New Document









ไทยเล็งปรับลดขนาดยาพาราฯ เอฟดีเอสหรัฐคุมแค่325มก.

เภสัชกรร้านยา

ไทยเล็งปรับลดขนาดยาพาราฯ เอฟดีเอสหรัฐคุมแค่325มก.

โพสต์โดย battyz » 30 ต.ค. 2009, 09:51





ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) มีนโยบายในการทบทวนลดขนาดยาพาราเซตามอล เมื่อเร็วๆ นี้ โดยลดลงจากขนาดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม เป็น 325 มิลลิกรัม และทานไม่เกินวันละ 4 กรัมต่อวัน นอกจากนี้ยังได้มีคำแนะนำในการทานยาพาราฯ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อพิษ คือ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ที่ชอบรับประทานถั่ว ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ รวมถึงยาอื่นที่มีส่วนผสมของยาพาราฯ เช่น ยาแก้ไข้ แก้หวัด โดยให้ยกเลิกสูตรยาที่ผสมยาพาราฯ และให้แยกกันเป็นสูตรยาชนิดเดี่ยวทั้งหมด เพราะ

"ยาผสมเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ให้ได้รับยาพาราฯเกินขนาด โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไข้หวัดที่ปกติมักจะทานยาแก้หวัดและยาพาราฯเข้าไปพร้อมกัน ที่สำคัญ เอฟดีเอยังมีการเสนอรายงานวิเคราะห์และประเมินผลการใช้ยาพาราฯด้วย เนื่องจากพบว่า ในสหรัฐมีคนตับวายจากพิษยาพาราฯเกินขนาดปีละ 1,600 คน หากมีผู้รับประทานยาพาราฯขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมงในหนึ่งวัน เท่ากับจะกินยามากถึงวันละ 12 เม็ด ทั้งๆ ที่ไม่ควรกินยาพาราฯขนาด 500 มิลลิกรัม เกิน 8 เม็ดต่อวัน เพราะการทานยามากเกินขนาด จะส่งผลเสียต่อตับอย่างมาก หากรับประทานต่อเนื่องนานๆ และอาจรุนแรงจนถึงขั้นตับวายได้" ภญ.นิยดากล่าว

ภญ.นิยดากล่าวว่า สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังอนุญาตให้รับประทานยาพาราฯได้ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่เหมาะสม ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลการใช้ยาพาราฯในประเทศไทยเพื่อเสนอให้คณะอนุกรรมการทบทวนตำรับยาของ อย. มีการปรับลดขนาดยาพาราฯลง รวมถึงเสนอผลการศึกษาพิษของยาพาราฯต่อคณะอนุติดตามอันตรายจากการใช้ยาของ อย. พิจารณาเพื่อให้มีการออกคำแนะนำการใช้ยาที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย

"ขณะนี้ศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลศิริราช อยู่ระหว่างการศึกษาติดตามผลการใช้ยาพาราฯเกินขนาดในเด็ก เนื่องจากพบว่า มีเด็กที่ได้รับยาพาราฯเกินขนาดโดยรับการส่งต่อมารับการรักษาและมีอาการเป็นพิษในอวัยวะหลายส่วน ซึ่งการเป็นพิษจากตัวยาที่อันตรายคือพิษต่อตับและไต ซึ่งการทานยาพาราฯในเด็ก ปัจจัยเรื่องของน้ำหนักตัวและอายุเป็นสิ่งสำคัญ เด็กต้องทานยาพาราฯไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จึงจะไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะอื่น" ภญ.นิยดากล่าว

ทั้งนี้ ปัจจุบันยาพาราฯในท้องตลาดมีการผลิต 2 ขนาด คือ ขนาด 325 มิลลิกรัมต่อเม็ด และ 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด แต่ขนาด 500 มิลลิกรัม จะเป็นที่นิยมมากกว่า
battyz
 
โพสต์: 336
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ต.ค. 2008, 17:24







Re: ไทยเล็งปรับลดขนาดยาพาราฯ เอฟดีเอสหรัฐคุมแค่325มก.

