&D ที่ต้องไปทำงานฝ่ายผลิต <--- เอ๊ะ ใคร คุ้นๆ


Mr. Wizard ขอบคุณสำหรับกำลังใจ นับถอยหลัง อีกแค่ไม่ถึง 30 วัน ก็หลุดพ้นแล้ว เย้ๆๆ

มาต่อบทความจากคราวที่แล้วค่ะ

5. Fill cam ไม่รู้จะเรียกภาษาไทยว่าอะไร เอาเป็นว่าใช้คำว่าลูกเบี้ยวก็แล้วกันค่ะ จากรูปที่ 1 ตำแหน่งที่ 3 เมื่อ Fill cam ลดระดับต่ำลง lower punch จะเลื่อนลงให้แกรนูลไหลลงสู่ die ปริมาณที่แกรนูลไหลสู่เบ้า โดยปกติจะมากกว่าน้ำหนักแกรนูลจริงที่ต้องการ เมื่อมีการปรับที่ตัวปรับน้ำหนัก แกรนูลส่วนที่เกินจะถูกปาดออก โดยปกติแล้วการตั้ง fill cam จะตั้งให้แกรนูลเกิดการ overfill ประมาณ 10-30% ของน้ำหนักเม็ดที่ต้องการ การปรับ fill cam ต้องคำนึงถึงรูปร่างของเม็ดยาด้วย เช่น ที่น้ำหนักเม็ดเท่ากัน เม็ดยากลมแบนอาจปรับ fill cam ได้ตื้นกว่าเม็ดยาที่เป็นแบบกลมนูน

6. สภาพตัวปาดแกรนูล (scraper blade condition) เป็นตัวที่ทำหน้าที่ ปาดแกรนูลส่วนที่น้ำหนักเกินให้กลับสู่ระบบการหมุนของเครื่องตอกในรอบต่อไป สิ่งสำคัญคือ ต้องสะอาดปราศจากฝุ่นที่มาเกาะ และติดตั้งอย่างถูกต้อง ถ้าเป็นไปได้พยายามตรวจสอบสภาพความสึกหรอทุกครั้งที่มีการถอดเข้าถอดออกจากเครื่องตอก

7. การหมุนรอบใหม่ ( Re-circulation) หลังจากการทำงานของตัวปาดแกรนูล วงจรการทำงานของเครื่องตอกก็จะวนเข้าสู่รอบใหม่อีกครั้ง เป็นเช่นนี้ตลอดการตอก ซึ่งถ้าแกรนูลมีการไหลไม่ดีพอ สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ แกรนูลไหลไม่เต็มเบ้า บ้างก็ล้นเบ้า บ้างก็เกิดการจับกันเป็นก้อน บ้างก็กลายเป็นฝุ่นรั่วไหลออกไป บางทีก็เกิดการแยกผสมของแกรนูล หรือแกรนูลถูกทำลายสภาพเดิม ทั้งหมดนี้ทำให้การผลิตเกิดปัญหาได้ทั้งสิ้น

Michael D. Tousey ได้บอกไว้ว่า เพื่อที่จะมองให้เห็นถึงการทำงานของเครื่องตอก การไหลของแกรนูลให้ใช้ strobe light ส่องดู (รูปที่ 3) มันคืออะไรก็ไม่รู้หน้าตาคล้ายๆ ไฟฉาย

นอกจากปัญหาในเรื่องของปัจจัยเครื่องจักรยังมีปัญหามาจากแกรนูลที่มาจากการผสม โดยมาก พนักงานก็จะมีคำถามแบบนี้

พนักงาน คราวหน้า ปัญหาเกิดจากแผนกผสม แกรนูลไม่ดีพอที่จะตอกได้ แล้วจะให้ผมทำอย่างไร?
หัวหน้า อืม....คราวหน้าหรือ? คงไม่เกิดขึ้นเร็วๆ นี้หรอก

