New Document









เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ

ห้องเภสัชกร

เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 04 ส.ค. 2010, 18:33

ท่านมีความเห็นอย่างไรที่ สภาเภสัชกรรม ไม่เร่งรัดติดตามการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม เพื่อจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ ทั้งที่สภาฯ ได้ส่งร่างข้อบังคับให้สภานายกพิเศษ (รมว.สธ.) เพื่อลงนามตั้งแต่ กค. 52

ซึ่งเหตุผลที่อ้างในปี 2552 ได้แจ้งว่า กลุ่มกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งกลั่นกรองเรื่องก่อนเสนอ รมว.สธ. ไม่ส่งเรื่องกลับมา สภาเภสัชกรรมไม่อยากเร่งรัด เนื่องจากไม่ต้องการที่จะเกิดความขัดแย้งที่จะก่อให้เกิดปัญหาการประสานงานภายหลัง ทั้งที่ทราบว่า อาจขัดต่อ พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 27 ที่กำหนดให้การออกข้อบังคับ เมื่อเสนอสภานายกพิเศษภายใน 15 วัน ไม่ยับยั้งกลับมา ให้ถือว่า สภานายกพิเศษให้ความเห็นชอบมตินั้น แต่ถ้ายับยั้ง สภาเภสัชกรรมต้องนำเรื่องนี้มาพิจารณาอีกครั้งภายใน 30 วัน

สำหรับเหตุผลล่าสุดในปี 2553 กรรมการสภาเภสัชกรรม (ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์) ได้แจ้งว่า กลุ่มกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขได้ส่งเรื่องคืนสภาเภสัชกรรมนานแล้ว แต่ยังหาไม่เรื่องไม่พบ และการประชุมสภาเภสัชกรรมเมื่อวันที่ 26 กค. 53 ก็ไม่ปรากฎระเบียบวาระการประชุมที่เร่งรัดการดำเนินการดังกล่าว

ทั้งที่ชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคอีสาน ได้เคยส่งหนังสือพร้อมรายชื่อสมาชิก ลงวันที่ 11 ธค. 51 ให้สภาเภสัชกรรมพิจารณาให้การสนับสนุนการจัดตั้งวิทยาลัยฯ และ แจ้งความคืบหน้า แต่ก็ไม่เคยได้รับการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการให้สมาชิกทราบ โดยกรรมการบางท่านได้อ้างว่า งานคุ้มครองผู้บริโภคไม่ใช่วิชาชีพเภสัชกรรม

ดังนั้น การประชุมของชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคอีสานเมื่อวันที่ 3 สค. 53 จึงได้รวบรวมรายชื่อสมาชิกเพื่อเรียกร้องให้สภาเภสัชกรรมเร่งรัดการดำเนินการและตอบเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในวันที่ 30 กย. 53 หากพ้นกำหนด มีความจำเป็นที่ต้องขอความเป็นธรรมจากศาลปกครอง ตามกระบวนการพิจารณาคดีทางปกครองต่อไป พร้อมกันนี้ ก็ได้แนบหนังสือนำเรียน รมว.สธ.ให้ทราบและเร่งรัดสภาเภสัชกรรมด้วย

อนึ่ง การตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ จะเป็นสถาบันพัฒนาความรู้ความชำนาญการของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค ให้มีความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้ความรู้ทางเภสัชศาสตร์ บูรณาการร่วมกับศาสตร์สาขาอื่น ตามมาตรฐานทางวิชาการและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาคุ้มครองผู้บริโภค (เภสัชศาสตร์สังคม) ซึ่งต่างจากการศึกษาต่อปริญญาโท ที่เน้นการทำวิจัย ส่วนวิทยาลัยคุ้มครองฯ เน้นทักษะ ความเชี่ยวชาญในการทำงาน
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57







Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย narongbanthi202 » 05 ส.ค. 2010, 05:01

สำหรับเหตุผลล่าสุดในปี 2553 กรรมการสภาเภสัชกรรม (ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์) ได้แจ้งว่า กลุ่มกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขได้ส่งเรื่องคืนสภาเภสัชกรรมนานแล้ว แต่ยังหาไม่เรื่องไม่พบ และการประชุมสภาเภสัชกรรมเมื่อวันที่ 26 กค. 53 ก็ไม่ปรากฎระเบียบวาระการประชุมที่เร่งรัดการดำเนินการดังกล่าว
เข้าใจว่าไม่มีใครติดตามมากกว่า หากเรากระทุ้งไปอาจมีการเร่งรัดให้เราแน่ๆเพราะตามหลักการสภาเภสัชฯอาจจะทำผิดต้องตรวจสอบด้นกฎหมายด้วยนะ
narongbanthi202
 
