New Document









สภาเภสัชกรรมมีมติเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริ

ห้องเภสัชกร

สภาเภสัชกรรมมีมติเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริ

โพสต์โดย ประชาสัมพันธ์สภาเภสัชกรรม » 19 ต.ค. 2010, 08:25

สภาเภสัชกรรมมีมติเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภค

สภาเภสัชกรรมมีมติให้นายกสภาเภสัชกรรมลงนามยืนยันมติ ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ เพื่อเสนอต่อนายกสภาพิเศษลงนามให้ความเห็นชอบ ตามที่กำหนดในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 และจะได้ดำเนินการต่อเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีการบังคับใช้ข้อบังคับดังกล่าวในเร็ววัน

ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา สมาชิกสภาเภสัชกรรมมีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางที่ต้องการให้สภามีความชัดเจนเรื่องการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ ซึ่งคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมต้องขอขอบคุณต่อการมีส่วนร่วม และแสดงเจตจำนงดังกล่าว สภาเภสัชกรรมขอแจ้งต่อสมาชิกทุกท่านทราบว่า ส่วนใหญ่แล้วคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ เพียงแต่มีความเห็นที่แตกต่างกันบ้างในขั้นตอนการดำเนินการที่ต่อเนื่องจากเหตุการณ์ที่เป็นที่รับทราบทั่วกันอยู่แล้ว

ดังนั้นในวาระการประชุมครั้งที่ 186 (10/2553) วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2553 มี 2 วาระ ที่เกี่ยวข้องกับข้อบังคับว่าด้วยวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ 2 วาระ คือ
1. วาระ 6.6 ภก.วรวิทย์ กิตติวงษ์สุนทร กรรมการสภา เสนอให้ส่งข้อบังคับที่มิได้มีการลงนามหรือความเห็นชอบจากนายกสภาพิเศษ แต่อาศัยมาตรา 27 ในประเด็นที่มิได้ยังยั้งใน 15 วัน ให้ถือว่าสภานายกพิเศษให้ความเห็นชอบ ส่งตรงไปที่สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาลงในราชกิจจานุเบกษา โดยไม่ต้องมีความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแนบ เพราะถือว่าชอบด้วยมาตรา 27 ตาม พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม 2537
2. วาระ 6.7 รศ.(พิเศษ) ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ อุปนายกสภาเภสัชกรรม คนที่หนึ่ง ได้เสนอให้คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมยืนยันมติคณะกรรมการในวาระที่ผ่านมา ในการเห็นชอบ การออกกฎกระทรวง และข้อบังคับสภาเภสัชกรรม รวม 4 ฉบับ (รวมถึงข้อบังคับสภาฯ ว่าด้วยวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ) ซึ่งได้เคยเสนอสภานายกพิเศษ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) ให้ความเห็นชอบ ตามที่บัญญัติในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 แล้ว แต่สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีแจ้งว่าเรื่องหายไม่สามารถหาต้นเรื่องเดิมได้ เพื่อให้สภานายกพิเศษเห็นชอบ เพื่อจะได้นำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับต่อไป