ในโลกแห่งความจริง เราคงต้องจัดการแก้ปัญหา เพื่อที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก สิ่งแรกที่ต้องจำไว้คือ ถ้าจะเปลี่ยนพารามิเตอร์อะไร ให้เปลี่ยนทีละอย่างเท่านั้น ขั้นต่อไปคือ ติดตามผลการตอกอย่างใกล้ชิด สังเกตรูปแบบของน้ำหนักที่เกิดการเบี่ยงเบน โดยให้บันทึกน้ำหนักแต่ละเม็ด ดูการเบี่ยงเบนจากกราฟมาตรฐานระฆังคว่ำ ในแต่ละช่วงการตอก แนวโน้มในการเกิดน้ำหนักต่ำหรือสูงกว่าที่กำหนดไปในแนวทางใดมากกว่ากัน

บางทีคุณอาจจะคิดว่า "ถ้าเรามีเครื่องควบคุมน้ำหนักเม็ดอัตโนมัติติดไว้ที่เครื่องตอกเลยก็ดีนะ" คุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เครื่องควบคุมน้ำหนักเม็ดยาอัตโนมัติที่ว่านี้ทำอย่างอย่างไร หลักการทำงานของเครื่องที่ว่านี้จะขึ้นอยู่กับ compression force ถ้าเมื่อใดที่ compression force ต่ำกว่าที่กำหนด สัญญาณไฟฟ้าจะไปบอกให้เกิดการปรับลูกเบี้ยวให้เพิ่ม ปริมาณแกรนูลที่ไหลสู่เบ้า ในทางตรงกันข้าม ถ้า compression force สูงกว่าที่กำหนด สัญญาณไฟฟ้าจะไปกำหนดให้ลูกเบี้ยวสูงขึ้นเพื่อลดปริมาณแกรนูลที่จะไหลสู่เบ้า การใช้ตัวควบคุมน้ำหนักอัตโนมัติ สิ่งที่สำคัญคือ ความหนาแน่นของแกรนูล ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่น ก็หมายถึงปริมาตรแกรนูลก็เปลี่ยนไปด้วย ตัวควบคุมน้ำหนักที่ใช้ก็จะเพี้ยนไป

การแก้ไขเรื่องน้ำหนักไม่สม่ำเสมอโดยการปรับเครื่องตอกอีกวิธีหนึ่งก็คือ การลดความเร็วในการตอก วิธีการนี้ไม่ใช่วิธีที่ผู้บริหารชอบ แม้ว่าเราจะรู้ว่าการที่บริษัทซื้อเครื่องตอกใหม่ๆ มาก็หวังที่จะให้เกิดการตอกให้เร็วขึ้น แต่ผลิตภัณฑ์ยาแต่ละตัว แต่ละสูตร มีความสามารถในการตอกที่แตกต่างกัน บางสูตรไม่สามารถที่จะตอกยาได้เร็ว ดังนั้นถ้าคุณอยากได้ยาที่มีผลการตอกดี (good tablets) มากกว่ายาที่ต้องการเร็วๆ (fast tablets) ก็ต้องยอมตอกช้าเท่าที่ผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือสูตรนั้นๆ ยอมให้ตอกได้

คราวหน้ามาต่อเรื่องความแข็ง
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Tablet press operation

โพสต์โดย jusuran » 16 ก.ค. 2006, 19:45

ความแข็งของเม็ดยา ว้า... ทุกทีก็แข็ง ทำไมตอกคราวนี้ไม่แข็งน้า..

เม็ดยาไม่แข็ง หรือความแข็งไม่สม่ำเสมอ ถือเป็นข้อบกพร่องที่เกิดจากหลายๆ สาเหตุ เช่น น้ำหนักเม็ด ความหนาแน่นของแกรนูล dwell time ความหนาของเม็ดยา ระยะการใช้งานของ punches and dies

การเพิ่มความแข็งเม็ดยา วิธีที่ทำได้คือ
1. เพิ่มน้ำหนักเม็ด แน่นอนว่าน้ำหนักเม็ดมากขึ้น ความแข็งย่อมเพิ่มขึ้น แต่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่น่าทำที่สุด เพราะ การเพิ่มน้ำหนักเม็ดยาจะทำให้ยามีโอกาสที่น้ำหนักเม็ดหรือผลการวิเคราะห์จะสูงเกินสเปคได้

