หน้า 1 จากทั้งหมด 1

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Fluoxetine ต่อการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส

โพสต์โพสต์แล้ว: 16 เม.ย. 2007, 14:34
โดย weerapong_rx
อาการซึมเศร้าที่เรียกว่า major depression นั้นหากเกิดเป็นครั้งคราวหลายครั้งก็เรียกว่า major depressive disorder เมื่อคิดเทียบกับ  global burden of disease ก็จะพบว่ามีค่าสูงถึงร้อยละ 4.4 ซึ่งใกล้เคียงกับ ischemic heart disease และ diarrheal diseases เมื่อพิจารณาถึงบริเวณสมองที่มีความสำคัญต่อพยาธิสรีรวิทยาของการเกิดอาการซึมเศร้าที่มีการศึกษาวิจัยในวงกว้าง พบว่าสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus), prefrontal cortex และ amygdala  มีส่วนสำคัญต่อกลไกการเกิดโรคนี้ ยาที่ใช้ในการรักษาอาการนี้มีให้เลือกหลายกลุ่ม แต่กลุ่มยาที่นิยมสั่งจ่ายและจัดเป็น First-line antidepressant ในเด็กและวัยรุ่นคือ ยาต้านเศร้ากลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) โดยเฉพาะยา Fluoxetine [1]  ในบทความนี้จะกล่าวถึงทฤษฏีใหม่เกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของยานี้ที่เสนอว่าผลทางคลินิกที่เกิดจากยาเป็นผลมาจากการสร้างเซลล์ประสาทมากขึ้นในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส

ถึงแม้ว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา  แต่นักวิจัยจำนวนมากก็ได้ให้ความสนใจในบทบาทของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสต่อกลไกการเกิดอาการซึมเศร้าเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ [2]

ประการแรกในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสมีตัวรับของกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids) จำนวนมาก โดยสารนี้หลั่งออกมาต่อมหมวกไตเพื่อตอบสนองสภาวะที่เกิดความเครียด และการทำงานที่เพิ่มขึ้นของระบบ hypothalamic