โพสต์โดย battyz » 30 ต.ค. 2009, 09:52

source of info:
มติชนรายวัน
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11556
battyz
 
โพสต์: 336
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ต.ค. 2008, 17:24

Re: ไทยเล็งปรับลดขนาดยาพาราฯ เอฟดีเอสหรัฐคุมแค่325มก.

โพสต์โดย zartingtong » 30 ต.ค. 2009, 11:03

เรื่องงี่เง่าเป็นเพราะความกลัว Aspirin จนลืมไปว่า Para เองไม่เหมาะสมที่จะเป็นยาแก้ปวดที่รับประทานติดต่อกันนานๆ ลดขนาดเม็ดไม่ได้แก้อะไรถ้าคนยังกินแก้ปวดติดต่อกันนานๆ :mrgreen:

FDA May Restrict Acetaminophen

Advisers Tell the Agency to Lower Over-the-Counter Dose of Popular Pain Drug
By Kathryn Foxhall
WebMD Health NewsReviewed by Louise Chang, MDJuly 1, 2009 -- The FDA should put new restrictions on acetaminophen, an advisory committee recommended Tuesday, saying the move would protect people from the potential toxicity that can cause liver failure and even death.

The FDA does not have to follow its advisory committees? recommendations, but it usually does. It will likely be months before the FDA makes a final decision on the drug.

You might not know "acetaminophen," because that's the drug's generic name. One of the nation?s top drugs for pain relief, acetaminophen is found in many over-the-counter products -- including Tylenol, aspirin-free Anacin, Excedrin, and numerous cold medicines. It's also found in many prescription drugs.

Billions of doses of acetaminophen are used safely every year. But acetaminophen-related overdoses cause 56,000 emergency room visits, 26,000 hospitalizations, and 458 deaths annually, according to studies done between 1990 and 1998.

Some people inadvertently take more than is recommended. Others -- such as people with underlying liver disease -- are more at risk of liver injury from acetaminophen use. Because acetaminophen is in so many products, people sometimes take two or more products containing acetaminophen without realizing it. That risk extends to children, who may be poisoned because they swallow the medication. Sometimes caregivers mistakenly give children too much acetaminophen.

Acetaminophen: Limiting Dosage Amounts
The advisory committee voted that the single adult acetaminophen dose should be no more than 650 milligrams, significantly less that the current 1,000 milligrams often contained in two tablets of certain over-the-counter pain products. The panel of 37 doctors and other experts also said that the maximum total dose for 24 hours, now at 4,000 milligrams, should be decreased.

Some advisory committee members said the move should help lower the overall amounts of acetaminophen that people take. Some on the panel said they were influenced by research indicating there are changes in liver function in some people who had taken only the currently recommended levels.

Call to Eliminate Some Acetaminophen Products
In a recommendation that would be a real change for the prescription industry, the committee voted 20 to 17 that prescription products that combine acetaminophen with other medications should be eliminated. Today, billions of doses of products are prescribed in which acetaminophen is combined with narcotics, according to the FDA. Some brand-name pain prescriptions containing acetaminophen include Vicodin, Lortab, Maxidone, Norco, Zydone, Tylenol with codeine, Percocet, Endocet, and Darvocet.

The combination of hydrocodone and acetaminophen, for instance, has been the most frequently dispensed drug since 1997, according to the FDA.

Richard DeNisco, MD, MPH, medical officer at the National Institute of Drug Abuse and a panel member, said that so much acetaminophen is going out to people in hydrocodone/acetaminophen mixes that he is uncertain why there is not more liver damage.

Prohibiting these combined products ?would rock the system,? he said, but the two products should be prescribed separately, if necessary.

The combination prescription products, which have rapidly increased in use in the last five years, are clearly the biggest cause of the acetaminophen overdose, said Marie Griffin, MD, professor of preventive medicine at Vanderbilt University. But she worried that people will simply turn to plain narcotics, if the combinations are eliminated. ?We need a broader answer to chronic pain, because these drugs are being used extensively in the older population," Griffin said during the meeting. "And I am not sure that practitioners feel like they have many other choices.?