2. การเพิ่ม dwell time ก็คือตอกช้าๆ แน่นอนว่า เจ้านายไม่ชอบแน่

3. Michael D. Tousey แนะนำว่า ให้ลดความหนาของเม็ด โดยการเพิ่ม main compression ถ้าได้น้ำหนักเม็ดที่ต้องการแล้ว ก็ให้เพิ่มแรง ที่ precompression roller ซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการปรับนี้คือ ความแข็งเพิ่ม ความหนาลด ความเร็วในการตอกลด แต่น้ำหนักจะคงที่เท่าเดิม

สุดท้ายในสิ่งที่อย่างไรก็ต้องดูแล ก็คือ สภาพของอุปกรณ์ ต้องอยู่ในสภาพดีเสมอทุกครั้งที่ใช้งาน สรุปแล้ว ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องความแข็ง ให้ดูอย่างแรกที่น้ำหนักเม็ดว่า สม่ำเสมอหรือไม่ ถ้าน้ำหนักคงที่ ให้ดูที่ความหนา ถ้าความหนาสม่ำเสมอดี ให้ลดความหนาที่ precompression


Particle size ขนาดอนุภาค สำคัญไฉน


Michael D. Tousey บอกว่า การที่อนุภาคของแกรนูลมีการกระจายขนาดแบบปกติ และมีขนาดที่เหมาะสมจะทำให้เกิดการผลการตอกที่ดี เพราะถ้าเม็ดแกรนูลใหญ่เกินไป คุณก็จะได้เม็ดยาที่มีปัญหาเรื่องการละลาย การกระจายตัว เม็ดยาพรุน แต่ถ้าแกรนูลละเอียดเกินไป ก็จะเกิดปัญหาในการตอก ดังนั้นยาแต่ละสูตรจึงต้องมีช่วงแกรนูลที่เหมาะสมกับตัวของมันเอง โดยปกติ ถ้าเราพูดถึงยาที่มีขนาดเล็ก ขนาดแกรนูลก็ควรจะเล็ก ยาเม็ดใหญ่ แกรนูลควรจะใหญ่ แต่ขนาดอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 200 mesh ( 74 micron) ก็จะทำให้เกิดปัญหาในการตอก ขณะที่ อนุภาคที่ใหญ่กว่า 18 mesh ( 1000 micron) ก็จะทำให้เกิดน้ำหนักขึ้นๆลงๆ ให้ ลักษณะทางกายภาพไม่ดี (ผิวพรุน เม็ดลาย)

ขนาดอนุภาคกับรูปร่างของเม็ดยา ถ้ารูปร่างของเม็ดยามีมุมแหลม อนุภาคแกรนูลต้องเล็กพอที่จะไหลไปอยู่ตรงบริเวณมุมของเม็ดยา อย่างไรก็ดี ถ้าคุณต้องการเม็ดยาที่เป็นรูปกลมหรือแบบคล้ายแคปซูล แกรนูลขนาดใหญ่จะให้ผลการตอกที่ดีกว่า

ขนาดอนุภาคกับการกระจายตัวหรือการละลายตัวของยา แน่นอนว่ายิ่งขนาดอนุภาคเล็กก็จะทำให้ยาแตกตัวได้ดีและมีการละลายตัวที่ดีกว่าในแกรนูลที่ใหญ่กว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกระจายตัวหรือการละลายตัวของยา บางทีเราก็ใช้วิธีการแร่งลดขนาดอนุภาค ผู้ตั้งตำรับชอบที่จะทำให้แกรนูลมีอนุภาคเล็กๆ เพื่อที่จะมีการละลายที่ดี แต่ข้อเสียของการมีอนุภาคยาละเอียดๆเยอะๆ ก็คือ
1. ไปดึงน้ำมันจาก punches ทำให้เกิดจุดดำๆ ด่างๆ บนเม็ด
2. ลดประสิทธิภาพของสารหล่อลื่นในสูตร เพราะทำให้ต้องการ ejection force เพิ่มขึ้น
3. ลดผลผลิตเพราะบางทีก็ถูกดูดไปกับระบบกำจัดฝุ่น ทำให้ผลผลิตต่ำ และเสียเวลาในการทำความสะอาดเครื่องจักร
4. เกิดการแยกฝา ( capping) แยกชั้น(lamination)
5. ทำให้เกิดปัญหา content uniformity ต่ำ เพราะเกิดการหน่วงเหนี่ยวการไหลของผงยา

