New Document









แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

ห้องเภสัชกร

แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย para058 » 12 ก.พ. 2011, 11:22

เห็นมีการลงโทษ กวดขันแล้วลงในหนังสือที่สภาส่งมา เดี๋ยวนี้เขาไม่ตรวจกันแล้วหรือ
น้องที่ทำงาน(รพ.รัฐาบาล)มาจบมาใหม่ก็ไปแขวนซะแล้ว ร้านยาก็เปิดตรงกับเวลาราชการตอนเย็นก็ไปแค่1-2วัน/สัปดาห์
ไม่ต้องมีเภสัชก็ขายยาได้ ผลิตเภสัชออกมามากๆตกงานแน่
มากแบบคุณภาพน้อย (โดนวิชาชีพอื่นว่า...)รู้สึกอายจังทำขายหน้าวิชาชีพเภสัช
ผู้ใหญ่เขาคิดอะไรกันอยู่นะ
para058
 
โพสต์: 27
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ค. 2008, 09:11







Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย cannabis » 13 ก.พ. 2011, 12:19

เบื่อและเซง บ่นไปก็แค่นั้น
cannabis
 
โพสต์: 288
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 11:35

Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย Blue Valentine » 14 ก.พ. 2011, 00:37

พวกแขวนป้ายทำไมไม่มีใครออกมาปราบปรามอย่างจริงจัง
ทีคลินิกเถื่อนหนิ โห รวดเร็วจริงๆ
Blue Valentine
 
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2011, 00:28

Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย winnwin » 14 ก.พ. 2011, 09:06

สาเหตุที่ดูเงียบ ๆ ไป เพราะ ประชาสัมพันธ์ สภาเภสัช งานยุ่งมากมาย

กำลังเตรียมตัวลงสมัครรับเลือกตั้ง กรรมการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน อยู่

แต่จะว่าไป มันก็ดู เงียบ ๆ กันมานานแล้วนี่นา

เพราะงานสภา ถือว่าเป็น งานอาสา ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้

ไม่มีตัวชี้วัดตรวจสอบแบบงาน รพ ที่ต้องมี HA

งานสภาไม่ต้องการให้ใครมา Accredit เพราะไม่เคยมี Credit มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว

เราท่านจึงเห็นได้ว่า ผู้คนที่ขันอาสา เข้ามาทำงานขอโอกาสมากมาย

สุดท้ายกลับทอดทิ้งโอกาสและทำความเสียหายให้กับวิชาชีพด้วยความ ไม่รู้ร้อนรู้หนาว

งานบริหารจัดการ จึงกลับกลายเป็น งานประชุมแบบธุรการ ซึ่งหาแก่นสารใด ๆ ให้กับวิชาชีพไม่ได้

1 คนจึงสามารถใส่ หัวโขน ทับซ้อนได้หลายใบ

เพราะอย่างที่บอกไงว่า

งานอาสา ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้

มีอารายอะป่าว

อยากเลือกเองทำไม
winnwin
 

Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย cannabis » 15 ก.พ. 2011, 12:02

จริงๆนะ ผมคิดเล่นๆ พวกเราเภสัชกรทุกคนลงขันกันคนละ 100 บาทต่อเดือนคงไม่มากไปใช่ไหม... ให้เป็นสินน้ำใจคนที่ทำงานในสภาให้เค้าทำงานเพื่อวิชาชีพอย่างจริงจัง
cannabis
 
โพสต์: 288
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 11:35

Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย winnwin » 15 ก.พ. 2011, 13:54

ปัญหาไม่ได้อยู่ตรงที่ ไม่มีเงิน หรอกครับ

แต่ ไม่มีการบริหารจัดการ ที่ดีมากกว่า

ซึ่งก็มีสาเหตุมาจาก ไม่มีสติปัญญา เพียงพอ

ยก ตย ง่าย ๆ แบบอยากให้เถียงดัง ๆ ก็ได้ว่า

วัน ๆ เอาแต่จัดคนไปนั่งเป็นตัวแทนประชุมนั่นนี่โน่น ก็หมดเวลาแล้ว

จะเอา กำลัง ที่ไหนไปคิดว่าจะ บริหารจัดการ กับปัญหาของวิชาชีพที่สะสมหมักหมมมาจนเน่าเหม็น

แถมให้อีกว่า งานสภา ก็เป็น งานแนวหวานเย็น ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ อีก

ไม่มีการตรวจสอบวัดผล ซึ่งถ้ามี ก็ สอบตก กันยกสภา นั่นแหละ ( ช่วยเถียงหน่อยว่าไม่จริง ! )

แถมให้อีกดอกด้วยว่า หลายคนก็แค่อยากเข้ามานั่งปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ

จะว่างานแยะงานยุ่งก็ไม่จริงอีกแหละ

เพราะ ทะลึ่งไปสมัครเป็น กรรมการสมาคมโน่นนี่นั่น จนเปรอะไปหมด

ทั้ง ๆ ที่ งานสภา ที่ขันอาสาเข้ามาทำ ก็หาผลสำเร็จในเนื้องานไม่เจออีก

เวรกรรมจริง ๆ
winnwin
 

Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย apotheker » 15 ก.พ. 2011, 14:28

winnwin เขียน:
จะว่างานแยะงานยุ่งก็ไม่จริงอีกแหละ

เพราะ ทะลึ่งไปสมัครเป็น กรรมการสมาคมโน่นนี่นั่น จนเปรอะไปหมด

ทั้ง ๆ ที่ งานสภา ที่ขันอาสาเข้ามาทำ ก็หาผลสำเร็จในเนื้องานไม่เจออีก

เวรกรรมจริง ๆ
แนบไฟล์
Untitled-1.gif
Untitled-1.gif (7.19 KiB) เปิดดู 13412 ครั้ง
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
apotheker
Global Moderator
 
โพสต์: 2435
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2004, 11:48
ที่อยู่: simcity

Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย adRIAmYCin » 15 ก.พ. 2011, 14:31

ได้ข่าวว่ามีคนแถวนี้ขายร้านยา เตรียมตัวลงสมัครสภาสมัยหน้าแล้ว ใช่มั๊ยพี่อาโป :lol: :lol: :lol: :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
adRIAmYCin
 
โพสต์: 862
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ค. 2008, 08:40

Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย winnwin » 15 ก.พ. 2011, 14:35