โพสต์: 91
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 10:09

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย Barrios » 05 ส.ค. 2010, 10:53

เรื่องนี้ควรจะทำเป็นเอกสารยืนยันครับ ให้สภาตอบหนังสือมาเป็นหลักฐาน พูดกันลอย ๆ ก็เลี่ยงกัีนไปมาได้ตลอด

แล้วถ้าสภาฯทำงานแบบต้องกระทุ้ง แบบหาเรื่องไม่พบ แบบที่คิดว่าอะไร ๆ ก็ไม่ใช่หน้าที่ของสภา ไม่ใช่หน้าที่ของเภสัช ไม่กล้าเร่งรัดหน่วยงานอื่นที่ทำงานช้าเพราะกลัวขัดแย้ง ไม่กล้าแสดงความเป็นตัวเอง ไม่รักษาสิทธิของเภสัชเอง (มีหลายวิธีที่จะทวงถามเร่งรัด เสนอความเห็น โดยไม่ให้ขัดแย้งกัน) ถ้าสภาเป็นแบบนี้จริง จะเหลืออะไรอีกครับ ผมภาวนาให้สภาอย่าเป็นแบบนั้นเลย

"งานคุ้มครองผู้บริโภคไม่ใช่วิชาชีพเภสัชกรรม" ผมเบื่อความคิดแบบนี้มาก อะไร ๆ ก็ไม่ใช่วิชาชีพ เป็นผู้แทนยาก็ไม่ใช่วิชาชีพ กำจัดเภสัชแขวนป้ายก็ไม่ใช่หน้าที่สภาเป็นเรื่องของ อย.
ช่วย PM บอกผมว่าใครเป็นคนพูดได้มั้ยครับ ผมจะได้จำเอาไว้
ภาพประจำตัวสมาชิก
Barrios
 
โพสต์: 714
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 08:41
ที่อยู่: ประเวศ กทม.

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 05 ส.ค. 2010, 19:56

PM ไปแล้วครับ ผมก็เบื่อมากกับพฤติการณ์ของสภาเภสัชกรรม ที่บอกว่า งานคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ใช่วิชาชีพ การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ ควรเน้นที่ผู้ป่วย ฟังแล้วหดหู่ครับ

หากสภาเห็นว่า งานคุ้มครองฯ ไม่ใช่วิชาชีพ ไม่ควรส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพในระบบผู้เชี่ยวชาญ มากกว่า วิชาชีพเภสัชกรรมที่เน้นผู้ป่วย ก็น่าจะตอบข้อหารือในหนังสือมาตรงๆ หรือไม่ก็เปิดเวทีเสวนา หาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว มากกว่าที่จะพูดไปมา ซื้อเวลา อย่างนี้

ทีแพทยสภา ยังให้มีการสอบอนุมัติบัตร หรือ เรียนวุฒิบัตร สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน , ระบาดวิทยา โดยไม่ได้มาตั้งแง่ว่า ไม่ใช่วิชาชีพตามที่นิยามใน พรบ.วิชาชีพเวชกรรม แต่อย่างใด

การประกอบวิชาชีพในเชิงสังคมศาสตร์ ไม่เคยห้ามคนอื่นทำ แต่ก็มีเอกลักษณ์ของตัวเองที่เป็นวิชาชีพ อย่างเช่น การคุ้มครองผู้บริโภคในมิติวิชาชีพเภสัชกรรม ก็ต้องอาศัยองค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์ที่ได้เรียน เช่น Toxicology , pharmacog , Food , Cosmetic , Laws & Ethics ,Pharmacoepideniology ฯลฯ ซึ่งคนทั่วไปที่ไม่ใช่เภสัชกร ที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในมิติของประชาชน ไม่ได้ใช้ลักษณะนี้

หรือ ปัญหานี้ ต้องรอให้ศาลปกครองชี้ขาดเป็นบรรทัดฐานก็ไม่รู้ :evil:

