[b]ญาติๆ ถามว่าทำไมเวลามีธุระต้องปิดร้าน ไม่ให้ลูกจ้างขายยาแทน
คำตอบ(ในใจ)ของผม : ไม่สามารถรับผิดชอบ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการขายยาโดยมิใช่เภสัชกรได้
ลูกค้าโดยส่วนใหญ่ มักได้สัมผัสกับร้านยาอยู่เสมอเมื่อมีอาการเจ็บป่วย แต่ผู้ที่ทำหน้าที่จ่ายยา/ขายยาอยู่ในร้านนั้น ลูกค้ารู้หรือไม่ว่าเป็นใคร คำตอบคือไม่ทราบ และไม่สนใจด้วยว่าเป็นใคร นอกจากนี้ยังมีการเรียกหายาเอง โดยที่ไม่รู้จักพื้นฐานของโรคและยาที่ตนเองต้องการ เช่น ?ซื้อยาแก้อักเสบแดงดำหน่อยซี่ ปวดเข่าจัง?
?เอายาแรงๆ เคยแต่กินยาแรงซะเคย? ?ซื้อยาล้างไต?เป็นต้น ซึ่งผู้ที่จ่ายยาเองที่อาจเป็นแค่ลูกจ้างร้าน ไม่ได้ทำหน้าที่มากไปกว่าผู้ขายที่ต้องการกำไรหรือ อาจไม่สามารถประเมินความเหมาะสมของความต้องการของลูกค้ากับข้อมูลทางวิชาการ และนำเสนอยาที่เหมาะสมแก่ลูกค้าได้
เหตุการณ์เช่นนี้พบเห็นได้เป็นปกติในร้านยากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และได้เกิดขึ้นมายาวนานหลายสิบปีแล้ว อันเป็นสาเหตุให้ภาพของเภสัชกรรมชุมชนในสายตาลูกค้าไม่มี(เภสัชกร=หมอตี่=คนขายยา) ลูกค้าในปัจจุบันจึงฝังรากลึกอยู่กับทัศนคติด้านยาแปลกๆ ดังกล่าวและกลายเป็นฝ่ายเลือกยาใช้เอง (ในร้านที่มีเภสัชกรควบคุม ลูกค้ามักจะไม่ยอมรับและไม่เข้าใจบทบาททางวิชาชีพที่เราแสดงให้เห็น) หรือได้รับยาจากผู้ที่หวังเพียงกำไรจากยาแต่ไม่คำนึงถึงหรือไม่ทราบถึงจรรยาบรรณของเภสัชกร ซึ่งจะโทษใครไปไม่ได้นอกจากเภสัชกรที่ไม่อยู่ประจำร้าน ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม
ภาพของเภสัชกรดังกล่าวนอกจากจะก่อความเสียหายแก่วิชาชีพเภสัชกรรมชุมชนแล้ว ยังทำให้ภาพรวมของวิชาชีพเภสัชกรรมไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมอีกด้วย (ลองทดสอบด้วยคำถามว่า: เภสัชกรคืออะไร?) เภสัชถูกมองว่าไม่มีความจำเป็น เพราะฉะนั้นคำถามที่ว่า ?ทำไมไม่ให้ลูกจ้างขายยาแทน? หรือ ?ทำไมลาออกมาขายยา เสียดายความรู้? (ขายยาไม่ใช้ความรู้?) สำหรับผมแล้ว เป็นคำถามที่สะท้อนถึงแก่นของปัญหาและน่าเศร้าใจเป็นอย่างยิ่ง พวกเราชาวเภสัชกรทั้งหลายจงมาร่วมกันปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขัน และเต็มกำลังเถิด เลิกกล่าวโทษผู้อื่น หรือเรียกร้องในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ (ละไว้ในฐานที่เข้าใจ) เพื่อวิชาชีพของเราจะได้ทำประโยชน์แก่ประชาชนได้อย่างเต็มภาคภูมิกันนะครับ[/b]