ได้โอกาสวันนี้โดนบีบคอมา เริ่มต้นเขียนไปทีละนิด ๆ แล้วกันนะคะ
อาจเขียนไม่ค่อยเก่ง เอาเป็นว่าอ่านเข้าใจก็พอเนอะ... แหะๆ
มีอะไรสงสัยเพิ่มเติมสอบถามได้ตลอดนะคะ
เล่าเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อน ว่า การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care) เนี่ย จริง ๆ หลาย ๆ ที่ก็ทำอยู่แล้วนะ
แต่ส่วนมากก็อาจเห็นในมุมต่างจังหวัดค่ะ แต่ที่จะมาเล่า เดี๋ยวจะเล่าในส่วนของกรุงเทพมหานครนะคะ
สำหรับการเยี่ยมบ้านนะคะ
หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วคนไข้แบบไหนเราควรต้องไปเยี่ยม ?
คนไข้ที่ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมนี้ หลัก ๆ ก็เช่น
- คนไข้ที่มีการใช้ยาระยะยาว
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ใช้ยาหลายตัว ค่ะ
ถามว่า ทำไมต้องเป็นคนกลุ่มนี้ ?
- ความเสี่ยง ค่ะ
::การเกิดปัญหาจากการใช้ยา (DRPs) / ความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยา / การไม่ให้ความร่วมมือการใช้ยา (non-compliance)::
จริง ๆ การดูแลผู้ป่วยที่บ้านโดยทีมสหสาขาก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ดีค่ะ
แล้วเภสัชกรไปทำอะไร ?
จริง ๆ เภสัชกรเนี่ย มีบทบาทเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างมากค่ะ
ยกตัวอย่าง สมมติเราเจอคนไข้สักคนหนึ่งได้รับยาจากโรงพยาบาลสัก 10-20 ตัว
ดูจากยา เราก็พอจะบอกได้แล้วว่า คนไข้น่าจะเป็นโรคอะไรได้บ้าง นับเม็ดยา บลา ๆ ก็จะบอกได้ละ คนไข้กินยาครบไม่ครบ ถูกไม่ถูก
นอกจากนี้เราก็ยังให้ความรู้ ความเข้าใจ การรักษาโรคและการปฏิบัติตนได้ค่ะ
อันนี้ยกตัวอย่างเพียงเรื่องเล็ก ๆ ที่เราสามารถทำได้ค่ะ
สำหรับการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดตามต่อเนื่องเรื่อย ๆ ทำแล้วได้อะไร ?
- ผู้ป่วยและผู้ดูแล ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษา
- บุคลากรสาธารณสุขจะได้รับทราบปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วยแต่ละราย
- การที่เภสัชกรชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย ค้นหาปัญหาจากการใช้ยาและมีการประสานงานส่งต่อกับแพทย์ที่ให้การรักษา
พร้อมกับให้ความรู้ แนวทางการใช้ยาที่ถูกต้องต่อผู้ป่วยโดยตรงจะสามารถช่วยลดและแก้ปัญหาจากการรักษาได้
เล็ก ๆ น้อย ๆ ค่ะ เดี๋ยวมาเล่าต่อเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานที่ทำอยู่ค่ะ