สำหรับหนังสือเสนอสภาเภสัชกรรม และ รมว.สธ. พร้อมแบบฟอร์มลงชื่อ ตามไฟล์ข้างล่างนี้ครับ

http://203.157.176.5/attachfiles/file/p ... nister.pdf

แนบไฟล์
form.pdf
(75.98 KiB) ดาวน์โหลด 612 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย narongbanthi202 » 07 ส.ค. 2010, 06:49

คณะกรรมการชุดนี้มาจากข้าราชการที่ทำงานโรงพยาบาลเกือบหมดเลย ไม่มีตัวแทนจาก สสจ เข้าไป นำ้หนักเรื่องการจัดตั้งวิทยาลัยฯ ก็หายไป จึงแน้นไปทางงาน คลินิค และปรับวิชาชีพ เป็น หกปี เป็นสำคัญ น่าจะลองมีหนังสือถามไปก่อนจะดำเนินในขั้นต่อ หากไม่มีคำยืนยันมา ก็เริ่มตามขบวนการกฎหมายเลยน่าจะช่วยเร่งการจัดตั้งได้นะ
narongbanthi202
 
โพสต์: 91
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 10:09

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 08 ส.ค. 2010, 01:00

ทางชมรมฯ ได้หนังสือเสนอสภาเภสัขกรรม และ รมว.สธ. แล้วครับ ตามหนังสือที่แจ้งในความเห็นข้างบน โดยให้เวลาถึงวันที่ 30 กย. 53 หากไม่มีความก้าวหน้า คงต้องพึ่งพาความเป็นธรรมจากศาลปกครองต่อไป

ผมขอเล่าให้ฟังถึงความเป็นมาเป็นไปของการผลักดันการจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ให้ทราบครับ

หากเราย้อนดูรายงานการประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทยครั้งที่ 1 (พ.ศ.2536) ถึง ครั้งล่าสุด การประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทย 96 ปี ก็ได้ยอมรับการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการประกอบวิชาชีพสาขาหนึ่งของเภสัชกร โดยในการประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทยครั้งที่ 3 ก็ได้ระบุเหตุผลที่งานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ตามเอกสารแนบท้าย

สภาชุดที่แล้ว ได้มีมติในการประชุมที่ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 28-30 กค. 50 ให้มีการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ 3 สาขา ได้แก่ สาขาเภสัชกรรมบำบัด เทคโนโลยีเภสัชกรรม และ การคุ้มครองผู้บริโภค และได้มีคำสั่งสภาเภสัชกรรมที่ 12/2550 ลงวันที่ 18 มิย.50 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องผู้มีความรู้ ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อ จัดทำร่างหลักสูตร ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบรับรองอนุมัติบัตร และการศึกษาต่อเนื่องเพื่อรับรองวุฒิบัตรผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาการคุ้มครองผู้บริโภค โดย การจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ซึ่งผมเป็นผู้ช่วยเลขาฯ คณะอนุกรรมการชุดนี้ และ อ.วิชิต เปานิล เป็นเลขาฯ ประธาน คือ อ.พรเพ็ญ เปรมโยธิน

คณะอนุกรรมการฯ ที่สภาเภสัชกรรมแต่งตั้งได้จัดทำหลักสูตรเสนอที่ประชุมกรรมการสภาเภสัชกรรมเมื่อวันที่ 21 เมย. 51 ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการเบื้องต้นที่จะพัฒนาระบบผู้มีความรู้ความชำนาญการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค แต่เป็นห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายและองค์ประกอบของคณะผู้บริหารวิทยาลัย และขอให้พิจารณาข้อบังคับก่อน

อนุกรรมการฯ ก็มาประชุมกำหนด ร่างข้อบังคับเสร็จ และส่ง ร่างฯ ให้ท่านนายกสภาเภสัชกรรม(อ.ภาวิช ทองโรจน์) ลงนามตั้งแต่ พค.51 แต่จากการตรวจสอบ พบว่า ยังไม่มีการลงนาม ผม และ น้องๆ รพช. จึงร่วมแสดงความเห็นเรียกร้องให้ท่านนายกฯ พิจารณาให้การสนับสนุน ในการประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทย 95 ปี เมื่อเดือน ธค.51 จนสุดท้าย ท่านนายกฯ ลงนามเสร็จในปี 2552 และสภาเภสัชกรรมได้ส่งเรื่องให้สภานายกพิเศษให้ความเห็นชอบในเดือน กค.52