ผู้บริหารเกียร์ว่าง

ดร.บวร ปภัสราทร

การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารย่อมเกิดขึ้นได้ในทุกวง การ บางหน่วยงานมีการสืบต่อการบริหารเป็นอย่างดี ก็ไม่มีการชะงักงันในการทำงาน เปลี่ยนคนบริหารแต่งานเดินได้เป็นปกติ บางหน่วยงานที่มีการแย่งชิงตำแหน่งบริหารกันมากๆ ใครๆ ก็ยากเป็นใหญ่จนกระทั่งมีการขัดแข้งขัดขากันแทบทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหาร ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงจึงมีการชะงักงันของงานมากบ้างน้อยมากแล้วแต่ว่าขัด แข้งขัดขากันมากแค่ไหน บางหน่วยงานผู้บริหารมาจากเส้นสายไม่ใช่มาจากฝีมือ ช่วงท้ายๆ ที่กำลังจะครบวาระย่อมต้องไปวิ่งเต้นกันใหม่เพื่อลุ้นที่จะรักษาเก้าอี้ที่ ได้มาจากเส้นสายนั้นต่อไป ทั้งวันมีแต่วิ่งเต้นหาความต่อเนื่องให้กับเก้าอี้ของตนเอง งานอื่นก็เลยชะลอหรือหยุดไปเลย ดังนั้น อาการเกียร์ว่างของผู้บริหารจึงมีให้เห็นกันอยู่เสมอ

เมื่อต้องทำงานภายใต้ผู้บริหารที่กำลังเกียร์ ว่างก็ต้องลองถามตัวเองดูก่อนว่า อาการเกียร์ว่างที่เกิดขึ้นให้เห็นนั้นมีผลกระทบต่อลูกค้าผู้ใช้บริการมาก น้อยแค่ไหน ถ้าตอบว่าก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร ไม่ต้องใส่ใจก็ได้ คงไม่ต้องร้อนใจอะไรกับอาการเกียร์ว่างของผู้บริหาร ทำงานบ้างหยุดบ้างเหมือนเช่นที่เคยทำมาต่อไปเพราะที่คิดเช่นนี้ถือได้ว่ายอม รับเป็นสาวกเกียร์ว่างไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อเป็นสาวกเกียร์ว่างแล้วก็มีหน้าที่เพียงแค่ทำให้เกียร์ว่างนั้นกระจาย ไปทั่วทั้งหน่วยงานเท่านั้น ลูกค้าจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยไปก่อน แต่ถ้าทนไม่ได้ที่จะเห็นอาการเกียร์ว่างนั้นส่งผลกระทบต่อลูกค้า รู้สึกว่าลูกค้าต้องยุ่งยากลำบากมากขึ้นจากเหตุนี้ ก็ขอให้มองดูรอบตัวแล้วพิจารณาดูว่ารอบตัวเรามีสาวกเกียร์ว่างที่หาเรื่อง ไม่ทำงานโดยได้รับเงินเดือนเต็มมากน้อยเพียงใด และให้พยายามแยกแยะคนกลุ่มนั้นให้ชัดเจนขึ้นไปอีกว่า คนไหนเป็นแค่สาวก คนไหนยกระดับตนเองไปถึงขั้นเป็นองครักษ์พิทักษ์เกียร์ว่างไปแล้ว ซึ่งผู้คนกลุ่มนี้จะคอยพิทักษ์รักษาอาการเกียร์ว่างของผู้บริหารไว้ให้ยาว นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเครื่องมือสำคัญได้แก่การอ้างกฎระเบียบต่างๆ แล้วตีความไปในทางร้ายๆ ไปเสียทุกเรื่อง เขียนเสือให้วัวกลัวในแทบทุกโอกาส แค่จะจุดไม้ขีดไฟจุดเทียนในโคมไฟประดับในห้องปรับอากาศก็บอกว่าต้องถามที่ ปรึกษากฎหมายก่อนว่าทำได้หรือไม่ ถ้ามองแล้วสาวกก็ไม่มากนัก องครักษ์ก็มีไม่เยอะก็พอจะขวนขวายผลักดันให้หน่วยงานเดินหน้าต่อไปได้บ้าง ลองนึกถึงเวลาที่ขับรถบนถนนที่รถหนาแน่น แล้วอยากจะแซงไปข้างหน้า ถ้ามีแค่รถคันหน้าเพียงคันเดียวที่วิ่งช้ายืดหยาดก็เร่งแซงไปได้ไม่ยาก แต่ถ้ามีรถวิ่งช้าต่อกันเป็นขบวนจะแซงไปก็ยากมากหน่อย ยิ่งถ้ามีรถข้างหน้าบางคันที่วิ่งช้าแล้วยังกันท่าไม่ให้แซงด้วยแล้ว การแซงยิ่งยากเข้าไปใหญ่เพราะมีองครักษ์พิทักษ์รถช้าอยู่ร่วมวงการด้วย ดังนั้นถ้ารู้สึกคับอกคับใจกับอาการเกียร์ว่างของผู้บริหารและอยากผลักดัน ให้หน่วยงานเดินไปข้างหน้าให้ได้ก็ต้องลองประเมินกำลังตนเองดูเสียก่อนว่ามี แรงขับเคลื่อนพอจะผ่านสาวกและองครักษ์เกียร์ว่างไปได้หรือไม่ แซงไม่พ้นอาจเกิดความเสียหายได้อย่างไร เดินหน้าเร่งทำงานท่ามกลางสาวกและองครักษ์พิทักษ์เกียร์ว่างก็มีโอกาสล้ม เหลวได้มากเท่านั้น