โดยความเห็นของ Michael D. Tousey บอกว่า ถ้าผู้ตั้งตำรับเข้าใจถึงการทำงานของเครื่องตอก เขาจะไม่ทำแกรนูลที่มีขนาดเล็กๆเกินกว่าความจำเป็นเพื่อให้เกิดการละลายตัวที่ดีตามที่เภสัชตำรับกำหนด และถ้าผลิตภัณฑ์มีการกระจายขนาดแกรนูลอย่างเหมาะสม (ไม่เป็น fine particle มาก) การตอกก็จะเป็นไปด้วยดี เครื่องตอกและอุปกรณ์ก็จะทำงานได้ยาวนานขึ้นเพราะทำความสะอาดได้ง่าย และ ยาที่ได้ก็จะมีข้อบกพร่องน้อยลง.
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Tablet press operation

โพสต์โดย jusuran » 16 ก.ค. 2006, 20:06

ประวัติ Michael D. Tousay;Owner and technical services director of DIPharma Tech.

Tousay has been involved in the pharmaceutical industry since 1973, including work at thomas Engineering, Shaklee, Pennwalt stokes-Merrill, and Lakso. He founded his company in 1989. Tousey is a member of the Editorial Advisory Board of Tablet & capsules.

www.dipharmatech.com


"I'd like you formulator and granulator guys to get out here and look at the issues. The fines are everywhere, and it's really a problem. Think about it: You guys cannot be making a good product when 30-50 percent of it it dust. I know, the formulators will say that the fines help disintegration. And I'll reply, "Baloney!" The fines are killing the press run, they don't compress well, and there is no benefit to fines. You call yourself a formulator, but anyone-you don't need an advanced degree- can grind powders into a pile of dust." M.T.

ไม่รู้ว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่เป็น คนปรุงยา ทั้งหลายพออ่านตรงนี้รู้สึกอย่างไรบ้าง สำหรับตัวเองตอนที่อ่านครั้งแรกรู้สึก "เรื่องแค่นี้ ใครๆ ก็รู้ การที่จะดูว่าแกรนูลใหญ่เล็กแค่ไหน ไม่ใช่เรื่องของเรา เป็นเรื่องของฝ่ายผลิต ที่จะทำอย่างไรให้แกรนูลสม่ำเสมอ และมีขนาดพอเหมาะ" แต่พอทำงานไปเรื่อยๆ กลับเหมือนวนอยู่ในอ่าง บางทียามีปัญหา DT นาน Dissolution ไม่ดี ย้อนกลับมาให้แก้ เราก็สั่งแร่งละเอียดขึ้น แต่ตอกไม่ดี ก็จะมีป้ญหาเรื่องตอกยาก น้ำหนักไม่ดี ความแข็งไม่ดี กร่อนสูง %yield ต่ำ คราวหน้ากะว่าจะแปลเรื่อง Optimal tablet press operation : Machine versus Granulation ดูคนอ่านแล้วท่าทางเวบนี้คนโรงงานไม่ค่อยได้เข้าแหงเลย
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Re: Tablet press operation