จากนั้น เรื่องก็เงียบ จนช่วงเลือกตั้งกรรมการสภาเภสัชกรรมในเดือน พย.52 จึงทราบว่า สภาเภสัชกรรมได้แจ้งว่า เรื่องอยู่ที่กลุ่มกฎหมาย ไม่อยากไปตาม เพราะกลัวขัดแย้งทำงานลำบาก

จากนั้น พอเข้าสู่กรรมการสภาเภสัชกรรมชุดปัจจุบัน เราก็ให้โอกาสในช่วงต้นปี แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า ซ้ำยังมีข่าวว่าจะล้มการจัดตั้งวิทยาลัยฯ โดยยกเหตุผลว่า งานคุ้มครองผู้บริโภคไม่ใช่การประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาให้เหตุผลในการกำหนดนิยาม แต่ก็ไม่ได้ชี้แจงให้ทราบว่า จะดำเนินการอย่างไรกับการจัดตั้งวิทยาลัยฯ

จนผมได้ซักถามท่านนายกสภาเภสัชกรรม และ ภก.วิพิน ในการประชุมการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับเภสัชกร เมื่อวันที่ 28 พค. 53 และได้สอบถาม ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ ทางส่วนตัวและ facebook เมื่อเดือน กค.53 จึงทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า กลุ่มกฎหมายฯ ตอบมาแล้ว แต่หาหนังสือไม่พบ และรับปากว่าจะตามเรื่องให้

กระทั่งล่าสุด การประชุมสภาเภสัชกรรมเมื่อวันที่ 26 กค. 53 ก็ไม่ปรากฎว่า มีการเสนอระเบียบวาระการเร่งรัดเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด ผมจึงนำเรื่องดังกล่าวไปหารือที่ประชุมเครือข่ายชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคอีสาน เมื่อวันที่ 3 สค. 53 ที่ประชุมก็แปลกใจ เพราะคิดว่า เรื่องนี้ น่าจะเสร็จแล้ว ซึ่งชมรมฯ ก็เคยส่งหนังสือไปยังสภาเภสัชกรรมเมื่อวันที่ 11 ธค. 51 แต่ก็ไม่ได้รับการตอบกลับแต่อย่างใด

ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ทวงถามเรื่องนี้จากสภาฯ เป็นครั้งสุดท้าย และสำเนาแจ้ง รมว.สธ. ด้วย เนื่องจากท่านให้ความสำคัญกับงานคุ้มครองผู้บริโภคมาก หากพ้นจากวันที่ 30 กย. 53 สภาเภสัชฯ ยังไม่ได้ทำอะไร กลุ่มของเราก็จำเป็นต้องพึ่งพาความเป็นธรรมจากศาลปกครองครับ
แนบไฟล์
วิชาชีพเภสัชกรรมสาขาคุ้มครอง-ประชุมสมัชชาครั้งที่3.doc
(111.5 KiB) ดาวน์โหลด 443024 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย wonder girl » 08 ส.ค. 2010, 21:42

งานคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ใช่วิชาชีพ การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ ควรเน้นที่ผู้ป่วย

แล้วที่เภสัชกร สสจ.และ รพช. ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคกันทุกวันนี้ ทำเกินหน้าที่วิชาชีพเภสัชกรรมกันหรือคะ
หากให้เน้นที่ผู้ป่วยอย่างเดียว อยู่ รพช. มีจำนวนผู้ป่วยนอกวันละ 200 - 400 คน ผู้ป่วยใน 60 - 90 คน
แล้วประชาชนที่เหลืออีกประมาณ 150,000 ในอำเภอ ไม่ต้องคุ้มครองฯ อะไรกันเลยเหรอคะ
คนที่กล่าวคำพูดนี้ วิสัยทัศน์คับแคบสุดๆ อย่าบอกให้รู้เลยค่ะว่าเป็นใคร หนูไม่อยากรู้จัก :lol:
wonder girl
 
โพสต์: 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 21:25

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 09 ส.ค. 2010, 17:45

มีคนฝากมาครับ

สหภาพหมอดอง พรบ คุ้มครองผู้ป่วย
สหภาพโอสถ อย่า ดอง วิทยาลัยคุ้มครอง ต่อไปเลย
เดี๋ยวจะเป็น ยาดอง วิทยาลัย คุ้มครอง :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย adi007 » 11 ส.ค. 2010, 10:51