ระดับเกียร์ว่างของผู้บริหารมีได้หลายระดับ ถ้ามีอาการไม่มากนักก็แค่ไม่ยอมกำหนดยุทธศาสตร์ ไม่ยอมกำหนดทิศทางว่าจะไปทางไหน ซึ่งมักพบบ่อยในช่วงปลายวาระการทำหน้าที่บริหาร กำลังจะหมดวาระบริหารเลยไม่อยากชี้ไปว่าจะไปทางไหนกันต่อไป ขอให้รอคนใหม่มากำหนดทิศทางจะดีกว่า ผู้บริหารบางท่านเกียร์ว่างแบบนี้เร็วไปหน่อย เหลือเวลาอีกครึ่งค่อนปีในวาระ ท่านเล่นวางเฉยไม่กำหนดทิศทางทำงานอะไรอีกแล้วเพื่อรักษาตัวรอดให้ปลอดภัย ตอนครบวาระ ถ้าอยากเดินหน้าภายใต้อาการเกียร์ว่างแบบนี้ ก็ต้องย้อนกลับไปดูว่าหน่วยงานมีพันธกิจอะไรบ้างที่อยู่ยั่งยืนโดยไม่ เปลี่ยนแปลงไปตามตัวผู้บริหาร แล้วเดินหน้าผลักดันหน่วยงานไปในทิศทางนั้นอย่างจริงจัง โดยพยายามลดความใส่ใจที่มีต่ออุปสรรคที่มาจากขบวนการองครักษ์พิทักษ์เกียร์ ว่างไปให้มากที่สุดเท่าที่จะเพิกเฉยได้

เกียร์ว่างของผู้บริหารที่อาการหนักขึ้นไปอีก คือไม่ยอมตัดสินใจอะไรสักอย่าง ถามไปก็ใช้ความเงียบสยบความเคลื่อนไหว กี่เรื่องต่อกี่เรื่องเงียบหมด ซึ่งมักพบเห็นกันในช่วงที่ต้องเปลี่ยนผู้บริหารท่ามกลางความไม่ชัดเจนของกฎ กติกา ควบคู่ไปกับการวิ่งเต้นหาเส้นสายเพื่อช่วยรักษาเก้าอี้ของตนไว้ต่อไป เกียร์ว่างแบบนี้มีผลกระทบกับลูกค้ามากขึ้นกว่าแบบแรก ลูกค้าจะเริ่มพบความไม่สะดวกต่างๆ นานาไปจนกระทั้งแย่ที่สุดคือไม่ได้รับบริการที่เคยได้รับอยู่ ถ้าเจอแบบนี้ก็ต้องเร่งรัดงานประจำที่ไม่ต้องมีการตัดสินใจใดๆ จากผู้บริหารไปก่อน งานเดิมๆ ที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าก็เร่งทำกันไปก่อน ถ้าเป็นหน่วยงานที่เคยทำงานมานานแล้วย่อมมีแบบอย่างในการปฏิบัติในเรื่อง ต่างๆ อยู่มากมาย ทั้งที่มีการบันทึกไว้ หรือไม่ก็เป็นวัฒนธรรมของการทำงานเรื่องนั้นไปแล้ว เมื่อเคยทำมาแล้วย่อมไม่ต้องการการตัดสินใจใดๆ จากผู้บริหาร งานเก่าหลายงานจึงยังคงเดินหน้าต่อไปได้ภายใต้ผู้บริหารเกียร์ว่าง

ระดับเกียร์ว่างที่สร้างผลกระทบต่อลูกค้าอย่าง ชัดเจนในเวลารวดเร็วคือ ไม่ยอมจัดสรรทรัพยากรให้ผู้คนสามารถทำงานต่อไปได้ ไม่มีการจัดทำงบประมาณหรือไม่มีการอนุมัติงบประมาณใดๆ วางเฉยอย่างสมบูรณ์ในเรื่องทรัพยากรที่ต้องใช้ในการทำงาน อาการนี้จะเห็นได้ชัดในหน่วยงานที่มีผลประโยชน์สูง และผู้บริหารมาจากเส้นไม่ใช่ฝีมือจะมีอาการนี้มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นผู้ที่เข้าใจหลักการว่าด้วยสมบัติผลัดกันชมเป็นอย่างดี การเดินหน้าทำงานภายใต้เกียร์ว่างแบบนี้ต้องระลึกถึงกฎของนิวตันที่บอกว่า ไม่ต้องใส่แรงใดๆ เพิ่มเข้าไป ถ้าสิ่งนั้นกำลังเคลื่อนที่อยู่แล้วและไม่ต้องการเร่งให้เคลื่อนที่เร็ว เพิ่มขึ้น ดังนั้นงานที่เคยทำอยู่แล้วย่อมมีทรัพยากรที่สนับสนุนการทำงานคงเหลืออยู่ บ้าง ของใหม่ไม่ให้ก็ไม่เป็นไร ใช้เครื่องมือเก่าบวกกับเรี่ยวแรงที่ต้องใช้มากขึ้นอีกหน่อย แล้วเติมเต็มด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้หน่วยงานเดินหน้าต่อไปได้ งานเก่าบางงานก็ก้าวต่อไปได้ท่ามกลางการนิ่งเฉยของผู้บริหารเกียร์ว่างอย่างสมบูรณ์แบบนั้น

เกียร์ว่างที่ย่ำแย่ที่สุดคือปล่อยวางหน้าที่ บริหารทั้งปวงและไม่ใช่แค่วางเฉย แต่กลับกลายเป็นทำงานในทางตรงข้ามคือขัดขวางการเดินหน้าทั้งปวงที่ปรากฏให้ เห็น ตัวเองไม่ทำงานเท่านั้นยังไม่พอ ยังป่าวประกาศอีกว่าจะไม่ยอมให้ใครเดินหน้าทำงานใดๆ ทั้งสิ้น โดยมักใช้กฎระเบียบเป็นกลไกสร้างความชอบธรรมให้กับการเพิกเฉยต่อภาระหน้าที่ ของตนเอง อ้างกฎระเบียบเพื่อหยุดงานนั้นไม่ต่างอะไรไปจากการร้องขอค่าตอบแทนโดยไม่ทำ งาน หากมีหน่วยงานใดที่มีกฎระเบียบไว้เพื่อไม่ให้ตนเองทำงานตามภาระหน้าที่ที่ ได้กำหนดไว้ ย่อมไม่ความจำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานนั้นอีกต่อไป