On the other hand, the committee declined to vote for eliminating combination acetaminophen products that are sold over the counter.

Karl Lorenz, MD, who is with the VA Los Angeles Healthcare System, said that many people are being creative in managing low level chronic pain. ?I just think we have to be cautious about eliminating an entire category of products that many people find useful,? he said.

Black Box Warning Advised for Acetaminophen Combination Products
The advisory committee also voted overwhelmingly to recommend that the FDA require a boxed warning -- often called a black box warning -- on the labels of prescription acetaminophen combination products, with members noting this is considered the highest precaution the agency can give.

They also called for limiting formulations of liquid over-the-counter acetaminophen to only one concentration level in order to reduce confusion when people give the medicine to children.

Linda Suydam, president of the Consumer Healthcare Products Association, which represents companies that make over-the-counter products, objected to the committee?s recommendations for new limits on acetaminophen in over-the-counter products.

?CHPA strongly believes that patients and physicians need to have a wide range of dosing available for patients who need their acetaminophen-containing products,? she said, asserting there is little data to support the idea that patients are harmed at current levels.
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14

Re: ไทยเล็งปรับลดขนาดยาพาราฯ เอฟดีเอสหรัฐคุมแค่325มก.

โพสต์โดย woody » 30 ต.ค. 2009, 12:36

แล้วแต่ท่านครับ เพราะ ปัจจุบัน จ่าย Para ให้คนไข้แทบจะไม่อยากกินอยู่แล้ว (ยกเว้นเรียกเอง) ไม่รู้ว่าไปเอาแนวคิดมาจากไหนว่า Para เป็นยาไม่ดี ไม่แรง ต้องการยาที่แรงๆๆๆ (ไม่รู้จะแรงไปไหน ไม่ใช่รถสักหน่อย)
woody
 
โพสต์: 65
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ส.ค. 2007, 17:02
ที่อยู่: Naresuan University

Re: ไทยเล็งปรับลดขนาดยาพาราฯ เอฟดีเอสหรัฐคุมแค่325มก.

โพสต์โดย Wiz@rd. » 30 ต.ค. 2009, 15:54

ควา... ครับ...

ที่นี่ประเทศไทยครับ เมืองนอกเค้าใช้ ibuprofen, aspirin กัน แต่เมืองไทยมันมีไข้เลือดออก เลยใช้ไม่ได้
ทำอะไรใช้หัวคิดแบบไทยๆหน่อย

แล้วก็ลดขนาดก็เปล่าประโยชน์ครับ คนกินเดิม 500 mg 1 เม็ด ก็จะกิน 325 mg 2 เม็ดแทน มันจะไม่เกินขึ้นอีกเหรอ

ข้อดี ไม่กัดกระเพาะด้วย (กร๊ากๆๆๆ)

ป.ล. 1 ผมหนัก > 30 kg แต่ < 50 kg. ปกติกิน Para 500 mg 1 เม็ด
ป.ล. 2 ถ้าจะให้ดีก็สนับสนุนให้จ่าย 325 mg 2 เม็ดกันแทน ดูน้ำหนักอีกที
ภาพประจำตัวสมาชิก
Wiz@rd.
Global Moderator
 
โพสต์: 942
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2004, 20:15
ที่อยู่: โลก

Re: ไทยเล็งปรับลดขนาดยาพาราฯ เอฟดีเอสหรัฐคุมแค่325มก.