ผมก็เคยเห็นว่าสภาจะคลอดวิทยาลัยมาตั้งนานแล้ว แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ยังอยู่ในท้อง
อยากให้สภามองมุมกว้างกว่านี้ ตอนนี้ก็เลือกตั้งปาเข้าไปหลายเดือนแล้ว ผลงานยังไม่ออกเลย
เห็นแต่มุ่ง pharm care ทำมาเกือบ 20 ปี เข้าไปแล้ว เภสัชก็คงยังเดินตามหมออยู่ ผมว่ายังไง
หากระบบบ้านเรายังเป็นอย่างนี้อยู่ pharm care ก็ไปไม่รอด เราควรมองหาโอกาส สำหรับวิชาชีพให้ยืนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี
adi007
 
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 09:52

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 12 ส.ค. 2010, 00:15

วันนี้ได้ยื่นหนังสือทวงถามการจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ ที่สำนักงานรัฐมนตรี สธ. และ สภาเภสัชกรรมแล้ว

ได้กำชับเจ้าหน้าที่สภาเภสัชกรรม ให้พิจารณาบรรจุหนังสือดังกล่าวเข้าระเบียบวาระการประชุมกรรมการสภาเภสัชกรรมในวันที่ 16 สค.

นิติกรสภาเภสัชได้แจ้งให้ทราบเบื้องต้นว่า กลุ่มกฎหมาย สธ.ได้ตรวจสอบข้อบังคับการจัดตั้งวิทยาลัยฯ แล้วไม่ติดใจ และได้ส่งหนังสือคืนให้หน้าห้อง รมว.สธ. เพื่อลงนามข้อบังคับตั้งแต่ กพ.53 แล้ว คงเพราะเปลี่ยน รมต.บ่อย จึงยังไม่ลงนาม ซึ่งเจ้าหน้าที่สภาเภสัชฯ จะเร่งรัดต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย Barrios » 12 ส.ค. 2010, 08:36

เภสัชทุง เขียน:

นิติกรสภาเภสัชได้แจ้งให้ทราบเบื้องต้นว่า กลุ่มกฎหมาย สธ.ได้ตรวจสอบข้อบังคับการจัดตั้งวิทยาลัยฯ แล้วไม่ติดใจ และได้ส่งหนังสือคืนให้หน้าห้อง รมว.สธ. เพื่อลงนามข้อบังคับตั้งแต่ กพ.53 แล้ว คงเพราะเปลี่ยน รมต.บ่อย จึงยังไม่ลงนาม ซึ่งเจ้าหน้าที่สภาเภสัชฯ จะเร่งรัดต่อไป


แล้วที่ได้คำตอบมาตอนแรกว่าหาเรื่องไม่เจอบ้าง ยังไม่ทราบเรื่องบ้าง ไม่กล้าเร่งรัดบ้าง จากกรรมการสภาฯ แสดงว่าสภาเราทำงานกันยังไงครับ พอเราถามก็ตอบมางั้น ๆ ไม่ได้ตามเรื่องให้เลย

หลังจากนี้ก็คงต้องถามกันเป็นหนังสือทุก ๆ อาทิตย์ หลังจาก รมต.เซ็นต์แล้วก็ต้องตามกันอีก คนตามไม่เหนื่อย ไม่เซ็งหรือครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Barrios
 
โพสต์: 714
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 08:41
ที่อยู่: ประเวศ กทม.

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 12 ส.ค. 2010, 10:15

ทีแรกผมคิดว่า กลไกการตอบสนองของสภาเภสัชต่อสมาชิก จะเป็นไปตามมาตรฐาน หรือ ข้อกำหนดตามกฎหมาย

แต่ที่ผ่านมามันไม่ใช่เลย กลไกของสภาเภสัช ขึ้นกับความสนใจของกรรมการครับ

ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง หลักสูตร 6 ปี กรรมการที่ชอบก็ผลักดัน จนข้อบังคับออกเร็วมาก

แต่เรื่องวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ ไม่อยากคิดว่า กรรมการสภาชุดที่ผ่านมา รวมทั้งชุดนี้ ให้ความสนใจน้อย