อาการเกียร์ว่างเช่นนี้มีผลเสียหายเกิดขึ้นกับ ลูกค้าอย่างแน่นอน คนที่ทนไม่ได้กับความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วอยากขับเคลื่อนหน่วยงานนั้นให้ เดินหน้าต่อไปคงแทบไม่มีหนทางที่จะทำได้ ตราบเท่าที่ผู้บริหารยังทำตัวเป็นองครักษ์พิทักษ์เกียร์ว่างเสียเอง หนทางหนึ่งที่กระทำได้คือหาช่องทางบอกให้ผู้คนได้ทราบว่าท่านผู้บริหารได้ทำ ให้เกิดความเสียหายขึ้นและควรรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ถ้าเราอยู่เฉยๆ ก็เท่ากับเห็นดีเห็นงามไปกับการเพิกเฉยและความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ต้องระวังแรงสะท้อนกลับจากท่านผู้บริหารในฐานะผู้พิทักษ์เกียร์ว่างไว้ ให้ดีสำหรับคนที่อยากเดินหน้าท่ามกลางเกียร์ว่างของผู้บริหาร เพราะต้องไม่ลืมว่าในวันที่ท่านเกียร์ว่างอยู่นั้น ท่านยังกินเงินเดือนผู้บริหารอยู่ และยังสั่งการให้ผู้คนใดในหน่วยงานนั้นให้ไปทำหน้าที่ใดก็ได้ งานอื่นท่านผู้บริหารอาจวางเฉย ใส่เกียร์ว่างเกินสมบูรณ์แบบได้นานเท่านาน แต่งานจัดการกับคนที่ท่านไม่ชอบหน้าท่านใส่เกียร์โอเวอร์ไดร์ฟได้ภายในพริบ ตา และใส่เกียร์จัดการกับคนที่ท่านไม่ชอบได้อย่างต่อเนื่องยาวนานอีกด้วย
winnwin
 

Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย winnwin » 15 ก.พ. 2011, 14:50

สัจจะ

"สัจจะ" แปลว่า ความสัตย์ ความซื่อ ถ้าขยายความตามศัพท์แยกได้ 3 ลักษณะคือ มีความจริง ความตรง และความแท้ จริง คือ ไม่เล่น ตรง คือ ความประพฤติทางกาย วาจา ตรงไม่บิดพลิ้ว ไม่บ่ายเบี่ยง แท้ คือ ไม่เหลวไหล ตรงข้ามกับคำว่า อสัจ ซึ่งแปลว่า ไม่จริง บิดพลิ้ว แต่ถ้าในทางปฏิบัติสัจจะ คือ ความรับผิดชอบ หมายความว่า ถ้าจะทำอะไรแล้ว ต้องตั้งใจทำจริง ทำอย่างสุดความสามารถให้เป็นผลสำเร็จ การที่ใครจะสามารถสร้างตัวขึ้นมาได้นั้น ต้องมีสัจจะเป็นพื้นฐาน เพราะคนที่มีสัจจะ เป็นพื้นฐานจะมีความรับผิดชอบต่องานที่ทำทุกอย่าง ไม่ปล่อยผ่านกับสิ่งที่ได้รับมา จะทำทุกสิ่ง ที่มาถึงมืออย่างสุดกำลัง และเต็มความสามารถ

1. ลักษณะของสัจจะ มีด้วยกัน 5 ประการ

* 1 ประการที่ 1 สัจจะต่อความดี
* 2 ประการที่ 2 สัจจะต่อหน้าที่
* 3 ประการที่ 3 สัจจะต่อการงาน
* 4 ประการที่ 4 สัจจะต่อวาจา
* 5 ประการที่ 5 สัจจะต่อบุคคล

ประการที่ 1 สัจจะต่อความดี

ก็คือ การประพฤติตนเป็นคนเที่ยงแท้ มั่นคงต่อความดีไม่หันเหไปในทางชั่ว ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์เช่นไร ในทางปฏิบัติ การจะมีสัจจะต่อ ความดีได้นั้น ต้องคิดให้เห็นถึงคุณความดีได้อย่างแจ่มแจ้ง และเห็นโทษของความชั่วได้ชัดเจน พยายามรักษาความดีในตนไว้ ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องละ กรรมกิเลส 4, อคติ 4, อบายมุข 6 และต้องปรับความเห็นของตนให้ถูก ให้เป็นสัมมาทิฏฐิให้ได้ หากเป็นพระก็ต้องรักษาสิกขาวินัย สืบทอดพระพุทธศาสนา หากเป็นฆราวาส ก็ต้องทำมาหากินตั้งตนให้ได้ สร้างหลักฐานให้กับวงศ์ตระกูล ใครจะอยู่ในหน้าที่อะไรก็ต้องพยายามหาดีของตนให้ได้ หากหาดีนอกทางเสียแล้วก็จะเสียความจริงต่อความดี

ประการที่ 2 สัจจะต่อหน้าที่

คือ การที่ใครก็ตามที่เกิดมาย่อมมีหน้าที่ติดตัวมาด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้น จึงควรมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ใครเป็นสามีก็รับผิดชอบต่อหน้าที่สามี เลี้ยงครอบครัวให้ดี ไม่ปันใจให้หญิงอื่น จริงใจกับภรรยา ใครเป็นภรรยาก็จริงใจต่อหน้าที่ของภรรยา ดูแลการงานในบ้านให้เรียบร้อย ไม่เที่ยวเตร่ ไม่เล่นการพนันเผาผลาญทรัพย์ เป็นลูกก็ต้องมีความรับผิดชอบว่า เราเป็นลูกมีหน้าที่รักษาวงศ์ตระกูลให้ดี ถ้าพ่อแม่แก่เฒ่า ก็ต้องเลี้ยงดูท่าน ทหารก็จริงใจลงไปในหน้าที่ทหาร เป็นตำรวจก็รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตำรวจ ไม่ว่าใครจะเป็นอะไร ก็ทุ่มไปกับหน้าที่ของตัวให้เต็มที่ หากทำเช่นนี้ได้จึงเรียกว่า มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

ประการที่ 3 สัจจะต่อการงาน

สัจจะต่อการงาน ก็คือการตั้งสัจจะลง ไปในงาน หมายถึงการทำงานนั้นต้องทำจริง ไม่ทำเหยาะๆ แหยะๆ หรือทำเล่นๆ ดังนั้น เมื่อมีหน้าที่แล้วก็ย่อมมีงานตามมา สามีก็มีงานของสามี คืองานหาเลี้ยงครอบครัว เป็นภรรยาก็มีงานของภรรยา เป็นลูกก็มีงานของลูก เป็นพระก็มีงานของพระ จะเป็นอะไรก็มี หน้าที่และมีงานตามมา ยิ่งอายุมาก หน้าที่ก็ยิ่งมากเป็นเงาตามตัว เมื่อหน้าที่มาก งานก็มากด้วยเช่นกัน คนที่ไม่จริงต่อการงาน มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ

1. พวก "ทุจฺจริตํ" คือ พวกที่ทำงานเสีย
2. พวก "สิถิลํ" คือ พวกที่ทำงานเหลาะแหละ
3. พวก "อากุลํ" คือ พวกที่ทำงานคั่งค้าง

หากทำอย่างนี้จะเสียสัจจะต่อการงาน วิธีแก้ก็คือ ทำให้ดี ทำให้เคร่งครัด ทำให้เสร็จสิ้น หากทำได้ก็จะกลายเป็นสัจจะต่อ การงานอีกประการหนึ่ง เรามักได้ยินคำพังเพยว่า "เรือล่มเมื่อจอด" คำนี้ใช้กับผู้ที่เคยทำดีมาแล้ว แต่ประมาทเมื่อปลายมือ เพราะไม่ตั้งใจทำให้ดีที่สุดหรือทำสักแต่ว่าทำ เพราะฉะนั้น เมื่อทำความดีแล้ว ต้องทำให้ดีพร้อม จนใครๆ ก็ทำให้ดีกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว คือ ต้องทำงานชิ้นนั้นให้สำเร็จให้ได้และให้ดีที่สุด นี่คือความรับผิดชอบของคนที่มีสัจจะต่อการงาน

ประการที่ 4 สัจจะต่อวาจา

สัจจะต่อ วาจา คือ จริงต่อวาจา นั่นก็คือคำพูดของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นการพูดด้วยปาก หรือการเขียน ตลอดจนการแสดงอาการที่เป็นการปฏิญาณต่อผู้อื่นก็ตาม จัดอยู่ในเรื่องของวาจาได้ สัจจะต่อวาจามีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ

1. พูดอย่างไรทำอย่างนั้น คือ เมื่อพูดออกไปแล้วก็ต้องพยายามทำให้ได้จริงตามที่พูด
2. ทำอย่างไรพูดอย่างนั้น คือ การพูดคำจริง เมื่อเราทำอะไรลงไปก็พูดไปตามนั้น การกระทำต้องตรงกับคำพูดของตัวเองเสมอ


ประการที่ 5 สัจจะต่อบุคคล

สัจจะต่อ บุคคล คือ ต้องจริงต่อบุคคล ในที่นี้คือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตัวเราจริงต่อบุคคลนั้น หมายถึง การเป็นผู้ที่ประพฤติต่อคนอื่นอย่างสม่ำเสมอ ไม่กลับกลอก และความจริงต่อบุคคลจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยความจริงใจต่อกัน ถ้าเราอยากให้คนอื่นเขาจริงใจต่อเรา เราก็ต้องให้ความจริงกับเขาด้วย

คนเรามักชอบบ่นว่า "ผมน่ะไม่มีเพื่อนจริงสักคน" ความจริงแล้ว ตัวเองต่างหากที่ไม่จริงกับเขาก่อน แล้วเขาจะมาจริงใจกับเราได้อย่างไร เวลาคบกับใครก็บอกเขาว่า "มีธุระเดือดร้อนอะไรละก็ บอกนะ จะช่วยเต็มที่" แต่พอเขาจะมาพึ่งพาให้ช่วยเหลือ กลับบิดพลิ้ว สารพัดจะหาเหตุผลมาอ้าง มาแก้ตัว อย่างนี้ก็ไม่มีใครเขาจริงใจด้วย ขอฝากเป็นข้อคิดไว้ คือ ถ้ารักจะคบเป็นเพื่อนกันตลอดไป อย่าเล่นแชร์เล่นไพ่กับเพื่อน เพราะสองอย่างนี้พอเล่นจะเอาผลประโยชน์กัน แล้วจะมีความจริงใจต่อกันได้อย่างไร เพื่อนกัน มีอะไรต้องช่วยเหลือจุนเจือกัน เพื่อนติดขัดเรื่องเงินเรื่องทอง ก็ตัดเงินส่วนที่ไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อนให้ไปเลย ไม่ต้องไปคิดเรื่องดอกเบี้ย จะคิดถูกคิดแพงก็ถือว่าไม่จริงใจต่อกันทั้งนั้นหรือเป็นตำรวจ จับผู้ต้องหาได้ด้วยความเหนื่อยยาก ก็อย่าไปแก้แค้นด้วยการซ้อมคนไม่มีทางสู้ มีหน้าที่สอบสวน เจอผู้ร้ายปากแข็งชักช้าอย่างไรก็ต้องทน ต้องพยายามใช้ปัญญา อย่าใช้วิธีทารุณบีบคั้นให้เขารับสารภาพ ต้องนึกถึงคุณธรรมความดีให้มาก

สรุปความได้ว่า คนที่มีสัจจะคือ คนที่ทำอะไรทุ่มสุดตัว จะทำงานชิ้นใดก็ทุ่มทำให้ดีที่สุด คบใครก็คบกันจริงๆ ไม่ใช่ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา ถ้าจะคบก็คือคบ ถ้าไม่คบก็ตัดบัญชี กันไปเลย ฝึกทุ่มหมดตัวอย่างนี้ ไม่ช้าก็จะได้เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา วันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ พอนั่งสมาธิคู้บัลลังก์แล้ว ก็ทรงตั้งสัจจะอธิษฐาน ทุ่มชีวิตเลยว่า แม้เลือดเนื้อในร่างกายจะแห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็นกระดูก ก็ตามที หากยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เราจะไม่ยอมลุกขึ้นเป็นอันขาด พระบรมศาสดาของเรา ทุ่มสุดตัวอย่างนี้ เราเป็นลูกศิษย์ท่านต้องทำตาม
winnwin
 

Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย Barrios » 15 ก.พ. 2011, 14:52

winnwin เขียน:
จะว่างานแยะงานยุ่งก็ไม่จริงอีกแหละ

เพราะ ทะลึ่งไปสมัครเป็น กรรมการสมาคมโน่นนี่นั่น จนเปรอะไปหมด

ทั้ง ๆ ที่ งานสภา ที่ขันอาสาเข้ามาทำ ก็หาผลสำเร็จในเนื้องานไม่เจออีก

เวรกรรมจริง ๆ


ถ้าจะว่ามันเป็นการ lobby กรรมการสภาแบบนึงล่ะ
เอากรรมการสภามาเป็นพวก
หรือมาเป็นกรรมการสภาเพื่อที่จะไปเป็นกรรมการอย่างอื่นต่อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Barrios
 
โพสต์: 714
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 08:41
ที่อยู่: ประเวศ กทม.

Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย winnwin » 15 ก.พ. 2011, 15:10

การผลัดวันประกันพรุ่ง

"ข้อมูลจากศูนย์ การเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต (Pennsylvania State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา อธิบายว่า เหตุผลที่คนชอบผลัดวันประกันพรุ่งมี 4 ประการ ดังนี้

1.คิด ว่ามีเวลาน้อยเกินไปที่จะจัดการ หรือไม่แน่ใจว่าจะเริ่มงานตอนนี้ดีหรือไม่ เพราะอาจมีเป้าหมายอื่น เช่น ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนหรือทำกิจกรรมที่ชอบ

2.รู้สึก ว่างานยากเกินไป จนไม่สามารถควบคุมสมาธิให้จดจ่อกับการทำงานได้ เช่น เมื่อเดินไปที่โต๊ะทำงาน ภาพจินตนาการถึงการพักผ่อนอยู่ท่ามกลางกลุ่มเพื่อนจะเข้ามาแทรกทันที

3.รู้สึกกลัวหรือกังวลกับงานที่กำลังจะทำ ซึ่งอาจเป็นเพราะมีจำนวนมาก จนคุณรู้สึกว่าทำไม่ไหว หรือถ้าทำไหวก็อาจทำได้ไม่ดี

4.นิสัย ส่วนตัวเป็นต้นเหตุของปัญหา เช่น ความไม่มั่นใจในตัวเอง ทำให้คิดว่าตนเองไม่สามารถทำงานนั้นสำเร็จลงได้ เกิดจากความเบื่อหน่าย หรือมีนิสัยคาดหวังความสำเร็จ หรือมีความสมบูรณ์แบบมาก จนไม่กล้าทำงานเพราะกลัวผิดหวัง

วิธีแก้นิสัยผลัดวันประกันพรุ่ง

-มองให้ออกว่าในบรรดาสาเหตุทั้งหมดที่กล่าวมาปัญหาของคุณเป็นแบบไหน

-วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน คุณค่าและความสนใจพิเศษของตัวคุณ โดยทำป้ายติดเอาไว้เพื่อเตือนความทรงจำทุกครั้งที่เห็น

-หาความสนใจพิเศษ (ที่คุณจะมีได้) กับงานตรงหน้า เพื่อให้งานไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

-สร้างตารางเวลาอย่างฉลาด นั่นคือกำหนดช่วงเวลาพักสั้นๆ เพื่อป้องกันความเบื่อหน่าย

-กำจัด ทุกสิ่งที่จะรบกวนการทำงานออกไปจากโต๊ะและปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น มีแสงสว่างเพียงพอ มีอุปกรณ์จำเป็นอยู่ใกล้มือ แต่ต้องไม่สะดวกสบายเกินไปจนไม่อยากทำงาน

-ทำให้เหมือนกับว่างานใหญ่ตรงหน้าเป็นงานเล็กๆ ที่ทำเป็นประจำ เพื่อลดความกังวล

-บอกตัวเองให้เชื่อมั่นว่างานตรงหน้ามีคุณค่ามากๆ และมากพอจะทำให้คุณพยายามเริ่มต้น แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากก็ตามที
winnwin
 

Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย winnwin » 15 ก.พ. 2011, 15:28

มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง

?ดินที่พอกหางหมูมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นๆ
และถ่วงหมูให้กินอยู่หลับนอนไม่เป็นสุขยิ่งๆ ขึ้นไปฉันใด
การงานที่ปล่อยทิ้งไว้คั่งค้าง ก็มีแต่จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
และถ่วงความเจริญก้าวหน้าทั้งแก่ตนเอง และหมู่คณะฉันนั้น
ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน
หากปล่อยการงานให้คั่งค้าง
ก็เท่ากับกำลังทำลายค่าของตนเอง?


เ ห ตุ ที่ ทำ ใ ห้ ง า น คั่ง ค้ า ง

๑.ทำงานไม่ถูกกาลยังไม่ถึงเวลาทำก็ใจร้อนด่วนไปทำ แต่พอถึงเวลาควรทำกลับไม่ทำเช่น ตอนแดดออกมัวไปถูบ้าน พอฝนตกกลับไปซักเสื้อผ้า ตากเท่าไหร่ก็ไม่แห้งหรือตอนเด็กไม่ยอมเรียนหนังสือ เที่ยวสำมะเลเทเมาพอแก่เฒ่าจะมาเรียนก็เรียนไม่ไหวแล้ว

๒.ทำงานไม่ถูกวิธีทำผิดขั้นตอน ผิดลำดับ เช่น จะทำความสะอาดบ้านก็ไปกวาดพื้นก่อน แล้วกวาดเพดานทีหลัง ฝุ่นผงต่างๆ ก็ตกลงมาต้องกวาดพื้นใหม่อีกเป็นต้น

๓. ไม่ยอมทำงานชอบผัดวันประกันพรุ่ง หรือหาเหตุต่างๆ นานามาอ้าง เช่น รอฤกษ์รอยามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าเราจะทำความดีเมื่อไร ฤกษ์ก็ดีเมื่อนั้น ไม่ต้องรอทำไปได้เลย ประโยชน์ย่อมเป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง

?ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ ผู้มัวรอฤกษ์ยามอยู่ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้? ขุ.ชา.เอก.๒๗/๔๙/๑๖


วิ ธี ทำ งา น ใ ห้ เ ส ร็ จ

วิธีทำงานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้คือ อิทธิบาท ๔ ได้แก่

๑.ฉันทะ คือความรักงาน หรือ ความเต็มใจทำ

๒. วิริยะ คือความพากเพียร หรือความแข็งใจทำ

๓. จิตตะ คือความเอาใจใส่ หรือ ความตั้งใจทำ

๔.วิมังสา คือการพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ

ฉันทะคือความรักงานจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเราเล็งเห็นผลดีของงานว่า ถ้าทำงานนี้แล้วจะได้อะไร เช่นเรียนหนังสือแล้วจะได้วิชาความรู้ไปประกอบอาชีพ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราก็จะเกิดความเต็มใจทำ