ซึ่งนายกสภาแภสัชกรรมได้เสนอให้พิจารณารวมทั้ง 2 วาระเข้าด้วยกัน เนื่องจากเป็นข้อเสนอทางเลือกที่มีเป้าหมายเหมือนกันเพื่อให้สามารถดำเนินการในเรื่องข้อบังคับว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ต่อไปได้ ซึ่งคณะกรรมการได้ มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยสรุปดังนี้
ประเด็นข้อเสนอในวาระ 6.6 เห็นว่าเพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในมาตรา 27 วรรคสอง กรณีสภานายกพิเศษมิได้ยับยั้งภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับที่นายกสภาเภสัชกรรมเสนอ ให้ถือว่าสภานายกพิเศษให้ความเห็นชอบมตินั้น ดังนั้นขณะนี้ถือว่าข้อบังคับสมบูรณ์แล้ว กรรมการสภาจะลงมติซ้ำไม่ได้ ต้องเสนอเพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น ซึ่งประเด็นนี้ก็มีความเห็นท้วงว่า หากถือการตีความกฎหมายตามที่เสนอ หากกรรมการมีมติให้เสนอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สำนักเลขาคณะรัฐมนตรีไม่ลงประกาศให้หรือส่งเรื่องคืน เนื่องจากเห็นควรให้สภานายกพิเศษเห็นชอบก่อนตามธรรมเนียมปฏิบัติของทางราชการ ก็จะเป็นทางตันของข้อบังคับนี้ เนื่องจากเห็นว่ากรรมการไม่สามารถมีมติซ้ำได้ เมื่อข้อบังคับสมบูรณ์แล้วแต่ไม่ได้สามารถถประกาศเพื่อใช้บังคับได้ ก็จะไม่มีทางออก ดังนั้นหากจะทำเรื่องนี้ใหม่ก็ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่
ประเด็นข้อเสนอในวาระ 6.7 เห็นว่าหากสามารถนำเสนอคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมชุดปัจจุบัน มีมติยืนยันเห็นชอบร่างกฎกระทรวง และร่างข้อบังคับสภาเภสัชกรรมทั้ง 4 ฉบับ (รวมถึงข้อบังคับสภาฯ ว่าด้วยวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ) อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นมติในวาระของนายกสภาเภสัชกรรมวาระนี้ และเสนอเรื่องมาใหม่ ในวาระรัฐมนตรีท่านปัจจุบัน ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี ที่สะดวกใจกับทุกฝ่าย และทางเลขานุการรัฐมนตรีก็รับที่จะเร่งเรื่องให้หากมีการเสนอเรื่องขึ้นไปใหม่นี้ (เนื่องจากยอมรับว่าไม่สามารถหาต้นเรื่องเดิมทั้ง 4 เรื่องได้) ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่มั่นใจได้มากกว่า
อย่างไรก็ตามมีกรรมการสภาฯ หลายท่านเสนอให้มีทางเลือกที่สามคือ นำข้อบังคับดังกล่าวกลับมาทบทวนแก้ไขสิ่งบกพร่อง หรือทำให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด และเวียนเพื่อขอความเห็น เนื่องจากจากการประชุมคณะทำงานร่วมที่สภาเภสัชกรรมตั้งขึ้น (ผู้แทนจาก สสจ. และกรรมการสภา) เห็นว่าข้อบังคับดังกล่าวยังมีความบกพร่อง ไม่เหมาะสมและความไม่ชัดเจนในหลายจุด หากจะให้ผ่านออกไปโดยไม่แก้ไขก็ไม่น่าจะถูกต้อง และในฐานะกรรมการที่ต้องรับผิดชอบก็คงไม่สามารถให้ผ่านได้
ท่านนายกสภาเภสัชกรรม ได้สรุปประเด็นที่อาจมีความเห็นแย้งกันที่ได้ไปปรึกษานักกฎหมายจากหลายองค์กรทั้งนักกฎหมายและตุลาการ ในประเด็นเรื่องข้อบังคับสมบูรณ์แล้วหรือไม่ตามมาตรา 27 ก็มีความเห็นว่าสามารถตีความว่าเมื่อเรื่องถึงสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ก็แสดงว่ารัฐมนตรีรับรู้แล้วก็ได้ แต่อีกความเห็นก็เห็นว่ายังไม่สามารถสรุปได้ว่ารัฐมนตรีทราบเรื่อง เนื่องจากเรื่องยังไม่เสนอถึงรัฐมนตรี แต่ทุกท่านก็ให้ความเห็นว่า เรื่องของสภาเภสัชกรรม เมื่อมีกรรมการชุดใหม่และครั้งนี้ก็มีเหตุเรื่องหายซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีการกำหนดในกฎหมาย สภาเภสัชกรรมสามารถดึงเรื่องกลับมาพิจารณาทบทวนใหม่ได้เสมอ แม้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตามหากเงื่อนไขสถานการณ์เปลี่ยนไปกรรมการก็สามมารถทบทวนได้เช่นกัน
ท้ายสุดนายกสภาเภสัชกรรม ได้สรุปขอให้มีการลงมติเพียงใน 2 ประเด็นตามวาระ 6.6 และ 6.7
ซึ่งที่ประชุมก็ได้มีการลงมติ ดังนี้
1. เห็นชอบให้ดำเนินการตามข้อเสนอวาระ 6.6 คือ ส่งเรื่องเดิมไปประกาศในราชกิจจาฯทันที ด้วยคะแนนเสียง 5 เสียง
2. เห็นชอบให้มีการดำเนินการตามข้อเสนอวาระ 6.7 คือ คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมปัจจุบันลงนามยืนยันมติเดิม และเสนอกลับขึ้นไปที่สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี เพื่อให้สภานายกพิเศษ ลงนามภายใต้เงื่อนไขตามมาตรา 27 อีกครั้งหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียง 10 เสียง
3. งดออกเสียง จำนวน 4 ท่าน เนื่องจากเห็นว่าควรนำเรื่องกลับมาทบทวนใหม่ทั้งหมดก่อน

คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมขอเรียนต่อสมาชิกทุกท่านว่า คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ การลงมติดังกล่าวตั้งบนเงื่อนไขที่ต้องการให้จัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ เป็นไปอย่างราบรื่น คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นที่ไม่เป็นไปตามลายลักษณ์อักษร จารีตและธรรมเนียมการปฏิบัติ และให้เกิดผลดีในทางปฏิบัติต่อองค์กร และวิชาชีพโดยรวม การลงมติในครั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสภาเภสัชกรรมได้ดำเนินการตามที่ได้มีข้อตกลงร่วมกับเภสัชกรที่เป็นตัวแทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงาน อย. และกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ (ที่ทางชมรมเภสัชกร สสจ. เสนอรายชื่อมา) ที่เข้ามาหารือกับกรรมการสภาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 ซึ่งได้เห็นชอบร่วมกันใน 3 เรื่องคือ หนึ่งสภาจะติดตามข้อบังคับฯดังกล่าว ต่อให้ออกมาได้ สองสภาจะประสานงานกับ ศศภท. ในการสร้างความชัดเจนของหลักสูตรระดับปริญญาตรีเภสัชศาสตร์สาขาคุ้มครองผู้บริโภคฯขึ้นมารองรับเพื่อให้เกิดฐานที่มั่นคงในระยะยาว และ สามจะตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อร่วมกันทบทวนสร้างความชัดเจนของการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองฯ ตามข้อบังคับเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างถูกต้องเหมาะสม

ขอขอบพระคุณสมาชิกสภาเภสัชกรรมทุกท่านที่ได้ติดตามและแสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนที่จะพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อความก้าวหน้า และเป็นที่พึ่งของสังคมได้อย่างมีคุณภาพร่วมกัน สภาเภสัชกรรมพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ด้วยความจริงใจ

สำนักงานเลขาธิการสภาเภสัชกรรม
18 ตุลาคม 2553
ภาพประจำตัวสมาชิก
ประชาสัมพันธ์สภาเภสัชกรรม
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2010, 14:43







Re: สภาเภสัชกรรมมีมติเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู

โพสต์โดย เอกราช » 19 ต.ค. 2010, 13:02

อ่านแล้วก็ยังงงๆๆ ทำเพื่ออะไร คำว่า"วิทยาลัย" ประดิษฐ์คำนี้ไว้เพื่ออะไร
ซ้ำซ้อน กับ กฎหมายอื่นๆหรือไม่

