โดย visanu » 01 ก.ย. 2010, 14:14
การโฆษณาร้าน หรือ ตัวเราเอง ต้องทำตามข้อบังคับและเงื่อนไขว่าด่้วยการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
หมวด 3
การโฆษณาการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
(15) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้าง หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของตน หรือของผู้อื่นเว้นแต่
(1) การแสดงทางวิชาการ
(2) การแสดงผลงานในหน้าที่ หรือในการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ
(3) การประกาศเกียรติคุณเป็นทางการโดยสถาบันวิชาการ สมาคมหรือมูลนิธิ
ทั้งนี้ ต้องละเว้นการแสวงหาประโยชน์ที่จะเกิดต่อการประกอบบวิชาชีพเภสัชกรรมส่วนบุคคล
(16) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมอาจแสดงข้อความเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของตนที่สถานประกอบการวิชาชีพได้เพียงข้อความเฉพาะเรื่องต่อไปนี้
(1) ชื่อ นามสกุล และอาจมีคำประกอบชื่อได้เพียงคำว่าเภสัชกร
(2) ชื่อปริญญา วุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือแสดงคุณวุฒิอย่างอื่น ซึ่งตนได้รับจากสภาเภสัชกรรมหรือสถาบันนั้นๆ
(3) สาขาวิชาชีพเภสัชกรรม
(4) เวลาทำการ
(17) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมอาจแจ้งความประกาศวิชาชาชีพเภสัชกรรมเฉพาะการแสดง ที่อยู่ ที่ตั้งสถานประกอบวิชาชีพ หมายเลขโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่น และหรือข้อความที่อนุญาตตามข้อ 16
(18) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้ทำการเผยแพร่หรือตอบปัญหาทางสื่อมวลชน ถ้าแสดงว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ต้องไม่แจ้งสถานประกอบวิชาชีพส่วนตัวเป็นทำนองการโฆษณา และต้องไม่มีการแจ้งความตามข้อ 17 ในที่เดียวกันหรือขณะเดียวกันด้วย
(19) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องระมัดระวัง มิให้การประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของตนแพร่ออกไปในสื่อมวลชนเป็นทำนองโฆษณาความรู้ความสามารถ
และตอบเผื่อในกรณีการขายยาบน internet ด้วย
มาตรา 19* ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาต
(1) ผลิตหรือขายยาแผนปัจจุบันนอกสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่เป็นการขายส่ง
(2) ผลิตหรือขายยาแผนปัจจุบันไม่ตรงตามประเภทของใบอนุญาต
(3) ขายยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ให้แก่ ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 15 (4)
มาตรา 38* ให้เภสัชกรชั้นหนึ่งตามมาตรา 20 ประจำอยู่ ณ สถานที่ผลิตยาตลอดเวลาที่เปิดทำการ และให้มีหน้าที่ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ควบคุมการผลิตยาให้เป็นไปโดยถูกต้องตามตำรับยาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามมาตรา 79
(2) ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากและเอกสารกำกับยาตามมาตรา 25 (3) (4) และ (5)
(3) ควบคุมการแบ่งบรรจุยาและการปิดฉลากที่ภาชนะและหีบห่อบรรจุยาให้เป็นไปโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้
(4) ควบคุมการขายยาให้เป็นไปตามมาตรา 39
(5) ควบคุมการทำบัญชียาและการเก็บยาตัวอย่างตามมาตรา 25 (6)
(6) การอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
*[ความในหมวด 4 และมาตรา 38 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติยา
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]
และข้่อบังคับและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรว่าด้วยเรื่องการจ่ายยา
5. การปรุงยาและการขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
5.1. จำหน่าย จ่าย หรือส่งมอบ ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษ ด้วยตนเอง
5.2. ให้คำปรึกษาปัญหาด้านยาแก่ผู้ป่วยและประชาชนที่มารับบริการ
5.3. ปรุงยา ผสมยา ตามใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
5.4. ต้องแสดงตนให้สาธารณชนทราบว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม หรือใส่ชุดปฏิบัติงานตามที่สภาเภสัชกรรมกำหนด
5.5. ต้องปฏิบัติงานในสถานที่ซึ่งเหมาะสมต่อการประกอบวิชาชีพ
5.6. ต้องจัดให้มีเวชภัณฑ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีคุณภาพตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาไว้บริการ
5.7. ต้องเลือกสรรยาที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาวะการเจ็บป่วยหรือประชาชนที่มารับบริการเพื่อจำหน่าย จ่ายหรือส่งมอบให้กับผู้มารับบริการ