โพสต์โดย Wiz@rd. » 30 ต.ค. 2009, 16:12

คำถามต่อไป

คือ เรามี Para 325 บรรจุเป็นแผงขาย เป็นยาสามัญ หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านยาไม๊

แยกเม็ด ผมเห็นด้วย พวกทิฟฟี่ ดีคอลเจน อื่นๆ ผู้ป่วยจะได้ยาตามโรค ไม่ได้ยาแถมที่ไม่ต้องการ แต่มีพวก norgesic อื่นๆที่ผสมอีกด้วยนะ เบื่อหมอสั่งยาพวกนี้แล้วพ่วง Para ต้องมาอธิบายเพิ่มอีก

และอย่างที่ว่าปัญหาไม่ใช่ให้อ.ย.สั่งปรับลด แต่จ่ายให้ถูก dose ต่างหาก ตามน้ำหนักตัว ปัญหาคือฉลากที่เขียนบอกให้กิน 1-2 เม็ดต่างหาก แนะนำไปแก้เรื่องฉลากดีกว่า แล้วความรู้ที่บอกๆกันตามประสาชาวบ้าน ผู้ใหญ่กิน 2 เม็ด ต้องบอกให้ถูกกว่านี้ แล้วยาน้ำต่างๆ ควรบอกขนาด ไม่ใช่เด็ก 6-12 ปี ทาน X ช้อน เพราะเอาจริงๆ เด็ก 6 ปี กับ 12 ปี น้ำหนักต่างกันเยอะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Wiz@rd.
Global Moderator
 
โพสต์: 942
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2004, 20:15
ที่อยู่: โลก

Re: ไทยเล็งปรับลดขนาดยาพาราฯ เอฟดีเอสหรัฐคุมแค่325มก.

โพสต์โดย zartingtong » 30 ต.ค. 2009, 23:02

ที่นี่ประเทศไทยครับ เมืองนอกเค้าใช้ ibuprofen, aspirin กัน แต่เมืองไทยมันมีไข้เลือดออก เลยใช้ไม่ได้
ทำอะไรใช้หัวคิดแบบไทยๆหน่อย

แล้วไม่ได้เป็นไข้แต่แก้ปวดเรื้อรังทำไมจะกินไม่ได้ล่ะครับ?

ถึงจะลดขนาดลงแต่กินแก้ปวดติดต่อกันเป็นปีๆคงเป็นพิษอะไรเหมือนเดิม ยิ่งที่อเมริการที่ต้องการเอาสูตรผสมออกมากที่สุดก็ไม่รู้เหมือนกันไปผสมพวกยาแก้ปวดทำไม?
"Patients should not use acetaminophen for more than 10 days to relieve pain"
อันนี้ก็มีมานานฝรั่งเองก็คงไม่ได้อ่านเหมือนกัน :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14

Re: ไทยเล็งปรับลดขนาดยาพาราฯ เอฟดีเอสหรัฐคุมแค่325มก.

โพสต์โดย Barrios » 31 ต.ค. 2009, 17:05

paper ใน US มีมาตั้งแต่ 1July ใช่มั้ยครับ
ทำไมพึ่งจะมาเป็นข่าวตอนที่มีเรื่อง เจอลวดในพารา
เบี่ยงประเด็นรึเปล่า
น่าจะออกข่าวเรื่องมาตรฐานและการตรวจสอบโรงงานผลิตด้วยนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Barrios
 
โพสต์: 714
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 08:41
ที่อยู่: ประเวศ กทม.

Re: ไทยเล็งปรับลดขนาดยาพาราฯ เอฟดีเอสหรัฐคุมแค่325มก.

โพสต์โดย ck0707007 » 31 ต.ค. 2009, 20:39

โอ้ มายก๊อด
ถ้าฝรั่งไม่พูด คนไทยก็ไม่คิดกัน
ck0707007
 
โพสต์: 288
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 02:41

Re: ไทยเล็งปรับลดขนาดยาพาราฯ เอฟดีเอสหรัฐคุมแค่325มก.

โพสต์โดย vic » 03 พ.ย. 2009, 11:27

ก็ประเทศไทยได้ที่ 3 ของโลกนิ (เรื่องก๊อปปี้) :lol: :lol: :lol:
vic
 
โพสต์: 145
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 16:49


ย้อนกลับไปยัง ลาเต้

ผู้ใช้งานขณะนี้

cron
New Document