โพสต์โดย jusuran » 27 ส.ค. 2006, 18:55

คุณ wherehouse??? เข้าใจถูกต้องแล้วค่ะ เป็นบทความที่ review มา บวกประสบการณ์เล็กๆน้อยๆ  และที่จริงที่พบตามประสบการณ์ในบ้านเราปัญหามาจากการผสมเป็นส่วนใหญ่ถูกต้องแล้วค่ะ  ที่พบบ่อยมากคือวิธีการผลิตที่เราเขียนไว้ให้พนักงานปฏิบัติแต่เนื่องจากระดับการศึกษาของพนักงานในระดับปฏิบัติการบ้านเรามีความแตกต่างและต่ำ ทำให้มีความเข้าใจในเอกสารที่เขียนแตกต่างกัน  บางทีก็ด้วยนิสัยการทำงานของคนที่แตกต่างกันทำให้ผลของแกรนูลที่ผสมในแต่ละล็อตการผลิตมีความแตกต่างกัน  เรื่องตัวแปรเครื่องมือในการผสมก็มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน  อุตสาหกรรมยาบ้านเราเรียกได้ว่า ทำตามมีตามเกิด การจะเพิ่มเครื่องมือในแต่ละอย่างเป็นการลงทุนที่บางครั้งเจ้าของกิจการไม่ค่อยอยากลงทุนเท่าไหร่  สำหรับเรื่องระยะ punches&dies เป็นประสบการณ์ที่พบคือตอนแรกเราก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรหรอกค่ะ  แต่เนื่องจากที่โรงงานมียาหลายตัว  ปัญหาบางอย่างไม่น่าจะเกิดขึ้นคือ เรื่องความหนาของเม็ดยาไม่เท่ากัน  มาพบตอนทำ process validation ว่า ในกล่องใส่ชุดสาก ประกอบด้วย อะไหล่ หลายๆ ชุด บางชุดก็ส่งซ่อมมาทีหลัง บางชุดก็เป็นของใหม่ มีความยาวไม่เท่ากัน  โดยปกติไม่เคยตรวจสอบหรอกค่ะ  แต่เพิ่งคิดจะทำทีหลังนี่เอง    ช่วงนี้กำลังสนุกกับการทำ process validation ยาใหม่อยู่ เลยไม่มีเวลามาเขียนบทความใหม่ๆ    อีกไม่นานจะมีเภสัชใหม่มาที่โรงงานอีก 2 คน สำหรับงานฝ่ายผลิต คิดว่าช่วงนั้นคงว่างมาเขียนบทความใหม่ๆ ให้เพื่อนสมาชิกอ่านอีกค่ะ  :D
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก

Re: Tablet press operation

โพสต์โดย jusuran » 07 ก.ย. 2006, 11:57

อ่ะนะ เขียน:อ้าววววววววววว เอาของเค้ามาแปล น่าจะให้เครดิตกัยซักหน่อยว่าเอามาจากหนังสือเล่มไหน




ไม่รู้ค่ะว่าตีพิมพ์ในเล่มไหนหรือเปล่า แต่เอามาจากเวบไซด์  www.dipharmatech.comใครแต่ง ก็ลงไว้ให้แล้วนะ ไม่ได้ลืม  แต่อาจไม่ค่อยเด่นเลยอ่านไม่เจอ ต้องขอโทษด้วยค่ะ  ที่เขียนไม่ได้แปลอย่างเดียวเพราะบางอย่างไม่เหมือนในบ้านเราเลย เลยสรุปเอาเฉพาะที่น่าสนใจมาเขียน ถ้าอยากอ่านตัวเต็มเข้าไปเอาที่เวบไซด์เขาเองนะคะ 



jusuran เขียน:ประวัติ Michael D. Tousay;Owner and technical services director of DIPharma Tech.

Tousay has been involved in the pharmaceutical industry since 1973, including work at thomas Engineering, Shaklee, Pennwalt stokes-Merrill, and Lakso. He founded his company in 1989. Tousey is a member of the Editorial Advisory Board of Tablet & capsules.

www.dipharmatech.com


[
แก้ไขล่าสุดโดย jusuran เมื่อ 07 ก.ย. 2006, 12:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
Innovation : driven for better life
ภาพประจำตัวสมาชิก
jusuran
 
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2004, 13:05
ที่อยู่: ดาวโลก


ย้อนกลับไปยัง อาราบิก้า

ผู้ใช้งานขณะนี้

cron
New Document