โดย omegaboy » 06 ก.ย. 2010, 18:49
คุณสมบัติบางประการ
-----------------------------------------------------------------------
ไม้ สัก ปลวกและมอดไม่ทำอันตราย เพราะในเนื้อไม้สักมีสารเคมีพิเศษอยู่ชนิดหนึ่ง ชื่อ O-cresyl methyl ether สารเคมีชนิดนี้ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมป่าไม้ มีคุณสมบัติ เมื่อทาหรืออาบไม้แล้วไม้จะมีความคงทนต่อ ปลวก แมลง เห็ดราได้อย่างดียิ่ง นอกจากนี้ในไม้สักทอง ยังพบว่ามีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm. (ไม้สักทอง 26 ต้น มีทองคำหนัก 1 บาท)
ไม้สัก เป็นไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ จากการทดลองตามหลักวิชาการไม้สักมีความแข็งแรงสูงกว่า 1,000 กก./ตร.ซม. และมีความทนทานตามธรรมชาติ จากการทดลองนำส่วนที่เป็นแก่นของไม้สักไปทดลองปักดิน ปรากฏว่า มีความทนทานตามธรรมชาติเกินกว่า 10 ปี (ระหว่าง 11-18 ปี)
ไม้สัก เป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก
-----------------------------------------------------------------------
ไม้ สัก เป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก อันเนื่องมาจากเนื้อไม้มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรงสูงตามการทดลองถึง 1,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร เป็นไม้ที่มีสีสันและลวดลายธรรมชาติที่งดงาม ไม้สักยังมีความต้านทานต่อปลวก มอด แมลง และเชื้อราต่างๆ ทนต่อกรด ไม่ทำให้เหล็กเป็นสนิม ตลอดทั้งทนทานต่อลมฟ้าอากาศที่จะทำลายเนื้อไม้ดังจะเห็นได้จากสภาพของโบสถ์ วิหาร ที่มีอายุหลายร้อยปีที่สร้างขึ้นด้วยไม้สักในจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อไม้ของไม้สักจะมีน้ำมันหรือสารแทรกบางชนิด เช่น สารเทคโตควิโนน (tectoguinone) ซึ่งเป็นสารที่เป็นพิษต่อปลวก มอด แมลง และเชื้อรา
นอกจากนี้ไม้สักทอง ยังพบว่ามีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm (ไม้สักทอง 26 ตัน มีทองคำหนัก 1 บาท)
ไม้สัก มีชื่อภาษาอังกฤษทางการค้าว่า ทีค (TEAK) มาจากต้นสักซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tectona grandis Linn.f. แบ่งเป็น 5 ชนิด ได้แก่ สักทอง สักหิน สักหยวก สักไข่ และสักขี้ควาย ตามลักษณะของเนื้อไม้ ไม้สักทองจะให้คุณภาพของเนื้อไม้ดีที่สุด จนได้รับฉายานามในวงการป่าไม้ว่าเป็น ?ราชินีแห่งไม้? หรือ Queen of Timbers?
ไม้สัก มีแหล่งกำเนิดจำกัดอยู่ในเฉพาะแถบเอเชียตอนใต้ ได้แก่ อินเดีย พม่า ไทย ลาว (เฉพาะส่วนที่อยู่ติดกับไทย) ไม้สักในประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในโลกและเป็นที่ต้องการของตลาด โลกอย่างมาก
(แหล่งข้อมูล:จากหนังสือปลูกสักทองเชิงธุรกิจ มณฑี โพธิ์ทัย สำนักพิมพ์เม็ดพายพริ้นติ้ง ๒๕๓๘)