ถ้า สภาเภสัชกรรมต้องการคุ้มครองผู้บริโภค จริง
สภาต้องหาทางทำกฎหมายไม่ให้แพทย์คลินิกใช้เมียตนเอง จ่ายยาแทนเภสัชกร ถึงจะเชื่อน้ำยาครับ
เอกราช
 
โพสต์: 14
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 เม.ย. 2010, 13:43

Re: สภาเภสัชกรรมมีมติเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู

โพสต์โดย Wiz@rd. » 19 ต.ค. 2010, 17:28

เหมือนวิทยาลัยเภสัชบำบัดไงครับ
เป็นการศึกษาต่อเฉพาะสาขา

อยากให้มี IT บ้างจัง 555+
ภาพประจำตัวสมาชิก
Wiz@rd.
Global Moderator
 
โพสต์: 942
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2004, 20:15
ที่อยู่: โลก

Re: สภาเภสัชกรรมมีมติเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู

โพสต์โดย ประชาสัมพันธ์สภาเภสัชกรรม » 23 ต.ค. 2010, 09:57

เพื่อ..ความก้าวหน้า..ของการปฏิบัติงานทางวิชาชีพเภสัชกรรม
สาขาคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ ครับ

สำคัญมากนะครับ..

ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและยา..ที่ดี..ก็มีมาก..ที่ร้าย..หลอกลวง..ก็ยัง..เยอะ..
รวมถึงผู้จำหน่าย..ที่มีคงามรับผิดชอบ..และไร้...ซึ่ง..ความรับผิดชอบ..

ประชาชน..จะได้..การคุ้มครอง..อย่างจริงจัง..ก็..คราวนี้..ล่ะครับ

ขอให้ช่วยกัน..หนับ..หนุน..นะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ประชาสัมพันธ์สภาเภสัชกรรม
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2010, 14:43

Re: สภาเภสัชกรรมมีมติเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู

โพสต์โดย Olive Green » 02 พ.ย. 2010, 06:41

ไม่เห็นความจำเป็นเลยนะคะ สายงานด้านนี้ควรอยู่ในกลุ่มงานอื่นที่เป็นหน้าที่ของเภสัชกรโดยตรง
สภาเภสัชกรรมคิดสวนทางกับความเป็นจริงเสมอๆคะ

สภาเภสัชน่าจะหาเวลาไปพัฒนาฐานะทางสังคมของวิชาชีพมากกว่านะคะ
Olive Green
 
โพสต์: 50
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ต.ค. 2010, 06:58

Re: สภาเภสัชกรรมมีมติเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู

โพสต์โดย TUANG » 02 พ.ย. 2010, 09:05

งง "ไม่เห็นความจำเป็นเลยนะคะ สายงานด้านนี้ควรอยู่ในกลุ่มงานอื่นที่เป็นหน้าที่ของเภสัชกรโดยตรง
สภาเภสัชกรรมคิดสวนทางกับความเป็นจริงเสมอๆคะ" หมายความว่ายังไง อะ อธิบายหน่อย
TUANG
 
โพสต์: 36
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 13:50

Re: สภาเภสัชกรรมมีมติเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู

โพสต์โดย Barrios » 02 พ.ย. 2010, 09:50

ใครจะเป็นคนตัดสินล่ะ ว่างานไหนจัดเป็นงานเภสัชโดยตรง
ถ้าอดีตไม่เป็น อนาคตจำเป็นต้องยึดอย่างนั้นหรือ เปลี่ยนแปลงได้รึเปล่า
หรืออดีตเคยเป็น อนาคตจะไม่เป็นได้หรือไม่

อดีตไม่เคยไปอยู่ รพช.กัน ตอนนี้อยู่กันให้พรึ่บ
ปัจจุับันไม่มีเภสัชใน รพ.สต. แล้วอนาคตล่ะ idea:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Barrios
 
โพสต์: 714
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 08:41
ที่อยู่: ประเวศ กทม.


ย้อนกลับไปยัง เอสเปรสโซ่

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document