คนสั่งงานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความพอใจให้แก่ผู้ทำงานควรจะให้เขารู้ด้วยว่า ทำแล้วจะเกิดผลดีอย่างไร หรือถ้าไม่ทำจะเสียผลทางไหนผู้สั่งงานบางคนใช้อำนาจบาทใหญ่ บางทีสั่งพลางด่าพลางใช้ถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยามไปพลาง เป็นการทำลายกำลังใจของผู้ทำนับว่าทำผิดอย่างยิ่ง

วิริยะคือความพากเพียร ความไม่ท้อถอย เป็นคุณธรรมทางใจ เรียกความรู้สึกนี้ว่า ความกล้าอยากจะรู้ว่ากล้าอย่างไร ต้องดูทางตรงข้ามเสียก่อน คือทางความเกียจคร้านคนเกียจคร้านทุกคนและทุกครั้ง คือคนขลาด คนกลัว กลัวหนาว กลัวร้อน กลัวแดด กลัวฝนจะทำงานแต่ละครั้งเป็นต้องอ้างว่าหนาวจะตาย ร้อนจะตาย หิวจะตาย อิ่มจะตายเหนื่อยจะตาย ง่วงจะตาย คนเกียจคร้านทุกคนตายวันละไม่รู้กี่ร้อยครั้ง

การเอาชนะคำขู่ของความเกียจคร้านเสียได้ ท่านเรียกว่า วิริยะ คือความเพียรหรือความกล้านั่นเอง แม้จะมีอุปสรรคเพียงใด แต่ก็จะมีความแข็งใจทำและการจะมีความเพียรขึ้นมาได้ จำเป็นต้องละเว้นจากอบายมุข ให้ได้เสียก่อน

มีข้อน่าสังเกตสำหรับคนทำงานร่วมกันคือจะต้องขยันด้วยกันทั้งหัวหน้าและลูกน้องจึงจะได้เรื่องยิ่งผู้เป็นหัวหน้ายิ่งสำคัญมาก ถ้าเป็นคนเกียจคร้าน คิดกินแรงผู้น้อยท่าเดียวคิดแต่ว่า "ให้แกวิดน้ำท่าข้าจะล่อน้ำแกง" ผู้น้อยก็มักขยันไปได้ไม่กี่น้ำประเดี๋ยวก็รามือกันหมด แต่ถ้าหัวหน้าเอาการเอางานก็ดึงผู้น้อยให้ขยันขันแข็งขึ้นด้วย

?ฐานะ ๕ อย่างคือ ความชอบนอนความชอบคุย ความไม่หมั่น ความเกียจคร้าน และความโกรธง่าย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นทางแห่งความเสื่อม เพราะคนถึงพร้อมด้วยฐานะ ๕ อย่างนั้น เป็นคฤหัสถ์ก็ไม่ถึงความเจริญของคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต ก็ไม่ถึงความเจริญของบรรพชิตย่อมเสียหายถ่ายเดียว ย่อมเสื่อมถ่ายเดียวแน่แท้? อรรถกถา ปราภวสูตร ขุททกนิกายสุตตนิบาต

จิตตะคือความเอาใจใส่หรือ ความตั้งใจทำ คนมีจิตตะเป็นคนไม่ปล่อยปละละเลยกับงานของตนคอยตรวจตรางานอยู่เสมอ

ปกติคนที่โตเป็นผู้ใหญ่รู้ผิดชอบแล้วที่จะเป็นคนเฉยเมยไม่ใส่ใจกับงานเลยมีไม่เท่าไร ส่วนใหญ่มักจะใส่ใจกับงานอยู่แล้วเพราะธรรมชาติของใจคนชอบคิด ทำให้หยุดคิดสิยาก แต่เสียอยู่อย่างเดียวคือชอบคิดเจ้ากี้เจ้าการแต่เรื่องงานของคนอื่น คอยติ คอยสอด คอยแทรก คอยวิพากษ์วิจารณ์ธุระของตัวกลับไม่คิดเสียนี่เห็นคนอื่นใส่เสื้อขาดรูเท่าหัวเข็มหมุดก็ตำหนิติเตียนเขาเป็นเรื่องใหญ่แต่ทีตัวเอง มุ้งขาดรูเท่ากำปั้นตั้งเดือน แล้วเมื่อไรจะเย็บล่ะและที่เที่ยวไปสอดแทรกงานเขา แต่งานเราไม่ดูนั้น มันทำให้อะไรของเราดีขึ้นบ้างเพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้เราเป็นนักตรวจตรางาน คือให้มีจิตตะแล้วก็ทรงให้โอวาทสำทับไว้ด้วยว่า

?ควรตรวจตรางานของตัวเอง ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ? ขุ.ธ.๒๕/๑๔/๒๑

วิมังสาคือความเข้าใจทำ สุดยอดของวิธีทำงานให้สำเร็จอยู่ในอิทธิบาทข้อสุดท้ายนี้ วิมังสาแปลว่า การพินิจพิเคราะห์ หมายความว่า ทำงานด้วยปัญญา ด้วยสมองคิดไม่ใช่สักแต่ว่าทำ คนเราแม้จะรักงานแค่ไหน บากบั่น ปานใดหรือเอาใจจดจ่ออยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าขาดการใช้ปัญญาพิจารณางานด้วยแล้วผลที่สุดงานก็คั่งค้างจนได้ เพราะแม้ว่าขั้นตอนการทำงานจะสำเร็จไปแล้วแต่ผลงานก็ไม่เรียบร้อย ต้องทำกันใหม่ร่ำไป

อีกประการหนึ่งคนทำงานที่ไม่ใช้ปัญญา ไปทำงานที่ไม่รู้จักเสร็จ จะปล้ำให้มันเสร็จหนักเข้าตัวเองก็กลายเป็นทาสของงาน เข้าตำรา ?เปรตจัดหัวจัดตีน? ตามเรื่องที่เล่าว่า เปรตตัวหนึ่ง ได้รับคำสั่งจากหัวหน้าเปรต ให้ไปเฝ้าศาลาข้างทางเวลาคนนอนหลับเปรตก็ลงจากขื่อมาตรวจดูความเรียบร้อย ทีแรกก็เดินดูทางหัวจัดแนวศีรษะให้ได้ระดับเดียวกัน ให้เป็นระเบียบครั้นจัดทางศีรษะเสร็จก็วนไปตรวจทางเท้า เห็นเท้าไม่ได้ระดับก็ดึงลงมาให้เท่ากันแล้วก็วนไปตรวจทางศีรษะอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีวันเสร็จสิ้นได้เลยหาได้นึกไม่ว่า คนเขาตัวสูงก็มี เตี้ยก็มี ไม่เสมอกัน จัดจนตายก็ไม่เสร็จคนที่ทำงานไม่ใช้ปัญญาจัดเป็นคนประเภท ?เปรตจัดหัวจัดตีน? อย่างนี้ก็มีถ้าใช้ปัญญาพิจารณาหน่อยเดียว ทำให้เสร็จเท่าที่มันจะเสร็จได้ใจก็สบาย