ทำให้สมาชิกต้องมาทวงถามโดยตรง ไม่ผ่านระบบตัวแทนสมาชิกที่เป็นกรรมการมาจากการเลือกตั้ง

หนังสือที่ชมรมเภสัชภาคอีสาน ทำไปกว่า 2 ปีแล้ว ก็ยังไม่ได้ตอบกลับ

หนังสือชมรมเภสัชกรจังหวัดผม ถามไปประมาณ 6-7 เดือน กว่าจะตอบ ทั้งที่มีผู้ลงชื่อเกิน 50 คน ตามกฎหมาย สภาต้องตอบโดยมิชักช้า

เรื่องวิทยาลัยคุ้มครองฯ คงต้องเกาะติด ตามตั้งแต่หน้าห้อง รมว.สธ. จนถึง สำนักงานเลขาธิการสภาเภสัชกรรมครับ

ผมเป็นคนทำงานแบบเกาะติดครับ งานนี้คงต้องตามเอง หากไม่ได้ผล คงต้องพึ่งศาลปกครองครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 12 ส.ค. 2010, 10:40

ได้มาจากสภาเภสัชกรรมเมื่อวานครับ เกี่ยวกับร่าง พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ที่ได้กำหนดนิยามวิชาชีพเภสัชกรรมใหม่ และการต่ออายุใบอนุญาต

ซึ่งในส่วนของวิชาชีพเภสัชกรรมที่ผ่าน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ ครม.เมื่อวันที่ 20 พย. 50 พบว่า ได้มีการกำหนดนิยามที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ถูกตัดและปฏิเสธจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามที่กรรมการสภาเภสัชบางท่านได้ไปพูดว่า งานคุ้มครองผู้บริโภคไม่ใช่วิชาชีพ

ตามนี้ครับ (ข้อความตัวโตๆ คือ ส่วนที่แก้ไขใหม่)

มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า "วิชาชีพเภสัชกรรม" ในมาตรา 4 แห่ง พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"วิชาชีพเภสัชกรรม" หมายความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการกระทำในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การวิเคราะห์ยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงและการจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขตามที่กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพนั้นๆ กำหนด

และการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ รวมทั้งการร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการค้นหา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา"
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 16 ส.ค. 2010, 20:34

วันนี้ที่ประชุมกรรมการสภาเภสัชกรรมได้นำหนังสือชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ทวงถามการจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ที่ล่าช้ามาปีเศษ มาเสนอในที่ประชุมเพื่อพิจารณา ทราบว่า ได้มีการถกกันแบบเครียดพอสมควร พอสรุปประเด็นเบื้องต้น เท่าที่ผมสอบถามจากกรรมการที่เข้าร่วมประชุมได้ ประมาณนี้ครับ

- กรรมการบางส่วนยังไม่ทราบความชัดเจนว่า งาน คบส.เป็น practice วิชาชีพ อย่างไร
- กรรมการชุดเดิมได้เสนอว่า ประเด็นว่าเป็นวิชาชีพหรือไม่นั้น ได้ผ่านการพิจารณาของกรรมการสภาชุดที่แล้ว ไม่น่ามาพิจารณากันอีก ก็เสนอว่า ให้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นประเด็นดังกล่าว แต่กรรมการบางท่านก็เกรงว่า เป็นการขัดแย้ง
- เรื่องตามหนังสือที่เสนอ รมว.สธ.ลงนามข้อบังคับการจัดตั้งวิทยาลัย ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ อดีตเลขาธิการสภาเภสัชกรรมชุดที่แล้ว ได้แจ้งว่า ทำหนังสือทวงถามไปแล้ว ยังไม่ได้ตอบกลับ ที่ไม่ได้ตาม เพราะภารกิจมาก ซึ่งหลายๆ เรื่องที่ค้างก็ยังไม่ได้ตามเช่นกัน เช่น การทำบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
- ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ ได้บอกว่า ไปบรรยายให้กลุ่มเภสัชกร สสจ.ภาคกลาง ที่สุพรรณบุรีฟัง ที่ประชุมไม่ได้ติดใจประเด็นที่บอกว่า งาน คบส.ไม่ใช่วิชาชีพ รวมทั้งการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ ยังเสนอด้วยว่า ให้มีหลักสูตรปริญญาโท/เอก ด้านคุ้มครองผู้บริโภคมากๆ