คนที่ทำงานด้วยปัญญานั้นจะต้อง

- ทำให้ถูกกาลไม่ทำก่อนหรือหลังเวลาอันควร
- ทำให้ถูกลักษณะของงาน

สรุปวิธีการทำงานให้สำเร็จนั้น มีลักษณะล้วนขึ้นอยู่กับใจทั้งสิ้นคือเต็มใจทำ แข็งใจทำ ตั้งใจทำ และเข้าใจทำ วิธีการฝึกฝนใจที่ดีที่สุด ก็คือการให้ทาน การรักษาศีล และการทำสมาธิเพื่อให้ใจผ่องใส ทำให้เกิดปัญญาพิจารณาเห็นผลของงานได้ รู้และเข้าใจวิธีการทำงาน มีกำลังใจและมีใจจดจ่ออยู่กับงาน ไม่วอกแวก


อุ ป ส ร ร ค ใ น ก า ร ทำ ง า น ใ ห้ เ ส ร็จ

อุปสรรคใหญ่ในการทำงานให้เสร็จก็คือ อบายมุข ๖ ได้แก่

๑. ดื่มน้ำเมา

๒. เที่ยวกลางคืน

๓. ดูการละเล่นเป็นนิจ

๔. เล่นการพนัน

๕. คบคนชั่วเป็นมิตร

๖.เกียจคร้านในการทำงาน

อบายแปลว่าความเสื่อม ความฉิบหาย มุข แปลว่า ปาก, หน้า

อบายมุข จึงแปลว่าปากทางแห่งความเสื่อม เนื่องจากมันเป็น ปากทาง ส่วนตัวความเสื่อมจริงๆ นั้นอยู่ปลายทาง เมื่อมองเพียงผิวเผินเราจึงมักยังมองไม่เห็นความเสื่อมแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และท่านผู้รู้ทั้งหลายมองเห็น

ถ้าจะดูกันแต่ปากทางแล้ว ก็อาจเห็นเป็นความเจริญด้วยซ้ำ เหมือน...

ปากทางที่จะไปเข้าคุก ก็เป็นถนนราบเรียบ แต่ปลายทางเป็นคุกที่ทรมาน

ปากทางที่จะตกลงบ่อ ก็เป็นพื้นดินสะอาดแต่ก้นบ่อมีน้ำที่จะทำให้ผู้ตกลงไปจมหรือสำลักน้ำตาย

ปากทางที่จะตกลงเหวก็เป็นป่าหญ้างามดี แต่ก้นเหวลึกมากจนทำให้คนที่ตกลงไปตายได้

เช่นกันอบายมุขซึ่งเป็นปากทางแห่งความฉิบหายนี้ ดูเผินๆ ก็ไม่มีพิษสงอะไรเที่ยวกลางคืนก็สนุกดี เล่นการพนันก็เพลิดเพลินดีแต่ก็ทำให้ผู้ประพฤติทำการงานไม่สำเร็จ เสื่อมไปจากความเจริญก้าวหน้าและกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ถึงกับฉิบหายขายตัวไปแล้วก็มากต่อมาก อบายมุขจึงเป็นเสมือนหน้าตาสัญลักษณ์ของความเสื่อม บุคคลใดยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขก็รู้ได้ทันทีว่าผู้นั้นมีความเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว



อ า นิ ส งส์ ก า ร ทำ ง า น ไ ม่ คั่ ง ค้ า ง

๑. ทำให้ฐานะของตนครอบครัว ประเทศชาติดีขึ้น

๒. ทำให้ได้รับความสุข

๓.ทำให้พึ่งตัวเองได้

๔. ทำให้เป็นที่พึ่งของคนทั้งหลายได้

๕.ทำให้สามารถสร้างบุญกุศลอื่นๆ ได้ง่าย

๖. ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท

๗.ทำให้ป้องกันภัยในอบายภูมิได้

๘. ทำให้มีสุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้า

๙. ทำให้เป็นนิสัยติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ

๑๐.ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากคนทั่วไป

?บุคคลใดไม่คำนึงถึงหนาวร้อน อดทนให้เหมือนหญ้ากระทำกิจที่ควรทำด้วยเรี่ยวแรงของลูกผู้ชาย บุคคลนั้นย่อมไม่เสื่อมจากสุข? (สิงคาลกสูตร) ที.ปา.๑๑/๑๘๕/๑๙๙


จบมงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง
winnwin
 

Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย winnwin » 15 ก.พ. 2011, 15:33

ผล ของ ก า ร ทำ ง า น คั่ ง ค้ า ง

๑. ทำให้ฐานะของตนครอบครัว ประเทศชาติตกต่ำลง

๒. ทำให้ได้รับความทุกข์

๓.ทำให้พึ่งตัวเองไม่ได้

๔. ทำให้เป็นที่พึ่งของคนทั้งหลายไม่ได้

๕.ทำให้สามารถสร้างบาปเคราะห์อื่นๆ ได้ง่าย

๖. ทำให้เป็นผู้ประมาท

๗.เข้าสู่อบายภูมิ

๘. ทำให้มีทุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้า

๙. ทำให้เป็นนิสัยติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ

๑๐.ทำให้ได้รับการติฉินนินทาดูถูกจากคนทั่วไป
winnwin
 

Re: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ

โพสต์โดย PHARMA_GIRL » 15 ก.พ. 2011, 16:09

para058 เขียน: แขวนป้าย ทำไมช่วงนี้เงียบๆ


ไม่เงียบหรอกคะ ก็ยังเห็นแขวนกันอยู่ : )
ภาพประจำตัวสมาชิก
PHARMA_GIRL
 
โพสต์: 182
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2006, 15:35
ที่อยู่: PCU

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง เอสเปรสโซ่

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document