ข้อมูลนี้ได้จากการบอกเล่า มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งผมจะทำหนังสือขอรายงานการประชุมคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมครั้งนี้ รวมทั้งสำเนาหนังสือที่ ภก.กิตติได้ทวงถามไปยังสภานายกพิเศษด้วย

จากข้อมูลข้างต้น กรรมการหลายๆ ท่าน ไม่ค่อยได้สัมผัสกับการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค จึงอาจยึดติดไม่เข้าใจกระบวนการทำงานสมัยใหม่ที่ใช้องค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์มาบูรณาการ จึงอาจไม่เข้าใจความชัดเจนในเรื่อง practice ซึ่งกลุ่มเภสัชกรที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภค คงต้องช่วยกันรีวิวข้อมูลการทำงานเชิงวิชาชีพของพวกเราให้กรรมการสภาที่ยังไม่เข้าใจได้เห็นประจักษ์มากขึ้น ไม่งั้น อาจมองงาน คบส. เหมือนงานเสมียน ธุรการ ตำรวจ ตามภาพดั้งเดิม

หาก รมว.สธ.ยินยอมลงนามข้อบังคับฯ ก็คงไม่ต้องมาเปิดเวทีดีเบทเรื่องนี้เหมือนการก้าวถอยหลังอีก ยังไงขอเสนอให้ เภสัชกรใน อย. ร่วมออกมาเรียกร้องและประสานกับฝ่ายการเมืองให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาคุ้มครองผู้บริโภค เพราะผลสุดท้าย ประโยชน์ย่อมตกสู่ประชาชน

ส่วนชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคอีสาน คงจะรอหนังสือตอบกลับจากสภาเภสัชกรรม เพื่อกำหนดท่าทีในการเคลื่อนไหวพร้อมกับเครือข่ายอื่นต่อไปครับ "การต่อสู้เพิ่งจะเริ่มต้น"
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 18 ส.ค. 2010, 00:22

ตามที่ที่ประชุมสภาเภสัชกรรมเมื่อวันที่ 16 สค. ได้ตั้งคำถามว่า งาน คบส. ทื่เภสัช สสจ.ทำมี practice ไหม

หากกรรมการท่านมองงาน คบส.เพียวผิวเผิน หรือ สมัยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว หรือ มองตัวอย่างจากบางจังหวัดที่ทำงาน คบส.ในเชิงบริหารมากกว่าวิชาการ ก็คงตอบว่าไม่มีแน่ครับ

งาน คบส.ปัจจุบันได้พัฒนามากขึ้นแล้ว จากกรอบงานในกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข ปัจจุบัน เรามี 16 งาน และคณะกรรมการวิชาการ กำลังทำทักษะวิชาชีพทั้ง 16 งานออกมา ซึ่งคงทำให้กรรมการที่ยังไม่ in กับงานเรา ได้เห็นความชัดเจนในวิชาชีพมากขึ้น และเมื่อมีการประเมินทักษะวิชาชีพออกมา

แน่นอน วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ จะมีความจำเป็นในฐานะแหล่งพัฒนาทักษะความชำนาญในการปฏิบัติงาน คบส.ในเชิงวิชาชีพของเภสัชกร

ตัวอย่างของ practice งาน คบส.ที่เป็นวิชาชีพ อยู่ในร่างหลักสูตรที่คณะอนุกรรมการพัฒนหลักสูตรวิทยาลัยฯ ได้ทำเสร็จสิ้นตั้งแต่ มิย.51 ซึ่งมีหลักสูตรในการพัฒนาทักษะวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาคุ้มครองผู้บริโภคฯ ถึง 79 หน่วยกิต จาก 129 หน่วยกิต ตามไฟล์ข้างล่าง

หากจะให้ใครมาตัดสินว่า งานเราเป็นวิชาชีพหรือไม่ คงต้องดูด้วยว่า คนที่ประเมินเข้าใจระบบงานเราดีเพียงใด เราคงไม่ยอมให้ใครที่ไม่รู้เรื่อง หรือ มีอคติกับงาน คบส.มากำหนดความชัดเจนของวิชาชีพใช่ไหม ???
แนบไฟล์
ร่างหลักสูตร_05_06_51.doc
(136 KiB) ดาวน์โหลด 1328 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง เอสเปรสโซ่

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document